การเดินทางของวีรบุรุษ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การเดินทางของวีรบุรุษ (อังกฤษ: The hero's journey) หรือ เรื่องปรัมปราเรื่องเดียว (อังกฤษ: monomyth) ในศาสตร์แห่งการเล่าเรื่องและปรัมปราวิทยาเปรียบเทียบ เป็นแม่แบบสามัญกลุ่มใหญ่ของเรื่องเล่าที่เกี่ยวกับการผจญภัยของวีรบุรุษ โดยวีรบุรุษนี้เป็นผู้ที่ได้รับชัยชนะยามถึงจุดวิกฤตของเรื่อง และกลับบ้านยามที่เปลี่ยนเป็นคนใหม่แล้ว[1]

นักมานุษยวิทยาชื่อ เอดเวิร์ด เบอร์เนตต์ ไทเลอร์ เป็นผู้เริ่มศึกษาเรื่องปรัมปราเกี่ยวกับวีรบุรุษใน ค.ศ. 1871 โดยเขาสังเกตว่า เรื่องเล่าเกี่ยวกับวีรบุรุษต่าง ๆ มีรูปแบบโครงเรื่องเหมือนกัน[2] หลังจากเขา ก็มีนักวิชาการคนอื่นที่นำเสนอทฤษฎีต่าง ๆ เพื่ออธิบายโครงสร้างของเรื่องปรัมปราเกี่ยวกับวีรบุรุษ ได้แก่ อ็อทโท รังค์ ซึ่งใช้วิธีเชิงจิตวิเคราะห์แบบฟรอยด์ศึกษาเรื่องปรัมปรา[3] ลอร์ดแรกลัน ซึ่งรวมเรื่องปรัมปรากับพิธีกรรมเป็นหนึ่งเดียว[2] และโจเซฟ แคมป์เบลล์ ซึ่งศึกษารูปแบบของเรื่องปรัมปราเกี่ยวกับวีรบุรุษ โดยยึดมุมมองเกี่ยวกับเรื่องปรัมปราของคาร์ล ยุง เป็นหลัก โจเซฟ แคมป์เบลล์ ได้บรรยายรูปแบบของเรื่องเล่าแบบพื้นฐานเมื่อ ค.ศ. 1949 ในหนังสือชื่อ "วีรบุรุษพันหน้า" (The Hero with a Thousand Faces) ดังนี้ :

วีรบุรุษออกจากโลกธรรมดาไปสู่ดินแดนที่มีสิ่งเหนือธรรมชาติ ที่นี้เขาจะได้พบกับสิ่งชักจูงที่ยิ่งใหญ่ต่าง ๆ และจะได้รับชัยชนะ จากนั้นเขาจะกลับมาจากการผจญภัยอันลึกลับนี้พร้อมกับพลังที่สามารถช่วยผู้ชายคนอื่นได้[4]

โจเซฟ แคมป์เบลล์ กับนักวิชาการคนอื่น เช่น เอริก นูมันน์ ได้อาศัยทฤษฎีเรื่องปรัมปราเรื่องเดียวในการวิเคราะห์เรื่องเล่าของพระโคตมพุทธเจ้า โมเสส และพระเยซู ส่วนอ็อทโท รังค์ กับลอร์ดแรกลันอาศัยทฤษฎีเชิงจิตวิเคราะห์แบบฟร็อยท์และเชิงพิธีกรรมในการวิเคราะห์เรื่องเล่า แนวคิดเหล่านี้ถูกนักวิจารณ์วิพากษ์ว่า เป็นแนวคิดที่กว้างเกินไปที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ในปรัมปราวิทยาเปรียบเทียบ

อ้างอิง[แก้]

  1. Office of Resources for International and Area Studies. "Monomyth Home". History Through Literature Project. University of California, Berkeley. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2010. สืบค้นเมื่อ 2009-11-03.
  2. 2.0 2.1 Segal, Robert; Raglan, Lord; Rank, Otto (1990). "Introduction: In Quest of the Hero". In Quest of the Hero. Princeton, N.J.: Princeton University Press. ISBN 0691020620.
  3. Green, Thomas A. (1997). Folklore: An Encyclopedia of Beliefs, Customs, Tales, Music, and Art. ABC-CLIO. p. 165. ISBN 978-0-87436-986-1.
  4. Campbell, Joseph (1949). The Hero with a Thousand Faces. Princeton: Princeton University Press. p. 23.