ความพิถีพิถัน (จิตวิทยาบุคลิกภาพ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ความพิถีพิถัน)

ความพิถีพิถัน (อังกฤษ: Conscientiousness)[1]) เป็นลักษณะบุคลิกภาพ (personality trait) ที่บุคคลแสดงความละเอียดลออ ความระมัดระวัง หรือความรอบคอบ เป็นลักษณะที่แสดงถึงความต้องการที่จะทำอะไรให้ดี คนที่พิถีพิถันจะมีประสิทธิภาพและมีระเบียบ เปรียบเทียบกับคนทำอะไรง่าย ๆ หรือไม่มีระเบียบ จะโน้มเอียงไปในการมีวินัย การทำตามหน้าที่ และการตั้งเป้าหมายเพื่อความสำเร็จ จะมีพฤติกรรมแบบวางแผนแทนที่จะทำอะไรแบบทันทีทันใด และโดยทั่วไปเป็นคนที่เชื่อถือไว้ใจได้ เป็นลักษณะที่มักจะแสดงออกเป็นความเรียบร้อย การทำอะไรอย่างเป็นระบบ ความระมัดระวัง และความละเอียดรอบคอบ[2] ความพิถีพิถันเป็นลักษณะหนึ่งในลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่าง (Big Five personality traits) หรือที่เรียกว่าแบบจำลองมีปัจจัย 5 อย่าง (Five Factor) คนที่พิถีพิถันมักจะขยันทำงานและเชื่อถือได้ และมักจะเป็นคนทำตามกฎระเบียบประเพณีด้วย[3] แต่ถ้าเป็นอย่างนี้อย่างสุด ๆ ก็อาจจะเป็นคนบ้างาน เป็นคนทุกอย่างต้องเพอร์เฝ็กต์ และเป็นคนย้ำคิดย้ำทำ[4]

โดยเปรียบเทียบ คนที่ไม่พิถีพิถันมักจะเป็นคนง่าย ๆ ไม่มีเป้าหมาย และไม่มีแรงจูงใจจะทำอะไรให้สำเร็จ และมีโอกาสที่จะมีพฤติกรรมต่อต้านสังคมและก่ออาชญากรรม[5]

แบบจำลองบุคลิกภาพ[แก้]

ความพิถีพิถันเป็นมิติหนึ่งในลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่าง (หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แบบจำลองมีปัจจัย 5) ซึ่งยังประกอบด้วยมิติอื่น ๆ คือ ความสนใจต่อสิ่งภายนอก (extraversion) ความไม่เสถียรทางอารมณ์ (neuroticism) ความเปิดรับประสบการณ์ (openness to experience) และความยินยอมเห็นใจ (agreeableness) แบบทดสอบบุคลิกภาพ 2 อย่างที่ประเมินลักษณะเหล่านี้ก็คือ Revised NEO Personality Inventory (NEO PI-R)[6] และ International Personality Item Pool (IPIP)[7] และตามแบบจำลองของข้อทดสอบเหล่านี้ ความพิถีพิถันเป็นมิติที่เชื่อมต่อกัน แทนที่จะเป็นการจัดหมวดหมู่บุคคลโดย "เป็น/ไม่เป็น"

ความพิถีพิถันสัมพันธ์กับการควบคุมความหุนหันพลันแล่น (หรืออารมณ์ชั่ววูบ) แต่ก็ไม่ควรจะสับสนกับปัญหาการควบคุมความหุนหันพลันแล่นที่สัมพันธ์กับลักษณะบุคลิกภาพอื่น ๆ เช่นการสนใจสิ่งภายนอกสูง การยินยอมเห็นใจต่ำ ความยอมรับประสบการณ์สูง และความไม่เสถียรของอารมณ์ในระดับสูง คนที่ไม่พิถีพิถันจะไม่สามารถจูงใจตนเองให้ทำงานที่ต้องการจะทำให้เสร็จ[6] งานวิจัยปี 2007 แยกความพิถีพิถันออกเป็น aspect 2 อย่างคือ ความเป็นระเบียบ (orderliness) และความขยันหมั่นเพียร (industrious) โดยอย่างแรกสัมพันธ์กับความต้องการจะทำให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และอย่างหลังสัมพันธ์กับผลิตภาพ (productivity) และจริยธรรมในการทำงาน[8] ความพิถีพิถัน เมื่อคู่กับความเปิดรับประสบการณ์ที่ต่ำ เป็นตัวบ่งชี้ความอนุรักษนิยมทางการเมือง[9]

ความพิถีพิถันคาบเกี่ยวกับแบบจำลองบุคลิกภาพอื่น ๆ เช่น ในแบบจำลอง Temperament and Character Inventory (ของ C. Robert Cloninger) ซึ่งมันสัมพันธ์กับ self-directedness (การควบคุมและปรับพฤติกรรมเพื่อให้ได้ผลที่ต้องการ) และ persistence (ความอดทน)[10] และในแบบจำลอง 16 Personality Factors (ของ Raymond Cattell) มันรวมเอาลักษณะบุคลิกภาพคือ rule consciousness (ความสำนึกในกฎ) และ perfectionism (ทุกอย่างต้องเพอร์เฝ็กต์) ในแบบจำลอง alternative five (ของ Zuckerman) มันสัมพันธ์ในเชิงลบกับ impulsive sensation-seeking (การเสาะหาความรู้สึกตามอารมณ์ชั่ววูบ) บริษัทในประเทศตะวันตกบ่อยครั้งจะประเมินลักษณะต่าง ๆ (trait) ของผู้สมัครงาน ที่สัมพันธ์กับความพิถีพิถันโดยใช้แบบทดสอบที่ผู้ทำการทดสอบแจ้งเอง

แหล่งกำเนิด[แก้]

คำวิเศษณ์เช่น ขยัน วางใจได้ และอดทน เป็นคำที่แสดงลักษณะนิสัยที่น่าพอใจ แต่เพราะว่า ครั้งหนึ่งเชื่อกันว่านี่เป็นเรื่องเกี่ยวกับศีลธรรม นักจิตวิทยาจึงไม่ได้สนใจความพิถีพิถันว่าเป็นลักษณะทางจิตวิทยาจริง ๆ แต่ความจริงว่าระดับความพิถีพิถันต่างกันระหว่างบุคคล เป็นเรื่องที่ชัดเจนโดยหลักฐานจากงานศึกษาที่อาศัยมติของคนสังเกตการณ์หลายคน คือการให้คะแนนจากคนที่มีสถานะเดียวกันก็ดี หรือจากผู้เชี่ยวชาญก็ดี ได้ยืนยันสิ่งที่บุคคลนั้นแจ้งเองเกี่ยวกับความพิถีพิถันของตนเอง นอกจากนี้แล้ว คะแนนเหล่านี้ไม่ว่าตนเองจะเป็นผู้แจ้งหรือว่าคนอื่นเป็นผู้ให้ สามารถพยากรณ์ผลในชีวิตจริงเช่นความสำเร็จในการศึกษา

โดยมากในคริศต์ศตวรรษที่ 20 นักจิตวิทยาเชื่อว่า ลักษณะบุคลิกภาพสามารถแบ่งออกเป็นสองหมวด คือ พื้นอารมณ์แต่กำเนิด (temperament) และ (moral) character ลักษณะต่าง ๆ ของ temperament เชื่อว่ามีฐานทางชีวภาพ ในขณะที่ character คิดว่าเป็นสิ่งที่เรียนรู้ตอนเป็นเด็กหรือตลอดชีวิต เมื่อทฤษฎีลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่างเกิดขึ้น นักพันธุกรรมพฤติกรรมก็เริ่มศึกษาลักษณะบุคลิกภาพตลอดแนวอย่างเป็นระบบ จนกระทั่งชัดเจนว่า ลักษณะบุคลิกภาพทั้ง 5 ได้รับอิทธิพลจากกรรมพันธุ์อย่างสำคัญ เพราะว่า คู่แฝดเหมือนมีลักษณะบุคลิกภาพที่คล้ายกันมากแม้ว่าจะแยกกันเลี้ยงตั้งแต่เกิด และนี่ก็จริงด้วยสำหรับลักษณะพื้นอารมณ์แต่กำเนิด และ character ที่ศึกษา แม้ว่าพ่อแม่ผู้ปกครองและสังคมจะมีอิทธิพลต่อการแสดงออกของความพิถีพิถัน แต่ว่าจะไม่มีอิทธิพลต่อระดับของลักษณะ[11]

การวัด[แก้]

ระดับค่าของลักษณะโดยทั่วไปได้มาจากการวัดแบบแจ้งเอง (self-report) แม้ว่า การวัดโดยให้คนอื่นแจ้ง เช่น โดยคนที่อยู่ในสถานะเดียวกัน ก็มีได้เหมือนกัน การวัดแบบแจ้งเองอาจเป็นแบบใช้คำ (lexical)[2] หรือใช้บทความ (statement)[12] ส่วนการตัดสินใจว่าจะใช้การวัดแบบไหนเพื่อใช้ในงานวิจัย จะกำหนดโดยค่าวัดทางจิตวิทยาอื่น ๆ (psychometric property) เวลา และพื้นที่ที่มีให้ใช้ในงานศึกษา

การวัดแบบใช้คำ[แก้]

ในภาษาอังกฤษ การวัดโดยใช้คำ (lexical) จะใช้คำวิเศษณ์แต่ะละคำที่สะท้อนถึงลักษณะต่าง ๆ ของนิสัย เช่น ความมีประสิทธิภาพ และการทำงานเป็นระบบ เป็นการวัดที่มีประสิทธิผลทางด้านเวลาและพื้นที่ที่ใช้ในงานวิจัยเป็นอย่างดี ในปี 1992 ศ.ดร.ลิวอิส โกลด์เบอร์ก ได้พัฒนาคำ 20 คำที่ใช้วัดลักษณะบุคลิกภาพนี้ โดยเป็นส่วนของคำ 100 คำที่ใช้วัดลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่าง (Big Five personality traits)[13] ต่อมาในปี 1994 จึงมีการพัฒนาการวัดโดยใช้คำเพียง 8 คำ เป็นส่วนของคำ 40 คำ[14]

ในปี 2008 มีการปรับปรุงวิธีการวัดอย่างเป็นระบบ โดยเปลี่ยนไปใช้คำภาษาอังกฤษสากล ซึ่งมีความสมเหตุสมผล (validity) และความสม่ำเสมอ (reliability) ที่ดีกว่าในประชากรทั้งภายในและภายนอกทวีปอเมริกาเหนือ[2] โดยมีความสม่ำเสมอหรือความเชื่อถือได้ภายใน (internal consistency/reliability) ในการวัดความพิถีพิถันสำหรับผู้พูดภาษาอังกฤษแต่กำเนิดที่ .90 และสำหรับผู้พูดภาษาอังกฤษพวกอื่นที่ .86[2]

การวัดแบบใช้บทความ[แก้]

การวัดโดยใช้บทความ (statement) มักจะใช้คำมากกว่า ดังนั้นก็จะใช้เนื้อที่ในการเก็บข้อมูลและใช้เวลาทดสอบมากกว่าการวัดโดยใช้คำ ตัวอย่างเช่น จะมีการถามผู้รับสอบว่า ตน "บ่อยครั้งลืมที่จะเก็บของไว้ที่เดิม" หรือไม่ หรือ "ระมัดระวังที่จะหลีกเลี่ยงการทำผิด" หรือไม่[12] แม้ว่าการวัดโดยวิธีนี้จะมีคุณลักษณะทางจิตวิทยาต่อประชากรอเมริกาเหนือเหมือนกับการวัดโดยคำ แต่การพัฒนาระบบวัดที่แฝงอยู่ใต้วัฒนธรรม ทำให้ใช้กับประชากรกลุ่มอื่นไม่ได้ดีเท่า[15] ยกตัวอย่างเช่น บทความอังกฤษที่เป็นภาษาปากในอเมริกาเหนือเช่น "Often forget to put things back in their proper place" (บ่อยครั้งลืมที่จะเก็บของไว้ที่เดิม) และ "Am careful to avoid making mistakes" (ระมัดระวังที่จะหลีกเลี่ยงการทำผิด) บางครั้งเป็นเรื่องยากสำหรับคนที่ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษแต่กำเนิดจะเข้าใจ ซึ่งแสดงว่า การวัดที่ทำให้สมเหตุสมผลในระดับสากลอาจจะเป็นวิธีทำงานวิจัยที่ดีกว่าสำหรับคนนอกอเมริกาเหนือ

คำถามที่ใช้บ่งลักษณะ[แก้]

  • ฉันเตรียมพร้อมอยู่เสมอ (I am always prepared)
  • ฉันให้ความสนใจกับรายระเอียด (I pay attention to details)
  • ฉันจะทำงานบ้านงานหยุมหยิมให้เสร็จก่อน (I get chores done right away)
  • ฉันชอบความเป็นระเบียบ (I like order)
  • ฉันทำอะไรตามตาราง (I follow a schedule)
  • ฉันชอบทำอะไรเป๊ะ ๆ มาก (I am exacting in my work)
  • ฉันทิ้งของ ๆ ฉันไว้เรี่ยราด (I leave my belongings around) - แบบตรงข้าม
  • ฉันทำอะไรเละเทะ (I make a mess of things) - แบบตรงข้าม
  • ฉันมักจะลืมเก็บของเข้าที่บ่อย ๆ (I often forget to put things back in their proper place) - แบบตรงข้าม
  • ฉันหลบหน้าที่ (I shirk my duties) - แบบตรงข้าม[7]

พฤติกรรม[แก้]

พัฒนาการ[แก้]

ในปัจจุบัน มีข้อมูลน้อยมากในเรื่องความพิถีพิถันในเด็กเล็ก ๆ เพราะว่า แบบทดสอบที่มีไม่เหมาะกับเด็ก แต่ว่า ก็น่าจะมีความต่าง ๆ ระหว่างบุคคลของปัจจัยนี้ตั้งแต่อายุน้อย ๆ ยกตัวอย่างเช่น เรารู้ว่า เด็กสามารถมีโรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder) ซึ่งกำหนดโดยบางส่วนด้วยการมีปัญหาเกี่ยวกับสมาธิ การจัดระเบียบ และความอดทน ซึ่งเป็นลักษณะที่สัมพันธ์กับความพิถีพิถัน[ต้องการอ้างอิง] การศึกษาตามยาว (longitudinal) และตามขวาง (cross-sectional) แสดงว่า ระดับความพิถีพิถันในเด็กวัยรุ่นค่อนข้างต่ำ แต่จะเพิ่มในช่วงอายุ 18-30 ปี งานวิจัยยังแสดงด้วยว่า ความพิถีพิถันโดยทั่วไปจะเพิ่มขึ้นตามอายุในระหว่าง 21-60 แม้ว่าอัตราการเพิ่มจะลดลงบ้าง ความแตกต่างระหว่างบุคคลดำรงอยู่ได้อย่างคงยืน ซึ่งหมายความว่า ผู้ใหญ่อายุ 30 ที่ระมัดระวัง เรียบร้อย และละเอียดลออก็จะเป็นคนเช่นกันเมื่ออายุถึง 80 ปี[11]

ในชีวิตประจำวัน[แก้]

คนพิถีพิถันสูงมักจะมีระเบียบมากกว่าและมีของเรี่ยราดในบ้านและในสำนักงานน้อยกว่า ยกตัวอย่างเช่น หนังสือมักจะวางเรียงลำดับอักษร หรือจัดเป็นหัวข้อ แทนที่จะวางไว้ทั่วห้อง เสื้อผ้าก็จะพับและจัดใส่ลิ้นชักหรือตู้แทนที่จะวางไว้ที่พื้น การมีสมุดจดบันทึกตารางเวลา หรือรายการสิ่งที่จะทำ เป็นเครื่องหมายของความพิถีพิถัน และบ้านมักจะมีไฟสว่างกว่าบ้านของคนที่ไม่มีความพิถีพิถัน[16]

งานปี 2009 จัดหมวดหมู่พฤติกรรม 10 อย่างที่สัมพันธ์กับความพิถีพิถัน ในรายการที่จะแสดงต่อไป โดยเลขท้ายสุดเป็นค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (correlation coefficient) และเลขลบหมายถึงพฤติกรรมที่คนพิถีพิถันมีโอกาสแสดงน้อย[17]

  1. พูดถึงเรื่องทางเพศกับเพื่อนผู้ชาย (−.23)
  2. นั่งนอนรอบ ๆ บ้านโดยไม่ใส่เสื้อผ้า (−.22)
  3. รับคนที่ขอไปด้วยตามทาง (−.21)
  4. อ่านหนังสือพิมพ์ทำนองตื่นเต้นเป่าข่าว (−.19)
  5. ขับรถหรือนั่งรถโดยไม่ใส่เข็มขัดนิรภัย (−.19)
  6. กล่าวคำหยาบต่อหน้าผู้อื่น (−.18)
  7. ฝันกลางวันเป็นชั่วโมง (−.18)
  8. ไปซื้อของที่ร้านประหยัดขายของมือสอง (−.18)
  9. กล่าวเรื่องขำขันเชิงลามก (−.18)
  10. ฟังดนตรี (+.18)

ประสิทธิภาพในการเรียนและการทำงาน[แก้]

ความพิถีพิถันมีความสัมพันธ์เป็นพิเศษกับความสำเร็จผลทางการศึกษาในนักเรียนนักศึกษา และกับประสิทธิภาพการทำงานของทั้งผู้จัดการและลูกน้อง[18] ความพิถีพิถันน้อยสัมพันธ์อย่างมีกำลังกับการผัดวันประกันพรุ่ง[19] แต่ก็มีงานศึกษาเป็นจำนวนพอสมควรที่แสดงว่า ความพิถีพิถันมีสหสัมพันธ์เชิงบวกเล็กน้อยกับประสิทธิภาพในการทำงาน[20] และจริง ๆ แล้ว หลังจากที่รวมเชาวน์ปัญญาเข้าแล้ว ปัจจัย 4 อย่างอื่น ๆ ของลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่าง ไม่ช่วยในการพยากรณ์ความสำเร็จในอาชีพ[21]: 169 

ลูกจ้างที่พิถีพิถันมักจะไว้วางใจได้มากกว่า กระตือรือร้นมากกว่า และขยันกว่า ละมีอัตราการขาดงานและพฤติกรรมที่ไม่อำนวย เช่น ขโมยของหรือทะเลาะกับลูกจ้างอื่น ๆ น้อยกว่า[22] นอกจากนั้นแล้ว ความพิถีพิถันยังเป็นลักษณะบุคลิกภาพอย่างเดียวที่มีสหสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการทำงานในทุกระดับทุกอาชีพ ถึงกระนั้น ความยินยอมเห็นใจ (agreeableness) และความเสถียรทางอารมณ์อาจจะสำคัญ โดยเฉพาะในงานที่ต้องติดต่อกับผู้อื่นมาก[23] แต่ว่า ในบรรดาผู้จัดการหรือผู้นำประเภทต่าง ๆ ผู้บริหารสูงสุดจะทำตามกฎน้อยที่สุด ซึ่งเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของความพิถีพิถัน[24] และความพิถีพิถันก็ไม่ใช่ว่าจะมีผลให้มีประสิทธิภาพการทำงานดีทั้งหมด บางครั้งนัยตรงกันข้ามก็กลับเป็นจริง[25]

ความรู้สึกอยู่เป็นสุข[แก้]

โดยทั่วไปแล้ว ความพิถีพิถันสัมพันธ์กับความรู้สึกอยู่ดีเป็นสุขในเชิงบวก โดยเฉพาะเกี่ยวกับความพอใจในชีวิต ดังนั้น คนที่พิถีพิถันมักจะมีความสุขในชีวิตมากกว่าคนที่ไม่พิถีพิถัน[26] แม้ว่าความพิถีพิถันจะมองโดยทั่วไปว่าเป็นลักษณะที่ดี แต่ว่างานวิจัยหนึ่งแสดงนัยว่า ในบางสถานการณ์ อาจจะมีโทษต่อความรู้สึกอยู่ดีมีสุข คือในงานศึกษาตามรุ่นตามแผนที่ติดตามคน 9,570 ตลอด 4 ปี คนที่พิถีพิถันมีทุกข์มากกว่าสองเท่าถ้าตกงาน[27] ซึ่งผู้เขียนเสนอว่า อาจจะเป็นเพราะคนพิถีพิถันอธิบายเหตุว่าทำไมถึงตกงานต่างจากคนอื่น หรือว่า ประสบกับปฏิกิริยาความรู้สึกที่แรงกว่าเมื่อประสบความล้มเหลว นี่เป็นผลงานวิจัยที่เข้ากับมุมมองว่า ไม่มีลักษณะบุคลิกภาพใดที่เป็นบวกหรือลบโดยส่วนเดียว แต่ว่า จะให้ผลบวกหรือลบขึ้นอยู่กับสถานการณ์ จุดมุ่งหมายร่วมอื่น ๆ และแรงดลใจ[28]

ผลลบในชีวิต[แก้]

ความพิถีพิถันน้อยสัมพันธ์กับพฤติกรรมต่อต้านสังคมและอาชญากรรม[5] และกับการตกงาน การเป็นคนจรจัด และการติดคุก[22] ความพิถีพิถันน้อยบวกกับความยินยอมเห็นใจ (agreeableness) น้อย รวมกันสัมพันธ์กับการใช้สารเสพติด[29] คนที่พิถีพิถันน้อยเก็บเงินได้ยากและมีพฤติกรรมขอยืมเงินที่แตกต่างจากคนที่พิถีพิถัน ความพิถีพิถันสูงสัมพันธ์กับการวางแผนที่ระมัดระวังกว่าในการออกไปซื้อของ โดยซื้อของที่ไม่ได้จำเป็นตามอารมณ์ชั่ววูบน้อยกว่า[22] แต่ความพิถีพิถันมีสหสัมพันธ์เชิงบวกกับอาชญากรรมคอปกขาว (white collar crime คืออาชญากรรมที่ทำโดยคนทำงานชั้นกลางหรือสูงกว่านั้นที่ใช้อำนาจหน้าที่ของตนทำทุจริต)[30]

สุขภาพและอายุขัย[แก้]

ตามงานวิจัยที่ทำมานานกว่า 80 ปีที่เริ่มในปี 1921 ในเด็กวัยรุ่นชาวแคลิฟอร์เนียที่มีพรสวรรค์ 1,500 คน "ตัวพยากรณ์ความยืนยาวของชีวิตที่แม่นยำที่สุดก็คือความพิถีพิถัน"[31] พฤติกรรมจำเพาะที่สัมพันธ์กับความพิถีพิถันน้อย อาจจะอธิบายอิทธิพลของมันต่อความยืนยาวของชีวิต คือ มีพฤติกรรม 9 อย่างที่เป็นเหตุแนวหน้าของความตาย ซึ่งก็คือ การดื่มเหล้า การรับประทานผิดปกติ (รวมทั้งโรคอ้วน) การใช้สารเสพติด การไม่ออกกำลังกาย พฤติกรรมทางเพศที่เสี่ยง การขับรถเสี่ยง การใช้ยาสูบ การฆ่าตัวตาย และความรุนแรง เป็นพฤติกรรมล้วนพยากรณ์ได้โดยการมีความพิถีพิถันน้อย แต่ว่า พฤติกรรมทางสุขภาพสัมพันธ์กับการทำตามกฎธรรมเนียมอย่างมีกำลัง มากกว่ากับการควบคุมอารมณ์ชั่ววูบซึ่งเป็น aspect ของความพิถีพิถัน ดังที่ปรากฏ พฤติกรรมปกติทางสังคมจะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเกี่ยวกับสุขภาพ เช่น การทานอาหารที่ดีและการออกกำลังกาย การไม่สูบบุหรี่ และการดื่มเหล้าแต่พอประมาณ และคนที่พิถีพิถันทำตามพฤติกรรมเหล่านี้ได้ดีที่สุด[22] นอกจากนั้นแล้ว ความพิถีพิถันยังสัมพันธ์กับพฤติกรรมเกี่ยวกับสุขภาพเช่นการไปหาหมอเป็นประจำ การเช็คเครื่องจับควันไฟ และการทานยาตามที่หมอสั่ง ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้อาจจะรักษาสุขภาพและป้องกันโรคได้ดีกว่า[22]

ความสัมพันธ์กับคู่[แก้]

คุณภาพของความสัมพันธ์ระหว่างคู่ขึ้นอยู่กับความพิถีพิถันของคู่ และพวกที่พิถีพิถันมากกว่ามีโอกาสน้อยกว่าที่จะหย่า เพราะความพิถีพิถันสัมพันธ์กับอัตราที่ต่ำกว่าของพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการหย่า เช่น การมีชู้ การทารุณคู่ และการดื่มเหล้า พฤติกรรมที่พิถีพิถันอาจจะมีอิทธิพลโดยตรงต่อคุณภาพความสัมพันธ์ เพราะคนที่พิถีพิถันน้อยจะรับผิดชอบน้อยกว่า ตอบสนองต่อความต้องการของคู่น้อยกว่า วางโตมากกว่า และมีโอกาสมากกว่าที่จะพูดจาอย่างทำให้ขุ่นเคือง โดยนัยตรงกันข้าม คนที่พิถีพิถันรับมือกับการทะเลาะขัดกันได้ดีกว่า และทำให้เกิดการขัดแย้งไม่ตกลงกันน้อยกว่า ซึ่งอาจเป็นเพราะว่าตัวเองมีข้อตำหนิน้อยเพราะมีพฤติกรรมที่ควบคุมได้ดีและมีความรับผิดชอบ[22]

ความเจริญพันธุ์[แก้]

หญิงที่พิถีพิถันสูงปรากฏว่ามีความเจริญพันธุ์ (Fertility) ลดลง[32]

การทำตามกฎระเบียบ[แก้]

ความพิถีพิถัน (และลักษณะย่อย ๆ ของมันทั้งหมด) มีสหสัมพันธ์ในระดับสำคัญกับการทำตามกฎระเบียบ คือ conformity (+0.33, p < 0.01)[33]

ความฉลาด[แก้]

งานวิจัยกับนักศึกษามหาวิทยาลัยปี 2004 พบว่า ความพิถีพิถันมีสหสัมพันธ์เชิงลบกับเชาวน์ปัญญาอย่างสำคัญ และมีสหสัมพันธ์เชิงลบกับการคิดเหตุผลทางนามธรรม (−0.26) และการคิดเหตุผลที่ใช้คำ (verbal reasoning, −0.23) อย่างสำคัญ[34] แต่ว่า งานศึกษาขนาดใหญ่ปี 2006 ที่มีตัวอย่างหลากหลายไม่พบความสัมพันธ์เช่นนั้น คือ พบผลว่าง[35] และความสัมพันธ์เชิงลบที่พบในตัวอย่างเฉพาะเช่นในนักศึกษามหาวิทยาลัย อาจจะมีเหตุจากนักศึกษาที่มีเชาวน์ปัญญาที่ต่ำกว่า ซึ่งความจริงจะลดโอกาสที่จะได้รับเข้ามหาวิทยาลัย แต่มีความพิถีพิถันสูงทำให้ขยันเรียน แล้วจึงได้เกรดที่ดีกว่าซึ่งไม่ใช่มาจากเหตุเชาวน์ปัญญา[36]

ส่วนงานศึกษาใหญ่ปี 2006 พบว่า เชาวน์ปัญญาเฉพาะหน้า (fluid intelligence เป็นสมรรถภาพในการคิดอย่างมีเหตุผลเพื่อแก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ ๆ) มีสหสัมพันธ์เชิงลบอย่างสำคัญกับความมีระเบียบ (−0.15) ความมีวินัย (−0.08) และความรอบคอบ (−0.09) ซึ่งล้วนแต่เป็นปัจจัยย่อยของความพิถีพิถัน (โดยทั้งหมดมี p < 0.001)[37]

ทัศนคติทางการเมืองและการเชื่อฟังเจ้าหน้าที่[แก้]

ความพิถีพิถันมีความสัมพันธ์เชิงบวกแต่อ่อนกับทัศนคติทางการเมืองแบบอนุรักษนิยม[38] และมีสหสัมพันธ์เชิงบวกอย่างสำคัญกับลัทธิอำนาจนิยมแบบขวาจัด แต่แม้ว่า อำนาจนิยมแบบขวาจะเป็นตัวพยากรณ์ที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งของความเดียดฉันท์ (prejudice) แต่ว่า งานวิเคราะห์อภิมานขนาดใหญ่พบว่า ตัวความพิถีพิถันเองกลับไม่มีสหสัมพันธ์กับวามเดียดฉันท์แบบทั่วไป[39][40]

ความพิถีพิถันมีสหสัมพันธ์เชิงบวกกับการสนับสนุนให้มีการลงโทษประหารชีวิต[41] และการขัดขืนการถูกควบคุมมีสหสัมพันธ์เชิงลบอย่างสำคัญกับความพิถีพิถัน[42]

ในการทดลองแบบของมิลแกรมที่ทำในปี 2014 ความพิถีพิถันกับความยินยอมเห็นใจ (agreeableness) สัมพันธ์กับความยินยอมที่จะปล่อยการช็อกไฟฟ้าในระดับสูงต่อเหยื่ออีกคนหนึ่ง[43]

ความพิถีพิถันสัมพันธ์กับการทำตามกฎ การเชื่อฟัง และความซื่อสัตย์แบบทั่วไป[44] ความพิถีพิถันยังมีสหสัมพันธ์กับมูลฐานทางศีลธรรม (ดังที่พบใน Moral Foundations Theory) เกี่ยวกับความอนุรักษนิยม คือ "ความจงรักภักดีกับคนพวกเดียวกัน (Ingroup-Loyalty)" (.25) "ความเคารพเจ้าหน้าที่หรือผู้ใหญ่ (Authority-Respect)" (.29), "ความบริสุทธิ์-ความศักดิ์สิทธิ์ (Purity-Sanctity)" (.27)[45]

ความคิดสร้างสรรค์[แก้]

ปัจจัยย่อยของความพิถีพิถันเกี่ยวกับความไว้วางใจได้ (คือ ความมีระเบียบ การทำตามหน้าที่ และความรอบคอบ) มีสหสัมพันธ์เชิงลบกับความคิดสร้างสรรค์ ในขณะที่ปัจจัยย่อยเกี่ยวกับความุ่งมั่นให้เกิดผลสำเร็จมีสหสัมพันธ์เชิงบวก[46] ส่วนอีกงานแสดงว่า คนที่มีคะแนนสูงในเรื่องปัจจัยย่อยของความพิถีพิถันเกี่ยวกับความเป็นระเบียบมีพฤติกรรมที่สร้างสรรค์น้อยกว่า[47] และความพิถีพิถันของกลุ่มมีผลลบต่อประสิทธิภาพของกลุ่มในงานสร้างสรรค์[48] คือ กลุ่มที่มีแต่บุคคลที่พิถีพิถันประสบความลำบากในการแก้ปัญหาที่มีคำตอบไม่แน่นอน[49]

การปรับตัวได้[แก้]

งานศึกษาปี 2006 พบว่า คนที่ไม่พิถีพิถันตัดสินใจได้ดีกว่าในงาน เมื่อมีความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้คาดหวัง โดยเฉพาะก็คือ ปัจจัยย่อยของความพิถีพิถันคือความเป็นระเบียบ การทำตามหน้าที่ และความรอบคอบมีสหสัมพันธ์เชิงลบกับคุณภาพการตัดสินใจ แต่ว่า ปัจจัยย่อยคือความสามารถ ความมุ่งมั่นต่อความสำเร็จ และความมีวินัย ไม่มี[50]

ความเคร่งศาสนา[แก้]

ในบรรดาปัจจัย 5 อย่าง ความเคร่งศาสนาโดยทั่วไปสัมพันธ์โดยหลักกับความยินยอมเห็นใจ (Agreeableness) และความพิถีพิถัน[51]

ในภูมิภาคต่าง ๆ[แก้]

สหรัฐอเมริกา[แก้]

ระดับความพิถีพิถันโดยเฉลี่ยต่าง ๆ กันไปในรัฐต่าง ๆ ของสหรัฐอเมริกา คนที่อาศัยอยู่ในตอนกลางของประเทศ รวมรัฐแคนซัส เนแบรสกา โอคลาโฮมา และมิสซูรี มักจะมีคะแนนสูงกว่าโดยเฉลี่ยกว่าคนในที่อื่น ๆ ของประเทศ คนที่อยู่รัฐทางตะวันตกเฉียงใต้รวมทั้งรัฐนิวเม็กซิโก ยูทาห์ แอริโซนา ก็มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าด้วย ในบรรดารัฐทางฝั่งตะวันออก รัฐฟลอริดาเป็นรัฐเดียวที่ได้คะแนนท็อป 10 ในลักษณะบุคลิกภาพนี้ รัฐที่มีคะแนนต่ำที่สุดโดยเฉลี่ยก็คือ รัฐโรดไอแลนด์ ฮาวาย เมน และอะแลสกา ตามลำดับต่ำลง[52][53]

บริเตนใหญ่[แก้]

งานสำรวจขนาดใหญ่ของผู้อยู่อาศัยในบริเตนใหญ่พบว่า ระดับเฉลี่ยของลักษณะบุคลิกภายใหญ่ 5 อย่างรวมทั้งความพิถีพิถัน ต่างกันในเขตต่าง ๆ ของประเทศอังกฤษ เวลส์ และสกอตแลนด์ ระดับความพิถีพิถันที่สูงพบในทิศใต้ของประเทศอังกฤษ กระจัดกระจายในเขต Midlands และในเขต Scottish Highlands โดยมาก ส่วนความพิถีพิถันน้อยพบในลอนดอน เวลส์ และอังกฤษตอนเหนือ ทั้งในการเลือกตั้งปี 2005 และ 2010 การมีระดับเฉลี่ยที่สูงกว่ามีสหสัมพันธ์เชิงบวกกับการโหวตให้กับพรรคอนุรักษนิยม เชิงลบกับการโหวตให้พรรคแรงงาน และมีสหสัมพันธ์กับอัตราการแต่งงานที่สูง การมีระดับเฉลี่ยที่สูงกว่ามีสหสัมพันธ์เชิงบวกกับพยากรณ์ชีพที่สูงกว่าทั้งสำหรับชายหญิง กับการมีปัญหาสุขภาพเรื้อรังน้อยกว่า และกับอัตราการตายจากโรคหลอดเลือดสมอง มะเร็ง และโรคหัวใจที่ต่ำกว่า

ความพิถีพิถันที่สูงกว่ามีสหสัมพันธ์กับรายได้เฉลี่ยต่อปีที่ต่ำกว่าตามงานปี 2011[54]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

    • "conscientious", Merriam-Webster Collegiate Dictionary (11th ed.), Springfield, Massachusetts, USA: Merriam-Webster, Inc., 2003, scrupulous, meticulous, careful
    • "conscientious", The Concise Oxford Dictionary of current English (8th ed.), Oxford, UK: Oxford University Press, 1990, diligent and scrupulous
    • So Sethaputra, "scrupulous", Thai Software Dictionary, 6.0, ระมัดระวัง, พิถีพิถัน{{citation}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
    • So Sethaputra, "meticulous", Thai Software Dictionary, 6.0, ระมัดระวัง, พิถีพิถัน{{citation}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
    • So Sethaputra, "careful", Thai Software Dictionary, 6.0, ระมัดระวัง{{citation}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
    • "scrupulous", LEXiTRON Dictionary, 6.0, หน่วยปฏิบัติการวิจัยวิทยาการมนุษยภาษา, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2003, ละเอียดรอบคอบ
  1. 2.0 2.1 2.2 2.3 Thompson, E.R. (October 2008). "Development and Validation of an International English Big-Five Mini-Markers". Personality and Individual Differences. 45 (6): 542–548. doi:10.1016/j.paid.2008.06.013.
  2. DeYoung, Colin; Peterson, Jordan; Higgins, Daniel (2002). "Higher-order factors of the Big Five predict conformity: Are there neuroses of health?" (PDF). Personality and Individual Differences. 33: 533–552. doi:10.1016/s0191-8869(01)00171-4.
  3. Carter, Nathan L.; Guan, Li; Maples, Jessica L.; Williamson, Rachel L.; Miller, Joshua D. (2015). "The downsides of extreme conscientiousness for psychological wellbeing: The role of obsessive compulsive tendencies". Journal of Personality. Accepted Article: n/a. doi:10.1111/jopy.12177.
  4. 5.0 5.1 Ozer, D. J.; Benet-Martínez, V. (2006). "Personality and the prediction of consequential outcomes". Annual Review of Psychology. 57: 401–421. doi:10.1146/annurev.psych.57.102904.190127. PMID 16318601.
  5. 6.0 6.1 Costa, P. T.; McCrae, R. R. (1992). NEO personality Inventory professional manual. Odessa, FL: Psychological Assessment Resources.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  6. 7.0 7.1 "International Personality Item Pool". IPIP. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 February 2007.
  7. DeYoung, C. G.; Quilty, L. C.; Peterson, J. B. (2007). "Between facets and domains: 10 aspects of the Big Five". Journal of Personality and Social Psychology. 93 (5): 880–896. doi:10.1037/0022-3514.93.5.880. PMID 17983306.
  8. Hirsh, JB; DeYoung, CG; Xu, X; Peterson, JB (2010). "Compassionate liberals and polite conservatives". Personality and Social Psychology Bulletin: 655–664.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  9. De Fruyt, F.; Van De Wiele, L.; Van Heeringen, C. (2000). "Cloninger's Psychobiological Model of Temperament and Character and the Five-Factor Model of Personality". Personality and Individual Differences. 29 (3): 441–452. doi:10.1016/S0191-8869(99)00204-4.
  10. 11.0 11.1 McCrae, Robert (2004). Conscientiousness. Encyclopedia of Applied Psychology, Three-Volume Set. Academic Press. p. 470.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  11. 12.0 12.1 Goldberg, L.R.; Johnson, JA; Eber, HW; และคณะ (2006). "The international personality item pool and the future of public-domain personality measures". Journal of Research in Personality. 40 (1): 84–96. doi:10.1016/j.jrp.2005.08.007.Full Article PDF (215 KB)
  12. Goldberg, L.R. (1992). "The development of markers for the Big-Five factor structure". Psychological Assessment. 4 (1): 26–42. doi:10.1037/1040-3590.4.1.26.Full Article PDF (2.47 MB)
  13. Saucier, G (1994). "Mini-Markers - a brief version of Goldberg's unipolar big-five markers". Journal of Personality Assessment. 63 (3): 506–516. doi:10.1207/s15327752jpa6303_8. PMID 7844738.Full Article PDF (436 KB)
  14. Piedmont, R.L.; Chae, J.H. (1997). "Cross-cultural generalizability of the five-factor model of personality - Development and validation of the NEO PI-R for Koreans". Journal of Cross-Cultural Psychology. 28 (2): 131–155. doi:10.1177/0022022197282001.
  15. Gosling, S (2008). Snoop: What your stuff says about you?. New York: Basic Books.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  16. Hirsh, J.B.; DeYoung, C.G.; Peterson, J.B. (2009). "Metatraits of the Big Five differentially predict engagement and restraint of behavior". Journal of Personality. 77 (4): 1085–1101. doi:10.1111/j.1467-6494.2009.00575.x.
  17. Higgins, D.M.; Peterson, J.B.; Lee, A.; Pihl, R.O. (2007). "Prefrontal cognitive ability, intelligence, Big Five personality and the prediction of advanced academic and workplace performance". Journal of Personality and Social Psychology. 93 (2): 298–319. doi:10.1037/0022-3514.93.2.298. PMID 17645401.
  18. Dewitt, S.; Schouwenburg, H. C. (2002). "Procrastination, temptations, and incentives: The struggle between the present and the future in procrastinators and the punctual". European Journal of Personality. 16 (6): 469–489. doi:10.1002/per.461.
  19. Salgado, JF (February 1997). "The five factor model of personality and job performance in the European community". Journal of Applied Psychology. 82 (1): 30–43. doi:10.1037/0021-9010.82.1.30. PMID 9119797.
  20. Schmidt, Frank L.; Hunter, John (2004). "General Mental Ability in the World of Work: Occupational Attainment and Job Performance" (PDF). Journal of Personality and Social Psychology. 86 (1): 162–173. doi:10.1037/0022-3514.86.1.162. PMID 14717634. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 28 October 2011. สืบค้นเมื่อ 12 July 2010.
  21. 22.0 22.1 22.2 22.3 22.4 22.5 Roberts, B.W.; Jackson, J.J.; Fayard, J.V.; Edmonds, G.; Meints, J (2009). "Chapter 25. Conscientiousness". ใน Mark R. Leary, & Rick H. Hoyle (บ.ก.). Handbook of Individual Differences in Social Behavior. New York/London: The Guildford Press. pp. 257-273. ISBN 978-1-59385-647-2.
  22. Mount, MK; Barrick, MR; Stewart, GL (1998). "Five-factor model of personality and Performance in jobs involving interpersonal interactions". Human Performance. 11 (2): 145–165. doi:10.1207/s15327043hup1102&3_3 (inactive 2015-11-01).{{cite journal}}: CS1 maint: DOI inactive as of พฤศจิกายน 2015 (ลิงก์) CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  23. MacNab, Donald. "New research shows leaders are persuasive rule-breakers" (PDF). Psychometrics Canada.[ลิงก์เสีย]
  24. Tett, Robert. "Is Conscientiousness ALWAYS Positively Related to Job Performance?". Wright State University.
  25. Steel, Piers; Schmidt, Joseph; Shultz, Jonas (2008). "Refining the relationship between personality and Subjective well-being" (PDF). Psychological Bulletin. 134 (1): 138–161. doi:10.1037/0033-2909.134.1.138. PMID 18193998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 14 February 2019. สืบค้นเมื่อ 19 April 2016.
  26. Boyce, CJ; Wood, A; M; Brown, GD A. "The dark side of conscientiousness: Conscientious people experience greater drops in life satisfaction following unemployment" (PDF). Journal of Research in Personality. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 24 February 2011. สืบค้นเมื่อ 19 April 2016.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  27. Wood, AM; Tarrier, N. "Positive Clinical Psychology: A new vision and strategy for integrated research and practice" (PDF). Clinical Psychology Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 17 July 2011. สืบค้นเมื่อ 19 April 2016.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  28. Walton, KE; Roberts, BW. (2004). "On the relationship between substance use and personality traits: abstainers are not maladjusted". J. Res. Personal. 38 (6): 515–35. doi:10.1016/j.jrp.2004.01.002.
  29. Blickle, G.; Schlegel, A. (2006). "Some Personality Correlates of Business White-Collar Crime". Applied Psychology. 55 (2): 220–233. doi:10.1111/j.1464-0597.2006.00226.x.
  30. "Psychological Predictors of Long Life: An 80-year study discovers traits that help people to live longer". Psychology Today. 5 June 2012.
  31. Skirbekk, Vegard; Blekesaune, Morten (2013). "Personality Traits Increasingly Important for Male Fertility: Evidence from Norway". European Journal of Personality: n/a. doi:10.1002/per.1936.
  32. DeYoung, Colin; Peterson, Jordan; Higgins, Daniel (2002). "Higher-order factors of the Big Five predict conformity: Are there neuroses of health?" (PDF). Personality and Individual Differences. 33: 533–552. doi:10.1016/s0191-8869(01)00171-4.
  33. Moutafi, Joanna; Furnham, Adrian; Paltiel, Laurence (2004). "Why is Conscientiousness negatively correlated with intelligence?" (PDF). Personality and Individual Differences. 37 (5): 1013–1022. doi:10.1016/j.paid.2003.11.010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 23 December 2014. สืบค้นเมื่อ 19 April 2016.
  34. Luciano, M; Wainwright, MA; Wright, MJ; Martin, NG (2006). "The heritability of conscientiousness facets and their relationship to IQ and academic achievement". Personality and Individual Differences. 40: 1189–1199.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  35. Murray, A. L.; Johnson, W.; McGue, M.; Iacono, W. G. (2014). "How are conscientiousness and cognitive ability related to one another? A re-examination of the intelligence compensation hypothesis". Personality and Individual Differences. 70: 17. doi:10.1016/j.paid.2014.06.014.
  36. Moutafi, Joanna; Furnham, Adrian; Crump, John (2006). "What facets of openness and conscientiousness predict fluid intelligence score?". Learning and Individual Differences. 16: 31–42. doi:10.1016/j.lindif.2005.06.003.
  37. Sibley, Chris G.; Osborne, Danny; Duckitt, John (2012). "Personality and political orientation: Meta-analysis and test of a Threat-Constraint Model". Journal of Research in Personality. 46 (6): 664–677. doi:10.1016/j.jrp.2012.08.002.
  38. Sibley, Chris; Duckitt, John (2008). "Personality and Prejudice: A Meta-Analysis and Theoretical Review". Pers Soc Psychol Rev. 12 (3): 248. doi:10.1177/1088868308319226. PMID 18641385. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 May 2016. สืบค้นเมื่อ 19 April 2016.
  39. Palmer, Carl (2014). "The Prejudiced Personality? Using the Big Five to Predict Susceptibility to Stereotyping Behavior". Illinois State University - Department of Politics and Government.
  40. Kandola, Sunpreet Singh; Egan, Vincent (2014). "Individual differences underlying attitudes to the death penalty". Personality and Individual Differences. 66: 48–53. doi:10.1016/j.paid.2014.03.005.
  41. Watson, David (2001). "Procrastination and the ®ve-factor model: a facet level analysis" (PDF). Personality and Individual Differences. 30: 149–158. doi:10.1016/s0191-8869(00)00019-2.
  42. Bègue, Laurent; Beauvois, Jean-Léon; Courbert, Didier; Oberblé, Dominique; Lepage, Johan; Duke, Aaron (2014). "Personality Predicts Obedience in a Milgram Paradigm". Journal of Personality. 83 (3): 299. doi:10.1111/jopy.12104. PMID 24798990.
  43. Hogan, Robert; Johnson, John; Briggs, Stephen (1997). Handbook of Personality Psychology. Academic Press. p. 856. ISBN 978-0-12-134645-4.
  44. Hirsh, J. B.; DeYoung, C. G.; Xiaowen Xu; Peterson, J. B. (6 April 2010). "Compassionate Liberals and Polite Conservatives: Associations of Agreeableness With Political Ideology and Moral Values". Personality and Social Psychology Bulletin. 36 (5): 655–664. doi:10.1177/0146167210366854. PMID 20371797. See p. 660.
  45. Reiter-Palmon, Roni; Illies, Jody; Kobe-Cross, Lisa (2009). "Conscientiousness Is Not Always a Good Predictor of Performance: The Case of Creativity". The international journal of creativity & problem solving. 19: 27–45.
  46. Bakx, Nina. "Which personality traits do innovative people possess?". Universiteit van Amsterdam. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-31. สืบค้นเมื่อ 19 April 2016.
  47. Robert, Christopher; Cheung, Yu Ha (April 2010). "An examination of the relationship between conscientiousness and group performance on a creative task". Journal of Research in Personality. 44 (2): 222–231. doi:10.1016/j.jrp.2010.01.005.
  48. Colarelli, Stephen (2003). No best way : an evolutionary perspective on human resource management. Westport, Conn. : Praeger. p. 159. ISBN 0-275-95739-X.
  49. Lepine, Jeffrey; Colquitt, Jason; Erez, Amir (2000). "Adaptability to changing task context: effects of general cognitive ability, conscientiousness, and openness to experience". Personnel Psychology. 53 (3): 563–593. doi:10.1111/j.1744-6570.2000.tb00214.x.
  50. Saroglou, Vassilis (2002). "Religion and the five-factors of personality: A meta-analytic review". Personality and Individual Diffenences: 15–25.
  51. Simon, Stephanie (23 September 2008). "The United States of Mind. Researchers Identify Regional Personality Traits Across America". WSJ.com.
  52. Rentfrow, Peter J; Gosling, Samuel D; Potter, Jeff (2008). "A Theory of the Emergence, Persistence, and Expression of Geographic Variation in Psychological Characteristics". Perspectives on Psychological Science. 3 (5): 339–369. doi:10.1111/j.1745-6924.2008.00084.x. PMID 26158954.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  53. Rentfrow, Peter J.; Jokela, Markus; Lamb, Michael E. (24 March 2015). "Regional Personality Differences in Great Britain". PLOS ONE. 10 (3): 1–20. doi:10.1371/journal.pone.0122245.