ข้ามไปเนื้อหา

ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ลักษณะ ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน[1][2] หรือ ความสนใจภายนอก-ความสนใจภายใน (อังกฤษ: extraversion-introversion) เป็นมิติหลักอย่างหนึ่งของทฤษฎีบุคลิกภาพมนุษย์ ส่วนคำภาษาอังกฤษทั้งสองคำ คือ introversion และ extraversion เป็นคำที่จิตแพทย์ คาร์ล ยุง ได้สร้างความนิยม[3] แม้ว่าการใช้คำทั้งโดยนิยมและทางจิตวิทยาจะต่างไปจากที่ยุงได้มุ่งหมาย ความสนใจต่อสิ่งภายนอกมักปรากฏโดยเป็นการชอบเข้าสังคม/เข้ากับคนอื่นได้ง่าย ช่างพูด กระตือรือร้น/มีชีวิตชีวา เทียบกับความสนใจต่อสิ่งภายในที่ปรากฏโดยเป็นคนสงวนท่าทีและชอบอยู่คนเดียว[4] แบบจำลองบุคลิกภาพใหญ่ ๆ เกือบทั้งหมดมีแนวคิดเช่นนี้ในรูปแบบต่าง ๆ ตัวอย่างเช่นทฤษฎีลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่าง, analytical psychology (ของยุง), three-factor model (ของ ศ. ดร. ฮันส์ ไอเซงค์), 16 personality factors (ของ ศ. ดร. Raymond Cattell), Minnesota Multiphasic Personality Inventory, และตัวชี้วัดของไมเออร์ส-บริกส์

ระดับความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน เป็นค่าที่ต่อเนื่องกันเป็นอันเดียวกัน ดังนั้น ถ้าค่าของอย่างหนึ่งสูง อีกอย่างหนึ่งก็จะต้องต่ำ แต่ว่า นพ. คาร์ล ยุง และผู้พัฒนาตัวชี้วัดของไมเออร์ส-บริกส์ มีมุมมองต่างจากนี้และเสนอว่า ทุกคนมีทั้งด้านที่สนใจต่อสิ่งภายนอกและด้านที่สนใจต่อสิ่งภายใน โดยมีด้านหนึ่งมีกำลังกว่า แต่แทนที่จะเพ่งความสนใจไปที่เพียงพฤติกรรมกับคนอื่น ยุงนิยามความสนใจในสิ่งภายในว่า "เป็นแบบทัศนคติ กำหนดได้โดยทิศทางของชีวิต ที่กรองผ่านสิ่งที่อยู่ในใจที่เป็นอัตวิสัย" (คือ สนใจในเรื่องภายในจิตใจ) และความสนใจในภายนอกว่า "เป็นแบบทัศนคติ กำหนดได้โดยการพุ่งความสนใจไปที่วัตถุภายนอก" (คือโลกภายนอก)[5]

แบบต่าง ๆ

[แก้]

ความสนใจต่อสิ่งภายนอก

[แก้]

ความสนใจต่อสิ่งภายนอกเป็น "การกระทำ สภาวะ หรือนิสัยที่โดยมากเกี่ยวกับการหาความยินดีพอใจจากสิ่งที่อยู่นอกตัวเอง"[6] คนสนใจต่อสิ่งภายนอกมักจะชอบปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น กระตือรือร้น ชอบพูด กล้าพูด (assertive) และชอบสังคม เป็นคนที่มีชีวิตชีวาและมีความสุขเมื่ออยู่กับผู้อื่น เป็นผู้ที่ได้รับความเพลิดเพลินในกิจกรรมสังคมที่มีคนมาก เช่น งานปาร์ตี้ กิจกรรมชุมชน การประท้วง และในกลุ่มธุรกิจหรือการเมือง และมักจะทำงานได้ดีในกลุ่ม[7] คนสนใจต่อสิ่งภายนอกมักจะชอบใช้เวลากับคนอื่น และได้ความพอใจน้อยกว่าเมื่อใช้เวลาคนเดียว มักจะมีชีวิตชีวาใกล้ ๆ คนอื่น และมักจะเบื่อถ้าอยู่กับตนเอง

ความสนใจต่อสิ่งภายใน

[แก้]

ความสนใจต่อสิ่งภายในเป็น "ภาวะหรือความโน้มเอียงที่จะเกี่ยวข้องและสนใจในชีวิตภายในใจของตนทั้งหมดหรือโดยมาก"[8] เป็นผู้ที่คนอื่นเห็นว่าสงวนท่าทีและช่างใคร่ครวญมากกว่า[7] นักจิตวิทยาที่ได้รับความนิยมบางคนกำหนดคนสนใจต่อสิ่งภายในว่าเป็นคนที่มีกำลังเพิ่มเมื่อใคร่ครวญและมีกำลังลดลงเมื่อต้องปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น[9] นี่คล้ายกับมุมมองของยุง แม้ว่ายุงจะเพ่งความสนใจไปที่กำลังใจไม่ใช่ที่กำลังกาย แต่แนวคิดในปัจจุบันโดยมากไม่ได้แบ่งแยกในระดับนี้

คนสนใจต่อสิ่งภายในบ่อยครั้งมีความสุขในกิจกรรมที่ทำคนเดียวเช่นการอ่าน/เขียนหนังสือ การเล่นคอมพิวเตอร์ การเดินเล่น และการตกปลา นักศิลป์ นักเขียน นักประติมากรรม วิศวกร นักแต่งดนตรี และนักประดิษฐ์ ตัวอย่าง ๆ ล้วนแต่เป็นคนที่ใส่ใจต่อสิ่งภายในในระดับสูง เป็นคนที่ชอบใช้เวลาคนเดียวและได้ความยินดีพอใจน้อยกว่ากับเวลาที่ใช้กับกลุ่มคนใหญ่ ๆ แม้ว่ายังอาจชอบปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนที่ใกล้ชิด ความเชื่อใจมักจะเป็นเรื่องที่สำคัญ หลักชีวิตที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของผู้สนใจภายในก็คือการเลือกเพื่อนที่คู่ควร คนเช่นนี้มักชอบใจตั้งสมาธิทำอะไรทีละอย่าง และชอบสังเกตสถานการณ์ก่อนที่จะเข้าร่วม นี่เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดในเด็กหรือวัยรุ่นที่กำลังเติบโต[10] เป็นคนที่คิดก่อนพูด[11] เป็นคนมักจะอึดอัดเวลามีสิ่งเร้าจากงานสังคมมากเกินไป มีแม้แต่คนที่ "นิยาม" ความสนใจต่อสิ่งภายในว่า ชอบสิ่งแวดล้อมที่เงียบ ๆ และมีสิ่งเร้าน้อย[12]

แต่การเรียกคนสนใจสิ่งภายในว่าขี้อายเป็นความเข้าใจผิดที่สามัญ เพราะว่าพวกเขาชอบกิจกรรมคนเดียวมากกว่ากิจกรรมสังคม แต่ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะกลัวการเข้าสังคมเหมือนกับคนขี้อาย[13] นักเขียนผู้หนึ่งอ้างว่า วัฒนธรรมชาวตะวันตกในปัจจุบันเข้าใจความสามารถของคนที่สนใจต่อสิ่งภายในอย่างไม่ถูกต้อง ทำให้ไม่สามารถใช้พรสวรรค์และกำลังของบุคลากรได้อย่างเต็มที่[14] ผู้เขียนซึ่งเรียกตนเองว่าเป็นคนใส่ใจภายใน ชี้ว่าสังคมมีอคติต่อคนสนใจต่อสิ่งภายใน เพราะว่าตั้งแต่เด็ก พวกเขาจะถูกสอนให้รู้ว่าคนที่ชอบสังคมจะเป็นคนที่มีความสุข และดังนั้น ความสนใจต่อสิ่งภายในปัจจุบันจึงเป็นเรื่องที่ "อยู่ระหว่างความน่าผิดหวังกับความเป็นโรค"[15] แล้วกล่าวว่า ความสนใจต่อสิ่งภายในไม่ใช่เป็นลักษณะ "ที่เป็นรอง" โดยยกตัวอย่างคนสนใจภายในเช่น นักเขียน เจ. เค. โรว์ลิง นักฟิสิกส์ ไอแซก นิวตัน และอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ผู้นำ มหาตมา คานธี ผู้กำกับภาพยนตร์ สตีเวน สปีลเบิร์ก และประธานกรรรมการบริษัทกูเกิล แลร์รี เพจ หนังสือของเธอแสดงว่าทั้งคนสนใจต่อสิ่งภายในและคนสนใจต่อสิ่งภายนอกทั้งสองล้วนช่วยพัฒนาสังคม[15]

ความสนใจต่อสิ่งทั้งสอง

[แก้]

แม้ว่าจะมีคนมองว่า คำถามว่าบุคคลเป็นคนสนใจต่อสิ่งภายนอกหรือเป็นคนสนใจต่อสิ่งภายใน จะมีเพียงคำตอบเดียวจากที่เป็นไปได้สองคำตอบ แต่ว่า ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะบุคลิกภาพปัจจุบันโดยมากวัดระดับความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายในโดยเป็นมิติเดียวที่เชื่อมต่อกัน[16] ความสนใจต่อสิ่งทั้งสอง (Ambiversion) อยู่แทบจะตรงกลางพอดี[17][18] คนสนใจต่อสิ่งทั้งสองจะรู้สึกสบายพอประมาณในกลุ่มและกับปฏิสัมพันธ์ทางสังคม แต่ก็ยังชอบใช้เวลาคนเดียวอีกด้วย

ความชุกสัมพัทธ์

[แก้]

หนังสือปี 2012 (Quiet: The Power of Introverts in a World That Can't Stop Talking) รายงานว่า มีงานศึกษาที่แสดงว่า 33-50% ของคนอเมริกันเป็นคนสนใจต่อสิ่งภายใน[19] โดยมีคนบางกลุ่มที่มีความชุกที่สูงกว่า โดยมีงานสำรวจปี 2016 ที่ใช้ตัวชี้วัดของไมเออร์ส-บริกส์ (MBTI) ต่อคน 6,000 คนที่แสดงว่า ทนาย 60% และทนายทรัพย์สินทางปัญญา 90% เป็นคนสนใจต่อสิ่งภายใน[20]

การวัด

[แก้]

การวัดระดับความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายในมักจะทำโดยการแจ้งเอง (self-report) แม้ว่าจะมีการวัดที่ให้บุคคลในกลุ่มเดียวกัน (peer-report) หรือคนอื่นเป็นผู้ประเมิน (third-party observation) ก็มี การวัดโดยแจ้งเองอาจจะเป็นแบบใช้คำ (lexical)[4] หรือใช้บทความ (statements)[21] ส่วนการตัดสินใจว่าจะใช้การวัดแบบไหนเพื่อใช้ในงานวิจัย จะกำหนดโดยค่าวัดทางจิตวิทยาอื่น ๆ (psychometric property) เวลา และพื้นที่ที่มีให้ใช้ในงานศึกษา

ในภาษาอังกฤษ การวัดโดยใช้คำ (lexical) จะใช้คำวิเศษณ์แต่ละคำที่สะท้อนถึงลักษณะต่าง ๆ ของบุคลิกภาพ เช่น ชอบเข้าสังคม/เข้ากับคนอื่นได้ง่าย ช่างพูด สงวนท่าที และเงียบ คำที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสนใจต่อสิ่งภายในจะมีค่าวัดเป็นลบเพื่อรวมคะแนนของความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายในโดยเป็นค่าเดียวกัน[22] ในปี 1992 ศ.ดร.ลิวอิส โกลด์เบอร์ก ได้พัฒนาคำ 20 คำที่ใช้วัดลักษณะบุคลิกภาพ โดยเป็นส่วนของคำ 100 คำที่ใช้วัดลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่าง (Big Five personality traits)[23] ต่อมาในปี 1994 จึงมีการพัฒนาคำเพียง 8 คำที่ใช้วัด โดยเป็นส่วนของคำ 40 คำ แต่ว่า ต่อมาพบว่า คุณสมบัติทาง psychometric ของการวัดเช่นนี้ใช้ได้ไม่ดีกับคนนอกทวีปอเมริกาเหนือ[4] ในปี 2008 จึงมีการปรับปรุงวิธีการวัดอย่างเป็นระบบ (ที่เรียกว่า International English Mini-Markers) โดยเปลี่ยนไปใช้คำภาษาอังกฤษสากล ซึ่งมีความสมเหตุสมผล (validity) และความสม่ำเสมอ (reliability) ที่ดีกว่าในประชากรทั้งภายในและภายนอกทวีปอเมริกาเหนือ[4] คือ ความสม่ำเสมอของการวัดความสนใจต่อสิ่งภายนอกสำหรับผู้พูดภาษาอังกฤษแต่กำเนิดอยู่ที่ .92 และสำหรับผู้ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษแต่กำเนิดอยู่ที่ .85

การวัดโดยใช้บทความ (statement) มักจะใช้คำมากกว่า ดังนั้นก็จะใช้เนื้อที่ในการเก็บข้อมูลมากกว่าการวัดโดยใช้คำ ตัวอย่างเช่น จะมีการถามผู้รับสอบว่า ตนสามารถ "คุยกับบุคคลต่าง ๆ หลายคนที่งานปาร์ตี้หรือไม่" หรือ "มักจะอึดอัดเมื่ออยู่ด้วยกันหลาย ๆ คนหรือไม่"[21] แม้ว่าการวัดโดยวิธีนี้จะมีคุณลักษณะทางจิตวิทยาต่อประชากรอเมริกาเหนือเหมือนกับการวัดโดยคำ แต่การพัฒนาระบบวัดที่แฝงอยู่ใต้วัฒนธรรม ทำให้ใช้กับประชากรกลุ่มอื่นไม่ได้ดีเท่า[24] ยกตัวอย่างเช่น บทความที่ถามถึงความเป็นคนช่างพูดในงานปาร์ตี้บางครั้งยากที่จะตอบให้ได้ความหมายสำหรับบุคคลที่ไม่ไปงานปาร์ตี้ ดังที่สมมุติว่าเป็นเรื่องปกติสำหรับคนอเมริกัน นอกจากนั้นแล้ว คำที่เป็นภาษาพูดเฉพาะคนอเมริกาเหนืออาจจะทำให้คำถามเช่นนั้นไม่เหมาะกับผู้อื่นนอกทวีป ยกตัวอย่างเช่น บทความเช่น "ไม่ขนขวายจะเป็นคนเด่น (Keep in the background)" และ "รู้วิธีให้คนอื่นสนใจสิ่งที่ตัวพูด (Know how to captivate people)" บางครั้งเป็นเรื่องยากสำหรับคนที่ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษแต่กำเนิดที่จะเข้าใจยกเว้นเอาตามคำแปลตรง ๆ ตัว

ทฤษฎีของ ศ. ไอเซงค์

[แก้]

ศ. ดร. ฮันส์ ไอเซงค์แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอนกล่าวถึงความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน ว่าเป็นระดับที่บุคคลชอบเข้าสังคม/เข้ากับคนอื่นได้ง่าย และชอบปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยความแตกต่างทางพฤติกรรมเช่นนี้สมมุติว่าเป็นผลจากความต่างกันทางสรีรภาพของสมอง[25] คนสนใจต่อสิ่งภายนอกสืบหาความตื่นเต้นและกิจกรรมทางสังคมเพื่อจะเพิ่มระดับความตื่นตัว ในขณะที่คนสนใจต่อสิ่งภายในมักจะหลีกเลี่ยงสถานการณ์ทางสังคมเพื่อที่จะลดความตื่นตัวให้ต่ำที่สุด ดร. ไอเซงค์กำหนดความสนใจต่อสิ่งภายนอกว่าเป็นลักษณะหนึ่งในสามลักษณะใหญ่ของทฤษฎี P-E-N model of personality ของเขา ซึ่งรวมลักษณะอื่น ๆ คือ psychoticism และ neuroticism

ในเบื้องต้น ดร. ไอเซงค์เสนอว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอกเป็นสภาวะรวมของความโน้มเอียงใหญ่สองอย่างคือ ความหุนหันพลันแล่น (impulsiveness) และความเข้าสังคมได้ (sociability) ต่อจากนั้นเขาได้เพิ่มลักษณะเฉพาะอื่น ๆ อีกหลายอย่าง รวมทั้งความกระตือรือร้น (liveliness) ระดับความมีชีวิตชีวา (activity level) และความตื่นเต้นได้ง่าย (excitability) ลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้อยู่ในลำดับชั้นบุคลิกภาพของเขาและเชื่อมกับนิสัยที่เฉพาะเจาะจงบางอย่าง เช่น การชอบปาร์ตี้ในวันสุดสัปดาห์

งานศึกษาในคู่แฝดพบว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายในมีส่วนจากกรรมพันธุ์

ปัจจัยทางชีวภาพ

[แก้]

ความสำคัญสัมพัทธ์ระหว่างชีวภาพเทียบกับสิ่งแวดล้อม (nature versus environment) ที่เป็นตัวกำหนดความสนใจต่อสิ่งภายนอกยังเป็นเรื่องถกเถียงกันไม่ยุติ และเป็นจุดสนใจของงานศึกษาเป็นจำนวนมาก งานศึกษาในคู่แฝดพบว่า มีส่วนจากกรรมพันธุ์ระหว่าง 39%-58% และสิ่งแวดล้อมที่แชร์ในครอบครัวดูเหมือนจะสำคัญน้อยกว่าปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ที่พี่น้องไม่ได้แชร์ร่วมกัน[26]

ดร. ไอเซงค์เสนอว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอกมีเหตุมาจากความแตกต่างกันของความตื่นตัวในเปลือกสมอง (cortical arousal) โดยตั้งสมมติฐานว่า คนสนใจต่อสิ่งภายในมีระดับความตื่นตัวในสมองที่สูงกว่าคนสนใจต่อสิ่งภายนอก เพราะว่า คนสนใจต่อสิ่งภายนอกต้องการสิ่งเร้าภายนอกมากกว่าคนสนใจต่อสิ่งภายใน ดังนั้น จึงตีความว่านี่เป็นหลักฐานของสมมติฐานนี้ หลักฐานอื่นรวมทั้ง คนชอบใจต่อสิ่งภายในมีน้ำลายไหลออกมากกว่าโดยเป็นปฏิกิริยาต่อน้ำเลมอน (ปกติมีรสออกเปรี้ยว ๆ) ซึ่งมาจากระดับการทำงานที่สูงกว่าในส่วนสมองคือ reticular activating system ซึ่งตอบสนองต่อสิ่งเร้าเช่นอาหารและการอยู่กับบุคคลอื่น ๆ[27]

มีหลักฐานว่าความสนใจต่อสิ่งภายนอกสัมพันธ์กับความไวที่สูงกว่าของสมองส่วน mesolimbic dopamine system ที่ทำให้เกิดความสุขเมื่อได้สิ่งเร้าที่สมควร (rewarding stimuli)[28] ซึ่งอธิบายได้ส่วนหนึ่งว่าทำไมผู้สนใจต่อสิ่งภายนอกจึงมีอารมณ์เชิงบวกในระดับสูง เพาะว่า ตนไวต่อความตื่นเต้นที่ได้จากสิ่งเร้าที่อาจให้เกิดความสุขมากกว่า ผลอย่างหนึ่งก็คือ ผู้ที่สนใจต่อสิ่งภายนอกสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ที่มีการเสริมแรงเชิงบวก (positive reinforcement) คือให้เกิดความพอใจได้ดีกว่า เพราะว่าได้รับรางวัลคือความสุขมากกว่า

งานศึกษาหนึ่งพบว่า ผู้สนใจต่อสิ่งภายในมีการไหลเวียนของเลือดในสมองกลีบหน้าและสมองส่วนทาลามัสด้านหน้า (frontal หรือ anterior) มากกว่า ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้ในการคิด เช่น การวางแผนหรือการแก้ปัญหา ส่วนผู้สนใจต่อสิ่งภายนอกมีการไหลเวียนของเลือดใน Anterior cingulate cortex สมองกลีบขมับ และทาลามัสด้านหลัง (posterior) มากกว่า ซึ่งเป็นส่วนที่ปฏิบัติการเกี่ยวกับประสบการณ์ทางความรู้สึก (sensory) หรือทางอารมณ์ (emotional)[29] งานศึกษานี้และงานวิจัยอื่นชี้ว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายในสัมพันธ์กับการทำงานที่แตกต่างกันในสมองในระหว่างบุคคล

ส่วนงานศึกษาในเรื่องปริมาตรของเขตสมองพบว่า ความสนใจต่อสิ่งภายในมีสหสัมพันธ์กับปริมาตรเนื้อเทา (grey matter) ที่เพิ่มขึ้นใน prefrontal cortex ด้านขวาและจุดต่อของสมองกลีบขมับกับกลีบข้าง (temporoparietal junction) และมีสหสัมพันธ์กับปริมาตรเนื้อเทาที่เพิ่มขึ้นทั้งหมดโดยรวม ๆ[30] ส่วนงานศึกษาอื่นพบว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอกมีสหสัมพันธ์กับปริมาตรที่สูงกว่าของ prefrontal cortex ด้านซ้าย และโดยทั่วไปแล้ว สมองส่วนนี้สัมพันธ์กับการเข้ารหัสความจำอาศัยเหตุการณ์ (episodic memory) ใหม่ ๆ และพฤติกรรมแบบเข้าไปตรวจสอบ (approach) ในขณะที่ prefrontal cortex ด้านขวาสัมพันธ์กับการระลึกถึงความจำอาศัยเหตุการณ์ และพฤติกรรมแบบหลีกหนี (withdrawal)

นอกจากนั้นแล้ว ความสนใจต่อสิ่งภายนอกยังสัมพันธ์กับปัจจัยทางสรีรภาพอื่น ๆ เช่น การหายใจ ผ่านการสัมพันธ์กับ surgency ซึ่งเป็นความไวปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่บุคคลโน้มเอียงไปในอารมณ์เชิงบวกในระดับสูง[31]

พฤติกรรม

[แก้]

คนสนใจต่อสิ่งภายนอกและคนสนใจต่อสิ่งภายในมีพฤติกรรมหลายอย่างที่แตกต่างกัน ตามงานศึกษาหนึ่ง คนสนใจต่อสิ่งภายนอกมักจะใส่เสื้อผ้าที่สวยงามกว่า เทียบกับคนสนใจต่อสิ่งภายในที่มักจะใส่เสื้อผ้าที่พอใช้ได้และใส่แล้วสบาย[32] คนสนใจต่อสิ่งภายนอกมีโอกาสสูงกว่าที่จะชอบดนตรีที่ตื่นเต้น เร้าใจ และธรรมดา มากกว่าคนสนใจต่อสิ่งภายใน[33]

บุคลิกภาพมีอิทธิพลต่อการจัดที่ทำงาน โดยทั่วไปแล้ว คนสนใจต่อสิ่งภายนอกประดับที่ทำงานของตนมากกว่า เปิดประตูทิ้งไว้ มีเก้าอี้สำรองให้นั่ง และมีโอกาสสูงกว่าที่จะมีขนมให้คนอื่นทานบนโต๊ะ ซึ่งเป็นความพยายามชักชวนเพื่อนร่วมงานสนับสนุนให้มีปฏิสัมพันธ์ เปรียบเทียบกับคนสนใจต่อสิ่งภายใน ผู้ประดับที่ทำงานน้อยกว่าและมักจะจัดระเบียบให้คนไม่มาหา[34]

แม้ว่าจะมีความแตกต่างกันเช่นนี้ งานวิเคราะห์อภิมานในงานศึกษา 15 งานแสดงว่า มีความเหลื่อมล้ำกันอย่างมากระหว่างพฤติกรรมของคนทั้งสองชนิด[35] ในงานศึกษาเหล่านี้ ผู้ร่วมการทดลองใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ได้เพื่อรายงานว่าตนมีพฤติกรรมแบบสนใจต่อสิ่งภายนอก (เช่น กล้า พูดเก่ง มั่นใจ ชอบสังคม) มากแค่ไหนในช่วงเวลาต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน งานพบว่า คนสนใจต่อสิ่งภายนอกกลับมีพฤติกรรมแบบสนใจต่อสิ่งภายในเป็นประจำ และคนสนใจต่อสิ่งภายในก็นัยเดียวกัน และจริง ๆ แล้ว พฤติกรรมสนใจต่อสิ่งภายนอกแตกต่างกันในบุคคลคนเดียวกันมากกว่าแตกต่างกันในระหว่างบุคคล จุดแตกต่างที่สำคัญที่สุดก็คือ คนสนใจต่อสิ่งภายนอกมักจะมีพฤติกรรมแบบสนใจภายนอกในระดับปานกลาง 5-10% บ่อยครั้งกว่าคนสนใจภายใน ดังนั้น จากมุมมองนี้ คนสนใจต่อสิ่งภายนอกและคนสนใจต่อสิ่งภายในไม่ใช่จะ "ต่างกันโดยพื้นฐาน" แต่ว่า คนสนใจต่อสิ่งภายนอกเป็นบุคคลที่มีพฤติกรรมแบบสนใจภายนอกบ่อยครั้งกว่า ซึ่งแสดงว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอกเป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำ มากกว่าการมี

มนุษย์เป็นสัตว์ที่ซับซ้อนและไม่เหมือนใคร และเพราะว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายในต่าง ๆ กันไปอย่างต่อเนื่อง บุคคลคนหนึ่งอาจจะมีลักษณะทั้งสองอย่าง คนที่มีพฤติกรรมแบบสนใจภายในในสถานการณ์หนึ่ง อาจจะมีพฤติกรรมแบบสนใจภายนอกในอีกสถานการณ์หนึ่ง และบุคคลสามารถเรียนรู้ที่จะมีพฤติกรรมตรงข้ามกับที่ตนปกติมีในสถานการณ์บางอย่าง ยกตัวอย่างเช่น ทฤษฎี Free Trait Theory[36][37] เสนอว่า บุคคลสามารถรับเอาลักษณะอิสระ (Free Traits) โดยประพฤติตัวแบบไม่ใช่ธรรมชาติของตน เพื่อช่วยให้งานที่สำคัญต่อตนก้าวหน้าต่อไปได้ แนวคิดต่าง ๆ เหล่านี้ อธิบายความสนใจต่อสิ่งภายนอกในแง่ดี คือ แทนที่จะเป็นเรื่องตายตัวหรือเสถียร บุคคลอาจจะมีพฤติกรรมสนใจภายนอกต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับขณะ และสามารถเลือกประพฤติตัวเพื่อทำงานที่สำคัญต่อตนให้ก้าวหน้า หรือแม้แต่เพิ่มความสุขของตน

ผล

[แก้]

การยอมรับว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอกและความสนใจต่อสิ่งภายในเป็นพฤติกรรมปกติ จะช่วยให้ยอมรับตัวเองและเข้าใจผู้อื่น ยกตัวอย่างเช่น คนสนใจต่อสิ่งภายนอกสามารถยอมรับความต้องการอยู่คนเดียวของคู่ครองของตน ในขณะที่คนสนใจต่อสิ่งภายในสามารถยอมรับความต้องการปฏิสัมพันธ์ของคู่ครอง

นักวิจัยได้พบว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอกมีสหสัมพันธ์กับความสุขที่ตนแจ้งเอง ซึ่งก็คือ มีคนสนใจต่อสิ่งภายนอกมากกว่าที่รายงานระดับความสุขที่สูงกว่าคนสนใจภายใน[38][39] และมีงานวิจัยอื่นที่แสดงว่า การให้ผู้ร่วมการทดลองประพฤติแบบสนใจภายนอกช่วยเพิ่มอารมณ์ที่เป็นสุข แม้สำหรับบุคคลที่มีลักษณะเป็นคนสนใจภายใน[40] แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าคนสนใจภายในจะไม่มีความสุข คนสนใจภายนอกเพียงแต่รายงานว่ามีอารมณ์เชิงบวกมากกว่า เทียบกับคนสนใจภายในที่มักจะอยู่ใกล้ ๆ ความรู้สึกเฉย ๆ มากกว่า นี่อาจจะเป็นเพราะว่า ความสนใจภายนอกเป็นคุณลักษณะที่นิยมกว่าในสังคมชาวตะวันตกปัจจุบัน และดังนั้น คนสนใจภายในจึงอาจรู้สึกว่าตนมีค่าน้อยกว่า

นอกจากงานวิจัยเกี่ยวกับความสุข งานอื่น ๆ พบว่า คนสนใจภายนอกมักจะรายงานความนับถือตน (self-esteem) สูงกว่า[41][42] แต่ก็มีนักวิชาการอื่น ๆ ที่อ้างว่า ผลที่ได้สะท้อนให้เห็นถึงอคติทางสังคม-วัฒนธรรมที่มีในงานสำรวจ[11][43]

นักวิชาการท่านหนึ่ง (ดร. David Meyers) อ้างว่า การมีความสุขเป็นเพียงการมีลักษณะ 3 อย่าง คือ ความนับถือตน (self-esteem) การมองโลกในแง่ดี (optimism) และการสนใจต่อสิ่งภายนอก และสรุปอย่างนี้โดยอาศัยงานศึกษาที่รายงานว่า คนสนใจต่อสิ่งภายนอกมีความสุขกว่า แต่ว่า งานศึกษาก็มีข้อน่าสงสัยเพราะคำถามที่ให้กับผู้ร่วมการทดลอง เช่น "ฉันชอบอยู่กันคนอื่น (I like to be with others)" "อยู่กันฉันสนุก (I'm fun to be with)" เป็นตัววัดความสุขโดยเฉพาะของคนที่สนใจภายนอก[11] และตาม นพ.ยุง คนสนใจภายในยอมรับปัญหาและความต้องการทางจิตใจของตนได้ง่ายกว่า เทียบกับคนสนใจภายนอก ที่มักจะไม่ตระหนักถึงสิ่งเหล่านั้นเพราะมัวสนใจแต่โลกภายนอก[3] และแม้ว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอกจะมองว่าเป็นเรื่องที่น่าชอบใจทางสังคมของวัฒนธรรมตะวันตก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องดีเสมอไป ยกตัวอย่างเช่น เยาวชนที่มีลักษณะสนใจต่อสิ่งภายนอกมักจะมีพฤติกรรมผิดกฎหมาย[44] และในนัยตรงข้าม แม้ว่า ความสนใจภายในมองว่าน่าชอบใจทางสังคมน้อยกว่า แต่ก็สัมพันธ์กับลักษณะบวกอื่น ๆ เช่น ความฉลาด[45] และพรสวรรค์[46][47] เป็นช่วงเวลานานที่นักวิจัยพบว่า คนสนใจต่อสิ่งภายในมักจะประสบความสำเร็จมากกว่าในอาชีพวิชาการ ที่คนสนใจภายนอกอาจจะเห็นว่าน่าเบื่อ[48] ผู้ให้คำแนะนำด้านอาชีพบ่อยครั้งจะใช้ลักษณะบุคลิกภาพ รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ เช่นทักษะและความสนใจ เพื่อให้คำแนะนำ[49]

งานวิจัยแสดงว่า ระบบภูมิคุ้มกันทางพฤติกรรม (behavioral immune system) (ซึ่งเป็นกลไกทางใจที่ช่วยให้สัตว์สามารถตรวจจับสิ่งที่ก่อโรคภายในสิ่งแวดล้อมรอบตัว และทำให้เกิดพฤติกรรมหลีกเลี่ยงวัตถุหรือบุคคลเหล่านั้น) อาจมีอิทธิพลต่อการชอบสังคม แม้ว่า ความสนใจภายนอกจะสัมพันธ์กับผลดีหลายอย่าง เช่น ระดับความสุขที่สูงกว่า คนสนใจภายนอกมีโอกาสสูงกว่าที่จะติดโรคติดต่อเพราะว่ามักจะเจอคนมากกว่า ถ้าบุคคลมีสุขภาพอ่อนแอ การเป็นคนช่างสังคมอาจจะมีราคาสูง ดังนั้น คนมักจะประพฤติแบบสนใจภายนอกน้อยกว่าเมื่อรู้สึกอ่อนแอ และนัยตรงกันข้ามก็เหมือนกัน[50]

แม้ว่าทั้ง ความสนใจต่อสิ่งภายนอกและความสนใจต่อสิ่งภายในจะไม่จัดว่าเป็นโรค แต่ว่าผู้บำบัดโรคจิตสามารถพิจารณาพื้นอารมณ์แต่กำเนิด (temperament) เมื่อรักษาคนไข้ เพราะว่า คนไข้อาจจะตอบสนองต่อการรักษาแบบอื่นได้ดีกว่าขึ้นอยู่กับว่าตนอยู่ในจุดไหนของความสนใจภายใน-ความสนใจภายนอก ครูก็สามารถพิจารณาพื้นอารมณ์แต่กำเนิดของนักเรียนได้ด้วย เช่น ยอมรับว่า เด็กที่สนใจภายในจำเป็นต้องได้คำให้กำลังใจมากกว่าเมื่อต้องพูดต่อหน้าเพื่อน และเด็กที่สนใจภายนอกอาจจะอยู่ไม่เป็นสุขในช่วงที่ต้องอยู่ศึกษาแบบเงียบ ๆ[ต้องการอ้างอิง]

ความแตกต่างในภูมิภาคต่าง ๆ

[แก้]

นักวิชาการบางท่านอ้างว่า คนอเมริกันอยู่ในสังคมแบบสนใจต่อสิ่งภายนอก[51] ที่ให้ความสำคัญต่อพฤติกรรมสนใจภายนอกและไม่ยอมรับความสนใจภายใน[52] นี่เป็นเพราะว่าในปัจจุบันสหรัฐอเมริกาเป็นวัฒนธรรมที่เน้นบุคลิกภาพภายนอก เทียบกับวัฒนธรรมอื่น ๆ ที่คนอาจจะมีคุณค่าเพราะสิ่งที่อยู่ภายในหรือคุณธรรม[53]

วัฒนธรรมอื่น ๆ เช่น ประเทศญี่ปุ่น และเขตอื่น ๆ ที่นับถือศาสนาคริสต์อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ศาสนาพุทธ และลัทธิศูฟี เป็นต้น ให้ความสำคัญกับความสนใจต่อสิ่งภายใน[11] ความแตกต่างทางวัฒนธรรมเช่นนี้สามารถพยากรณ์ความสุขของคนในวัฒนธรรมนั้น ๆ เช่น ผู้ที่มีระดับความสนใจภายนอกสูงจะมีความสุขกว่าโดยเฉลี่ย ในวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญต่อความสนใจภายนอก และในทางตรงกันข้ามก็เหมือนกัน[54]

นักวิจัยพบว่า บุคคลที่อยู่บนเกาะมักจะเป็นคนสนใจภายในมากกว่าคนที่อยู่บนผืนแผ่นดิน และบุคคลที่มีบรรพบุรุษอยู่บนเกาะอย่างน้อย 20 ชั่วคนมักจะเป็นคนสนใจภายในมากกว่าคนที่เพิ่งมา นอกจากนั้นแล้ว คนที่อพยพจากเกาะไปยังผืนแผ่นดินมักจะสนใจภายนอกมากกว่าคนที่ยังคงอยู่บนเกาะ และมากกว่าคนที่อพยพไปยังเกาะ[54]

ความสุข

[แก้]

ดังที่กล่าวมาแล้ว คนสนใจภายนอกบ่อยครั้งมีความสุขและอารมณ์เชิงบวกมากกว่าคนสนใจภายใน[39][55][56] บทความทบทวนวรรณกรรมทรงอิทธิพลงานหนึ่งสรุปว่า บุคลิกภาพ โดยเฉพาะความสนใจภายนอกและความเสถียรทางอารมณ์ เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีที่สุดเกี่ยวกับความรู้สึกอยู่เป็นสุขที่เป็นอัตวิสัย (subjective well-being)[57] ยกตัวอย่าง เช่นงานศึกษาปี 1990[58] พบว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอกดังที่วัดโดย Extraversion Scale ของชุดคำถาม Eysenck Personality Questionnaire (EPQ) มีสหสัมพันธ์อย่างสำคัญกับความสุขที่วัดโดย Oxford Happiness Inventory และโดยใช้วิธีวัดเดียวกัน งานปี 2001 ก็พบเช่นเดียวกัน[59]

ส่วนงานปี 1986 แสดงว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอกมีสหสัมพันธ์อย่างสำคัญกับอารมณ์เชิงบวก (positive affect) แต่ไม่มีกับอารมณ์เชิงลบ[60] งานศึกษาตามยาวขนาดใหญ่ปี 1992 ก็พบผลเช่นเดียวกัน[61] โดยประเมินผลจากผู้ร่วมการทดลอง 14,407 คนจากเขต 100 เขตในประเทศสหรัฐอเมริกา และใช้แบบวัดความสุข General Well-Being Schedule แบบย่อ ซึ่งวัดทั้งอารมณ์เชิงบวกและเชิงลบ และใช้ Revised NEO Personality Inventory แบบสั้น (ของ Costa & McCrae[62]) เพื่อวัดบุคลิกภาพ ผู้เขียนรายงานว่า ผู้สนใจภายนอกประสบความอยู่เป็นสุข (well-being) ที่ดีกว่าในช่วงระยะเวลาสองระยะที่เก็บข้อมูล คือ ระหว่างปี 1971-1975 และ ระหว่าง 1981-1984

นอกจากนั้นแล้ว งานปี 1991[63] แสดงว่า คนสนใจภายนอกตอบสนองต่ออารมณ์เชิงบวกมากกว่าอารมณ์เชิงลบ เพราะว่า พวกเขาแสดงการตอบสนองด้วยอารมณ์เชิงบวกในระดับที่สูงกว่าเมื่อชักจูงให้เกิดอารมณ์เชิงบวก แต่ว่ากลับไม่ตอบสนองด้วยอารมณ์เชิงลบในระดับที่สูงกว่าเมื่อชักจูงให้เกิดอารมณ์เชิงลบ[64]

Instrumental view

[แก้]

มุมมองแบบ instrumental view เสนอว่า ลักษณะบุคลิกภาพ (personality traits) เป็นปัจจัยให้เกิดสภาวะต่าง ๆ และการกระทำ ซึ่งมีผลต่ออารมณ์ และดังนั้นจึงสร้างความแตกต่างระหว่างบุคคลในเรื่องอารมณ์[64][65]

ลักษณะบุคลิกภาพเป็นเหตุให้ชอบเข้าสังคม

[แก้]

ตาม instrumental view คำอธิบายอย่างหนึ่งที่ผู้สนใจสิ่งภายนอกแจ้งความอยู่เป็นสุขที่ดีกว่า อาจจะเป็นเพราะว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอกช่วยสร้างสถานการณ์ชีวิตที่โปรโหมตอารมณ์เชิงบวก (positive affect) ในระดับสูง โดยเฉพาะก็คือ ความสนใจต่อสิ่งภายนอกเป็นเครื่องอำนวยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมากขึ้น[55][64][66] เพราะว่า ความตื่นตัวในระดับต่ำในเปลือกสมองของบุคคลเหล่านี้ทำให้ต้องหาสถานการณ์ทางสังคมเพื่อจะเพิ่มความตื่นตัว[67]

สมมติฐานกิจกรรมทางสังคม

[แก้]

ตามสมมติฐานกิจกรรมทางสังคม (social activity hypothesis) การมีส่วนรวมในกิจกรรมสังคมสร้างอารมณ์เชิงบวก (positive affect) บ่อยครั้งขึ้น และในระดับที่สูงขึ้น ดังนั้น จึงเชื่อกันว่าเพราะว่าคนสนใจต่อสิ่งภายนอกเป็นคนชอบเข้าสังคมมากกว่า จึงมีอารมณ์เชิงบวกในระดับที่สูงกว่าเพราะการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม[68][69][70] โดยเฉพาะก็คือ งานศึกษาปี 1990[56] แสดงว่า คนสนใจภายนอกชอบใจและเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมมากกว่า และดังนั้น จึงรายงานระดับความสุขที่สูงกว่า และในงานปี 1990[58] คนสนใจภายนอกมีโอกาสน้อยกว่าที่จะหลีกเลี่ยงการเข้าร่วมกิจกรรมสังคมที่อึกทึก และมีโอกาสสูงกว่าที่จะเข้าร่วมกิจกรรมสังคมเช่น เกมในปาร์ตี้ เล่นตลก หรือว่าไปดูภาพยนตร์ งานปี 1984 ก็พบผลเช่นเดียวกัน[71] คือพบว่า คนสนใจสิ่งภายนอกเสาะหากิจกรรมทางสังคมบ่อยครั้งกว่า โดยเฉพาะกิจกรรมเวลาว่าง

แต่ว่า มีผลงานศึกษาหลายงานที่ค้านสมมติฐานกิจกรรมสังคม เรื่องแรกสุด คือ มีการพบว่า คนสนใจต่อสิ่งภายนอกมีความสุขกว่าแม้เมื่ออยู่คนเดียว โดยเฉพาะก็คือ คนสนใจต่อสิ่งภายนอกมักจะมีความสุขว่าไม่ว่าจะอยู่คนเดียวหรืออยู่กับคนอื่น หรือเมื่ออยู่ในเมืองที่มีชีวิตชีวาหรืออยู่ในชนบท[39] และโดยคล้าย ๆ กัน งานในปี 1992[61] แสดงว่า แม้ว่าคนสนใจภายนอกจะเลือกงานที่ต้องทำร่วมกับคนอื่นบ่อยครั้งกว่า (51%) เทียบกับคนสนใจภายใน (38%) แต่ก็ยังมีความสุขกว่าไม่ว่างานนั้นต้องทำร่วมกับคนอื่นหรือไม่ เรื่องที่สองก็คือ มีการพบว่า คนสนใจต่อสิ่งภายนอกรายงานกิจกรรมทางสังคมมากกว่าเป็นบางครั้งบางคราวเท่านั้น[71] แต่โดยทั่วไปแล้ว ไม่ได้มีจำนวนการเข้าสังคมมากว่าคนสนใจต่อสิ่งภายใน[39] ผลคล้าย ๆ กันก็พบในงานศึกษาปี 2008[72] ที่พบว่า ทั้งคนสนใจภายนอกและสนใจภายในทั้งสองล้วนชอบปฏิสัมพันธ์ทางสังคม แต่คนสนใจภายนอกเข้าร่วมกิจกรรมสังคมมากกว่า เรื่องที่สามก็คือ งานศึกษาต่าง ๆ แสดงว่าทั้งคนสนใจภายนอกและคนสนใจภายในเข้าร่วมกิจกรรมสังคม แต่ว่า คุณภาพของการเข้าร่วมกิจกรรมต่างกัน แม้ว่าการเข้าร่วมกิจกรรมสังคมที่บ่อยครั้งกว่าอาจเป็นเพราะคนสนใจภายนอกรู้จักคนมากกว่า แต่คนเหล่านี้อาจจะไม่ใช่เพื่อนที่ใกล้ชิด เทียบกับคนสนใจภายใน ที่เมื่อเข้าร่วมงานสังคม จะเลือกสรรมากกว่าและมีเพื่อนใกล้ชิดไม่กี่คนที่ตนใกล้ชิดเป็นพิเศษ[59]

ทฤษฎีการใส่ใจทางสังคม

[แก้]

ยังมีคำอธิบายอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับค่าสหสัมพันธ์ระดับสูงระหว่างความสนใจสิ่งภายนอกกับความสุข ที่มาจากงานศึกษาปี 2002[73] ซึ่งเสนอว่า ธรรมชาติหลักอย่างหนึ่งของความสนใจสิ่งภายนอกก็คือความโน้มเอียงที่จะประพฤติตัวเพื่อดึงดูด ธำรง และเพลิดเพลินต่อ ความสนใจทางสังคม และไม่ใช่เรื่องความไวต่อรางวัล (reward sensitivity) หรือความไวต่อความสุข โดยอ้างว่า คุณสมบัติพื้นฐานของความใส่ใจทางสังคมอย่างหนึ่ง ก็คืออาจมีผลให้ความสุข (rewarding) ดังนั้น ถ้าบุคคลแสดงอารมณ์เชิงบวกคือความกระตือรือร้น ความมีชีวิตชีวา และความตื่นเต้น คนอื่นก็จะมองคนนั้นในแง่ดี และคนนั้นก็จะได้ความใส่ใจจากผู้อื่น ปฏิกิริยาที่ดีจากคนอื่นก็จะสนับสนุนให้คนสนใจต่อสิ่งภายนอกแสดงพฤติกรรมแบบนั้น ๆ เพิ่มขึ้น[73] งานปี 2002[73] แสดงว่า วิธีการวัดการใส่ใจทางสังคมของพวกเขา คือ Social Attention Scale มีระดับสหสัมพันธ์กับความสนใจสิ่งภายนอกมากกว่าค่าวัดของความไวรางวัล (reward sensitivity)

พื้นอารมณ์แต่กำเนิด

[แก้]

มุมมองแบบพื้นอารมณ์แต่กำเนิด (Temperamental view) ตั้งอยู่ในแนวคิดว่า ลักษณะบุคลิกภาพของบุคคลสัมพันธ์โดยตรงกับความไวอารมณ์บวกและอารมณ์ลบของบุคคล[55][63][64]

แบบจำลองปฏิกิริยาทางอารมณ์

[แก้]

แบบจำลองปฏิกิริยาทางอารมณ์ (affective reactivity model) อ้างว่า กำลังปฏิกิริยาของบุคคลต่อเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดอารมณ์ที่สมควร มีเหตุมาจากความแตกต่างทางอารมณ์ (affect)[63][74] แบบจำลองนี้ตั้งอยู่บนทฤษฎีความไวต่อการเสริมแรง (reinforcement sensitivity theory) ของ ศ.ดร.เจฟฟรีย์ อะแลน เกรย์ ที่กล่าวว่า บุคคลที่มี behavioral activation system (BAS) ที่มีกำลังกว่าจะตอบสนองต่อรางวัล (reward คือความสุข) ในระดับสูง และมีแนวโน้มที่จะมีลักษณะสนใจในภายนอก ส่วนคนที่มีระบบ behavioral inhibition system (BIS) ที่มีกำลังกว่า จะตอบสนองต่อรางวัลคือความสุขน้อยกว่า และมีแนวโน้มที่จะมีลักษณะ neuroticism และความสนใจภายใน[75] ดังนั้น จึงเป็นการมองคนสนใจภายนอกว่า มีความโน้มเอียงทางพื้นอารมณ์แต่กำเนิดไปทางการมีอารมณ์เชิงบวก เนื่องจากการชักจูงให้เกิดอารมณ์เชิงบวกมีผลมากกว่าในบุคคลเหล่านี้เทียบกับคนสนใจภายใน ดังนั้น คนสนใจภายนอกจึงมักไวที่จะมีปฏิกิริยาต่อปรากฏการณ์ที่ให้ความสุข[28][63][74][76][77]

ยกตัวอย่างเช่น งานปี 2000[78] พบในการทดลองต่อกัน 2 อย่างว่า คนที่มีระบบ BIS ไวกว่า รายงานระดับอารมณ์เชิงลบที่สูงกว่าโดยเฉลี่ย ในขณะที่บุคคลที่มีระบบ (BAS) ไวกว่า รายงานระดับอารมณ์เชิงบวกที่สูงกว่า และงานปี 1999[64] พบว่า บุคคลที่มีระบบ BAS ไวกว่า รายงานอารมณ์เชิงบวกมากกว่าเมื่อมีการชักจูงให้มีอารมณ์เชิงบวก ในขณะที่ผู้มีระบบ BIS ไวกว่า รายงานว่ามีอารมณ์เชิงลบมากกว่าเมื่อมีการชักจูงให้เกิดอารมณ์เชิงลบ[ต้องการอ้างอิง]

Social reactivity theory

[แก้]

ทฤษฎีปฏิกิริยาทางสังคม (social reactivity theory) อ้างว่า มนุษย์ทุกคนต้องเข้าร่วมสถานการณ์ทางสังคมไม่ว่าจะชอบใจหรือไม่ และเพราะคนสนใจภายนอกชอบปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมากกว่าคนสนใจภายใน จึงได้อารมณ์เชิงบวก (positive affect) จากสถานการณ์เช่นนั้นมากกว่า[39][58][71] หลักฐานสนับสนุนทฤษฎีนี้มาจากงานของนักเขียน ไบรอัน ลิตเติล ผู้ทำแนวคิดเกี่ยวกับ restorative niches (ช่องคืนสภาพ) ให้เป็นที่นิยม คือเขาอ้างว่า ชีวิตบ่อยครั้งบังคับให้บุคคลมีส่วนร่วมในสถานการณ์ทางสังคม และเพราะว่าการประพฤติให้เข้ากับคนอื่นได้ไม่เป็นธรรมชาติของคนสนใจภายใน จึงทำให้รู้สึกอยู่ไม่เป็นสุข ดังนั้น วิธีการหนึ่งที่จะรักษาความรู้สึกอยู่เป็นสุขก็คือต้องชาร์จแบ็ตให้บ่อยที่สุดในที่ที่ตนสามารถกลับไปสู่สภาวะธรรมชาติของตน เป็นที่ที่ลิตเติลเรียกว่า ช่องคืนสภาพ[79]

อย่างไรก็ดี ก็ยังมีงานศึกษาที่พบว่า คนสนใจภายนอกไม่ได้ตอบสนองต่อสถานการณ์ทางสังคมอย่างมีกำลังกว่า และก็ไม่ได้รายงานระดับอารมณ์เชิงบวกที่สูงกว่าในปฏิสัมพันธ์เช่นนั้นอีกด้วย[66][72]

การควบคุมอารมณ์

[แก้]

ส่วนคำอธิบายอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการมีความสุขมากกว่า ก็คือ คนสนใจภายนอกสามารถควบคุมอารมณ์ของตนได้ดีกว่า ซึ่งหมายความว่า ในสถานการณ์ที่ไม่ชัดเจน (เช่น ในที่ที่มีการชักจูงให้เกิดพื้นอารมณ์ [mood] ทั้งเชิงบวกและเชิงลบรวม ๆ กันในปริมาณเท่า ๆ กัน) คนสนใจต่อสิ่งภายนอกมีระดับอารมณ์เชิงบวกที่ลดลงช้ากว่า และดังนั้น จึงมีอารมณ์เชิงบวกมากกว่า[80] คนสนใจต่อสิ่งภายนอกอาจจะเลือกกิจกรรมที่อำนวยความสุข (เช่น คิดถึงความจำที่ดี ๆ) มากกว่าคนสนใจภายในเมื่อคิดถึงงานยากที่ต้องทำ[81]

set-point model หรือ affect-level model

[แก้]

ตามแบบจำลองขีดตั้ง (set-point model) ระดับอารมณ์เชิงบวกและลบปกติโดยประมาณแล้วตายตัวในแต่ละบุคคล และดังนั้น หลังจากเหตุการณ์บวกหรือลบ พื้นอารมณ์ (mood) ของบุคคลนั้นจะกลับไปที่จุดตั้ง ตามทฤษฎีนี้ คนสนใจภายนอกประสบความสุขมากกว่าเพราะว่าพื้นอารมณ์ของตนมีขีดตั้งเป็นบวกกว่า และดังนั้น จึงต้องอาศัยการเสริมแรงเชิงบวก (positive reinforcement) น้อยกว่าเพื่อที่จะรู้สึกเป็นสุข[77]

ความสัมพันธ์ระหว่างความสุข-ความตื่นตัว

[แก้]

งานวิจัยปี 2008[82] แสดงว่า เมื่อกำลังรู้สึกสุข คนสนใจภายนอกและคนสนใจภายในทำสิ่งที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจจะอธิบายการประเมินความถี่และกำลังของความสุขที่มีโดยคนสนใจภายในน้อยเกินไป โดยเฉพาะก็คือ งานพบว่า สำหรับคนสนใจภายนอก ความตื่นตัวมีสหสัมพันธ์เชิงบวกกับความสุข ซึ่งก็หมายความว่า ความรู้สึกสุขมีโอกาสสูงกว่าที่จะประกอบด้วยความตื่นตัวในระดับสูงสำหรับคนสนใจภายนอก และโดยนัยตรงกันข้าม สำหรับคนสนใจภายใน ความตื่นตัวมีสหสัมพันธ์เชิงลบกับความสุข คือมีผลว่าจะมีความสุขก็เมื่อมีความตื่นตัวน้อย กล่าวอีกอย่างก็คือ ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามแผนในชีวิต ซึ่งนำมาซึ่งความสุข คนสนใจภายนอกจะเห็นสถานการณ์เช่นนี้ว่าเป็นโอกาสที่จะเริ่มทำอะไรบางอย่างและเพื่อติดตามเป้าหมาย ซึ่งนำมาซึ่งสภาวะที่ไม่อยู่เฉย ๆ ตื่นตัวและมีความสุข แต่เมื่อทุกอย่างเป็นไปตามแผนสำหรับคนสนใจภายใน บุคคลจะเห็นว่าเป็นโอกาสที่จะทำตัวสบาย ๆ ทำให้รู้สึกผ่อนคลายและมีความสุข[82]

ปัญหาค่าสหสัมพันธ์

[แก้]

แม้ว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอกจะมีค่าสหสัมพันธ์ที่สม่ำเสมอและมีกำลังกับความสุข (happiness) และความอยู่เป็นสุข (well-being) ผลงานเหล่านี้มีปัญหาเพราะมีลักษณะบุคลิกภาพอื่น ๆ ที่ก็เป็นตัวชี้ความสุขที่มีกำลังเหมือนกัน

Neuroticism และความสนใจภายนอก

[แก้]

ในงานศึกษาหลายงาน neuroticism พบว่ามีผลเท่า ถ้าไม่มากกว่าความสนใจภายนอก ต่อความสุขและความอยู่เป็นสุข งานปี 2008 จัดเด็กให้อยู่ใน 4 กลุ่มขึ้นอยู่กับคะแนนที่ได้จากการวัดความสนใจภายนอกและความเสถียรทางอารมณ์ (neuroticism)[83] ผลงานนี้ไม่แสดงความแตกต่างของระดับความสุขอย่างสำคัญของผู้สนใจภายในและผู้สนใจภายนอกที่มีอารมณ์เสถียร ในขณะบุคคลที่มีอารมณ์ไม่เสถียรในแบบทั้งสองแสดงความสุขที่น้อยกว่าบุคคลที่เสถียร ดังนั้น ในงานศึกษานี้ neuroticism ปรากฏว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญกว่าต่อความเป็นอยู่ที่ดีโดยทั่วไป

ในงานศึกษาต่อ ๆ มา นักวิจัยได้ใช้คำถามประเมินตรวจสอบลักษณะต่าง ๆ เช่น ความนับถือตนเอง (self-esteem) และเป้าหมายในชีวิต ซึ่งงานก่อน ๆ พบว่ามีสหสัมพันธ์กับความสุข การตอบสนองของผู้ร่วมการทดลองต่อวิธีวัดเหล่านี้แสดงว่า neuroticism มีผลต่อความอยู่เป็นสุขมากกว่าความสนใจต่อสิ่งภายนอก[84][85]

ลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่างอื่น ๆ

[แก้]

แม้ว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอกและ neuroticism จะมีผลที่ใหญ่ที่สุดต่อความสุข แต่ว่า ปัจจัยอื่น ๆ ของลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่างก็มีหลักฐานว่ามีสหสัมพันธ์กับความสุขและความเป็นอยู่ที่ดี ยกตัวอย่างเช่น งานศึกษาหนึ่งแสดงว่า ความพิถีพิถัน (conscientiousness) และความยินยอมเห็นใจ (agreeableness) ว่ามีค่าสหสัมพันธ์ 0.20 กับความอยู่เป็นสุขที่เป็นอัตวิสัย (subjective well-being)[86] แม้ว่า ผลของลักษณะอื่น ๆ เหล่านี้จะไม่มีกำลังเท่าความสนใจต่อสิ่งภายนอกและ neuroticism แต่ก็ชัดเจนว่ายังมีผลต่อความสุขบ้าง

นอกจากนั้นแล้ว ปฏิสัมพันธ์ระหว่างความสนใจภายนอก neuroticism และความพิถีพิถัน มีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อความอยู่เป็นสุขที่เป็นอัตวิสัย ในงานศึกษาหนึ่ง นักวิจัยใช้วิธีการวัด 3 อย่าง เพื่อประเมินความอยู่เป็นสุขที่เป็นอัตวิสัย แล้วพบว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอกบวก neuroticism สามารถใช้พยากรณ์ความอยู่เป็นสุขอย่างหนึ่ง ในขณะที่ความอยู่เป็นสุขที่วัดอีก 2 อย่าง พยากรณ์ได้ดีกว่าโดยความพิถีพิถันและ neuroticism[87] นอกจากความสำคัญในการรวมปัจจัยอื่น ๆ เพื่อประเมินความสุข งานศึกษานี้ยังแสดงอีกด้วยว่า บทนิยามปฏิบัติการ (operational definition) ของความอยู่เป็นสุข (well-being) จะไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับว่าความสนใจต่อสิ่งภายนอกเป็นหรือไม่เป็นปัจจัยพยากรณ์สำคัญ

ปัจจัยบุคลิกภาพอื่น ๆ ที่มีส่วน

[แก้]

มีหลักฐานด้วยว่า ปัจจัยทางบุคลิกภาพที่ไม่ใช่ trait (ลักษณะ) อื่น ๆ อาจมีสหสัมพันธ์กับความสุข ยกตัวอย่างเช่น งานศึกษาหนึ่งแสดงว่า มิติต่าง ๆ เกี่ยวกับเป้าหมาย เช่น ความก้าวหน้าไปยังเป้าหมายต่าง ๆ ที่สำคัญ หรือความขัดแย้งระหว่างเป้าหมาย สามารถมีผลต่อความอยู่เป็นสุขทั้งทางอารมณ์และทางความคิด[88] นักวิจัยหลายท่านยังเสนออีกด้วยว่า อย่างน้อยในวัฒนธรรมที่เน้นความเป็นตัวของตัวเอง การเข้าใจที่สอดคล้องในบุคลิกภาพของตนเอง (และประพฤติตัวตามความเข้าใจนั้น) สัมพันธ์กับความอยู่เป็นสุข[89][90][91] ดังนั้น การสนใจแต่ความสนใจต่อสิ่งภายนอก หรือแม้แต่ทั้งความสนใจต่อสิ่งภายนอกและ neuroticism น่าจะให้ความเข้าใจที่ไม่สมบูรณ์ในเรื่องความสัมพันธ์ของความสุขกับบุคลิกภาพ

วัฒนธรรม

[แก้]

นอกจากนั้นแล้ว วัฒนธรรมของตนอาจมีอิทธิพลต่อความสุข (happiness) และความอยู่เป็นสุขที่เป็นอัตวิสัย (subjective well-being) โดยทั่วไป ระดับความสุขทั่วไปจะต่าง ๆ กันไปในวัฒนธรรมต่าง ๆ และการแสดงออกถึงความสุขก็เช่นกัน การสำรวจนานาชาติพบว่า ประเทศต่าง ๆ และแม้แต่กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศนั้น ๆ มีความพึงพอใจในชีวิตโดยเฉลี่ยที่แตกต่างกัน

ยกตัวอย่างเช่น นักวิจัยคนหนึ่งพบว่าระหว่างปี 1958-1987 ความพอใจในชีวิตของคนญี่ปุ่นอยู่ราว ๆ 6 เต็ม 10 ในขณะที่คนเดนมาร์กราว ๆ 8[92] เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ภายในสหรัฐอเมริกา งานวิจัยหนึ่งพบว่า คนอเมริกันเชื้อสายยุโรปรายงานว่า มีความสุขกับชีวิตมากกว่าคนอเมริกันเชื้อสายเอเชียอย่างสำคัญ[93] นักวิจัยได้ตั้งสมมติฐานปัจจัยหลายอย่างที่อาจเป็นเหตุของความแตกต่างในประเทศต่าง ๆ รวมทั้งความแตกต่างระหว่างรายได้ของประเทศ ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง (self-serving) การยกตนเอง (self-enhancement) และธรรมชาติที่ชอบตรวจสอบ (approach) หรือหลีกเลี่ยง (avoidance)[94] โดยรวม ๆ กันแล้ว งานศึกษาเหล่านี้แสดงว่า แม้ว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายในจะมีค่าสหสัมพันธ์ที่มีกำลังกับความสุข แต่ก็ยังไม่สามารถใช้เป็นตัวพยากรณ์เดียวของความอยู่เป็นสุขที่เป็นอัตวิสัย และต้องรวมปัจจัยอื่น ๆ ด้วยเมื่อพยายามที่จะกำหนดว่าปัจจัยอะไรสัมพันธ์กับความสุข

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. สอ เสถบุตร, "extrovert", ThaiSoftware Dictionary v 6.0 (New Model English-Thai Dictionary), ผู้ที่ชอบเอาใจใส่กับสิ่งภายนอก
  2. สอ เสถบุตร, "introversion", ThaiSoftware Dictionary v 6.0 (New Model English-Thai Dictionary), การสนใจกับสิ่งภายในตัว
  3. 3.0 3.1 Juung, C. G. (1921). Psychologische Typen. Zurich: Rascher Verlag.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) (translation H.G. Baynes, 1923)
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Thompson, Edmund R. (2008). "Development and Validation of an International English Big-Five Mini-Markers". Personality and Individual Differences. 45 (6): 542–8. doi:10.1016/j.paid.2008.06.013.
  5. Jung, Carl (1995). Memories, Dreams, Reflections. London: Fontana Press. pp. 414–5. ISBN 0-00-654027-9. attitude-type characterised by orientation in life through subjective psychic contents", "an attitude type characterised by concentration of interest on the external object
  6. "Extraversion", Merriam-Webster Collegiate Dictionary (11 ed.), Springfield, Massachusetts, USA: Merriam-Webster, Inc., 2003, the act, state, or habit of being predominantly concerned with obtaining gratification from what is outside the self
  7. 7.0 7.1 "Extraversion or Introversion". The Myers & Briggs Foundation.
  8. "Introversion", Merriam-Webster Collegiate Dictionary (11 ed.), Springfield, Massachusetts, USA: Merriam-Webster, Inc., 2003, the state of or tendency toward being wholly or predominantly concerned with and interested in one's own mental life
  9. Helgoe, Laurie (2008). Introvert Power: Why Your Inner Life is Your Hidden Strength. Naperville, Illinois: Sourcebooks, Inc.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) [ต้องการเลขหน้า]
  10. Introversion. Gale Encyclopedia of Childhood & Adolescence. Gale Research. 1998.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 Laney, Marti Olsen (2002). The Introvert Advantage: How to Thrive in an Extrovert World. Workman Publishing. ISBN 0-7611-2369-5.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  12. Cain, Susan (2012). Quiet: The Power of Introverts in a World That Can't Stop Talking. Crown Publishing.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) อ้างอิงโดย
  13. Whitten, Meredith (2001-08-21). "All About Shyness". Psych Central.
  14. Cain, Susan. "Quiet: The Power of Introverts in a World That Can't Stop Talking". www.cbsnews.com. สืบค้นเมื่อ 2015-10-05.
  15. 15.0 15.1 "Book Review: Quiet: The Power of Introverts in a World That Can't Stop Talking by Susan Cain". สืบค้นเมื่อ 2015-10-05.
  16. "The OCEAN of Personality: Personality Synopsis, Chapter 4: Trait Theory". AllPsych Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-07. สืบค้นเมื่อ 2004-03-23.
  17. "Ambiversion", WordNet 2.0, eDocuLab Inc (Princeton University), 2003, (psychology) a balanced disposition intermediate between extroversion and introversion
  18. Cohen, Donald; Schmidt, James P. (1979). "Ambiversion: Characteristics of Midrange Responders on the Introversion-Extraversion Continuum". Journal of Personality Assessment. 43 (5): 514–6. doi:10.1207/s15327752jpa4305_14. PMID 16367029.
  19. * Cain, Susan (2012). Quiet: The Power of Introverts in a World That Can't Stop Talking. page 3 (Introduction) & page 280 (note 11).{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  20. Gordon, Leslie A (2016-01-01). "Most lawyers are introverted, and that's not necessarily a bad thing". ABA Journal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-08.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  21. 21.0 21.1 Goldberg, Lewis R.; Johnson, John A.; Eber, Herbert W.; Hogan, Robert; Ashton, Michael C.; Cloninger, C. Robert; Gough, Harrison G. (2006). "The international personality item pool and the future of public-domain personality measures". Journal of Research in Personality. 40 (1): 84–96. doi:10.1016/j.jrp.2005.08.007.
  22. Goldberg, Lewis R. (1992). "The development of markers for the Big-Five factor structure". Psychological Assessment. 4 (1): 26–42. doi:10.1037/1040-3590.4.1.26.
  23. Saucier, Gerard (1994). "Mini-Markers: A Brief Version of Goldberg's Unipolar Big-Five Markers". Journal of Personality Assessment. 63 (3): 506–16. doi:10.1207/s15327752jpa6303_8. PMID 7844738.
  24. Piedmont, R. L.; Chae, J.-H. (1997). "Cross-Cultural Generalizability of the Five-Factor Model of Personality: Development and Validation of the NEO PI-R for Koreans". Journal of Cross-Cultural Psychology. 28 (2): 131–155. doi:10.1177/0022022197282001.
  25. Eysenck, H. J. (1967). The biological basis of personality. Springfield, IL: Thomas Publishing.[ต้องการเลขหน้า]
  26. Tellegen, Auke; Lykken, David T.; Bouchard Jr, Thomas J.; Wilcox, Kimerly J.; Segal, NL; Rich, S (1988). "Personality similarity in twins reared apart and together". Journal of Personality and Social Psychology. 54 (6): 1031–9. doi:10.1037/0022-3514.54.6.1031. PMID 3397862.
  27. "Lemon juice experiment". BBC Home. 2014-09-17.
  28. 28.0 28.1 Depue, RA; Collins, PF (1999). "Neurobiology of the structure of personality: Dopamine, facilitation of incentive motivation, and extraversion". The Behavioral and brain sciences. 22 (3): 491–517, discussion 518-69. doi:10.1017/S0140525X99002046. PMID 11301519.
  29. Johnson, DL; Wiebe, JS; Gold, SM; Andreasen, NC; Hichwa, RD; Watkins, GL; Boles Ponto, LL (1999). "Cerebral blood flow and personality: A positron emission tomography study". The American Journal of Psychiatry. 156 (2): 252–7. PMID 9989562.
  30. Forsman, LJ; de Manzano, Ö; Karabanov, A; Madison, G; Ullén, F (2012). "Differences in regional brain volume related to the extraversion-introversion dimension—a voxel based morphometry study". Neuroscience research. 72 (1): 59–67.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  31. Shiner, Rebecca; Caspi, Avshalom (2003). "Personality differences in childhood and adolescence: Measurement, development, and consequences". Journal of Child Psychology and Psychiatry. 44 (1): 2–32. doi:10.1111/1469-7610.00101. PMID 12553411.
  32. Sharma, R. S. (1980). "Clothing behaviour, personality, and values: A correlational study". Psychological Studies. 25 (2): 137–42.
  33. Rentfrow, Peter J.; Gosling, Samuel D. (2003). "The do re mi's of everyday life: The structure and personality correlates of music preferences". Journal of Personality and Social Psychology. 84 (6): 1236–56. doi:10.1037/0022-3514.84.6.1236. PMID 12793587.
  34. Gosling, S (2008). Snoop. New York: Basic Books.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)[ต้องการเลขหน้า]
  35. Fleeson, W.; Gallagher, P. (2009). "The Implications of Big Five Standing for the Distribution of Trait Manifestation in Behavior: Fifteen Experience-Sampling Studies and a Meta-Analysis". Journal of Personality and Social Psychology. 87 (6): 1097–1114. doi:10.1037/a0016786.
  36. Little, B. R. (1996). "Free traits, personal projects and idio-tapes: Three tiers for personality research". Psychological Inquiry. 8: 340–344. doi:10.1207/s15327965pli0704_6.
  37. Little, B. R. (2008). "Personal Projects and Free Traits: Personality and Motivation Reconsidered". Social and Personality Psychology Compass. 2 (3): 1235–1254. doi:10.1111/j.1751-9004.2008.00106.x.
  38. Myers, David G (1992-07-01). "The Secrets of Happiness". Psychology Today.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  39. 39.0 39.1 39.2 39.3 39.4 Pavot, William; Diener, Ed; Fujita, Frank (1990). "Extraversion and happiness". Personality and Individual Differences. 11 (12): 1299–306. doi:10.1016/0191-8869(90)90157-M.
  40. Fleeson, William; Malanos, Adriane B.; Achille, Noelle M. (2002). "An intraindividual process approach to the relationship between extraversion and positive affect: Is acting extraverted as 'good' as being extraverted?". Journal of Personality and Social Psychology. 83 (6): 1409–22. doi:10.1037/0022-3514.83.6.1409. PMID 12500821.
  41. Swickert, Rhonda; Hittner, James B.; Kitos, Nicole; Cox-Fuenzalida, Luz-Eugenia (2004). "Direct or indirect, that is the question: A re-evaluation of extraversion's influence on self-esteem". Personality and Individual Differences. 36 (1): 207–17. doi:10.1016/S0191-8869(03)00080-1.
  42. Cheng, Helen; Furnham, Adrian (2003). "Personality, self-esteem, and demographic predictions of happiness and depression". Personality and Individual Differences. 34 (6): 921–42. doi:10.1016/S0191-8869(02)00078-8.
  43. "Extraversion privilege". Blind Privilege. 2007-03-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-25.
  44. Ryckman, R. (2004). Theories of Personality. Belmont, CA: Thomson/Wadsworth.[ต้องการเลขหน้า]
  45. Furnham, Adrian; Forde, Liam; Cotter, Tim (1998). "Personality and intelligence". Personality and Individual Differences. 24 (2): 187–92. doi:10.1016/S0191-8869(97)00169-4.
  46. Gallagher, S. A. (1990). "Personality patterns of the gifted". Understanding Our Gifted. 3 (1): 11–13.
  47. Hoehn, L.; Birely, M.K. (1988). "Mental process preferences of gifted children". Illinois Council for the Gifted Journal. 7: 28–31.
  48. Eysenck, H. J. (1971). Readings in Extraversion-Introversion. New York: Wiley.[ต้องการเลขหน้า]
  49. Ateel, Saqib Ali (2005). "Personality Career Tests".{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  50. Schaller, Mark (2011-10-31). "The behavioural immune system and the psychology of human sociality". Philosophical Transactions B. 366 (1583): 3418–3426. doi:10.1098/rstb.2011.0029.
  51. Diamond, Stephen A. (2008-11-07). "The Therapeutic Power of Sleep". Psychology Today. สืบค้นเมื่อ 2012-02-04.
  52. "Quiet, Please: Unleashing 'The Power Of Introverts'". NPR. 2012-01-30. สืบค้นเมื่อ 2012-02-04.
  53. Cain, Susan. "The Power of Introverts". TED. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-15. สืบค้นเมื่อ 2012-12-27.
  54. 54.0 54.1 Fulmer, C. Ashley; Gelfand, Michele J.; Kruglanski, Arie W.; Kim-Prieto, Chu; Diener, Ed; Pierro, Antonio; Higgins, E. Tory (2010). "On 'Feeling Right' in Cultural Contexts: How Person-Culture Match Affects Self-Esteem and Subjective Well-Being". Psychological Science. 21 (11): 1563–9. doi:10.1177/0956797610384742. PMID 20876880.
  55. 55.0 55.1 55.2 McCrae, Robert R.; Costa, Paul T. (1991). "Adding Liebe und Arbeit: The Full Five-Factor Model and Well-Being". Personality and Social Psychology Bulletin. 17 (2): 227–32. doi:10.1177/014616729101700217.
  56. 56.0 56.1 Furnham, Adrian; Brewin, Chris R. (1990). "Personality and happiness". Personality and Individual Differences. 11 (10): 1093–6. doi:10.1016/0191-8869(90)90138-H.
  57. Diener, Ed; Suh, Eunkook M.; Lucas, Richard E.; Smith, Heidi L. (1999). "Subjective well-being: Three decades of progress". Psychological Bulletin. 125 (2): 276–302. doi:10.1037/0033-2909.125.2.276.
  58. 58.0 58.1 58.2 Argyle, Michael; Lu, Luo (1990). "The happiness of extraverts". Personality and Individual Differences. 11 (10): 1011–7. doi:10.1016/0191-8869(90)90128-E.
  59. 59.0 59.1 Hills, Peter; Argyle, Michael (2001). "Emotional stability as a major dimension of happiness". Personality and Individual Differences. 31 (8): 1357–64. doi:10.1016/S0191-8869(00)00229-4.
  60. Emmons, Robert A.; Diener, Ed (1986). "Influence of impulsivity and sociability on subjective well-being". Journal of Personality and Social Psychology. 50 (6): 1211–5. doi:10.1037/0022-3514.50.6.1211.
  61. 61.0 61.1 Diener, Ed; Sandvik, Ed; Pavot, William; Fujita, Frank (1992). "Extraversion and subjective well-being in a U.S. National probability sample". Journal of Research in Personality. 26 (3): 205–15. doi:10.1016/0092-6566(92)90039-7.
  62. Costa, Paul T.; McCrae, Robert R. (1986). "Cross-sectional studies of personality in a national sample: I. Development and validation of survey measures". Psychology and Aging. 1 (2): 140–3. doi:10.1037/0882-7974.1.2.140. PMID 3267390.
  63. 63.0 63.1 63.2 63.3 Larsen, Randy J.; Ketelaar, Timothy (1991). "Personality and susceptibility to positive and negative emotional states". Journal of Personality and Social Psychology. 61 (1): 132–40. doi:10.1037/0022-3514.61.1.132. PMID 1890584.
  64. 64.0 64.1 64.2 64.3 64.4 Zelenski, John M.; Larsen, Randy J. (1999). "Susceptibility to Affect: A Comparison of Three Personality Taxonomies". Journal of Personality. 67 (5): 761–91. doi:10.1111/1467-6494.00072. PMID 10540757.
  65. Watson, D. (2000). Mood and Temperament. New York, NY: Guilford Press.[ต้องการเลขหน้า]
  66. 66.0 66.1 Lucas, Richard E.; Le, Kimdy; Dyrenforth, Portia S. (2008). "Explaining the Extraversion/Positive Affect Relation: Sociability Cannot Account for Extraverts' Greater Happiness". Journal of Personality. 76 (3): 385–414. doi:10.1111/j.1467-6494.2008.00490.x. PMID 18399958.
  67. Eysenck, H. J. (1967). The biological basis of personality. Springfield, IL: Charles C. Thomas.[ต้องการเลขหน้า]
  68. Campbell, A.; Converse, P.; Rodgers, W. (1976). The quality of American life. New York, NY: Sage.[ต้องการเลขหน้า]
  69. Eysenck, H. J.; Eysenck, M. W. (1985). Personality and individual differences. New York, NY: Plenum Press.[ต้องการเลขหน้า]
  70. Snyder, M. (1981). "On the influence of individuals on situations". ใน Cantor, N.; Kihlstrom, J. (บ.ก.). Personality, cognition and social interaction. Hillsdale, NJ: Erlbaum. pp. 309–29.
  71. 71.0 71.1 71.2 Diener, Ed; Larsen, Randy J.; Emmons, Robert A. (1984). "Person × Situation interactions: Choice of situations and congruence response models". Journal of Personality and Social Psychology. 47 (3): 580–92. doi:10.1037/0022-3514.47.3.580. PMID 6491870.
  72. 72.0 72.1 Srivastava, Sanjay; Angelo, Kimberly M.; Vallereux, Shawn R. (2008). "Extraversion and positive affect: A day reconstruction study of person-environment transactions". Journal of Research in Personality. 42 (6): 1613–8. doi:10.1016/j.jrp.2008.05.002.
  73. 73.0 73.1 73.2 Ashton, Michael C.; Lee, Kibeom; Paunonen, Sampo V. (2002). "What is the central feature of extraversion? Social attention versus reward sensitivity". Journal of Personality and Social Psychology. 83 (1): 245–52. doi:10.1037/0022-3514.83.1.245. PMID 12088129.
  74. 74.0 74.1 Tellegen, A. (1985). "Structures of mood and personality and their relevance to assessing anxiety, with an emphasis on self-report". ใน Tuma, A. H.; Maser, J. D. (บ.ก.). Anxiety and the anxiety disorders. Hillsdale, NJ: Erlbaum. pp. 681–706.
  75. Gray, J. A. (1994). "Personality dimensions and emotion systems". ใน Ekman, P.; Davidson, R. (บ.ก.). The nature of emotions: Fundamental questions. New York, NY: Oxford University Press. pp. 329–31.
  76. Carver, C. S.; Sutton, S. K.; Scheier, M. F. (2000). "Action, Emotion, and Personality: Emerging Conceptual Integration". Personality and Social Psychology Bulletin. 26 (6): 741–51. doi:10.1177/0146167200268008.
  77. 77.0 77.1 Rusting, Cheryl L.; Larsen, Randy J. (1995). "Moods as sources of stimulation: Relationships between personality and desired mood states". Personality and Individual Differences. 18 (3): 321–329. doi:10.1016/0191-8869(94)00157-N.
  78. Gable, Shelly L.; Reis, Harry T.; Elliot, Andrew J. (2000). "Behavioral activation and inhibition in everyday life". Journal of Personality and Social Psychology. 78 (6): 1135–49. doi:10.1037/0022-3514.78.6.1135. PMID 10870914.
  79. Little, Brian R. (2000). "Free traits and personal contexts: Expending a social ecological model of well-being". ใน Welsh, W. Bruce; Craik,, Kenneth H.; Price, Richard H. (บ.ก.). Person-environment Psychology: New Directions and Perspectives. Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum and Associates. pp. 87–116. ISBN 978-0-8058-2470-4.{{cite book}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)
  80. Lischetzke, Tanja; Eid, Michael (2006). "Why Extraverts Are Happier Than Introverts: The Role of Mood Regulation". Journal of Personality. 74 (4): 1127–61. doi:10.1111/j.1467-6494.2006.00405.x. PMID 16787431.
  81. Tamir, Maya (2009). "Differential Preferences for Happiness: Extraversion and Trait-Consistent Emotion Regulation". Journal of Personality. 77 (2): 447–70. doi:10.1111/j.1467-6494.2008.00554.x. PMID 19220724.
  82. 82.0 82.1 Kuppens, Peter (2008). "Individual differences in the relationship between pleasure and arousal". Journal of Research in Personality. 42 (4): 1053–9. doi:10.1016/j.jrp.2007.10.007.
  83. Young, R; Bradley, M.T. (2008). "Social withdrawal: self-efficacy, happiness, and popularity in introverted and extroverted adolescents". Canadian Journal of School Psychology. 14 (1): 21–35.
  84. Hills, P.; Argyle, M. (2001). "Happiness, introversion-extraversion and happy introverts". Personality and Individual Differences. 30: 595–608. doi:10.1016/s0191-8869(00)00058-1.
  85. Hills, P; Argyle, M. "Emotional stability as a major dimension of happiness". Personality and Individual Differences. 31: 1357–1364. doi:10.1016/s0191-8869(00)00229-4.
  86. DeNeve, KM; Cooper, H (1998). "The happy personality: A meta-analysis of 137 personality traits and subjective well-being". Psychology Bulletin. 124: 197–229. doi:10.1037/0033-2909.124.2.197. PMID 9747186.
  87. Hayes, N; Joseph, S. "Big 5 correlates of three measures of subjective well-being". Personality and Individual Differences. 34: 723–727. doi:10.1016/s0191-8869(02)00057-0.
  88. Emmons, RA (1986). "Personal strivings: an approach to personality and subjective". Annual Review of Psychology. 54: 403–425.
  89. Cantor, N; Sanderson, CA (1999). "Life task participation and well-being: the importance of taking part in daily life". Well-Being: Foundations of Hedonic Psychology: 230–243.
  90. Higgins, ET; Grant, H; Shah, J. "Self regulation and quality of life: emotional and non-emotional life experiences". Well-Being: Foundations of Hedonic Psychology: 244–266.
  91. Scheier, MF; Carver, CS (1993). "On the power of positive thinking: the benefits of being optimistic". Current Directions in Psychological Science. 2 (1): 26–30. doi:10.1111/1467-8721.ep10770572.
  92. Veenhoven, R (1993). Happiness in Nations: Subjective Appreciation of Life in 56 Nations 1946-1992. Rotterdam, The Netherlands: Erasmus University.
  93. Oishi, S (2001). "Culture and memory for emotional experiences: on-line vs. retrospective judgments of subjective well-being". Dissertation Abstracts International: Section B: The Sciences and Engineering. 61.
  94. Diener, E; Oishi, S; Lucas, R (2003). "Personality, Culture, and Subjective Well-Being: Emotional and Cognitive Evaluations Of Life". Annual Review of Psychology. 54: 403–425. doi:10.1146/annurev.psych.54.101601.145056.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]