ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จ้วง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Liger (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล ชาติพันธุ์
|group = จ้วง
|image = |caption =
|poptime = ประมาณ 18 ล้านคน
|region1 = {{flagicon|China}}[[ประเทศจีน]]
|pop1 = ประมาณ 18 ล้านคน
|ref1 = [http://www.joshuaproject.net/peopctry.php]<br>
|rels =[[ศาสนาบูชาบรรพบุรุษ]] [[ลัทธิขงจื๊อ]] [[ลัทธิเต๋า]] [[ศาสนาคริสต์]] และ[[ศาสนาพุทธ]]
|langs =[[ภาษาจ้วง]] และ[[ภาษาจีน]]
}}

'''ชาวจ้วง'''([[ภาษาจ้วง]]:Bouчcueŋь/Bouxcuengh ''ปู้จ้วง'' ;[[ภาษาจีน|จีน]]:壮族 หรือ 壯族;[[พินอิน]]:Zhuàngzú) เป็นกลุ่มชนในกลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะได มีประชากรมากที่สุด ราว 18 ล้านคน แต่พวกเขาเพิ่งยอมรับคำว่า จ้วง เป็นชื่อชนชาติ เมื่อทางการ[[จีน]]ใช้คำเขียนใหม่ที่มีความหมายในทางที่ดีขึ้น เพราะในสมัย[[ราชวงศ์ซ้อง]] คำว่า จ้วง (僮) ใช้เรียกทหารที่เป็นจ้วง สมัย[[ราชวงศ์หยวน]] ใช้ตัว[[อักษรจีน]] ที่แปลว่า ปะทะ สมัย[[ราชวงศ์หมิง]] [[ราชวงศ์ชิง]] จนถึงสมัย[[ก๊กมินตั๋ง]] เลี่ยนอักษรตัวแรกเป็นความหมายว่า "สัตว์" (獞) จนถึง [[พ.ศ. 2508]] จึงเปลี่ยนเป็นตัวที่มีความหมายว่า เติบโต และแข็งแรง (壯/壮){{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}
'''ชาวจ้วง'''([[ภาษาจ้วง]]:Bouчcueŋь/Bouxcuengh ''ปู้จ้วง'' ;[[ภาษาจีน|จีน]]:壮族 หรือ 壯族;[[พินอิน]]:Zhuàngzú) เป็นกลุ่มชนในกลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะได มีประชากรมากที่สุด ราว 18 ล้านคน แต่พวกเขาเพิ่งยอมรับคำว่า จ้วง เป็นชื่อชนชาติ เมื่อทางการ[[จีน]]ใช้คำเขียนใหม่ที่มีความหมายในทางที่ดีขึ้น เพราะในสมัย[[ราชวงศ์ซ้อง]] คำว่า จ้วง (僮) ใช้เรียกทหารที่เป็นจ้วง สมัย[[ราชวงศ์หยวน]] ใช้ตัว[[อักษรจีน]] ที่แปลว่า ปะทะ สมัย[[ราชวงศ์หมิง]] [[ราชวงศ์ชิง]] จนถึงสมัย[[ก๊กมินตั๋ง]] เลี่ยนอักษรตัวแรกเป็นความหมายว่า "สัตว์" (獞) จนถึง [[พ.ศ. 2508]] จึงเปลี่ยนเป็นตัวที่มีความหมายว่า เติบโต และแข็งแรง (壯/壮){{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:59, 5 ตุลาคม 2550

จ้วง
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
จีนประเทศจีนประมาณ 18 ล้านคน[1]
ภาษา
ภาษาจ้วง และภาษาจีน
ศาสนา
ศาสนาบูชาบรรพบุรุษ ลัทธิขงจื๊อ ลัทธิเต๋า ศาสนาคริสต์ และศาสนาพุทธ

ชาวจ้วง(ภาษาจ้วง:Bouчcueŋь/Bouxcuengh ปู้จ้วง ;จีน:壮族 หรือ 壯族;พินอิน:Zhuàngzú) เป็นกลุ่มชนในกลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะได มีประชากรมากที่สุด ราว 18 ล้านคน แต่พวกเขาเพิ่งยอมรับคำว่า จ้วง เป็นชื่อชนชาติ เมื่อทางการจีนใช้คำเขียนใหม่ที่มีความหมายในทางที่ดีขึ้น เพราะในสมัยราชวงศ์ซ้อง คำว่า จ้วง (僮) ใช้เรียกทหารที่เป็นจ้วง สมัยราชวงศ์หยวน ใช้ตัวอักษรจีน ที่แปลว่า ปะทะ สมัยราชวงศ์หมิง ราชวงศ์ชิง จนถึงสมัยก๊กมินตั๋ง เลี่ยนอักษรตัวแรกเป็นความหมายว่า "สัตว์" (獞) จนถึง พ.ศ. 2508 จึงเปลี่ยนเป็นตัวที่มีความหมายว่า เติบโต และแข็งแรง (壯/壮)[ต้องการอ้างอิง]

ประวัติ

ชาวจ้วงมีความเป็นมาค่อนข้างชัดเจน นับย้อนไปได้ไม่ต่ำ 5,000 ปี นอกจากในถิ่นที่อยู่จะพบหลักฐานทางโบราณคดีมากมาย เช่น ภาพเขียนโบราณที่ผาลาย กลองสัมฤทธิ์ที่เรียกว่า กลอมมโหระทึก ในปี พ.ศ. 2536 ยังขุดพบซากมนุษย์ยุคหินเก่าด้วยที่มีอายุประมาณ 50,000 ปี มีโครงกระดูกคล้ายกับชาวจ้วงในปัจจุบันด้วย ทั้งในบันทึกประวัติศาสตร์จีน ก็มีคนชื่อ ซีโอว และหลั้วเยว่ ถวายเครื่องบรรณาการให้ราชวงศ์โจว (เจา) ตั้งแต่ราว 3,000 ปีก่อน แสดงว่า จ้วงเป็นกลุ่มชนที่มีรัฐ และกษัตริย์แล้ว ก่อนยุคจิ๋นซีฮ่องเต้ ชื่อคนซีโอว และหลั้วเยว่ ค่อยๆหายไปจากประวัติศาสตร์จีน เพราะจีนเปลี่ยนชื่อเรียกกลุ่มคนเหล่านี้ไปเรื่อยๆ เมื่อถึงสมัยอู่หู บรรพบุรุษของชาวจ้วงถูกเรียกว่า "หลี่" สมัยสามก๊กก็ถูกเรียกว่า "เหลียว" สมัยราชวงศ์จิ้น ก็เรียกทั้งหลี่ และเหลียว

การแบ่งกลุ่มชาวจ้วง

ปัจจุบันชาวจ้วงจะแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้สองกลุ่มด้วยกัน คือ กลุ่มจ้วงเหนือ และจ้วงใต้ จ้วงเหนืออยู่ที่เหนือของเขตปกครองตนเองกวางสีจ้วง เป็นกลุ่มที่ใหญ่ ส่วนจ้วงใต้อยู่ทางใต้เป็นกลุ่มเล็กกว่า ชาวจ้างที่อยุ่นเขาเรียกว่า ชาวจ้วงเสื้อดำ ซึ่งกระจายอยู่ในอำเภอน่าโพ มีประมาณ 6 หมื่นคน ชาวจ้วงเสื้อดำเห็นว่าสีดำเป็นสีที่สวยงาม สีดำจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของชนชาติ [1]

ภาษา

ใน 2 พวกนี้ ยังแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ ที่พูดภาษาถิ่นย่อยต่างๆ ลงไป 10 กว่ากลุ่มด้วยกัน พวกเขามักเรียกตัวเองตามตามชื่อดั้งเดิมของท้องถิ่นว่า ผู้ใหญ่ (ผู้ย้อย) ผู้นุง ผู้โท้ ผู้หล่าว ผู้บ้าน (ผู้ม่าน) ผู้ไร ฯลฯ แต่โดยสรุปแล้ว ชาวจ้วงมีภาษาคล้ายคลึงกับลาว และไทย แต่ภาษาจ้วง จะสะกดด้วยตัวอักษรที่ดัดแปลงมาจากอักษรละติน แต่ปัจจุบันชาวจ้วงก็สามารถใช้ภาษาจีนกลางได้ ภาษาจ้วงนั้นฟังแล้วเหมือนภาษาไทยมาก เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง น้า อา จมูก เรียกว่า ดั้ง ฟัน เรียกว่า เข่ว ส้มโอ เรียก หมากพุก ดวงอาทิตย์ เรียกว่า ตาวัน ดวงจันทร์ เรียกว่า เดือน ไก่ ปา คือ ปลา และสุขา เรียกว่า หลุมขี่ เป็นต้น

วัฒนธรรม ความเชื่อ ศาสนา

นอกจากจะมีวัฒนธรรมคล้ายลาว และไทยแล้ว ชาวจ้วง จะนับถือกบ บ้านเรือนดั้งเดิมเป็นบ้านยกพื้น โดยใต้ถุนบ้านจะเป็นที่เก็บของ เลี้ยงสัตว์ นิยมมุงหลังคาด้วยไม้ไผ่ ตั้งบ้านเรือนริมแม่น้ำ หรือไหล่เขา ชาวจ้วงจะกินข้าวเจ้าเหมือนชาวไทย ส่วนข้าวเหนียวนิยมกินในช่วงเทศกาล และมักทำเป็นรูปขนมต่างๆ มีความเชื่อเรื่องขวัญ นับถือผีและบรรพบุรุษ ในเวลามีการประกอบพิธีจะปิดเป็นความลับมิให้ใครเห็น นอกจากนี้ ชาวจ้วงยังนับถือพระพุทธศาสนาบ้างเป็นส่วนน้อย และยังมีลัทธิเต๋า ศาสนาคริสต์ และยังนับถือศาสนาอิสลามอีกจำนวนหนึ่งด้วย บ้านชาวจ้วงเกือบทุกหลังจะตั้งสิ่งที่เป็นเครื่องหมายของ เทพบิดร ไว้บูชากัน

อ้างอิง

  • กัญญา ลีลาลัย ประวัติศาสตร์ของชนชาติไท
  • เทอด เกียรติภูมิ เปิดโลกสิบสองปันนา
  1. ชีวิตบนภูเขาของชาวจ้วงเสื้อดำและวัฒนธรรมเพลงชาวเขา