เซกา แซตเทิร์น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เซก้า แซทเทิร์น)
เซกา แซทเทิร์น
Sega Saturn
Sega Saturn logo
Sega Saturn logo
The original NA Sega Saturn
Model 2 Japanese Sega Saturn
บน: โมเดล 1 ฝั่งอเมริกา
ล่าง: โมเดล 2 ฝั่งญี่ปุ่น
ผู้ผลิตเซกา
ชนิดเครื่องเล่นวิดีโอเกม
ยุคยุคที่ห้า
วางจำหน่าย22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1994 (JP)
11 พฤษภาคม ค.ศ. 1995 (NA)
8 กรกฎาคม ค.ศ. 1995 (EU)
ยกเลิก
  • EU: ค.ศ. 1998
  • NA: มีนาคม ค.ศ. 1998[1]
  • JP: ค.ศ. 2000
ยอดจำหน่าย9.26 ล้านเครื่อง
สื่อซีดีรอม
ซีพียู2× Hitachi SH-2 @ 28.6 MHz
หน่วยความจำ2 MB RAM, 1.5 MB VRAM, 512 KB sound RAM, expandable with Extended RAM Cartridge
กราฟิกการ์ดVDP1 & VDP2 video display processors
บริการออนไลน์Sega NetLink
รุ่นก่อนหน้าเมกาไดรฟ์
รุ่นถัดไปดรีมแคสต์

เซกา แซทเทิร์น (อังกฤษ: Sega Saturn ญี่ปุ่น: セガサターン) เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมแบบ 32 บิตที่พัฒนาโดยเซกา วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1994 ในญี่ปุ่น 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1995 ในอเมริกาเหนือ และ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1995 ในยุโรป ในฐานะเครื่องเล่นวิดีโอเกมยุคที่ห้า เซกา แซตเทิร์นเป็นรุ่นต่อไปของเครื่องเล่นเกมเซกา เมกาไดรฟ์ ที่ประสบความสำเร็จ เซกา แซตเทิร์นมีสถาปัตยกรรมแบบดูอัล-ซีพียูและโปรเซสเซอร์แปดตัว เกมของเครื่องอยู่ในรูปแบบแผ่นซีดี และไลบรารีเกมของเครื่องประกอบด้วยเกมที่พอร์ตจากเกมอาร์เคดหลายเกมรวมถึงเกมต้นฉบับ

การพัฒนาเซกา แซตเทิร์นเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1992 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่เซกาเปิดตัวฮาร์ดแวร์อาร์เคดทรีดีโมเดล 1 อันล้ำสมัย เซกา แซตเทิร์นได้รับการออกแบบโดยใช้หน่วยประมวลผลกลางตัวใหม่จากฮิตาชิ บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าของญี่ปุ่น เซกาได้เพิ่มโปรเซสเซอร์แสดงผลวิดีโออีกตัวในช่วงต้น ค.ศ. 1994 เพื่อให้แข่งขันกับเพลย์สเตชัน เครื่องเล่นวิดีโอเกมของโซนี่ที่กำลังจะมาถึงได้ดียิ่งขึ้น

ในตอนแรก เซกา แซทเทิร์นประสบความสำเร็จในญี่ปุ่น แต่ล้มเหลวในการขายเป็นจำนวนมากในสหรัฐ ซึ่งถูกขัดขวางโดยการเปิดตัวที่น่าประหลาดใจในเดือนพฤษภาคม 1995 สี่เดือนก่อนวันกำหนดวางจำหน่าย หลังจากการเปิดตัวเครื่องนินเท็นโด 64 ในปลาย ค.ศ. 1996 เซกา แซทเทิร์นก็สูญเสียส่วนแบ่งการตลาดอย่างรวดเร็วในสหรัฐและหยุดการผลิตใน ค.ศ. 1998 ด้วยยอดขาย 9.26 ล้านเครื่องทั่วโลก เซกา แซทเทิร์นถือเป็นความล้มเหลวในเชิงพาณิชย์ การยกเลิกการพัฒนาเกม Sonic X-treme ซึ่งวางแผนไว้เป็นเกม 3 มิติเกมแรกในชุดเกม โซนิคเดอะเฮดจ์ฮ็อก ซึ่เป็นชุดเกมยอดนิยมของเซกาถือเป็นปัจจัยในประสิทธิภาพ เครื่องเกมที่ต่อจากเซกา แซทเทิร์นคือดรีมแคสต์ใน ค.ศ. 1998

แม้ว่าเซกา แซตเทิร์นจะเป็นที่จดจำจากเกมที่ได้รับการยอมรับอย่างดีหลายเกม อาทิ ไนต์อินทูดรีมส์ ชุดเกม แพนเซอร์ดรากูน และชุดเกม เวอร์ชัวไฟเตอร์ แต่ชื่อเสียงของเซกา แซตเทิร์นได้รับการตอบรับที่ผสมกันเนื่องจากการออกแบบฮาร์ดแวร์ที่ซับซ้อนและการสนับสนุนจากผู้พัฒนาบุคคลที่สามที่จำกัด ผู้บริหารของเซกาถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงการตัดสินใจระหว่างการพัฒนาและหยุดพัฒนาของเซกา แซตเทิร์น

อ้างอิง[แก้]

  1. Strom, Stephanie (March 14, 1998). "INTERNATIONAL BUSINESS; Sega Enterprises Pulls Its Saturn Video Console From the U.S. Market" – โดยทาง NYTimes.com.