กังฟูแพนด้า จอมยุทธ์พลิกล็อค ช็อคยุทธภพ
กังฟูแพนด้า จอมยุทธ์พลิกล็อค ช็อคยุทธภพ | |
---|---|
โปสเตอร์กังฟูแพนด้า | |
กำกับ | John Stevenson Mark Osborne |
บทภาพยนตร์ | Jonathan Aibel Glenn Berger |
เนื้อเรื่อง | Ethan Reiff Cyrus Voris |
อำนวยการสร้าง | Melissa Cobb |
นักแสดงนำ | แจ็ค แบล็ค ดัสติน ฮอฟแมน แอนเจลีนา โจลี เอียน แม็คเชน เซธ โรเกน ลูซี ลิว เดวิด ครอส แรนดัล ดุก คิม เจมส์ ฮง เฉินหลง |
กำกับภาพ | Yong Duk Jhun |
ตัดต่อ | Clare Knight |
ดนตรีประกอบ | ฮันส์ ซิมเมอร์ John Powell |
บริษัทผู้สร้าง | |
ผู้จัดจำหน่าย | พาราเมาต์พิกเจอส์1 |
วันฉาย |
เทศกาลภาพยนตร์คาน
สหรัฐอเมริกา |
ความยาว | 92 นาที |
ประเทศ | สหรัฐอเมริกา |
ภาษา | อังกฤษ |
ทุนสร้าง | 130 ล้านดอลลาร์สหรัฐ |
ทำเงิน | 631.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ |
ต่อจากนี้ | กังฟูแพนด้า 2 |
กังฟูแพนด้า จอมยุทธ์พลิกล็อก ช็อคยุทธภพ (อังกฤษ: Kung Fu Panda) เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันแนวตลกและบันเทิงคดีกำลังภายในอเมริกัน ออกฉายใน ค.ศ. 2008 ผลิตโดยดรีมเวิกส์แอนิเมชันและจัดจำหน่ายโดยพาราเมาต์พิกเจอส์1 ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับโดยจอห์น สตีเฟนสัน และมาร์ก ออสบอร์น ร่วมผลิตโดยมาลิสซา คอบบ์ และพากย์เสียงโดยแจ็ก แบล็ก, ดัสติน ฮอฟแมน, แอนเจลีนา โจลี, เอียน แมกเชน, เซท โรเกน, ลูซี หลิว, เดวิด ครอสส์, แรนดัล ดุก คิม, เจมส์ ฮง, แดน ฟอกเลอร์, ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน และแจ็กกี ชาน ภาพยนตร์มีฉากในประเทศจีนโบราณ ซึ่งเต็มไปด้วยประชากรสัตว์ที่สามารถพูดได้เหมือนมนุษย์ และดำเนินเรื่องเกี่ยวกับแพนด้าอ้วนใหญ่ที่ชื่อโป ผู้คลั่งไคล้ในกังฟู เขาถูกคัดเลือกให้เป็น "นักรบมังกร" โดยบังเอิญ เพื่อรับมือกับไต้ลุง นักรบกังฟูตัวร้ายที่หลบหนีออกจากคุก[1]
ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกแต่งขึ้นโดนมิชาเอล ลาชานซ์ หนึ่งในทีมงานบริหารของดรีมเวิกส์ ในตอนแรกภาพยนตร์ถูกวางโครงเรื่องให้เป็นแนวล้อเลียน แต่ผู้กำกับ สตีเฟนสัน ตัดสินใจวางโครงเรื่องเป็นแนวตลกกำลังภายใน ซึ่งนำไปรวมการบรรยายของตัวละครหลัก โดยให้ตัวละครหลักมีบทบาทในการดำเนินเรื่องตามต้นแบบดั้งเดิม (archetype) ของการเดินทางของวีรบุรุษ การจัดทำแอนิเมชันของภาพยนตร์เรื่องนี้ ถือว่าซับซ้อนกว่าภาพยนตร์ของดรีมเวิกส์ที่ผ่านมา โดยฮันส์ ซิมเมอร์ (ในครั้งนี้ทำงานร่วมกับจอห์น โพเวล) ได้เดินทางไปยังประเทศจีนเพื่อศึกษาวัฒนธรรมและพบปะกับวงออร์เคสตราแห่งประเทศจีน เพื่อเตรียมการในครั้งนี้
กังฟูแพนด้า จัดฉายรอบปฐมทัศน์ในสหรัฐเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 2008 โดยได้รับคำวิจารณ์เชิงบวกอยู่พอสมควร ภาพยนตร์ถูกฉายในโรงภาพยนตร์ 4,114 แห่ง ทำรายได้ในวันเปิดตัว 20.3 ล้านเหรียญสหรัฐ และทำรายได้ในสัปดาห์แรกถึง 60.2 ล้านเหรียญสหรัฐ จนขึ้นอันดับที่ 1 ของบ็อกซ์อฟฟิศ กลายเป็นภาพยนตร์ที่ไม่ใช่ภาคต่อที่เปิดตัวได้ดีที่สุดของดรีมเวิกส์ และเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันที่ทำรายได้สูงที่สุดในปีนั้น นอกจากนี้ยังเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันที่เปิดตัวได้ดีเป็นอันดับที่ 4 ของดรีมเวิกส์ในบ็อกซ์ออฟฟิศอเมริกันและแคนาดา เป็นรองเพียง เชร็ค 2, เชร็ค 3 และเชร็ค สุขสันต์ นิรันดร[2] ภาพยนตร์ภาคต่อ กังฟูแพนด้า 2 ปล่อยฉายเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 2011 พร้อมกับซีรีส์โทรทัศน์ ตำนานสะท้านโลกันต์ ในช่องนิคเกิลโลเดิน โดยเป็นส่วนหนึ่งของแฟรนไชส์นี้ ภาพยนตร์ภาคต่อที่สอง กังฟูแพนด้า 3 ปล่อยฉายวันที่ 29 มกราคม ค.ศ. 2016
เนื้อเรื่อง
[แก้]ในหุบเขาสันติในจีนโบราณ ซึ่งมีประชากรเป็นสัตว์ที่พูดได้ โป เป็นผู้คลั่งไคล้ในกังฟู และมีห้าผู้พิทักษ์ (นางพยัคฆ์, วานร, ตั๊กแตน, อสรพิษ, กระเรียน) ลูกศิษย์ของอาจารย์ชิฟู เป็นไอดอล อย่างไรก็ตาม เขาคิดว่าคงไม่สามารถเรียนรู้กังฟูได้แน่เพราะเขาต้องช่วยบิดาบุญธรรมอย่างอาปิง ขายก๋วยเตี๋ยว
ปรมาจารย์อูเกว ผู้เป็นที่ชี้แนะให้กับชิฟู เห็นนิมิตรว่าไต้ลุง อดีตลูกศิษย์ของชิฟู จะทำลายคุกและกลับมาล้างแค้นที่หุบเขาสันติเพื่อเอาคัมภีร์มังกร เมื่อชิฟูทราบเรื่องนี้ เขาจึงสั่งเซ็งให้ไปบอกผู้คุมคุกชอว์กัมให้มีการควบคุมที่แน่นหนาขึ้น นอกจากนี้ ชิฟูยังจัดการแข่งขันเพื่อค้นหาผู้ชนะที่จะได้เป็น "นักรบมังกร" และรับคัมภีร์มังกร โปเดินทางไปถึงสนามแข่งขันช้าและประตูปิดไปก่อน เขาจึงใช้เก้าอี้ติดชนวนระเบิดขึ้นไปบนฟ้า และตกลงมาที่ลานแข่งขัน โปลืมตัวขึ้นมาเห็นว่าอูเกวชี้นิ้วมายังตน และกล่าวว่าตนเป็นนักรบมังกร สร้างความประหลาดใจให้กับโป ห้าผู้พิทักษ์ และชิฟู ซึ่งเชื่อว่ามันเป็นเรื่องบังเอิญ
ชิฟูไม่เต็มใจในการยอมรับคำตัดสินของอูเกว เขาจึงพยายามกำจัดโปให้ออกไปจากเขตวังหยก ด้วยการฝึกอย่างโหดเหี้ยม ส่วนห้าผู้พิทักษ์เห็นว่าโปไม่มีศักยภาพที่จะเป็นนักรบมังกร โปในตอนแรกคิดว่าจะเลิกฝึกและกลับไปขายก๋วยเตี๋ยว แต่เมื่อได้ยินคำสอนของอูเกว เขาจึงตัดสินใจอยู่ที่วังหยกต่อ และตีสนิทกับห้าผู้พิทักษ์ด้วยการทำก๋วยเตี๋ยวให้พวกเขากิน
ขณะเดียวกัน ไต้ลุงหลบหนีออกจากคุกชอว์กัมได้ โดยใช้ขนห่านของเซ็งที่ร่วงลงมาปลดตัวล็อก เมื่อชิฟูทราบข่าว จึงรีบไปบอกอูเกว อูเกวบอกว่าชิฟูต้องเชื่อมั่นในโป และอูเกวก็เดินทางกลับสู่สวรรค์ ชิฟูไปบอกข่าวให้กับโปและห้าผู้พิทักษ์ โปตกใจคิดว่าตนเองไม่น่าสู้ได้แน่ ส่วนนางพยัคฆ์ก็ขออาสาออกไปปราบไต้ลุงเอง ในคืนนั้น ห้าผู้พิทักษ์แอบหลบหนีชิฟูเพื่อเดินทางไปสู้กับไต้ลุง วันถัดมา ชิฟูพบว่าต้องใช้อาหารเป็นตัวล่อจึงจะสามารถฝึกโปได้ เขาพาโปไปฝึกที่สระน้ำตาศักดิ์สิทธิ์ ก่อนที่โปจะฝึกจนมีทักษะกังฟูที่ดีขึ้น
ห้าผู้พิทักษ์ถูกไต้ลุงสกัดจุดทางประสาท และเดินทางกลับมายังวังหยกอย่างอิดโรย ชิฟูตัดสินใจมอบคัมภีร์มังกรให้แก่โป แต่เมื่อเปิดออกมา พบว่าคัมภีร์ว่างเปล่าและมีแต่แผ่นกระดาษสะท้อน ชิฟูเห็นว่าคัมภีร์ไม่มีประโยชน์ จึงสั่งให้โปกับห้าผู้พิทักษ์อพยพชาวบ้าน ส่วนตนจะขอสู้กับไต้ลุงเอง โปได้พบกับอาปิงอีกครั้ง ปิงบอกว่าสูตรลับน้ำซุปก๋วยเตี๋ยวนั้นคือ "ไม่มีอะไรเลย" ทำให้โปตระหนักถึงเนื้อหาที่ว่างเปล่าในคัมภีร์ และกลับไปเผชิญหน้ากับไต้ลุง
โปขึ้นไปที่วังหยกพบว่าชิฟูได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการต่อสู้กับไต้ลุง โปท้าไต้ลุงให้มาสู้กันเพื่อแย่งคัมภีร์ หลังที่จากที่ยื้อแย่งกันสักพัก ไต้ลุงได้ทีใช้เท้าฟาดโปตกลงพื้นและเอาคัมภีร์มาเปิดอ่าน แต่เขาไม่เข้าใจในความว่างเปล่านั้น ไต้ลุงโกรธจึงต่อยโป แต่หุ่นของโปทำให้เขาสะท้อนกลับมาชกไต้ลุงคืน ไต้ลุงพลาดท่าจึงถูกโปใช้ดัชนีวูชีส่งเขาไปยังปรภพ โปได้รับการสรรเสริญจากพลเมืองหุบเขาสันติ และได้รับความนับถือจากห้าผู้พิทักษ์ ที่เชื่อว่าโปคืออาจารย์กังฟูที่แท้จริง หลังจากนั้น โปได้กลับไปชิฟูอีกครั้ง ทั้งคู่นอนสงบจิตกันอยู่สักพัก โปจึงขัดจังหวะโดยถามชิฟูว่า "ไปหาไรกินกันมั้ย?"
งานพากย์
[แก้]- แจ็ก แบล็ก พากย์เป็น โป แพนด้ายักษ์ผู้เป็นแฟนกังฟูและถูกคัดเลือกให้เป็นนักรบมังกรโดยบังเอิญ
- เอียน แม็คเชน พากย์เป็น ไต้ลุง เสือดาวหิมะผู้โหดร้าย อดีตลูกบุญธรรมและลูกศิษย์ของชิฟู
- ดัสติน ฮอฟแมน พากย์เป็น อาจารย์ชิฟู อาจารย์แพนด้าแดงผู้เคร่งครัดและเป็นผู้ถ่ายทอดวิชาให้กับโปและห้าผู้พิทักษ์
- แรนดัล ดุก คิม พากย์เป็น ปรมาจารย์อูเกว อาจารย์เต่ายักษ์กาลาปาโกสโบราณและเป็นผู้ชี้แนะหนทางให้กับชิฟู
- ห้าผู้พิทักษ์:
- แอนเจลีนา โจลี พากย์เป็น นางพยัคฆ์ เสือโคร่งจีนใต้ตัวเมียผู้เหี้ยมโหด และเป็นผู้นำของห้าผู้พิทักษ์
- ลูซี ลิว พากย์เป็น อสรพิษ ผู้ใจดี
- แจ๊กกี้ ชาน พากย์เป็น วานร ผู้ทำตัวตามสบาย
- เซท โรเกน พากย์เป็น ตั๊กแตน ผู้มีอารมณ์ขัน
- เดวิด ครอส พากย์เป็น กระเรียน ผู้มีความจริงจัง
- เจมส์ ฮง พากย์เป็น อาปิง ห่านจีนผู้เป็นบิดาบุญธรรมของโป และมีความสุขกับกิจการร้านก๋วยเตี๋ยวของเขา
- แดน ฟอกเลอร์ พากย์เป็น เซ็ง ห่านจีนขี้กลัว ผู้เป็นคนนำสาส์นของชิฟู
- ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน พากย์เป็น ผบ.แวคีร์ แรดชวาผู้โอหังและช่างคุย และเป็นผู้คุมคุกชอว์กัมซึ่งไต้ลุงถูกจำคุกอยู่
งานสร้าง
[แก้]งานประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์เริ่มต้นขึ้นในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2004[3] ต่อมาในเดือนกันยายน ค.ศ. 2005 ดรีมเวิร์กส แอนิเมชัน ประกาศว่า แจ็ก แบล็ก จะเป็นผู้พากย์เสียงตัวละครหลัก[4]
ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2005 ดรีมเวิร์กสประกาศว่า ดัสติน ฮอฟแมน, แจ๊กกี้ ชาน, ลูซี ลิว และเอียน แม็คเชน ก็จะมีส่วนร่วมในการพากย์เสียงด้วย[5] นอกจากนี้ยังทำให้เป็นภาพยนตร์เรื่องที่สองที่แบล็กกับแอนเจลีนา โจลี แสดงร่วมกัน โดยภาพยนตร์เรื่องแรกที่ทั้งคู่แสดงร่วมกันคือ ชาร์กเทล ใน ค.ศ. 2004[6]
แนวความคิดเกี่ยวกับภาพยนตร์ถูกแต่งขึ้นโดยมิชาเอล ลาชานซ์ หนึ่งในทีมงานบริหารของดรีมเวิร์กส[7] ในช่วงเริ่มแรก มีแนวความคิดที่จะทำเป็นภาพยนตร์ล้อเลียน แต่ผู้กำกับอย่าง จอห์น สตีเฟนสัน รู้สึกไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ เขามีความคิดที่จะทำให้เป็นภาพยนตร์เชิงตลกและกำลังภายใน[8]
แนวคิดของเขาได้รับแรงบันดาลใจจากภาพยนตร์กำลังภายในที่ออกฉายใน ค.ศ. 2004 ชื่อว่า คนเล็กหมัดเทวดา ซึ่งกำกับโดยโจว ซิงฉือ[9] เขาจึงต้องการให้ภาพยนตร์เรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับกังฟูและมีกลิ่นอายของความเป็นจีนด้วยเช่นกัน นักออกแบบงานผลิต เรย์มอนด์ ซิบาช และผู้กำกับภาพ ทั่ง เฮง ได้ใช้เวลาหลายปีในการค้นคว้าเกี่ยวกับจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรมแบบจีน และภาพยนตร์กังฟู เพื่อนำมาใช้ในการสร้างภาพยนตร์[10] ซิบาชกล่าวว่า ภาพยนตร์กำลังภายในที่มีอิทธิพลต่อเขานั้น ต้องมีเลห์เหลี่ยม ซึ่งได้แก่ภาพยนตร์เรื่อง ฮีโร่, จอมใจบ้านมีดบิน และ พยัคฆ์ระห่ำ มังกรผยองโลก[10] เป้าหมายของสตีเฟนสันเกี่ยวกับภาพยนตร์ คือ "สร้างภาพยนตร์ดรีมเวิร์กสที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา" โดยขั้นตอนนี้ใช้เวลาดำเนินการ 4 ปี
ลำดับภาพที่ถูกวาดด้วยมือในช่วงต้นของภาพยนตร์ ถูกสร้างให้คล้ายกับการแสดงภาพเงาของจีน[11] ฉากเปิดซึ่งกำกับโดยเจนนิเฟอร์ ยูห์ เนลซอน และผลิตโดยเจมส์ แบ็กซ์เตอร์ ได้รับการยกย่องจากมันโอลา ดาร์กิส ผู้เขียนในเดอะนิวยอร์กไทมส์ ว่าเป็นฉากที่ "น่าประทับใจ" และ "แตกต่างจากแอนิเมชันอเมริกันส่วนใหญ่อย่างชัดเจน"[12]
นักเขียนท่านอื่นได้เปรียบเทียบฉากเปิดว่าคล้ายรูปแบบของ ซามูไรแจ็ก ซึ่งกำกับโดยเกนดี ตาร์ตาคอฟสกี[13][14] ฉากที่เหลือของภาพยนตร์เป็นคอมพิวเตอร์แอนิเมชันยุคใหม่ ซึ่งมีการปรับสีให้เข้ากับภูมิประเทศของจีน[11] และฉากเครดิต มีรูปแบบที่วาดด้วยมือ และมีภาพวาดเป็นพื้นหลัง[11]
คอมพิวเตอร์แอนิเมชันตลอดทั้งภาพยนตร์ มีความซับซ้อนกว่าภาพยนตร์ของดรีมเวิร์กสที่ผ่านมา เมื่อหัวหน้าฝ่ายงานสร้างได้ยื่นต้นฉบับให้แก่มาร์กัส แมนนิเนน ผู้บริหารระดับสูงของวีเอฟเอ็กซ์ เธอได้หัวเราะและอวยพรให้ทีมงาน "โชคดี" แมนนิเนนกล่าวว่า "ในช่วงที่เราเริ่มพูดคุยกันนั้น ภาพยนตร์มีแนวคิดมโนทัศน์ที่สูง ซึ่งทุกคนก็ได้พูดถึงความซับซ้อน พวกเราได้พูดคุยกันว่า จะสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ให้มีแก่นแท้ได้อย่างไร? และมีวิธีใดบ้างที่จะทำให้มันเป็นภาพยนตร์ยิ่งใหญ่ และไม่รู้สึกว่าความซับซ้อนเป็นตัวดำเนินเรื่อง แต่โครงเรื่องและอารมณ์ต่างหากที่เป็นตัวขับเคลื่อน?"[15] และในช่วงเตรียมการนั้น ฝ่ายแอนิเมชันได้เรียนรู้วิชากังฟูเป็นเวลาหกชั่วโมง[16]
เมลิสซา คอบบ์ กล่าวว่า โปในตอนแรกเป็นตัวละครที่ฉุนเฉียว แต่ลักษณะนิสัยที่วางไว้ได้เปลี่ยนไปหลังจากที่ทีมงานได้รู้จักแจ็ก แบล็ก[16] โดยแบล็กนั้น เป็นคนที่ชอบทำงานคนเดียว แม้ว่าเขากับดัสติน ฮอฟแมน จะใช้เวลาอยู่ด้วยกันทั้งวันก็ตาม คอบบ์มีส่วนช่วยให้ฉากที่มีตัวละครหลายตัวเผชิญหน้ากัน[16] ส่วนลูซี ลิว กล่าวว่าภาพยนตร์นี้ "ค่อนข้างแตกต่างจากเรื่องอื่น เพราะมันมีกระบวนการสร้างที่ยาวนาน"[17] ลิวยังกล่าวอีกว่า เมื่อเธอถูกเสนอคู่กับโครงงาน ทีมงานได้มีงานภาพของตัวละครของเธออยู่ก่อนแล้ว ซึ่งมันเป็น "รูปแบบวิดีโอสั้นที่เหมือนกับตอนเธอเคลื่อนไหว"[17]
การออกฉายและจัดจำหน่าย
[แก้]การฉายภาพยนตร์รอบปฐมทัศน์จัดขึ้นที่เทศกาลภาพยนตร์กานครั้งที่ 61 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 2008[18] โดยเมื่อภาพยนตร์ที่ฉายจบลง ก็ได้รับเสียงปรบมืออย่างล้นหลาม[19] ภายหลังจากนั้น กังฟูแพนด้า ได้ฉายรอบปฐมทัศน์ในสหรัฐเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 2008 ที่โรงละครจีนกรอแมนในฮอลลีวูด ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย[20] และในวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 2008 ก็ได้จัดฉายรอบปฐมทัศน์ในสหราชอาณาจักรที่จัตุรัสเลสเตอร์ในลอนดอน[21] สำหรับในประเทศไทย ได้จัดฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 2008[22]
กังฟูแพนด้า ได้ถูกจัดจำหน่ายในรูปแบบดีวีดีและบลูเรย์เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008[23] และจำหน่ายในรูปแบบบลูเรย์สามมิติเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 2011[24] ชุดดับเบิลดีวีดีของ กังฟูแพนด้า นั้น ได้รวมภาพยนตร์สั้น ความลับของห้าผู้พิทักษ์ ด้วย[23] ใน ค.ศ. 2008 ดีวีดีถูกขายไปกว่า 7,486,642 ชุด ทำให้ กังฟูแพนด้า กลายเป็นภาพยนตร์ที่มียอดจำหน่ายสูงเป็นอันดับที่สี่ของปีนั้น และเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องแรกที่มียอดจำหน่ายสูงสุดในปีนั้นด้วย โดยดีวีดี กังฟูแพนด้า นั้น ได้ถูกจำหน่ายก่อน วอลล์-อี ซึ่งขายได้ 7,413,548 ชุด[25]
การตอบรับ
[แก้]คำวิจารณ์
[แก้]รอตเทนโทเมโทส์รายงานว่าร้อยละ 87 ของผู้วิจารณ์ 183 คนได้ให้ความเห็นในเชิงบวก ขณะที่คะแนนเฉลี่ยของภาพยนตร์อยู่ที่ 7.2 เต็ม 10 คะแนน ในบทความวิจารณ์ของเว็บไซต์กล่าวว่า "กังฟูแพนด้า มีบทพูดที่คุ้นเคย แต่สร้างความประทับใจด้วยอารมณ์ขัน ฉากกำลังภายในที่รวดเร็ว และแอนิเมชันที่มีสีสัน ซึ่งเหมาะที่จะทำให้ชนะเลิศในวงการบันเทิงฤดูร้อน"[26] เมทาคริติกรายงานว่าภาพยนตร์มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 73 เต็ม 100 คะแนน ซึ่งประเมินโดยผู้วิจารณ์ 33 คน[27] ส่วนในซีเนมาสกอร์ ผู้เข้าชมได้ให้คะแนนภาพยนตร์ในระดับ A-
ริชาด คอร์ลิส จาก นิตยสารไทม์ ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับ กังฟูแพนด้า ในเชิงบวก โดยกล่าวว่า "มีทัศนศิลป์ที่หลักแหลมและความบันเทิงที่น่าพึงพอใจเป็นอย่างมาก"[28] เดอะนิวยอร์กไทม์ กล่าวว่า "ชื่อภาพยนตร์ที่ดูสามัญอย่าง กังฟูแพนด้า นี้ มีเป้าหมายในใจที่สูงมาก และผู้วิจารณ์ได้พูดถึงภาพยนตร์นี้ว่า "สนุกทั้งเรื่อง" และ "เห็นภาพได้อย่างชัดเจน"[12] คริส บาร์แซนตี จาก ฟิล์มคริติก.คอม ได้ให้ความเห็นว่า "จากการรับชมงานภาพที่ดีเลิศนี้ กังฟูแพนด้า แตกต่างจากภาพยนตร์แอนิเมชันอื่น ๆ ตรงความสวยงามที่ตรงไปตรงมาของมัน... ภาพยนตร์ได้เข่าสู่สถานะคลาสสิกอย่างทันที ราวกับว่ามันเป็นหนึ่งในภาพยนตร์งดงามที่ฮอลลีวูดสร้างขึ้นนับตั้งแต่ยุคทองของดิสนีย์"[29] มิชาเอล ฟิลิปส์ จาก ชิคาโกทริบูน พูดถึงภาพยนตร์นี้ว่า "เป็นหนึ่งในภาพยนตร์ตลกไม่กี่เรื่องใน ค.ศ. 2008 ที่แสดงให้เห็นว่ามันกำลังทำอะไร"[30] อย่างไรก็ตาม ทอม แชริตี จากซีเอ็นเอ็น วิจารณ์การแสดงว่า "เหมือนความวุ่นวายที่เอาไม้ฟาดตีกัน" และเห็นว่าลักษณะของโปคล้ายกับตัวละครอื่นที่แบล็กเคยแสดงมากเกินไป[31] ปีเตอร์ โฮเวลล์ จาก เดอะโทรอนโตสตาร์ ได้ให้คะแนนภาพยนตร์เพียงสองดาวครึ่งเท่านั้น ทั้งยังวิจารณ์ว่า "ขาดแก่นเรื่อง" ซึ่ง "มันพยายามทำให้สนุกอย่างฝืนเกินไป"[32]
รายได้
[แก้]ภาพยนตร์ติดอันดับแรกของบ็อกซ์ออฟฟิศในช่วงสัปดาห์แรกของการเปิดตัว โดยทำรายได้ 60.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จาก 4,114 โรงภาพยนตร์[33] ซึ่งดีกว่าที่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้[34] และกลายเป็นภาพยนตร์ดรีมเวิกส์แอนิเมชันที่ไม่ใช่ภาคต่อที่เปิดตัวได้ดีที่สุดในช่วงเวลานั้น[34] ในช่วงสัปดาห์ ภาพยนตร์มีรายได้ลดลงจากสัปดาห์แรกอยู่ร้อยละ 44 ทำให้ตกลงมาเป็นอันดับที่สองรองจาก มนุษย์ตัวเขียวจอมพลัง โดยในสัปดาห์นั้น กังฟูแพนด้า ทำรายได้ 33.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จาก 4,136 โรงภาพยนตร์[35] กำหนดการฉายสิ้นสุดเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 2008 นับเป็นเวลา 125 วันหลังจากเปิดตัววันแรก โดยภาพยนตร์ทำรายได้ตลอดช่วงฉายถึง 215.4 ล้านดอลลาร์ฯ ในสหรัฐและแคนาดา และทำรายได้ 416.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐในส่วนอื่น ๆ นอกจากสองประเทศนี้ รวมแล้วภาพยนตร์ทำรายได้ถึง 631.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[36] ด้วยเหตุนี้ ทำให้ กังฟูแพนด้า กลายเป็นภาพยนตร์ดรีมเวิกส์ที่ไม่ใช่เชร็คที่ทำรายได้มากที่สุดในสหรัฐและแคนาดา ก่อนที่จะถูกแซงด้วยเรื่อง อภินิหารไวกิ้งพิชิตมังกร ใน ค.ศ. 2010[37]
กังฟูแพนด้า ก็ได้รับการตอบรับที่ดีในจีนด้วยเช่นกัน[38] ณ วันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 2008 ภาพยนตร์ทำรายได้ 110 ล้านหยวน กลายเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องแรกที่ทำรายได้มากกว่า 100 ล้านหยวนในจีน[39][40] ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวจีน หลู่ ฉวน แสดงความเห็นว่า "จากจุดยืนในการผลิต ภาพยนตร์นี้ถือว่าเกือบสมบูรณ์แบบเอามาก ๆ ผู้สร้างสรรค์ชาวอเมริกันได้แสดงทัศนคติที่จริงใจต่อวัฒนธรรมจีนอย่างแท้จริง"[41][42] ความสำเร็จของภาพยนตร์นี้ในจีน ทำให้ชาวจีนท้องถิ่นตั้งคำถามว่า ทำไมจีนถึงไม่สร้างภาพยนตร์ที่เหมือนกับ กังฟูแพนด้า โดยนักวิเคราะห์ได้แสดงความเห็นตอบกลับมาว่า จีนมีงบประมาณในการทำภาพยนตร์ที่ค่อนข้างน้อย และรัฐบาลยังจับตาควบคุมมากเกินไป ส่งผลให้ขาดจินตนาการของชาติ และทัศนคติที่มีต่อประวัติศาสตร์วัฒนธรรมจีนก็ยังไม่ประสีประสานัก[43][44][45]
รางวัล
[แก้]กังฟูแพนด้า ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์[46] และรางวัลลูกโลกทองคำ ในสาขาภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม[47] แต่รางวัลทั้งคู่ก็ถูกมอบให้กับ วอลล์-อี ของพิกซาร์ แจ็ก แบล็ก ได้พูดถึงการที่ภาพยนตร์ของเขาตกเป็นเบี้ยล่างในงานประกาศผลรางวัลว่า "ในแต่ละปี ผมทำงานเกี่ยวกับดรีมเวิกส์เพียงหนึ่งงาน ซึ่งผมต้องใช้เงินทั้งหมดเพื่อออสการ์ และเดิมพันกับพิกซาร์"[48]
กังฟูแพนด้า ชนะรางวัลแอนนีทั้งหมด 10 รายการ (รวมสาขาภาพยอดเยี่ยม) จากทั้งหมด 16 รายการที่เสนอชื่อ แม้ว่าจะมีคำครหาว่า ประธานบริหารของดรีมเวิกส์ เจฟฟรีย์ แคตเซนเบิร์ก ได้ซื้อคะแนนโหวตของสมาชิกอะซิฟา-ฮอลลีวูด ก็ตาม[49]
รายชื่อรางวัลที่กังฟูแพนด้าเสนอชื่อเข้าชิงและได้รับ | |||
---|---|---|---|
ผู้มอบรางวัล | สาขา | ชื่อผู้รับรางวัล | ผล |
งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 81[46] | ภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม | John Stevenson Mark Osborne |
เสนอชื่อเข้าชิง |
รางวัลแอนนี[50][51] | Best Animated Effects in an Animated Production | Li-Ming 'Lawrence' Lee | ชนะ |
ภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม | ชนะ | ||
ตัวละครแอนิเมชันยอดเยี่ยม | James Baxter | ชนะ | |
Philippe Le Brun | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
Dan Wagner | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
การออกแบบตัวละครแอนิเมชันยอดเยี่ยม | Nico Marlet | ชนะ | |
การกำกับแอนิเมชันยอดเยี่ยม | John Stevenson Mark Osborne |
ชนะ | |
เพลงประกอบภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม | Hans Zimmer John Powell |
ชนะ | |
การออกแบบงานสร้างแอนิเมชันยอดเยี่ยม | Tang Kheng Heng | ชนะ | |
Raymond Zibach | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
การเล่าเรื่องแอนิเมชันยอดเยี่ยม | Jennifer Yuh Nelson | ชนะ | |
Alessandro Carloni | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
การพากย์เสียงแอนิเมชันยอดเยี่ยม | Dustin Hoffman | ชนะ | |
James Hong | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
Ian McShane | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
การเขียนบทแอนิเมชันยอดเยี่ยม | Jonathan Aibel Glenn Berger |
ชนะ | |
ASCAP Award | ภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดในบอกซ์ออฟฟิศประจำสัปดาห์ | Hans Zimmer and John Powell | ชนะ |
คริติกส์ชอยส์มูฟวี่อวอร์ด[52] | ภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | |
รางวัลสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์ชิคาโก[53] | ภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | |
รางวัลลูกโลกทองคำ[47] | ภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | |
รางวัลโกลเดนโทเมโทส์ 2008[54] | ภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม | กังฟูแพนด้า | อันดับที่ 2 |
Wide Release | อันดับที่ 5 | ||
Golden Reel Awards[55][56] | Best Sound Editing: Sound Effects, Foley, Dialogue and ADR Animation in a Feature Film | Ethan Van Der Ryn Erik Aadahl Mike Hopkins Jonathan Klein Adam Milo Smalley Peter Oso Snell Wayne Lemmer Paul Pirola P.K. Hooker Dan O'Connell John Cucci |
เสนอชื่อเข้าชิง |
Golden Trailer Awards | Best Animation/Family | เสนอชื่อเข้าชิง | |
Huabiao Awards | Outstanding Translated Film | ชนะ | |
National Movie Awards[57] | Best Family Film | เสนอชื่อเข้าชิง | |
Nickelodeon Kids' Choice Awards[58][59] | Favorite Voice from an Animated Movie | Jack Black | ชนะ |
Favorite Animated Movie | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
Online Film Critics Society[60] | Best Animated Film | เสนอชื่อเข้าชิง | |
Producers Guild of America[61] | Animated Motion Picture | Melissa Cobb | เสนอชื่อเข้าชิง |
People's Choice Awards[62] | Favorite Family Movie | เสนอชื่อเข้าชิง | |
Teen Choice Awards[63] | Choice Summer Movie: Comedy | เสนอชื่อเข้าชิง | |
Visual Effects Society[64] | Outstanding Animated Character in an Animated Motion Picture | Jack Black Dan Wagner Nico Marlet Peter Farson |
เสนอชื่อเข้าชิง |
Outstanding Animation in an Animated Motion Picture | Markus Manninen Dan Wagner Alex Parkinson Raymond Zibach |
เสนอชื่อเข้าชิง | |
Outstanding Effects Animation in an Animated Motion Picture | Markus Manninen Alex Parkinson Amaury Aubel Li-Ming 'Lawrence' Lee |
เสนอชื่อเข้าชิง |
เพลงประกอบภาพยนตร์
[แก้]กังฟูแพนด้า | |
---|---|
ซาวด์แทร็กอัลบั้มโดย ฮันส์ ซิมเมอร์ และจอห์น โพเวลล์ | |
วางตลาด | 3 มิถุนายน ค.ศ. 2008 |
บันทึกเสียง | ค.ศ. 2008 |
แนวเพลง | เพลงประกอบภาพยนตร์ |
ความยาว | 60:16 |
ค่ายเพลง | อินเตอร์สโคป |
โปรดิวเซอร์ | ฮันส์ ซิมเมอร์ จอห์น โพเวลล์ ดิอันเดอร์ดอกส์ (เพลงที่ 17) |
ฮันส์ ซิมเมอร์ เป็นผู้เรียบเรียงเพลงประกอบภาพยนตร์ กังฟูแพนด้า เช่นเดียวกันกับเพลงประกอบภาพยนตร์อื่น ๆ ของดรีมเวิกส์แอนิเมชัน ซิมเมอร์ได้เดินทางไปยังประเทศจีนเพื่อศึกษาวัฒนธรรมและพบกับวงออร์เคสตราซิมโฟนีแห่งประเทศจีน นอกจากนี้ ทิมบาแลนด์ยังมีส่วนร่วมกับเพลงประกอบภาพยนตร์ด้วย[65] เพลงชุดนี้ประกอบไปด้วยเพลงที่แต่งขึ้นใหม่จากเพลงคลาสสิกเดิมที่ชื่อ "เลิฟดรังก์" นำแสดงโดยบอยส์ไลก์เกิลส์และแจ็ก แบล็ก ในช่วงเครดิตท้ายเรื่อง นอกจากนี้ เพลงเครดิตก็ยังถูกร้องโดยเรนด้วย
แม้ว่าซิมเมอร์จะประกาศว่าเขาเป็นผู้เรียบเรียงหลัก แต่ในช่วงทดสอบฉาก ซีอีโอของดรีมเวิกส์ เจฟฟรีย์ แคตเซนเบิร์ก ประกาศว่า จอห์น โพเวลล์ ก็จะมีส่วนร่วมกับเพลงประกอบภาพยนตร์ด้วย ส่งผลให้เป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปีที่ทั้งคู่ได้กลับมาร่วมงานกันอีกครั้ง หลังจากที่เคยทำงานร่วมกันในภาพยนตร์เรื่อง ผจญภัยแดนมหัศจรรย์ เอลโดราโด้ และ ชิลล์แฟกเตอร์ อัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์เผยแพร่ครั้งแรกโดยอินเตอร์สโคปเรเคิดส์ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 2008[66]
ภาคต่อ
[แก้]ภาพยนตร์ภาคต่อ กังฟูแพนด้า 2 ปล่อยฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 2011[67] โดยได้รับคะแนนจากรอตเทนโทเมโทส์ร้อยละ 81 ภาพยนตร์ฉายในรูปแบบสามมิติ กำกับโดยเจนนิเฟอร์ หยู เนลซอน (ผู้กำกับฉากเปิดตัวสองมิติในภาคแรก) และมีทีมพากย์เสียงชุดเดิมเป็นส่วนใหญ่ เนื้อเรื่องของภาคต่อนี้เกี่ยวกับตัวร้ายตัวใหม่ "อ๋องเช็น" ผู้มีศาสตราวุธอันทรงพลังซึ่งสามารถทำลายกังฟูได้ และโปมีภารกิจที่จะต้องหยุดยั้งแผนการอันชั่วร้ายของเขา
ภาพยนตร์ภาคต่อลำดับที่สอง กังฟูแพนด้า 3 เกิดจากการร่วมมือผลิตของดรีมเวิกส์แอนิเมชันและโอเรียนทัลดรีมเวิกส์ในเซี่ยงไฮ้[68] โดยปล่อยฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 มกราคม ค.ศ. 2016[69] โดยซีอีโอของดรีมเวิกส์ เจฟฟรีย์ แคตเซนเบิร์ก กล่าวว่า มีแผนจะทำภาคต่อจากนี้อีกสามภาค เพื่อจะได้เป็นซีรีส์ภาพยนตร์หกภาค[70]
สิ่งสืบเนื่อง
[แก้]มังงะ
[แก้]มังงะซึ่งอิงตามภาพยนตร์ถูกเผยแพร่ในประเทศญี่ปุ่นทางนิตยสาร เคโรเคโระ เอซ ฉบับเดือนกันยายน ค.ศ. 2008[71] เนื้อหามังงะแต่งโดยฮันเท็น โอคุมะ และวาดภาพประกอบโดยทากาฟูมิ อาดาชิ[72]
ละครโทรทัศน์
[แก้]ละครโทรทัศน์ กังฟูแพนด้า: ตำนานสะท้านโลกันตร์ ออกอากาศครั้งแรกทางช่วงนิกเกิลโลดีออนในวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 2011[73] โดยมีทีมพากย์จากภาพยนตร์ต้นฉบับเพียง 2 คนเท่านั้น ได้แก่ ลูซี ลิว (พากย์เสียงอสรพิษ) และเจมส์ ฮง (พากย์เสียงอาปิง)[74] ในละคร โปมีหน้าที่ต้องปกป้องหุบเขาสันติจากเหล่าวายร้ายต่าง ๆ ในขณะเดียวกันเขาต้องเรียนรู้วิชากังฟูและพบปะกับอาจารย์ท่านต่าง ๆ ด้วย ในสหรัฐ ละครออกอากาศตอนสุดท้ายเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ. 2016 ทำให้ช่วงที่ออกอากาศมีจำนวน 3 ฤดูกาล และมีจำนวนตอนทั้งสิ้น 80 ตอน อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะออกอากาศในสหรัฐนั้น ตอนช่วงสุดท้ายบางตอนก็ได้ออกอากาศในเยอรมนีไปแล้วตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 2014 ถึงวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 2015
กังฟูแพนด้า: เดอะพอว์ออฟเดสทินี เป็นละครโทรทัศน์แอนิเมชันซึ่งออกอากาศครั้งแรกทางแอมะซอนไพรม์ในวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 2018 โดยเป็นละครโทรทัศน์เรื่องที่สองต่อจาก ตำนานสะท้านโลกันตร์
ฮอลิเดย์สเปเชียล
[แก้]ตอนพิเศษ กังฟูแพนด้า ฮอลิเดย์สเปเชียล ได้ออกอากาศทางช่องเอ็นบีซีในวันที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010[75]
วิดีโอเกม
[แก้]กังฟูแพนด้าในรูปแบบวิดีโอเกม ได้รับการเผยแพร่ครั้งแรกโดยแอคติวิชันในวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 2008[76] โดยสามารถเล่นได้ในเพลย์สเตชัน 3, เอกซ์บอกซ์ 360, วี, เพลย์สเตชัน 2, นินเท็นโด ดีเอส และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เนื้อเรื่องในเกมค่อนข้างคล้ายกับในภาพยนตร์ แต่ไต้ลุงจะมีลูกสมุนซึ่งล้อมรอบหุบเขาสันติเพิ่มเข้ามา ซึ่งโป ผู้มีทักษะการต่อสู้ที่ขึ้นกับระดับความก้าวหน้าในการเล่นเกม จะต้องปราบให้ได้ ตัวเกมเคยถูกเผยแพร่ทางไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ก่อนที่จะถูกยกเลิกไป ตัวเกมได้รับคำวิจารณ์เชิงบวกเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเมทาคริติกได้ให้คะแนนร้อยละ 76[77] และไอจีเอ็นให้คะแนน 7.5 เต็ม 10[78] ใน ค.ศ. 2009 ตัวเกมได้รับรางวัลแอนนีในสาขาวิดีโอเกมแอนิเมชันยอดเยี่ยม ซึ่งได้รับการยอมรับในความยอดเยี่ยมที่สร้างสรรค์ของงานศิลปะในแอนิเมชัน[79]
หมายเหตุ
[แก้]- ^ ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2014 สิทธิในการจัดจำหน่ายถูกโอนจากพาราเมาต์พิกเจอส์ไปยังดรีมเวิกส์แอนิเมชัน[80] และโอนย้ายไปยังทเวนตีเฟิสต์เซนจูรีฟอกซ์ ก่อนที่จะโอนคืนให้กับยูนิเวอร์แซลสตูดิโอส์ใน ค.ศ. 2018
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Kung Fu Panda sequel in pipeline". BBC. August 14, 2008. สืบค้นเมื่อ September 1, 2008.
- ↑ "'Shrek Forever After' roars to top of box office". MSNBC. May 23, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-26. สืบค้นเมื่อ May 23, 2010.
- ↑ Aggerholm, Barbara (October 5, 2004). "Giving a shark some bite; Local animator swims with the big boys". Kitchener Record. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 9, 2008. สืบค้นเมื่อ September 16, 2017.
- ↑ "Dreamworks Animation Plans Kung Fu Panda". Empire. September 21, 2005. สืบค้นเมื่อ June 5, 2008.
- ↑ "DreamWorks Announces the Cast of Kung Fu Panda". UPI Entertainment News. November 9, 2005. สืบค้นเมื่อ September 1, 2008.
- ↑ Bowles, Scott (May 6, 2011). "Jolie, Black perfect for 'Kung Fu Panda 2'". USA Today. สืบค้นเมื่อ December 31, 2014.
- ↑ "Imagi Announces Strategic Alliance for Gatchaman and Astro Boy Toy Development". Anime News Network. August 7, 2007. สืบค้นเมื่อ March 22, 2012.
- ↑ Douglas, Edward (June 2, 2008). "EXCL: Kung Fu Panda Co-Director John Stevenson". ComingSoon.net. สืบค้นเมื่อ June 5, 2008.
- ↑ Gaul, Lou (November 4, 2005). "1104 Film Clips". Bucks County Courier Times. สืบค้นเมื่อ September 1, 2008.
- ↑ 10.0 10.1 "Kung Fu Panda gets cuddly". Daily News. New York. May 31, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-04. สืบค้นเมื่อ June 5, 2008.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 Hewitt, Chris (June 6, 2008). "Kung Fu Panda is fresh, surprising and beautiful". TwinCities.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 9, 2008. สืบค้นเมื่อ June 7, 2008.
- ↑ 12.0 12.1 Dargis, Manohla (June 6, 2008). "Fuzzy Outsider, Kicking His Way Toward His Dream". The New York Times. สืบค้นเมื่อ June 10, 2008.
- ↑ "Kung Fu Cinemapoo Kung Fu Panda review". Kung Fu Cinema. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 29, 2012. สืบค้นเมื่อ September 1, 2008.
- ↑ Garrett, Stephen. "Timeout Kung Fu Panda review". Time Out. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ สิงหาคม 16, 2008. สืบค้นเมื่อ กันยายน 1, 2008.
- ↑ Dunlop, Renne. "'Kung Fu Panda'". CG Studios. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-27. สืบค้นเมื่อ August 29, 2008.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 Roberts, Sheila. "Jack Black Interview, Kung Fu Panda". MoviesOnline. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-20. สืบค้นเมื่อ December 22, 2008.
- ↑ 17.0 17.1 Roberts, Sheila. "Lucy Liu Interview, Kung Fu Panda". MoviesOnline. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-28. สืบค้นเมื่อ December 22, 2008.
- ↑ "DreamWorks Animation's 'Kung Fu Panda' Kicks Off Cannes Film Festival 2008". Reuters. พฤษภาคม 14, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 25, 2012. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 28, 2012.
- ↑ "Kung Fu Panda a martial arts masterpiece". Reuters. May 16, 2008. สืบค้นเมื่อ June 1, 2008.
- ↑ Giardina, Carolyn (June 1, 2008). "Helmers talk 'Kung Fu Panda'". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ March 27, 2012.
- ↑ "Kung Fu Panda London premiere". BBC. June 27, 2008. สืบค้นเมื่อ September 10, 2008.
- ↑ "กังฟูแพนด้า เปิดตัวนักพากษ์ทีมไทย". Sanook.com. May 20, 2008. สืบค้นเมื่อ May 2, 2019.
- ↑ 23.0 23.1 DreamWorks Animation SKG (September 15, 2008). "Pandamonium Breaks Loose on Sunday, November 9th When the Year's Biggest Comedy Debuts on DVD and Blu-ray Along With DreamWorks Animation's World Premiere of Po's All-New Adventure" (Press release). CNW. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 21, 2016. สืบค้นเมื่อ August 21, 2016.
- ↑ "'Kung Fu Panda - 3D' and 'Kung Fu Panda 2 - 3D' Blu-ray 3D Best Buy Exclusives". High-Def Digest. December 6, 2011. สืบค้นเมื่อ March 27, 2012.
- ↑ "Top-Selling DVDs of 2008". The Numbers. สืบค้นเมื่อ March 27, 2012.
- ↑ "Kung Fu Panda (2008)". Rotten Tomatoes. Fandango Media. สืบค้นเมื่อ June 5, 2008.
- ↑ "Kung Fu Panda Reviews". Metacritic. CBS Interactive. สืบค้นเมื่อ June 5, 2008.
- ↑ Corliss, Richard (June 5, 2008). "Kung Fu Panda: Wise Heart, Sweet Art". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-03. สืบค้นเมื่อ July 28, 2008.
- ↑ Barsanti, Chris. "'Kung Fu Panda'". Film Critic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 28, 2008. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 28, 2008.
- ↑ Phillips, Michael (มิถุนายน 8, 2008). "Movie review: 'Kung Fu Panda'". Chicago Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ เมษายน 30, 2011. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 30, 2011.
- ↑ Charity, Tom (June 6, 2008). "Review: 'Panda' is bear-ly good". CNN. สืบค้นเมื่อ June 2, 2011.
- ↑ Howell, Peter (June 6, 2008). "Kung Fu Panda: Panders to the predictable". The Toronto Star. สืบค้นเมื่อ June 2, 2011.
- ↑ "Weekend Box Office Results for June 6–8, 2008". Box Office Mojo. June 8, 2008. สืบค้นเมื่อ May 30, 2011.
- ↑ 34.0 34.1 Finke, Nikki (June 6, 2008). "COMEDIES KICK BUTT! 'Kung Fu Panda' $60M Wkd; Adam Sandler's 'Zohan' $40M; #4 'Sex And The City' Nears $100M Cume". Deadline Hollywood. Mail.com Media. สืบค้นเมื่อ May 30, 2011.
- ↑ "Weekend Box Office Results for June 13–15, 2008". Box Office Mojo. June 15, 2008. สืบค้นเมื่อ May 30, 2011.
- ↑ "Kung Fu Panda (2008)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ May 30, 2011.
- ↑ Sciretta, Peter (June 30, 2010). "How To Train Your Dragon Has Become Dreamwork Animation's Highest Grossing Non-Shrek Movie". /Film. สืบค้นเมื่อ May 30, 2011.
- ↑ "Kung Fu Panda Received with Enthusiasm in Asia". Toonzone. สืบค้นเมื่อ June 24, 2008.
- ↑ "Kung Fu Panda breaks Chinese box-office records". The Daily Telegraph. London. July 8, 2008. สืบค้นเมื่อ August 27, 2008.
- ↑ ""Kung Fu Panda" Breaks Box Office Record of Animation". CriEnglish. July 8, 2008. สืบค้นเมื่อ August 27, 2008.
- ↑ "Kung Fu Panda reaches Chinese box office milestone". International Herald Tribune. สืบค้นเมื่อ July 28, 2008.
- ↑ Lee, Min (July 3, 2008). "Kung Fu Panda reaches Chinese box office milestone". USA Today. สืบค้นเมื่อ July 28, 2008.
- ↑ Bernstein, Richard (July 20, 2008). "The Panda That Roared". The New York Times. สืบค้นเมื่อ July 23, 2008.
- ↑ Fan, Maureen (July 12, 2008). "Kung Fu Panda Hits A Sore Spot in China". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ July 23, 2008.
- ↑ Watts, Jonathan (July 8, 2008). "Kung Fu Panda: "The director has really got in touch with what China is today"". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ August 30, 2008.
- ↑ 46.0 46.1 "14 cartoons seek 3 Oscar berths". Reuters. November 11, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-05. สืบค้นเมื่อ November 16, 2008.
- ↑ 47.0 47.1 Finke, Nikki (December 11, 2008). "66th Annual Golden Globe Nominations". Deadline Hollywood. สืบค้นเมื่อ October 21, 2015.
- ↑ Corliss, Richard (April 5, 2010). "Dreaming Up How to Train Your Dragon". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-11. สืบค้นเมื่อ May 30, 2011.
- ↑ O'Neil, Tom (January 31, 2009). "Kung Fu Panda dropkicks Wall-E at Annie Awards". Los Angeles Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-18. สืบค้นเมื่อ July 12, 2009.
- ↑ Moody, Annemarie (January 22, 2009). "Oscar Nominations: Bolt, Kung Fu Panda and WALL-E Get Best Animated Feature Nods". Animation World Network. สืบค้นเมื่อ October 21, 2015.
- ↑ Debruge, Peter (January 30, 2009). "'Kung Fu Panda' rules Annie Awards". Variety. สืบค้นเมื่อ October 21, 2015.
- ↑ Hayes, Dade (December 9, 2008). "Critics Choice favors 'Milk,' 'Button'". Variety. สืบค้นเมื่อ October 21, 2015.
- ↑ "2008 Chicago Film Critics Awards". Chicago Film Critics Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 17, 2012. สืบค้นเมื่อ October 21, 2015.
- ↑ No (January 7, 2008). "The 10th Annual Golden Tomato Awards". Rotten Tomaoes. สืบค้นเมื่อ March 15, 2016.
- ↑ "Best Sound Editing: Sound Effects, Foley, Dialogue and ADR Animation in a Feature Film" (PDF). Motion Picture Sound Editors. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ July 15, 2010. สืบค้นเมื่อ October 21, 2015.
- ↑ Kilday, Gregg (January 25, 2009). "'Button' among Golden Reel nominees". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ October 21, 2015.
- ↑ "Mamma Mia! wins best musical at National Movie Awards". The Telegraph. September 9, 2008. สืบค้นเมื่อ October 21, 2015.
- ↑ Schneider, Michael (February 5, 2009). "Miley Cyrus dominates Kids' Choice". Variety. สืบค้นเมื่อ October 21, 2015.
- ↑ "'High School Musical 3' wins at Kids' Choice". Today. The Associated Press. March 28, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-22. สืบค้นเมื่อ October 21, 2015.
- ↑ "2008 Awards (12th Annual)". Online Film Critics Society. สืบค้นเมื่อ October 21, 2015.
- ↑ King, Susan (January 6, 2009). "Producer's Guild of America award nominees announced". Lost Angeles Times. สืบค้นเมื่อ October 21, 2015.
- ↑ "People's Choice gets into action". The Hollywood Reporter. Associated Press. November 11, 2008. สืบค้นเมื่อ October 24, 2015.
- ↑ "2008 Teen Choice Awards winners and nominees". Los Angeles Times. Arthur Ochs Sulzberger, Jr. June 17, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 12, 2008. สืบค้นเมื่อ August 6, 2013.
- ↑ "'Iron Man' leads pack at VES noms". Variety. January 19, 2009. สืบค้นเมื่อ October 21, 2015.
- ↑ DuBois, Stephanie; Emily Feimster (September 18, 2007). "The Big Screen Scene". National Ledger. สืบค้นเมื่อ June 7, 2008.
- ↑ Cohen, Jonathan (May 12, 2008). "Jack Black, Cee-Lo cover Kung Fu Fighting". The Hollywood Reporter. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 17, 2008. สืบค้นเมื่อ June 4, 2008.
- ↑ "Kung Fu Panda 2 Officially Headed to Theaters in 2011". FirstShowing.net. October 1, 2008. สืบค้นเมื่อ June 12, 2009.
- ↑ "Rising Dreams in the Orient: Oriental DreamWorks To Establish Headquarters in Xuhui". DreamWorks Animation. August 6, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 8, 2012. สืบค้นเมื่อ August 7, 2012.
- ↑ Rebecca Ford (April 14, 2015). "'Kung Fu Panda 3' Release Date Moves Up Two Months". The Hollywood Reporter. (Prometheus Global Media). สืบค้นเมื่อ April 15, 2015.
- ↑ O'Hara, Helen (December 3, 2010). "Katzenberg Talks DreamWorks Sequels". Empire. สืบค้นเมื่อ September 7, 2011.
- ↑ "America's Kung Fu Panda Film Gets Manga in Japan (Updated)". Anime News Network. May 12, 2009. สืบค้นเมื่อ May 16, 2009.
- ↑ "Kung Fu Panda Manga Released in Japan". Anime Central. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 13, 2010. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 20, 2010.
- ↑ "Kung Fu Panda: Legends of Awesomeness | Nickelodeon". สืบค้นเมื่อ September 18, 2011.
- ↑ Nickelodeon (October 25, 2011). "Megahit Martial Arts Panda is Back as Nickelodeon and Dreamworks Animation Premiere Kung Fu Panda: Legends of Awesomeness, New CG-Animated Series, Monday, Nov. 7, at 5:30 P.M. (ET/PT)" (Press release). PR Newswire. สืบค้นเมื่อ October 26, 2011.
- ↑ NBC and DreamWorks Animation Bring One of a Kind Animated Programming to Audiences at Home For the Holidays with New Original Specials Scared Shrekless and Kung Fu Panda Holiday Special, NBC via The Futon Critic, September 9, 2010 Retrieved 26 September 26, 2010
- ↑ "Kung Fu Panda Video Game Demo Now Available on Xbox Live Marketplace". GameSpy. May 1, 2008. สืบค้นเมื่อ March 27, 2012.
- ↑ "Kung Fu Panda". Metacritic. สืบค้นเมื่อ September 1, 2008.
- ↑ Brudvig, Erik (June 9, 2008). "Kung Fu Panda Review". IGN. สืบค้นเมื่อ September 1, 2008.
- ↑ "Kung Fu Panda dominates the Annie Awards". The Annie Awards. January 30, 2009. สืบค้นเมื่อ February 5, 2009.
- ↑ Chney, Alexandra (July 29, 2014). "DreamWorks Animation Q2 Earnings Fall Short of Estimates, SEC Investigation Revealed". Variety. สืบค้นเมื่อ July 30, 2014.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ภาพยนตร์ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2551
- Rotten Tomatoes template using name parameter
- Metacritic ID เหมือนกับในวิกิสนเทศ
- ภาพยนตร์เกี่ยวกับแพนด้า
- ภาพยนตร์กังฟู
- ภาพยนตร์กังฟูแพนด้า
- ภาพยนตร์ที่มีฉากในประเทศจีน
- ภาพยนตร์เกี่ยวกับนกกระเรียน
- กังฟูแพนด้า
- ภาพยนตร์แอนิเมชัน
- ภาพยนตร์แอนิเมชันอเมริกัน
- ภาพยนตร์คอมพิวเตอร์แอนิเมชันอเมริกัน
- ภาพยนตร์โดยดรีมเวิกส์แอนิเมชัน
- ภาพยนตร์โดยพาราเมาต์พิกเจอส์
- ภาพยนตร์แอนิเมชันพาราเมาต์พิกเจอส์
- แอนิเมชันตะวันตกที่ได้รับอิทธิพลจากสื่ออนิเมะ
- ภาพยนตร์ที่ประพันธ์ดนตรีโดยฮันส์ ซิมเมอร์
- ภาพยนตร์ที่ดัดแปลงเป็นรายการโทรทัศน์
- ภาพยนตร์ที่ประพันธ์ดนตรีโดยจอห์น พาวเวลล์
- ภาพยนตร์เกี่ยวกับเสือโคร่ง