ไดโด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไดโด (ญี่ปุ่น: 大同โรมาจิ: 'Daidō') เป็น ศักราชของญี่ปุ่น หลังจากปี เอ็นเรียกุ และก่อนปี โคนิง ช่วงเวลานี้กินเวลาตั้งแต่พฤษภาคม ปี ค.ศ. 806 ถึงกันยายน ปี ค.ศ. 810[1] จักรพรรดิผู้ครองราชย์คือ จักรพรรดิเฮเซ (平城天皇) และ จักรพรรดิซางะ (嵯峨天皇)[2]

เปลี่ยนปีศักราช[แก้]

  • 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 806: ชื่อของศักราชใหม่ถูกสร้างขึ้นเพื่อแสดงถึงเหตุการณ์หรือชุดของเหตุการณ์ ศักราชก่อนสิ้นสุดและศักราชใหม่เริ่มขึ้นในปี เอ็นเรียกุ ที่ 25 เมื่อวันที่ 18 เดือน 5 ปี ค.ศ. 806[3]

เหตุการณ์ในปีไดโด[แก้]

  • 9 เมษายน ค.ศ. 806 (ปี ไดโด ที่ 1 วันที่ 17 เดือน 3): ในปีที่ 25 แห่งรัชกาลจักรพรรดิคัมมุ (桓武天皇25年) พระองค์สวรรคต และแม้จะมีข้อพิพาทที่ตามมาว่าผู้ใดจะเป็นผู้ปกครองสืบต่อจากพระองค์ นักวิชาการร่วมสมัยจึงตีความว่าราชบัลลังก์ได้รับการสืบทอดโดยโอรสของพระองค์ หลังจากนั้นไม่นาน จักรพรรดิเฮเซได้เสด็จขึ้นครองราชย์[4]
  • 8 มิถุนายน ค.ศ. 806 (ปี เอ็นเรียกุ ที่ 25 วันที่ 18 เดือน 5): จักรพรรดิเฮเซ ได้ประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกที่ พระราชวังหลวงเฮอัง ภายหลังจากขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อจาก จักรพรรดิคัมมุ พระราชบิดาเมื่อวันที่ 17 เดือน 3 ปี เอ็นเรียกุ ที่ 25 ตรงกับวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 806
  • 9 มิถุนายน ค.ศ. 806 (ปี ไดโด ที่ 1 วันที่ 19 เดือน 5): จักรพรรดิเฮเซได้สถาปนาเจ้าชายคามิโนะพระราชอนุชาขึ้นเป็นรัชทายาทซึ่งต่อมาเจ้าชายคามิโนะได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็น จักรพรรดิซางะ
  • 18 พฤษภาคม ค.ศ. 809 (ปี ไดโด ที่ 4 วันที่ 1 เดือน 4): ในปีที่ 4 แห่งรัชกาลจักรพรรดิเฮเซ (平城天皇4年) พระองค์ประชวรและสละราชสมบัติ และได้รับการสืบทอดโดยพระราชอนุชาของพระองค์ หลังจากไม่นาน จักรพรรดิซางะได้เสด็จขึ้นครองราชย์[5]

ตารางเทียบศักราช[แก้]

ไดโด 1 2 3 4 5
ค.ศ. 806 807 808 809 810
พ.ศ. 1349 1350 1351 1352 1353

อ้างอิง[แก้]

  1. Nussbaum, Louis-Frédéric. (2005). "Daidō" in Japan Encyclopedia, p. 137, p. 137, ที่ Google Books; n.b., Louis-Frédéric is pseudonym of Louis-Frédéric Nussbaum, see Deutsche Nationalbibliothek Authority File.
  2. Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon, pp. 96-97; Brown, Delmer et al. (1979). Gukanshō, pp. 279-280; Varley, H. Paul. Jinnō Shōtōki, p. 151.
  3. Brown, p. 280.
  4. Titsingh, p. 95; Brown, pp. 278-279; Varley, p. 44. [A distinct act of senso is unrecognized prior to Emperor Tenji; and all sovereigns except Jitō, Yōzei, Go-Toba, and Fushimi have senso and sokui in the same year until the reign of Emperor Go-Murakami.
  5. Titsingh, p. 96; Brown, p. 280; Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki, p. 44.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า ไดโด ถัดไป
เอ็นเรียะกุ
รัชศกญี่ปุ่น
(ค.ศ. 806 — ค.ศ. 810)
โคนิง