คำให้การพิเศษ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คำให้การพิเศษ[1] (อังกฤษ: Special pleading, stacking the deck, ignoring the counterevidence, slanting, หรือ one-sided assessment[2]) หรือ การไม่สนใจหลักฐานค้าน หรือ การประเมินผลข้างเดียว เป็นวิธีการให้เหตุผลเทียมแบบหนึ่ง ที่แสดงแต่หลักฐานรายละเอียดที่สนับสนุนสิ่งที่เสนอ และไม่ให้รายละเอียดที่คัดค้าน โดยอ้างว่า ต้องมีการพิจารณาบางกรณีเป็นพิเศษ แต่ไม่มีการวิเคราะห์ให้เหตุผลที่สมควรกับการพิจารณาพิเศษเช่นนั้น กล่าวอย่างย่อ ๆ ก็คือ เป็นการที่บุคคลหนึ่งพยายามยกว่าเหตุการณ์หลักฐานบางอย่างที่เกิดขึ้น เป็นข้อยกเว้นพิเศษจากเหตุการณ์ปกติหรือจากหลักการเป็นต้น โดยที่ไม่แสดงเหตุผลที่สมควรต่อข้อยกเว้นนั้น[3]

การไม่ได้ให้การวิเคราะห์หรือไม่ได้ให้เหตุผลอาจจะเป็นความผิดพลาดที่ไม่ได้ตั้งใจ (เช่นอาจคิดว่า เป็นเรื่องสามัญสำนึก) หรือเป็นการกระทำที่มีอคติโดยใช้มาตรฐานการประเมินหลักฐานที่ไม่เหมือนกัน

ตัวอย่าง[แก้]

เค้สที่ยากขึ้นไปยิ่งกว่านี้อย่างหนึ่งก็คือมีการวิเคราะห์ข้อยกเว้น โดยวิธีที่ไม่สามารถจะตรวจสอบได้ ซึ่งอาจจะมีรูปแบบต่าง ๆ เช่น

  • การไม่อธิบายเหตุผลการยกเว้นเหตุการณ์จากหลักการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น
ตัวอย่าง: "ผมไม่สนใจเรื่องความน่าจะเป็นในที่นี้หรอก นี่เป็นเครื่องสล็อตแมชชีน ไม่ใช้วงล้อรูเล็ตต์ มันต่างกัน"
  • การอ้างข้อมูลที่ไม่สามารถจะตรวจสอบได้ เพราะอาจจะไม่เกี่ยวข้องกันหรือไม่สามารถกำหนดขอบเขตให้ชัดเจนได้
ตัวอย่าง: การใช้ยาโคเคนน่าจะเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย เพราะว่า เหมือนกับยาประเภทอื่น ๆ คือ แม้ว่าจะมีผลเสียต่อสุขภาพบ้าง แต่ว่า จริง ๆ แล้ว โคเคนไม่เหมือนกับยาเสพติดอื่น ๆ เพราะว่า มีคนมากหลายที่ได้ประโยชน์จากโคเคน''

ในการจำแนกเหตุผลวิบัติแบบคลาสสิกที่แยกประเภทออกเป็นเหตุผลวิบัติอรูปนัย (informal fallacy), เหตุผลวิบัติทางจิต (psychological), และเหตุผลวิบัติรูปนัย (formal) การไม่สนใจหลักฐานค้านน่าจะรวมอยู่ในประเภทเหตุผลวิบัติทางจิต คือดูเหมือนจะเป็นวิธีการทางคำพูด รวมทั้งคำอธิบายที่ไม่สมเหตุผลหรือเพื่อเบนเบี่ยงประเด็น เป็นเหตุผลวิบัติที่คล้ายคลึงกับการให้เหตุผลด้วยข้ออ้างต่าง ๆ เช่นการอ้างประเพณี การอ้างความแปลกใหม่ การอ้างความน่าจะเป็นไปได้ และการอ้างผู้ที่เชื่อถือได้[4] (ดูข้ออื่น ๆ ในกาลามสูตร)

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. "ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ pleading ว่า "คำให้การ"
  2. "stacking the deck". สืบค้นเมื่อ 6 October 2012.
  3. Damer, T. Edward (2008). Attacking Faulty Reasoning: A Practical Guide to Fallacy-free Arguments (6 ed.). Cengage Learning. pp. 122–124. ISBN 978-0-495-09506-4.
  4. This division is found in introductory texts such as Fallacy: The Counterfeit of Argument, W. Ward Fearnside, Prentice-Hall, Inc., 1959. OCLC 710677

แหล่งข้อมูลอื่น (ภาษาอังกฤษ)[แก้]