คุยกับผู้ใช้:Firesflys
เพิ่มหัวข้อยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทย
ยินดีต้อนรับคุณ Firesflys สู่วิกิพีเดียภาษาไทย หน้าต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์แก่คุณ:
และ
(ขอใช้เวลาอ่านไม่นานเพื่อให้ทราบพื้นฐาน)
อีกทางหนึ่ง อ่านหน้า การเข้ามีส่วนร่วมในวิกิพีเดีย ซึ่งสรุปทุกอย่างไว้หน้าเดียว
- ฉันอ่านหมดแล้วยังไม่เข้าใจเลย
- หรือ หรือ ใช้ แชตดิสคอร์ด
อย่าลืมลงชื่อในหน้าพูดคุย โดยการพิมพ์ --~~~~ จะปรากฏชื่อและวันเวลา
Hello Firesflys! Welcome to Thai Wikipedia. If you are not a Thai speaker, you can ask a question in our Guestbook.
-- New user message (คุย) 10:22, 2 ธันวาคม 2561 (ICT)
กุมภาพันธ์ 2562
[แก้]ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียไทย คุณอาจไม่ได้ตั้งใจ แต่การแก้ไขของคุณในหน้า หลัวหยุนซี ได้ลบป้ายแสดงข้อความออก ซึ่งในกรณีที่คุณเอาป้ายออกนั้น คุณควรแก้ไขปัญหาตามที่ป้ายได้แสดง หรือให้สาเหตุที่เหมาะสมในคำอธิบายอย่างย่อ อย่างไรก็ตาม สำหรับครั้งนี้ คุณไม่ต้องกังวล ทางเราได้ย้อนการแก้ไขของคุณเรียบร้อยแล้ว กรุณาศึกษาหน้าเริ่มต้นเพื่อเรียนรู้การร่วมพัฒนาวิกิพีเดีย และในกรณีที่คุณต้องการทดสอบ กรุณาใช้หน้าทดลองเขียน ขอขอบคุณสำหรับร่วมมือ และร่วมพัฒนาวิกิพีเดียไทย --JBot | แจ้งผู้ดูแล - 22:22, 22 กุมภาพันธ์ 2562 (ICT)
กรุณาหยุดลบป้ายแสดงข้อความออกจากบทความอย่างที่คุณได้ทำในหน้า หลัวหยุนซี ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจถือเป็นการก่อกวนได้ นี่เป็นการเตือนครั้งสุดท้าย และในกรณีที่ทางเราพบว่าคุณได้ก่อกวน หรือยังพยายามลบป้ายออก คุณอาจถูกบล็อกจากการแก้ไขชั่วคราวได้ทันที หากพบว่านี่เป็นความเข้าใจผิดและคุณได้มีเจตนาดี กรุณาแจ้งที่หน้านี้ ขอขอบคุณสำหรับร่วมมือ และร่วมพัฒนาวิกิพีเดียไทย --JBot | แจ้งผู้ดูแล - 22:31, 22 กุมภาพันธ์ 2562 (ICT)
มีนาคม 2562
[แก้]ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียไทย คุณอาจไม่ได้ตั้งใจ แต่การแก้ไขของคุณในหน้า หลัวหยุนซี ได้ลบป้ายแสดงข้อความออก ซึ่งในกรณีที่คุณเอาป้ายออกนั้น คุณควรแก้ไขปัญหาตามที่ป้ายได้แสดง หรือให้สาเหตุที่เหมาะสมในคำอธิบายอย่างย่อ อย่างไรก็ตาม สำหรับครั้งนี้ คุณไม่ต้องกังวล ทางเราได้ย้อนการแก้ไขของคุณเรียบร้อยแล้ว กรุณาศึกษาหน้าเริ่มต้นเพื่อเรียนรู้การร่วมพัฒนาวิกิพีเดีย และในกรณีที่คุณต้องการทดสอบ กรุณาใช้หน้าทดลองเขียน ขอขอบคุณสำหรับร่วมมือ และร่วมพัฒนาวิกิพีเดียไทย --JBot | แจ้งผู้ดูแล - 21:23, 18 มีนาคม 2562 (ICT)
Luó Yúnxī
[แก้]ตามการทับศัพท์ภาษาจีน "Luó Yúnxī" อ่านและเขียนได้ว่า "หลัว ยฺหวินซี" ค่ะ
สระ u หลัง y เป็นเสียง อฺวิ/อฺวี [y] (เรียกว่า เสียง close front rounded vowel), ไม่ใช่เสียง อุ/อู [u] (เสียง close back rounded vowel), ดังนั้น Yún = ยฺหวิน, ไม่ใช่ หยุน --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Miwako Sato (พูดคุย • หน้าที่เขียน) 23:39, 10 พฤษภาคม 2564 (ICT)
--Miwako Sato (คุย) 23:39, 10 พฤษภาคม 2564 (+07)
云 อ่านออกเสียงว่า หวินกับหยุนพร้อมกัน ซึ่งในภาษาไทยไม่สามารถเขียนออกมาได้ตามเสียงนั้นร้อยเปอร์เซนต์ ดังนั้นไม่ว่าจะสะกด หยุน ยวิ๋น อวิ๋น ยฺหวิน ก็คือ 云 เช่นเดียวกัน การสะกดคำจากภาษาต่างประเทศคือการเลียนเสียงคำของภาษานั้นๆ ไม่ได้มีหลักเกณฑ์ตายตัวที่ชัดเจน และไม่นับว่าเป็นหลักไวยากรณ์ซึ่งมาจากรากฐานของภาษาในประเทศเหล่านั้น แต่จะมีคนที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการสะกดขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางในการใช้งาน หากจะบอกว่าตัวสะกดไหนควรจะเป็นตัวที่ถูกต้องที่สุด ตามหลักการแล้วก็ควรจะต้องเป็น "ยฺหวิน" ซึ่งมีบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนในหนังสือที่ออกโดยสำนักงานราชบัณฑิตยสภาฉบับราชบัณฑิตยสถานตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ แต่เนื่องจากเขียนได้ยากจึงไม่ค่อยนิยมใช้กันเท่าไรนัก ดังนั้นคนส่วนใหญ่จึงมักจะใช้หยุนหรืออวิ๋นที่เขียนง่ายกว่า การยึดติดกับหลักการที่ไม่มีคนใช้และออกเสียงยากสำหรับคนทั่วไปมันดูประหลาดและคร่ำครึนะคะ เสียงควรเรียกให้อ่านง่ายสำหรับคนทั่วไปไม่ใช่เห็นแล้วไม่ทราบว่าอ่านว่าอะไร แล้วการมาแก้บทความที่คนอื่นเขียนมันเสียมารยาทนะคะ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Firesflys (พูดคุย • หน้าที่เขียน) 00:57, 11 พฤษภาคม 2564 (ICT)
- คุณควรทราบว่า บทความในวิกิพีเดีย ใครก็แก้ได้ค่ะ การอ้างความเป็นเจ้าของบทความแล้วห้ามคนอื่นแก้ไขนั้นไม่สามารถทำได้
- วิกิพีเดียมีนโยบายใช้หลักเกณฑ์การทับศัพท์ตามข้างต้น เพื่อความเป็นเอกภาพของสารานุกรม (โปรดดู วิกิพีเดีย:ชื่อบทความ#ชื่อบุคคลชาวจีน_ที่นามสกุลนำหน้า) ถ้าคุณต้องการให้เปลี่ยนแปลงนโยบาย คุณทำได้โดยเปิดอภิปรายที่ วิกิพีเดีย:สภากาแฟ เพื่อให้ประชาคมลงมติกันค่ะ
- ตราบใดที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงนโยบาย ก็ไม่ควรมีบทความใดเขียนตามใจอยู่แห่งเดียว เพราะทำให้สารานุกรมลักลั่น ไม่เป็นมืออาชีพ
- ย เป็นอักษรต่ำ ใช้ไม้จัตวาไม่ได้, รูปจัตวา คือ หย, ดังนั้น เขียน ยวิ๋น ไม่ได้
- ถ้าอยากให้เปลี่ยนนโยบาย ก็ไปเปิดอภิปรายเถอะ ย้อนไปย้อนมาไม่เกิดประโยชน์อันใด เพราะสุดท้ายแล้วคุณก็จะพ่ายแพ้ด้วยการถูกบล็อก (ตาม วิกิพีเดีย:สงครามแก้ไข) ไม่มีทางเลยที่บังเกิดผลตามใจคุณได้ด้วยการย้อนไปย้อนมา --Miwako Sato (คุย) 01:41, 11 พฤษภาคม 2564 (+07)
ถามหน่อยค่ะ แค่ชอบผู้ชายคนหนึ่งเลยตั้งใจทำประวัติเขาขึ้นมาจำเป็นต้องมีความเป็นมืออาชีพขนาดนั้นเลยหรือคะ คนที่เป็นมืออาชีพคิดจะมาเริ่มลงมือทำบ้างหรือเปล่าคะ เจ้าของชื่อเขาเรียกตัวเองว่าหยุนซี เราก็เลยเรียกตามเจ้าของชื่อเขาก็เท่านั้นเองค่ะ การเข้ามาแก้แต่ไวยากรณ์แล้วเคยคิดจะอัปเดตประวัติบ้างมั้ยคะ หรือสักแต่จะแก้ไวยากรณ์อย่างเดียว แล้วปล่อยส่วนที่เหลือจะเป็นอย่างไรก็ช่าง มันมีประโยชน์ต่อสังคมตรงไหนคะ ดารานักแสดงประวัติมีการอัปเดตอยู่ตลอดเวลา ถ้าจะแก้ก็รบกวนอัปเดตเนื้อหาให้ด้วยนะคะ ไม่ใช่มาแก้แค่ชื่อ ปากว่าเป็นมืออาชีพแล้วก็ปล่อยที่เหลือไปตามยถากรรม มันมีประโยชน์อันใดคะ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Firesflys (พูดคุย • หน้าที่เขียน) 02:11, 11 พฤษภาคม 2564 (ICT)
- คุณต้องเข้าใจว่า ใครอยากจะแก้ตรงไหน แค่ไหน ฯลฯ ก็เป็นเรื่องของคนนั้น คุณไม่อาจวางเงื่อนไขว่า ต้องแก้ตรงนั้นด้วย ต้องอัปเดตตรงโน้นด้วย ถึงจะแก้ตรงนี้ได้
- แล้วที่น่าขำ คือ คุณเรียกร้องให้คนอื่นไปอัปเดต นี่ก็ไปอัปเดตแล้ว เอาอ้างอิงไปใส่ด้วยซ้ำ คุณก็ยังไปลบออก แล้วคุณจะเรียกร้องให้คนอื่นอัปเดตทำไม
- สารานุกรมเป็นเอกสารวิชาการ (ถึงแม้จะมีเรื่องบันเทิงอะไรต่าง ๆ) มันจำเป็นต้องยึดโยงกับหลักเกณฑ์อะไรสักอย่าง เช่น ในเรื่องบรรณานุกรม การทับศัพท์ ฯลฯ ก็เหมือนคุณอ่านงานวิชาการ
- วิกิพีเดียเปิดให้อภิปรายได้ดังที่แจ้งแล้ว ก็มีหลายกรณีที่อภิปรายกันว่า จะเขียนอย่างอื่นนอกจากตามหลักเกณฑ์ เช่น ใช้ "อนิเมะ" แทน "อะนิเมะ" ตามหลักเกณฑ์ (ดู วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/การทับศัพท์ญี่ปุ่นกับการ์ตูนญี่ปุ่น#อะนิเมะ)
- ขอย้ำเตือนถึง วิกิพีเดีย:สงครามแก้ไข ดังข้างต้น ซึ่งจะไม่นำไปสู่อะไรนอกจากการที่คุณถูกบล็อก
พฤษภาคม 2564
[แก้]คุณถูกบล็อกมิให้แก้ไขวิกิพีเดียชั่วคราวอันเป็นผลจากการแก้ไขที่รบกวนของคุณ คุณยังมีอิสระในการแก้ไขอย่างสร้างสรรค์หลังการบล็อกหมดอายุ แต่โปรดทราบว่า เราไม่ยอมให้การก่อกวน (รวมทั้งการทำหน้าว่างหรือการเพิ่มข้อความสุ่ม) สแปม การให้ข้อมูลผิดโดยเจตนา การละเมิดความเป็นส่วนตัว การโจมตีต่อบุคคล และการละเมิดนโยบายของเราว่าด้วยมุมมองที่เป็นกลางและชีวประวัติของบุคคลที่มีชีวิตอยู่อย่างชัดเจนต่อเนื่องเกิดขึ้น หากคุณเห็นว่า การบล็อกนี้มิชอบ และคุณมีเหตุผลขอปลดบล็อก ให้พิมพ์ {{ปลดบล็อก|เหตุผล=ระบุเหตุผลตรงนี้ --~~~~}} (ให้เปลี่ยนที่ "ระบุเหตุผลตรงนี้") และอ่าน วิกิพีเดีย:การอุทธรณ์การบล็อก ประกอบ |
Firesflys (ปูมการบล็อก • การบล็อกที่ยังมีผล • เรื่องที่เขียน • การแก้ไขที่ถูกลบ • ปูมการละเมิดกฎ • ปูมการสร้างบัญชี • เปลี่ยนการตั้งค่าการบล็อก • ปลดบล็อก)
เหตุผลคำขอ:
เหตุผลที่ปฏิเสธ:
หากคุณต้องการขอปลดบล็อกเพิ่มเติม โปรดอ่านการอุทธรณ์การบล็อกก่อน ค่อยใช้แม่แบบ {{ปลดบล็อก}} อีกครั้ง หากคุณละเมิดกระบวนการนี้โดยยื่นคำขอปลดบล็อกที่ไม่โน้มน้าวหรือรบกวนมากเกินไป คุณอาจถูกกันมิให้แก้ไขหน้านี้นานตราบเท่าที่คุณถูกบล็อก
- ปกติถ้าบุคคลภาษาจีนอ่านได้หลายอย่าง จะลองดูอย่างบุคคลในประวัติศาสตร์สามก๊กก็ได้ ใส่สองชื่อก็ไม่เห็นเป็นเรื่องใหญ่ เช่น เล่าปี่ (หลิว เป้ย์) แต่ไม่ใช่เขาใช้ภาษาจีนกลางก็ยังจะดึงดันแก้ให้ได้ หยุนซีนี่เป็นจีนสำเนียงไหนหวังว่าจะตอบได้นะ --Horus (พูดคุย) 04:05, 11 พฤษภาคม 2564 (+07)
- Yunxi จีนกลางมันก็ได้อย่างเดียวนี่แหละค่ะ แต่ในออนไลน์เขียนกันหลายอย่าง เพราะต่างคนก็ต่างเขียนตามใจ และเอาจริง ๆ ในทวิตฯ เขียนกันว่า "อวิ๋นซี" ยิ่งกว่า "หยุนซี" ด้วยซ้ำ
- ประเด็นที่คุณ Firesflys ควรเข้าใจ คือ
- วิกิพีเดียเป็นสารานุกรม ต้องการความเป็นมาตรฐาน เป็นเอกภาพ ต้องมีหลักเกณฑ์อะไรสักอย่างเป็นแกนกลาง ไม่ใช่ตามใจใครตามใจมัน
- แน่นอนว่า การทับศัพท์ ไม่ว่าหลักเกณฑ์ไหน ก็ไม่สามารถถ่ายภาษาต้นทางได้เต็มร้อย แต่คุณก็ยังไม่สามารถหาเหตุผลอะไรมาหักล้างหลักเกณฑ์นี้ได้ นอกจากความพึงพอใจส่วนตัวของคุณ (ซึ่งก็ไม่ได้ถูกตามหลักภาษาด้วย เพราะภาษาจีนมีทั้งสระ [y] และสระ [u] แต่คุณตีเป็นหมด [u] เพียงเพราะเห็นว่า สะดวกปาก สะดวกมือ)
- และเมื่อไม่เห็นด้วยกับหลักเกณฑ์ แทนที่คุณหาหนทางพูดคุยหรือแสวงหามติ (ซึ่งก็ได้แนะนำแล้ว) คุณก็เอาแต่ย้อนไปมาตามอำเภอใจ นี่เป็นสาเหตุที่คุณถูกบล็อก ฉะนั้น ขอแนะนำว่า เอาเวลาว่างไปไตร่ตรองดู หรือไม่ก็ไปหาหลักเกณฑ์ที่ดีกว่ามานำเสนอ เปิดอภิปราย อะไรก็ว่าไป ดีกว่าจะหาหนทางย้อนกลับไปมาตามใจตัว ซึ่งจะไม่ได้เกิดผลอะไรเลย เพราะวิกิพีเดียมีมาตรการรับมือกับกรณีเช่นนี้ตามลำดับความรุนแรงอยู่แล้ว ขอฝากไว้เท่านี้ค่ะ
➤ ปกติชื่อบุคคลภาษาจีนอ่านได้หลายอย่าง แต่ที่อ้างอิงอย่างชัดเจนคือจากเสียงที่ได้ยินจากจีนกลางซึ่งเจ้าของชื่อเป็นคนเรียกนี่แหละค่ะ
อ้างอิงจาก
◆https://weibo.com/tv/show/1034:4635382307029018?from=old_pc_videoshow
◆https://weibo.com/tv/show/1034:4635370038689867?from=old_pc_videoshow
ซึ่งคุณก็จะกล่าวอ้างว่าสะกดตามราชบัณฑิตยสถาน ถ้าเช่นนั้นรบกวนลองดูเหตุผลด้านล่างต่อนะคะ
➤ ที่คุณ Miwako กล่าวอ้างมาว่าในโซเชียลเน็ตเวิร์คเขียน "อวิ๋นซี" ยิ่งกว่า "หยุนซี" มีหลักฐานในการกล่าวอ้างหรือไม่คะ
เคยลองค้นหาความจริงดูบ้างหรือไม่คะว่าที่ว่าคำว่ายิ่งกว่าของคุณมีที่มาจากที่ไหน
◆อ้างอิงจากการค้นหา hashtag บน Facebook
หลัวหยุนซี [1] > มี 1.4 พัน คนกำลังโพสต์เกี่ยวกับแฮชแท็กนี้
หลัวอวิ๋นซี [2]
หลัวยฺหวินซี [3]
◆อ้างอิงจากการค้นหา hashtag บน IG
หลัวหยุนซี [4] > 5,968 โพสต์
หลัวอวิ๋นซี [5] > 5,066 โพสต์
หลัวยฺหวินซี ไม่สามารถค้นหาได้เนื่องจากไม่มีเลยแม้แต่ hashtag เดียว
◆การค้นหา hashtag บน twitter ไม่สามารถนำตัวเลขมาแสดงได้เนื่องจากไม่ใช่แอคเคาท์เสียเงินและไม่สามารถติด ref ได้เนื่องจาก wiki ไม่อนุญาต แต่คุณสามารถนำ hashtag ด้านล่างไปค้นหาได้ด้วยตัวเอง
หลัวหยุนซี / หลัวอวิ๋นซี
และจะเห็นได้ชัดว่า หลัวยฺหวินซี > ไม่สามารถค้นหาได้เนื่องจากไม่มีเลยแม้แต่ hashtag เดียว
- ผลการค้นหาในโซเชียลเน็ตเวิร์คข้างต้นเป็นผลการตรวจสอบ ณ วันที่ 11 พ.ค. 2564
เพียงเท่านี้ก็เห็นได้ชัดแล้วว่าการใช้คำว่า ยฺหวินซี แม้จะถูกบัญญัติวิธีการสะกดด้วยข้อกำหนดของราชบัณฑิตยสถาน แต่ไม่เป็นที่นิยมและไม่ได้รับการยอมรับจากคนในสังคมไทยในปัจจุบัน
เนื่องจาก
1.การเขียนตัวสะกดที่ยากทำให้บุคคลทั่วไปไม่สามารถพิมพ์ได้หรือพิมพ์ได้ยากมากทั้งบนมือถือและในคอมพิวเตอร์
2.บุคคลทั่วไปที่ไม่เคยเรียน ไม่เคยฟังคำอธิบาย หรืออ่านข้อกำหนดของราชบัณฑิตยสถานไม่สามารถอ่านออกเสียงคำนี้ได้
➤วิกิพีเดียเป็นสารานุกรม ต้องการความเป็นมาตรฐาน เป็นเอกภาพ ต้องมีหลักเกณฑ์อะไรสักอย่างเป็นแกนกลาง แต่มีข้อยกเว้นถ้าคำ ๆ นั้นไม่ได้รับการยอมรับในสังคม
และการยอมรับนี้ก็เคยเกิดขึ้นโดยราชบัณฑิตยสถาน ยกตัวอย่างเช่น
มณฑลยูนนาน หรือ หยุนหนาน เขียนชื่อตาม "ประกาศราชบัณฑิตยสถาน เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง (พ.ศ. 2544)"[6]
[7]
云 ของ 云南 หรือ 罗云熙 มาจาก 云 ตัวเดียวกัน เหตุใดราชบัณฑิตยสถานจึงยอมรับคะ คุณสามารถบอกได้หรือไม่คะว่าทางราชบัณฑิตยสถานอ้างอิงมาจากสำเนียงจีนถิ่นใด
ที่ทางราชบัณฑิตยสถานยอมรับนั่นเนื่องมาจากว่า
1.คำว่ามณฑลยูนนาน หรือ หยุนหนาน ถูกใช้มาอย่างต่อเนื่องยาวนานจนฝังรากลึกลงไปในความทรงจำของคนในสังคมไทยจนยากที่จะเปลี่ยนแปลงในภายหลัง และมันก็เป็นกรณีเดียวกับการเรียกหยุนซี หรือ อวิ๋นซี เช่นเดียวกัน
2.เป็นคำที่ง่ายต่อการใช้งาน (พิมพ์หรืออ่าน) มากกว่าการสะกดตามไวยากรณ์
3.การสะกดคำจากภาษาต่างประเทศไม่มีถูกผิดร้อยเปอร์เซ็นต์ เนื่องจากเป็นคำเลียนเสียงจากภาษาอื่นให้ได้ใกล้เคียงที่สุด แต่มีผู้บัญญัติหลักการไว้เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นไม่ใช่ว่าจะต้องยึดมั่นถือมั่นกับสิ่งที่สังคมไม่ยอมรับเสมอไป
➤ถึงแม้คำว่า ยฺหวิน จะได้รับการประกาศใช้ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ แต่ หยุน และ อวิ๋น ก็เป็นคำที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในสังคมปัจจุบันเช่นเดียวกัน
อ้างอิงจาก > การทับศัพท์ภาษาจีน
[8]
- ภาษาเป็นสิ่งที่ดิ้นได้แม้จะมีกฎเกณฑ์กำหนดขึ้นมาให้ใช้งานแต่ถ้าไม่ได้รับการยอมรับในสังคมมันก็จะเป็นคำที่ตายไปในที่สุด
- กฏเกณฑ์ย่อมมีข้อยกเว้นตามยุคสมัยและการยอมรับในสังคม
- ไม่ทราบว่าคำอธิบายนี้นับว่าเป็นความพึงพอใจส่วนตัวหรือความพึงพอใจของคนหมู่มากคะ
- โลกยุคนี้เป็นยุค digital สามารถค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูลจากบนอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็วว่าสังคมยอมรับในสิ่งไหน
- การนำคำที่คนทั่วไปไม่ยอมรับมาบังคับให้คนอื่นใช้งานมันเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่คะ
- คุณสามารถนำวิกิพีเดียเป็นสารานุกรม ต้องการความเป็นมาตรฐาน เป็นเอกภาพ ต้องมีหลักเกณฑ์อะไรสักอย่างเป็นแกนกลางที่คุณกล่าวอ้างมา
ไปใช้ค้นหาบุคคลคนหนึ่งที่ไม่มีตัวตนอยู่บนโลกออนไลน์เพราะไม่มีใครเคยพูดถึงคนที่ชื่อว่า "หลัว ยฺหวินซี" นอกจากใน Wiki ที่คุณแก้ได้หรือไม่คะ
- ไม่มีใครต้องการเขียนว่า ยฺหวิน แม้แต่คนเดียว ย้ำค่ะว่าไม่มีแม้แต่ hashtag เดียว อ้างอิงจาก hashtag ของสามโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่ด้านบนนะคะ
--ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Firesflys (พูดคุย • หน้าที่เขียน) 16:40, 11 พฤษภาคม 2564 (ICT)
--ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Firesflys (พูดคุย • หน้าที่เขียน) 15:08, 11 พฤษภาคม 2564 (ICT) Firesflys (คุย) 15:25, 11 พฤษภาคม 2564 (+07)}}
- สิ่งที่คุณควรทำคือการเปิดภิปรายในหน้าพูดคุยของบทความครับไม่ใช่ย้อนไปย้อนมา แล้วค่อยหามติว่าในที่นี้ต้องการเป็นแบบไหน ซึ่งเรื่องนั้นทำได้ จะอย่างไรถ้าไม่มีการอภิปราย (แบบคำเรียก อนิเมะ) ยังไงก็ต้องยึดตามหลักราชบัณฑิตครับ --Timekeepertmk (คุย) 19:22, 11 พฤษภาคม 2564 (+07)
อ้างอิง
[แก้]รายการอ้างอิง
- ↑ https://www.facebook.com/hashtag/หลัวหยุนซี
- ↑ https://www.facebook.com/hashtag/หลัวอวิ๋นซี
- ↑ https://www.facebook.com/search/top?q=หลัวยฺหวินซี%20
- ↑ https://www.instagram.com/explore/tags/หลัวหยุนซี/
- ↑ https://www.instagram.com/explore/tags/หลัวอวิ๋นซี/
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2544/E/117/2.PDF
- ↑ https://th.wikipedia.org/wiki/มณฑลยูนนานyun'n
- ↑ https://th.wikipedia.org/wiki/การทับศัพท์ภาษาจีน
ขอโทษนะคะคุณ Timekeepertmk ประการแรกสิ่งที่เขียนด้านบนคือการตอบคำถามคุณ Horus กับ คุณ Miwako ค่ะ ประการที่สองคุณ Horus บล็อกดิฉันอยู่ทำให้ถูกห้ามเขียนวิกิพีเดียไม่สามารถเปิดการอภิปรายในหน้าพูดคุยของบทความได้ ถึงต้องขอปลดบล็อกก่อนโดยตอบคำถามคุณ Horus หรือเปล่าคะ พูดกันด้วยเหตุผลนะคะกรุณาอย่าใช้คำว่าย้อนไปย้อนมา สิ่งที่ควรทำรับทราบว่าต้องทำค่ะ แต่สถานะตอนนี้คือทำไม่ได้เหมือนถูกมัดมือชกไปหน่อยนะคะ สรุปใจความสำคัญเลยว่าตอนนี้ไม่สามารถเปิดอภิปรายได้ค่ะ สอบถามว่าควรทำเช่นไรคะ รบกวนแนะนำผู้ที่ความรู้น้อยหน่อยนะคะ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Firesflys (พูดคุย • หน้าที่เขียน) 20:54, 11 พฤษภาคม 2564 (ICT)
- ขออนุญาตนะครับ
- โปรดเข้าใจว่าวิกิพีเดียเป็นเว็บไซต์เชิงวิชาการ มีการกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติในการเขียนรวมถึงทับศัพท์ซึ่งก็นำหลักเกณฑ์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภามาใช้เพราะเป็นแหล่งข้อมูลที่เป็นมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในทางวิชาการของภาษาไทย อีกอย่างวิกิพีเดียไม่ได้มีหน้าที่ในการเผยแพร่ความคิดหรือการวิเคราะห์ใด ๆ ที่สร้างขึ้นเองรวมถึงการบัญญัติการทับศัพท์หรือสร้างคำศัพท์ใหม่ ๆ (วิกิพีเดีย:งดงานค้นคว้าต้นฉบับ) ดังนั้น เรื่องไม่เห็นด้วยการทับศัพท์ควรดำเนินการกับผู้สร้างหลักเกณฑ์แทน ไม่ใช่วิกิพีเดียครับ
- ที่นี้เวลามีปัญหาหรือต้องการเสนอความเห็นก็ทำได้ แต่อย่าพึ่งละเมิดโดยพลการหรือทำในสิ่งที่นโยบายห้าม ยิ่งถ้ามีคนแจ้งเตือนก่อนแล้วยังทำอยู่เหมือนเดิม จะยิ่งไม่เป็นผลดีต่อตัวเองครับ
- --Geonuch (คุย) 13:19, 12 พฤษภาคม 2564 (+07)
- ขออนุญาตนะครับ
[ไม่มีหัวข้อ]
[แก้]เนื่องจากได้ตอบคำถามคุณ Horus รวมถึงอธิบายเหตุผลไปแล้วในข้างต้น จึงต้องการขอปลดบล็อกเพื่ออภิปราย ไม่ทราบว่าทางผู้ดูแลระบบมีความเห็นว่าอย่างไรคะ นอกจากนี้มีเรื่องต้องการสอบถามผู้ดูแลระบบเพิ่มเติม 3 ข้อค่ะ 1.ในการอภิปรายใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการตัดสินคะ 2.ระยะเวลาในการอภิปรายมีการกำหนดอย่างไร 3.ผลของการอภิปรายถือเป็นที่สิ้นสุดหรือไม่คะ --Firesflys (คุย) 01:11, 12 พฤษภาคม 2564 (+07)}} 1.
- เนื่องจากว่าระบบชุมชนไม่ได้มีศูนย์กลางอยู่ที่ผู้ดูแลระบบนะครับ ผมซึ่งไม่ใช่ผู้ดูแลระบบจึงมาขอตอบคำถามข้อที่ 3 ส่วนข้ออื่นรอการแนะนำจากผู้ใช้อื่นครับ (ทั้งนี้หากมีการปลดบล็อก/ปลดบล็อคบางส่วน (ในบางกรณี) สามารถถามได้ที่ WP:แผนกช่วยเหลือ ครับ)
- เมื่อเสร็จการอภิปรายก็มักจะมีผลทันที (แล้วแต่ชุมชนกำหนด) แต่หากมีอภิปรายใหม่จนเสร็จการอภิปรายที่มีประเด็นเก่าที่ถูกปรับเปลี่ยน ก็จะมีผลเปลี่ยนใหม่ครับ (แต่ขอเสริมว่าอภิปรายในโครงการไม่สามารถเปลี่ยนนโยบายและแนวปฏิบัติจากส่วนกลางได้ ต้องไปเปิดอภิปรายที่ส่วนกลาง และหากสิ่งที่อภิปรายในโครงการขัดกับส่วนกลาง/มูลนิธิฯ ก็จะไม่สามารถเสนอเปลี่ยนในโครงการได้ครับ(คงจะนะ?))
- หากยังไม่ได้อ่านครับ อันนี้น่าจะเป็นนโยบายส่วนกลาง(ไม่แน่ใจว่ามีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อยให้เข้ากับโครงการหรือไม่?) กฏการย้อนสามครั้ง สงครามการแก้ไข ซึ่งนโยบายแนวปฏิบัตินี้ระบุชัดเจนว่าการย้อนไปมาสื่อถึงความขัดแย้งในระหว่างผู้แก้ไขซึ่งหากปล่อยไว้จะไม่เกิดประโยชน์ต่อบทความ เพราะทางที่ดีควรมีการอภิปรายในความขัดแย้งดังกล่าวก่อน โดยควร/ต้องคงไว้ซึ่งเนื้อหาก่อนการแก้ไขของผู้ใช้ทั้งสองฝ่าย(อาจจะประมาณนี้?) และเป็นเหตุผลว่าทำไมหากมีการย้อนหลังการแก้ไขของใครใด ๆ ควรควบคุมไม่ให้เกิดการย้อนจากตนเองหลายครั้ง (ยกเว้นการก่อกวน ซึ่งระบุไว้ในหน้านโยบายแนวปฏิบัติแล้ว) ซึ่งผมไม่สามารถอธิบายได้อย่างถูกต้องจึงแนะนำให้อ่านนโยบายแนวปฏิบัติประกอบด้วยครับ
- เรื่องภาษาที่เป็นประเด็น อันนี้ผมไม่มีความเห็นใด ๆ ครับ NP-chaonay (คุย) 11:19, 12 พฤษภาคม 2564 (+07)
- ตอบข้อ 1 ถึง 3
- ดูรายละเอียดที่ วิกิพีเดีย:ความเห็นพ้อง
- ไม่ได้กำหนดเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ที่ผ่านมาก็อภิปรายอย่างน้อย 14 วันครับ
- ไม่เสมอไปครับ ถ้าใช้แล้วมีปัญหาก็เปิดใหม่ได้ (แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องตั้งอภิปรายบ่อย ๆ ทุกเดือนนะครับ)
- --Geonuch (คุย) 13:02, 12 พฤษภาคม 2564 (+07)
- ตอบข้อ 1 ถึง 3
ขอบคุณคุณ NP-chaonay กับคุณ Geonuch มากค่ะ ที่อธิบายได้ชัดเจนและง่ายต่อการเข้าใจ รับทราบไว้เป็นแนวทางปฏิบัติค่ะ แต่มีข้อสงสัยจากที่คุณ NP-chaonay บอกว่า "อภิปรายในโครงการไม่สามารถเปลี่ยนนโยบายและแนวปฏิบัติจากส่วนกลางได้ ต้องไปเปิดอภิปรายที่ส่วนกลาง และหากสิ่งที่อภิปรายในโครงการขัดกับส่วนกลาง/มูลนิธิฯ ก็จะไม่สามารถเสนอเปลี่ยนในโครงการได้" อันนี้แค่สมมตินะคะว่าในกรณีชนะการอภิปราย แต่ในเมื่อนโยบายและแนวทางปฏิบัติยืนยันว่าต้องทำตามราชบัณฑิต แล้วไม่ทราบว่าผลการอภิปรายที่ขัดต่อนโยบายและแนวปฏิบัตินั้นจะสามารถนำมาใช้งานได้หรือไม่คะ Firesflys (คุย) 13:51, 12 พฤษภาคม 2564 (+07)
- (อธิบายแบบไม่ลงลึกมาก) จะมีนโยบายบางอย่างที่เราเปลี่ยนไม่ได้ ตัวอย่างเช่น วิกิพีเดียถูกกำหนดวัตถุประสงค์มาว่าเป็นสารานุกรม ถ้าจะเสนอให้วิกิพีเดียเป็นตำราเรียนก็ไม่สามารถทำได้ครับ ส่วนในการอภิปรายนั้นถ้ามีข้อสรุปออกมาว่าจะใช้เกณฑ์ใหม่ก็จะถูกใช้แทนเกณฑ์เก่าเลย แต่ขอให้คำนึงว่าในบางครั้ง การอภิปรายก็จะมีข้อเสนอของผู้อื่นมาด้วยซึ่งอาจมาเสริมหรือขัดเกลาบางส่วนจนอาจเป็นไปได้ว่าที่เราเสนอทั้งหมดอาจไม่ได้เป็นไปตามที่เราเขียนไว้ทั้งหมด สุดท้ายไม่อยากให้มาคิดเรื่องแพ้ชนะ ขอให้คำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้อ่านแทนครับ --Geonuch (คุย) 21:02, 12 พฤษภาคม 2564 (+07)
- ขอบคุณคุณ Geonuch อีกครั้งค่ะ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Firesflys (พูดคุย • หน้าที่เขียน) 22:16, 14 พฤษภาคม 2564 (ICT)