ข้ามไปเนื้อหา

คอมมานด์ & คองเคอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คอมมานด์ & คอนเคอร์
ประเภทกลยุทธ์ตามเวลาจริง (1995–2013)
ยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่ง (2002)
ผู้พัฒนาเวสท์วูด สตูดิโอส์ (1995-2003)
อีเอ ลอสแอนเจลิส (2003-2010)
วิกตอรีเกมส์ (2011-2013)
อีเอ เพนอมิค (2011-2013)
อีเอ เรดวูด สตูดิโอส์ (2018–ปัจจุบัน)[1]
ผู้จัดจำหน่ายเวอร์จินอินเทอแรกทิฟ
เอนเทอร์เทนเมนต์

อิเลคโทรนิค อาร์ต
เซกา
นินเท็นโด
ระบบปฏิบัติการแอปเปิล แมคอินทอช, นินเท็นโด 64, เพลย์สเตชัน, พีซี (เอ็มเอส-ดอส, วินโดวส์), เซก้า แซทเทิร์น, เพลย์สเตชันพอร์เทเบิล,[2] เอกซ์บอกซ์ 360, เพลย์สเตชัน 3, แอนดรอยด์, ไอโอเอส
วางจำหน่ายครั้งแรกคอมมานด์ & คองเคอร์
1995
จำหน่ายครั้งล่าสุดคอมมานด์ & คองเคอร์ รีมาสเตอร์คอลเลกชัน
2020

คอมมานด์ & คอนเคอร์ (อังกฤษ: Command & Conquer หรือ C&C) คือชื่อของเกมคอมพิวเตอร์แนวเกมวางแผนการรบเรียลไทม์ และ เฟิร์ตเพอร์เซินชูตเตอร์[3] พัฒนาครั้งแรกโดยบริษัท เวสท์วูด สตูดิโอ ระหว่างปี 1985 จนถึง 2003 ร่วมพัฒนากับบริษัท อิเลคโทรนิค อาร์ต

โดยเกมแรกได้วางแผงทั่วโลกใน วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2538 ใช้ ชื่อว่า Command & Conquer โดยได้รับความนิยมทั่วโลก ตลาดที่ขายดีที่สุดได้แก่ อเมริกาเหนือ, ยุโรป และ ออสเตรเลีย และได้มีการแปลเป็นภาษาอื่นๆ ได้แก่ ภาษาเยอรมัน, ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาสเปน, ภาษาเกาหลี และ ภาษาจีน พัฒนาลงบนเครื่อง คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) เล่นผ่าน ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และยังได้พอร์ตลงเครื่อง คอนโซล และเครื่อง แมคอินทอช อีกด้วย เกม คอมมานด์ & คอนเคอร์ 3: ไทบีเรียมวอร์ส และ คอมมานด์ & คอนเคอร์ 3: เคนแรธ เป็นเกมที่พอร์ทลงเครื่องคอนโซล ซึ่งพอร์ตลงในเครื่อง เอกซ์บอกซ์ 360 และเกม คอมมานด์ & คอนเคอร์: เรด-อเลิร์ท 3 ก็ได้มีการพัฒนาลงเครื่อง พีซี เอกซ์บอกซ์ 360 และ เพลย์สเตชัน 3 ด้วยเช่นกัน

ในปี 1999 บริษัท อิเลคโทรนิค อาร์ต ได้ซื้อบริษัท เวสท์วูด สตูดิโอ และต่อมาได้ปิดตัวลงในปี 2002 และรวมเข้ากับ อีเอ ลอสแอนเจลิส ซึ่งมีพนักงานเก่าของเวสท์วูดทำงานอยู่ แต่บางคนก็แยกตัวไปทำงานสตูดิโอใหม่ คือ Petroglyph Games

ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2003 ซีรีส์เกม คอมมานด์ & คองเคอร์ มียอดจำหน่ายทั่วโลกรวมแล้วมากกว่า 21 ล้านชุด[4] และในปี 2008 เกมในซีรีส์นี้รวมแล้วมีทั้งหมด 8 ภาคหลัก และภาคเสริมอีกมากมาย โดย เกมที่วางจำหน่ายล่าสุดคือเกม คอมมานด์ & คองเคอร์: เรดอเลิร์ท 3 และประกาศล่าสุดของเกมภาคสุดท้ายของซีรีส์ ไทบีเรียน ในชื่อว่า "คอมมานด์ & คองเคอร์ 4: ไทบีเรียน ทไวไลท์"

ภาคเนื้อเรื่อง

[แก้]

ซีรีส์ ไทบีเรียม

[แก้]

เป็นซีรีส์ที่เป็นจุดกำเนิดของเกมส์ในซีรีส์ คอมมานด์ & คอนเคอร์ โดยเนื้อเรื่องกล่าวถึงการต่อสู้ระหว่างสองฝ่าย ได้แก่ ฝ่าย กองกำลังพิทักษ์โลก หรือ จีดีไอ (Global Defense Initiative - GDI) ซึ่งก็คือองค์การสหประชาชาตินั่นเอง และ ฝ่าย ภราดรภาพแห่งน็อด (Brotherhood of Nod) ซึ่งเป็นฝ่ายที่ต้องการไทบีเรียมเพื่อใช้ในการครองโลก และในภาค ไทบีเรื่ยมวอร์ส ได้เพิ่มฝ่ายที่สาม ซึ่งเป็นมนุษย์ต่างดาวที่เรียกว่า สคริน

เรื่องราวทั้งหมดเกิดขึ้นมาจากวัตถุประหลาดจากนอกโลก ที่เรียกว่า ไทบีเรียม มีรูปร่างเป็นเหมือนผลึกสีเขียว ตกลงมายังที่กราวด์ซีโร่ ประเทศอิตาลี และเกิดการแพร่กระจายไปทั่วโลก ทำลายสิ่งแวดล้อมทุกอย่างบนโลก จนถึงขั้นมนุษย์ไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ จนกระทั่งมีผู้ค้นพบวิธีการใช้งาน ไทบีเรียม ซึ่งสามารถนำไปแปรรูปเป็นพลังงาน ซึ่งฝ่ายจีดีไอเป็นผู้นำในการกำจัด ไทบีเรียม ให้หมดไปจากโลก ในขณะที่ฝ่ายน็อดนั้นศรัทธาเลื่อมใสในคำทำนาย ว่าผลึกสีเขียวนี้เป็น ของขวัญจากพระเจ้า ที่มอบให้เพื่อเปลี่ยนแปลงโลก

เกมในซีรีส์นี้

[แก้]

ซีรีส์ เรด-อเลิร์ท

[แก้]

เนื้อเรื่องในซีรีส์เรด-อเลิร์ทนั้นเป็นซีรีส์คู่ขนาน โดยเมื่อ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้ย้อนเวลากลับไปอดีตเพื่อลบ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ออกจากประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้ไม่เกิด สงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ทำให้ฝ่ายสหภาพโซเวียต นำโดย โจเซฟ สตาลิน บุกยุโรปแทน

ใน เรด-อเลิร์ท นั้นถูกตั้งเนื้อเรื่องไว้เป็น ภาคก่อนของ คอมมานด์ & คอนเคอร์ แต่หลังจากวางจำหน่ายคอมมานด์ & คอนเคอร์: เรดอเลิร์ท 2 เนื้อเรื่องก็ไม่ได้เชื่อมโยงกัน

ใน เรด-อเลิร์ท 2 นั้น สหภาพโซเวียต บุกโจมตีฝ่ายสหรัฐอเมริกา โดยใช้เทคโนโลยีการควบคุมจิตใจ เพื่อกำจัดกองทัพของสหรัฐฯ และตัดระบบการใช้งานของอาวุธนิวเคลียร์ ในภาคเสริม ยูริรีเวนจ์ ที่ปรึกษาของโรมานอฟ ชื่อว่า ยูริ ได้ใช้เทคโนโลยีการควบคุมจิตใจ ของตนเองยึดครองโลก

ใน เรด-อเลิร์ท 3 สหภาพโซเวียต นำโดย ผู้นำ อนาโตลี เซอร์เดนโก ได้สร้างเครื่องย้อนเวลาเพื่อให้ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เป็นพวกเดียวกับโซเวียต โดยหวังว่าจะทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรอ่อนแอลง แต่ความผิดพลาดทำให้ ไอน์สไตน์ ถูกลบออกจากประวัติศาสตร์ และยังเกิดฝ่ายใหม่ขึ้นมา ก็คือฝ่าย จักรวรรดิแห่งแดนอาทิตย์อุทัย โดยมีเทคโนโลยีนาโน และ หุ่นยนต์ที่ล้ำยุค

ภาคเสริมสำหรับของ เรด-อเลิร์ท 3 ก็คือ คอมมานด์ & คอนเคอร์: เรดอเลิร์ท 3: อัพไรซิง จำหน่ายโดย อีเอ[5] โดยภาคเสริมนี้ได้เพิ่มเติมแคมเปญใหม่ และโหมด "คอมมานเดอร์ ชาเลจ"

เกมในซีรีส์นี้

[แก้]

ซีรีส์ เจเนรัลส์

[แก้]

ซีรีส์ เจเนรัลส์ เป็นซีรีส์ที่แตกต่างจากซีรีส์อื่นๆ โดยตัวเกมใช้เอนจิน "SAGE" (หรือ Strategy Action Game Engine) ซึ่งเป็นครั้งแรกของเกม คอมมานด์ & คองเคอร์ ที่ใช้ภาพสามมิติเต็มรูปแบบในเวอร์ชันเกม RTS โดยพัฒนามาจากเอนจิน Westwood3D ซึ่งเคยใช้ในเกม คอมมานด์ & คองเคอร์: เรนนีเกด และ Emperor: Battle for Dune และเป็นครั้งแรกของเกมตระกูล C&C ที่ไม่มีภาพยนตร์คั่นฉากที่ใช้คนแสดงมาบอกเล่าเรื่องราวต่างๆในเกม อินเตอร์เฟส การก่อสร้างฐาน ในเกมนั้นต่างจากซีรีส์อื่นๆมาก[6] ในเจเนรัลส์ นั้นประกอบด้วยสามฝ่าย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยและกำลังเสริม สาธารณรัฐประชาชนจีน มีการป้องกัน รถถังและทหารจำนวนมาก และ กองทัพปลดปล่อยโลก (Global Liberation Army หรือ GLA) เครือข่ายผู้ก่อการร้าย ซึ่งใช้เทคโนโลยีต่ำและยุทธวิธีการรบแบบกองโจร รถกระบะติดปืนกล และตลาดมืด ศัตรูของฝ่ายจีแอลเอคือจีนและอเมริกา ฝ่ายอเมริกานั้นมี การสนับสนุนทางอากาศ, รถถังหุ้มเกราะ และ พลซุ่มยิง ขณะที่ฝ่ายจีนนั้นใช้ระเบิดนาปาล์ม, ทหารที่มีความรักชาติสูง และแฮกเกอร์ โรงทหารของฝ่ายจีนนั้นสามารถฝึกทหารได้เร็วกว่า ฝ่ายอื่นๆ ส่วนฝ่าย จีแอลเอ ใช้การรบแบบกลอุบายและกองโจร เช่น ระเบิดพลีชีพ อาวุธชีวภาพ และเทคโนโลยีของโซเวียต ก็คือจรวด SCUD

สำหรับภาคเสริมของ เจเนรัลส์ คือ คอมมานด์ & คอนเคอร์: เจเนรัลส์ - ซีโร่ เอาเออร์ ได้เพิ่มเติมเทคโนโลยีใหม่ๆให้ทั้งสามฝ่าย ซึ่งนำเสนอทางเลือกสามทางเลือกในการเลือก "นายพล" ของแต่ละฝ่ายที่มีลักษณะเฉพาะและยูนิตของตนเอง ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ของนายพลที่ผู้เล่นเลือก มีนายพลให้เลือกทั้งหมดเก้านาย

ไม่มีการเพิ่มฝ่ายใหม่ในเกม และในภาคเสริมนี้มีการกลับมาใช้ภาพยนตร์คั่นฉาก โดยในรูปแบบการประกาศข่าว ก่อนเริ่มทุกภารกิจ

เกมในซีรีส์นี้

[แก้]

ประวัติของผู้พัฒนา

[แก้]
เวสท์วูด สตูดิโอ (1992 – 2002)
อีเอ แปซิฟิก (หรือ เวสท์วูด แปซิฟิก) (2002 – 2003)
อีเอ ลอสแอนเจลิส (2003 – 2010)
อีเอ เพนโนมิค (2011)
วิคตอรี เกม (2011-2013)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Command and Conquer: Rivals." EA.com. Retrieved 2019-12-18.
  2. "Command & Conquer (PSP)". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-05. สืบค้นเมื่อ 2009-03-16.
  3. "Command and conquer:Renegade, on IGN".
  4. "Command & Conquer Generals Ships" (Press release). Electronic Arts. 2003-02-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-12-11. สืบค้นเมื่อ 2008-04-28.
  5. Red Alert 3: Uprising announced
  6. The Armchair Empire - PC Reviews: Command and Conquer - Generals เก็บถาวร 2013-09-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Score: 7.9 / 10 - Omni (June 8, 2003)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]