เสือโคร่งจีนใต้
เสือโคร่งจีนใต้ | |
---|---|
แม่เสือชื่อ "คาเธย์" | |
ลูกเสือตัวผู้ที่เกิดจากโครงการความร่วมมือระหว่างจีนกับแอฟริกาใต้ | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Carnivora |
วงศ์: | Felidae |
สกุล: | Panthera |
สปีชีส์: | P. tigris |
สปีชีส์ย่อย: | P. t. amoyensis |
Trinomial name | |
Panthera tigris amoyensis (Hilzheimer, 1905) | |
แผนที่แสดงที่อยู่ในธรรมชาติของเสือโคร่งจีนใต้ |
เสือโคร่งจีนใต้ หรือ เสือโคร่งจีน หรือ เสือโคร่งเซียะเหมิน (อักษรจีนตัวเต็ม: 华南虎, อักษรจีนตัวย่อ: 華南虎, หัวหนันหู่) เสือโคร่งพันธุ์ย่อยพันธุ์หนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera tigris amoyensis อยู่ในวงศ์เสือและสิงโต (Felidae) รูปร่างเหมือนเสือโคร่งทั่วไป แต่มีสีขนที่อ่อนกว่าเสือโคร่งเบงกอล (P. t. tigris) หรือเสือโคร่งอินโดจีน (P. t. corbetti) มีหางสั้นกว่า มีลวดลายที่น้อยกว่า นับเป็นเสือโคร่งชนิดที่มีลวดลายน้อยที่สุด มีขนาดรูปร่างและน้ำหนักเล็กกว่าเสือโคร่งอินโดจีนเล็กน้อย และมีลักษณะของโครงสร้างกะโหลกที่แตกต่างออกไป มีเบ้าตาลึก และมีโหนกนูนเล็กน้อยบริเวณด้านหลังต้นคอ
- แฮร์รี คาลด์เวลล์และรอย แชพแมน แอนดรูว์รายงานการพบเห็นเสือสีน้ำเงินที่ผิดปกติหรือ "มอลตา" นอกเมืองฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยน ประมาณปี 1910[2][3]
มีการกระจายพันธุ์อยู่เฉพาะประเทศจีนทางตอนใต้ ตามที่ปรากฏหลักฐานพบว่า เสือชนิดนี้อาศัยอยู่ในบริเวณประเทศจีนมากว่า 2 ล้านปีแล้ว และเชื่อว่าเป็นต้นสายพันธุ์ของเสือโคร่งพันธุ์อื่น ๆ [4]แต่ปัจจุบัน มีสถานะขั้นวิกฤตในธรรมชาติ โดยพบในธรรมชาติครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2507 คาดว่ามีเหลืออยู่ในธรรมชาติราว 30 ตัว และมี 60 ตัวที่อยู่ในสวนสัตว์ประเทศจีน ในอดีตเชื่อว่าอาจมีในเกาหลีใต้ด้วย แต่ปัจจุบันไม่พบแล้ว
อุปนิสัยของเสือโคร่งจีนใต้ เหมือนกับเสือโคร่งทั่วไป คือ ชอบเล่นน้ำและมีพฤติกรรมล่าเหยื่อที่คล้ายคลึงกันคือซ่อนเหยื่อและมักกินเนื้อบริเวณสะโพกก่อน
ในปี พ.ศ. 2546 ทางการจีนได้ร่วมมือกับทางการแอฟริกาใต้ทำโครงการการอนุรักษ์และขยายพันธุ์เสือโคร่งจีน โดยใช้พื้นที่ป่าของแอฟริกาใต้เป็นสถานที่อาศัยและขยายพันธุ์ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศเป็นที่โล่งกว้างขวางและมีภูมิอากาศที่เหมาะสม มีฝนตกเหมาะกับอุปนิสัยที่ชอบเล่นน้ำของเสือ โดยใช้เนื้อที่ 330 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเคยเป็นฟาร์มเลี้ยงแกะมาก่อน การขยายพันธุ์ประสบความสำเร็จเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เมื่อแม่เสือชื่อ "คาเธย์" ได้คลอดลูกเสือเพศผู้ออกมาตัวหนึ่ง จากการผสมกับเสือเพศผู้ชื่อ "ไทเกอร์วู้ด" นับเป็นครั้งแรกที่ลูกเสือโคร่งจีนใต้ได้ถือกำเนิดขึ้นนอกประเทศจีน ทางเจ้าหน้าที่โครงการคาดว่าในอีก 15 ปี ข้างหน้า จะได้ลูกเสือเช่นนี้ออกมาเป็นจำนวนมากขึ้น[5] [6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Nyhus, P. (2008). "Panthera tigris ssp. amoyensis". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.2.
- ↑ Caldwell, H. R (1924). Blue Tiger. Abingdon Press.
- ↑ Chapman Andrews, R. (1925). Camps & Trails in China: A Narrative of Exploration, Adventure, and Sport in Little-Known China. Appleton.
- ↑ 100 "100 เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับเสือโคร่ง". ชมรมสัตวแพทย์สัตว์ป่าและสวนสัตว์แห่งประเทศไทย. 5 January 2008. สืบค้นเมื่อ 5 January 2014.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "เสือโคร่งจีนเกิดกลางแอฟริกา รอวันกลับสู่ป่าแผ่นดินใหญ่". ผู้จัดการออนไลน์. 7 December 2007. สืบค้นเมื่อ 5 January 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ตั้งชื่อลูกเสือโคร่งจีนใต้". ผู้จัดการออนไลน์. 24 January 2008. สืบค้นเมื่อ 5 January 2014.[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Panthera tigris amoyensis ที่วิกิสปีชีส์