ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธงชาติยูเครน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
WikitanvirBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: fa:پرچم اوکراین
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
{{รอการตรวจสอบ}}
{{กล่องข้อมูล ธงชาติ
{{กล่องข้อมูล ธงชาติ
|Name = ธงชาติยูเครน
| Name = ธงชาติยูเครน
|Article =
| Article =
|Image = Flag of Ukraine.svg
| Image = Flag of Ukraine.svg
|Use = 100100
| Use = 100100
|Symbol =
| Symbol =
|Proportion = 2:3
| Proportion = 2:3
|Adoption = [[28 มกราคม]] [[ค.ศ. 1992]] (เดิมเริ่มใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1918)
| Adoption = [[28 มกราคม]] [[ค.ศ. 1992]] (เดิมเริ่มใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1918)
|Design = ธงสองสี พื้น[[สีฟ้า]]และ[[สีเหลือง]] แบ่งครึ่งตามแนวนอน
| Design = ธงสองสี พื้น[[สีฟ้า]]และ[[สีเหลือง]] แบ่งครึ่งตามแนวนอน
|Type =
|Type =
|Image2 = Naval Ensign of Ukraine (dress).svg
| Image2 = Naval Ensign of Ukraine (dress).svg
|Use2 = 000001
| Use2 = 000001
|Adoption2 = [[28 มกราคม]] [[ค.ศ. 1992]] (เดิมเริ่มใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1918)
| Adoption2 = [[28 มกราคม]] [[ค.ศ. 1992]] (เดิมเริ่มใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1918)<ref>{{cite web | url=http://flaggenlexikon.de/fukrain.htm |title=Ukraine |accessdate=2007-05-17 |author=Volker Preuß|coauthors= }} {{de}}</ref>
|Proportion2 = 2:3
| Proportion2 = 2:3
|Design2 = ธงพื้นขาวมีกางเขนสีน้ำเงิน-ขาว-น้ำเงิน ที่มุมธงบนด้านคันธงมีรูปธงชาติ
| Design2 = ธงพื้นขาวมีกางเขนสีน้ำเงิน-ขาว-น้ำเงิน ที่มุมธงบนด้านคันธงมีรูปธงชาติ
|Type =
|Type =
| Image3 = Zsu prapor.jpg
| Nickname3 = ธงประจำกองบัญชาการทหารสูงสุด
| Morenicks3 =
| Use3 =
| Symbol3 =
| Proportion3 =
| Adoption3 =
| Design3 = ธงพื้นสีชมพูอมม่วง (สีดอกราสเบอรี่) กลางธงมีตราประจำกองบัญชาการทหารสูงสุด.
| Designer3 =
| Image4 = Zsu prapor.jpg
| Nickname4 = ธงประจำกองบัญชาการทหารสูงสุด
| Morenicks4 =
| Use4 =
| Symbol4 =
| Proportion4 =
| Adoption4 =
| Design4 = ธงพื้นสีชมพูอมม่วง (สีดอกราสเบอรี่) กลางธงมีตราประจำกองบัญชาการทหารสูงสุด.
| Designer4 =
| Image5 = Ps flag.jpg
| Nickname5 = ธงประจำกองทัพอากาศยูเครน
| Morenicks5 =
| Use5 =
| Symbol5 =
| Proportion5 = 2:3
| Adoption5 =
| Design5 = ธงพื้นสีฟ้า กลางธงมีตราประจำกองทัพอากาศยูเครน.
| Designer5=
| Image6 = Sea Guard Ensign of Ukraine (dress).svg
| Nickname6 = ธงเรือพิทักษ์ชายแดน
| Morenicks6 =
| Use6 =000001
| Symbol6 =
| Proportion6 = 2:3
| Adoption6 =
| Design6 = ธงพื้นสีเขียวมีกางเขนสีเขียว-ขาว-เขียว ที่มุมธงบนด้านคันธงมีรูปธงชาติ
| Designer6 =
}}
}}
'''[[ธงชาติ]][[ยูเครน]]''' ({{lang-uk|державний прапор України}}; ถอดเป็นอักษรโรมัน: ''derzhavnyy prapor Ukrayiny'') มีต้นกำเนิดจากธงชาติในสมัยการปกครองระยะสั้นๆ ของ[[สาธารณรัฐประชาชนยูเครน]]ในปี [[ค.ศ. 1918]] โดยธงชาติในยุคนั้นเป็นธง[[สีฟ้า]]-[[เหลือง]] มีรูป[[สามง่าม]] (''tryzub'') ประดับอยู่ที่มุมธงบนด้านคันธง เครื่องหมายดังกล่าวนี้ได้มีการเลิกใช้ในธงในสมัยรัฐบาลของ[[พาโบล สโกโรปาดสกี]] (Pavlo Skoropadsky) และคณะไดเรกทอรี ({{lang-uk|Dyrektoriya}}) ซึ่งเป็นผู้บริหารประเทศลำดับถัดมา ต่อมาในยุคของ[[สหภาพโซเวียต]] [[พรรคบอลเชวิค]]ได้เลิกธงเดิมและใช้[[ธงแดง]]เป็นสัญลักษณ์ ก่อนจะเปลี่ยนเป็นธงสีแดง-ฟ้าในระยะต่อมา ธงสีฟ้า-เหลืองได้กลับมามีสถานะเป็นธงชาติยูเครนอย่างเป็นทางการอีกครั้ง เมื่อยูเครนได้รับเอกราชในปี [[ค.ศ. 1992]]
'''[[ธงชาติ]][[ยูเครน]]''' ({{lang-uk|державний прапор України}}; ถอดเป็นอักษรโรมัน: ''derzhavnyy prapor Ukrayiny'') มีต้นกำเนิดจากธงชาติในสมัยการปกครองระยะสั้นๆ ของ[[สาธารณรัฐประชาชนยูเครน]]ในปี [[ค.ศ. 1918]] โดยธงชาติในยุคนั้นเป็นธง[[สีฟ้า]]-[[เหลือง]] มีรูป[[สามง่าม]] (''tryzub'') ประดับอยู่ที่มุมธงบนด้านคันธง เครื่องหมายดังกล่าวนี้ได้มีการเลิกใช้ในธงในสมัยรัฐบาลของ[[พาโบล สโกโรปาดสกี]] (Pavlo Skoropadsky) และคณะไดเรกทอรี ({{lang-uk|Dyrektoriya}}) ซึ่งเป็นผู้บริหารประเทศลำดับถัดมา ต่อมาในยุคของ[[สหภาพโซเวียต]] [[พรรคบอลเชวิค]]ได้เลิกธงเดิมและใช้[[ธงแดง]]เป็นสัญลักษณ์ ก่อนจะเปลี่ยนเป็นธงสีแดง-ฟ้าในระยะต่อมา ธงสีฟ้า-เหลืองได้กลับมามีสถานะเป็นธงชาติยูเครนอย่างเป็นทางการอีกครั้ง เมื่อยูเครนได้รับเอกราชในปี [[ค.ศ. 1992]]
บรรทัด 104: บรรทัด 140:
;[[29 เมษายน]] ค.ศ. 1990 :ธงสีฟ้า-เหลืองถูกชักขึ้นเหนืออาคารโรงละครในเมือง[[เตียร์โนปิล]]โดยไม่มีการชักธงของสหภาพโซเวียตเหนือธงดังกล่าว
;[[29 เมษายน]] ค.ศ. 1990 :ธงสีฟ้า-เหลืองถูกชักขึ้นเหนืออาคารโรงละครในเมือง[[เตียร์โนปิล]]โดยไม่มีการชักธงของสหภาพโซเวียตเหนือธงดังกล่าว


;[[24 กรกฎาคม]] ค.ศ. 1990 :ได้มีการชักธงฟ้า-เหลืองอย่างเป็นทางการครั้งแรกเหนืออาคารสภากรุงเคียฟ ที่จตุรัสไมดาน เนซาเลซนอสติ (Maidan Nezalezhnosti square) ถนนเครสชาตีค (Khreschatyk street)
;[[24 กรกฎาคม]] ค.ศ. 1990 :ได้มีการชักธงฟ้า-เหลืองอย่างเป็นทางการครั้งแรกเหนืออาคารสภากรุงเคียฟ ที่[[จตุรัสไมดาน เนซาเลซนอสติ]] (Maidan Nezalezhnosti square) ถนนเครสชาตีค (Khreschatyk street)


หลังการประกาศเอกราชของยูเครนในวันที่ [[24 สิงหาคม]] [[ค.ศ. 1991]] ธงชาติยูเครนสีฟ้า-เหลืองก็ได้ชักขึ้นในฐานะธงชาติรัฐเอกราชครั้งแรกเมื่อวันที่ [[4 กันยายน]] ค.ศ. 1991 ที่อาคารรัฐสภาของประเทศยูเครน
หลังการประกาศเอกราชของยูเครนในวันที่ [[24 สิงหาคม]] [[ค.ศ. 1991]] ธงชาติยูเครนสีฟ้า-เหลืองก็ได้ชักขึ้นในฐานะธงชาติรัฐเอกราชครั้งแรกเมื่อวันที่ [[4 กันยายน]] ค.ศ. 1991 ที่อาคารรัฐสภาของประเทศยูเครน

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:01, 7 มิถุนายน 2554

ธงชาติยูเครน
การใช้ธงพลเรือน และ ธงเรือพลเรือน
สัดส่วนธง2:3
ประกาศใช้28 มกราคม ค.ศ. 1992 (เดิมเริ่มใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1918)
ลักษณะธงสองสี พื้นสีฟ้าและสีเหลือง แบ่งครึ่งตามแนวนอน
การใช้ธงนาวี
สัดส่วนธง2:3
ประกาศใช้28 มกราคม ค.ศ. 1992 (เดิมเริ่มใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1918)[1]
ลักษณะธงพื้นขาวมีกางเขนสีน้ำเงิน-ขาว-น้ำเงิน ที่มุมธงบนด้านคันธงมีรูปธงชาติ
ธงประจำกองบัญชาการทหารสูงสุด
ลักษณะธงพื้นสีชมพูอมม่วง (สีดอกราสเบอรี่) กลางธงมีตราประจำกองบัญชาการทหารสูงสุด.
ธงประจำกองบัญชาการทหารสูงสุด
ลักษณะธงพื้นสีชมพูอมม่วง (สีดอกราสเบอรี่) กลางธงมีตราประจำกองบัญชาการทหารสูงสุด.
ธงประจำกองทัพอากาศยูเครน
สัดส่วนธง2:3
ลักษณะธงพื้นสีฟ้า กลางธงมีตราประจำกองทัพอากาศยูเครน.
ธงเรือพิทักษ์ชายแดน
การใช้ธงนาวี
สัดส่วนธง2:3
ลักษณะธงพื้นสีเขียวมีกางเขนสีเขียว-ขาว-เขียว ที่มุมธงบนด้านคันธงมีรูปธงชาติ

ธงชาติยูเครน (ยูเครน: державний прапор України; ถอดเป็นอักษรโรมัน: derzhavnyy prapor Ukrayiny) มีต้นกำเนิดจากธงชาติในสมัยการปกครองระยะสั้นๆ ของสาธารณรัฐประชาชนยูเครนในปี ค.ศ. 1918 โดยธงชาติในยุคนั้นเป็นธงสีฟ้า-เหลือง มีรูปสามง่าม (tryzub) ประดับอยู่ที่มุมธงบนด้านคันธง เครื่องหมายดังกล่าวนี้ได้มีการเลิกใช้ในธงในสมัยรัฐบาลของพาโบล สโกโรปาดสกี (Pavlo Skoropadsky) และคณะไดเรกทอรี (ยูเครน: Dyrektoriya) ซึ่งเป็นผู้บริหารประเทศลำดับถัดมา ต่อมาในยุคของสหภาพโซเวียต พรรคบอลเชวิคได้เลิกธงเดิมและใช้ธงแดงเป็นสัญลักษณ์ ก่อนจะเปลี่ยนเป็นธงสีแดง-ฟ้าในระยะต่อมา ธงสีฟ้า-เหลืองได้กลับมามีสถานะเป็นธงชาติยูเครนอย่างเป็นทางการอีกครั้ง เมื่อยูเครนได้รับเอกราชในปี ค.ศ. 1992

รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐ มาตราที่ 20 ได้บัญญัติถึงธงชาติไว้ว่า “ธงชาติยูเครน เป็นธงสองแถบซึ่งมีความกว้างเท่ากันตามแนวนอน พื้นสีฟ้าและสีเหลือง” (“the State Flag of Ukraine is a banner of two equally sized horizontal bands of blue and yellow colour.”)

ประวัติความเป็นมาของธงชาติ

ธงเหลือง–ฟ้า และธงแดง-ดำของเหล่าทหารคอสแซค ในงานจิตรกรรม "Reply of the Zaporozhian Cossacks" โดยอิลียา เรพิน (Ilya Repin), ค.ศ. 1880 - 1891
ภาพธงเหลือง–ฟ้าในโปสเตอร์สมัยสาธารณรัฐประชาชนยูเครน, บี.ชิพพิค (B.Shippikh), กรุงเคียฟ, ค.ศ. 1917

สีซึ่งอยู่ในธงชาติยูเครนประกอบด้วยสีฟ้า หมายถึงท้องฟ้า และสีเหลือง หมายถึงสีทองของรวงข้าวสาลีในประเทศนี้ สีดังกล่าวนี้มีความเกี่ยวข้องกับชาวยูเครนมาเป็นระยะเวลานานตั้งแต่ก่อนจะมีการนำศาสนาคริสต์เข้ามาในยูเครน โดยปรากฏว่าในสมัยโบราณได้มีธรรมเนียมในการตกแต่งงานพิธีการในท้องถิ่นด้วยสีทั้งสอง เพื่อแทนความหมายของน้ำและไฟ[2] ในสมัยอาณาจักรเคียฟรุส สีเหลืองและสีฟ้ายังคงเป็นสีที่ได้รับความนิยมโดยทั่วไป ต่อมาสีดังกล่าวนี้ก็ได้ใช้เป็นธงของราชรัฐฮาลีช-โวลฮีเมีย (Halych-Volhynia) ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 และ 14

สมัยเอกราชระหว่าง ค.ศ. 1917 – 1920

ธงชาติยูเครนสมัยต่างๆ

อาณาจักรฮาลีช-โวลฮีเมีย
(Halych-Volhynia)

แคว้นคอสแซคเฮตเมเนต
(Cossack Hetmanate)

สาธารณรัฐประชาชนยูเครน
(ค.ศ. 1917 – 1918)[3]

สาธารณรัฐประชาชนยูเครน
(ธงนาวี; ค.ศ. 1917–1921)

สาธารณรัฐชาตินิยมยูเครนตะวันตก
(ค.ศ. 1918 – 1919)

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน
(ค.ศ. 1919 – 1929).

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน
(ค.ศ. 1929 – 1937).

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน
(ค.ศ. 1937 – 1949).

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน
(ค.ศ. 1949 - 1992)

ประเทศยูเครน
(ตั้งแต่ ค.ศ. 1992)

หลังการปฏิวัติรัสเซียในปี ค.ศ. 1917 ชาวยูเครนได้ใช้ธงทั้งสีฟ้า–เหลืองและสีเหลือง–ฟ้า เป็นสัญลักษณ์ในการต่อสู้เพื่ออิสรภาพระหว่างปี ค.ศ. 1917 - 1920

ปัจจุบันนี้ยังไม่มีแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ระบุว่ามีการประกาศใช้ธงชาติยูเครนอย่างเป็นทางการโดยสาธารณรัฐประชาชนยูเครนระหว่างปี ค.ศ. 1917 - 1918 ข้อมูลบางแห่งได้อ้างว่าสภาส่วนกลางของสาธารณรัฐประชาชนยูเครน (Tsentralna Rada) ได้ประกาศให้ธงเหลือง-ฟ้าเป็นธงชาติยูเครนเมื่อวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 1918[4] แต่แหล่งข้อมูลอีกแห่งระบุว่าไม่มีไม่มีสำเนาเอกสารของการประกาศดังกล่าว[5] หลักฐานที่แตกต่างออกไปอีกแห่งได้อ้างถึงธงของกองกำลังทางเรีอซึ่งใช้ธงพื้นสีฟ้าอ่อน-เหลือง[6] เป็นการระบุว่าธงชาติยูเครนอย่างเป็นทางการในเวลานั้นใช้สีฟ้าอ่อน-เหลืองด้วยเช่น[7]

ธงอย่างเป็นทางการของรัฐยูเครนภายใต้การปกครองของพาโบล สโกโรพาดสกีใช้ธงสีฟ้า-เหลือง และกลายสีเป็นสีฟ้าอ่อน-เหลืองในสมัยของคณะไดเรกทอรีภายใต้การนำของเซเมน เพทลูรา (Semen Petlura) ส่วนธงของสาธารณรัฐชาตินิยมยูเครนตะวันตกใช้ธงสีฟ้าเหลือง

ในบรรดาองค์กรของผู้อพยพชาวยูเครนนั้นได้มีการสนับสนุนให้ใช้ทั้งธงสีฟ้า-เหลือง และธงสีเหลือง-ฟ้า เป็นเครื่องหมายของพวกตน ในที่สุดจึงมีการยอมรับให้ใช้ธงสีฟ้าอ่อน-เหลือง เป็นสัญลักษณ์ของยูเครนจนกระทั่งได้มีการประกาศยอมรับจากรัฐบาลยูเครนในยุคนั้นอย่างเป็นทางการ

ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต

นับตั้งแต่ ค.ศ. 1920 ยูเครนตกอยู่ในความปกครองของสหภาพโซเวียตภายใต้ชื่อสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน ธงของยูเครนในยุคนี้จึงมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับธงชาติของสาธารณรัฐโซเวียตแห่งอื่นในเครือสหภาพโซเวียตเช่นกัน กล่าวคือใช้ธงแดงเป็นสัญลักษณ์ ที่พื้นธงตอนมุมบนด้านคันธงมีอักษรซีริลลิกย่อนามประเทศ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เป็นระยะๆ ("УСРР" ระหว่าง ค.ศ. 1919 – 1929 และ "УРСР" ระหว่าง ค.ศ. 1929 – 1947) ในปี ค.ศ. 1937 จึงได้มีการเพิ่มสัญลักษณ์รูปค้อนเคียวไว้เหนืออักษรย่อนามประเทศด้วย

ในปี ค.ศ. 1947 สาธารณรัฐโซเวียตต่างๆ ได้มีการแก้ไขธงชาติของตนเองใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เกิดความแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยยูเครนได้เปลี่ยนธงเป็นธงแดงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน มีรูปค้อนเคียวและดาวแดง ตอนล่างแบ่งเป็นแถบแนวนอนสีฟ้า กว้าง 1 ใน 3 ของความกว้างธงโดยรวม

การกลับคืนสถานะธงชาติของธงฟ้า-เหลือง

จากอิทธิพลของนโยบายกลาสนอสต์-เปเรสทรอยกา ของประธานาธิบดีมิคาอิล กอร์บาชอฟ ซึ่งดำเนินมาเป็นเวลาหลายปีในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1980 ทำให้บรรดาสาธารณรัฐโซเวียตต่างๆ ภายใต้ความปกครองของสหภาพโซเวียตเกิดความรู้สึกชาตินิยมอย่างแรงกล้า จนกระทั่งนำไปสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1991 เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้รัฐในคายสมุทรบอลข่าน 3 รัฐ (ลัตเวีย, ลิทัวเนีย, เอสโตเนีย) และยูเครนตะวันตก ซึ่งเป็นดินแดนที่ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียตหลังสุดเกิดความกังวล บรรดาแคว้นดังกล่าวจึงร่วมกันพยายามฟื้นฟูเอาสัญลักษณ์ประจำชาติในอดีตกลับมาใช้อีกครั้งหนึ่ง โดยในปี ค.ศ. 1988 สภาโซเวียตสูงสุดของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนียได้เปลี่ยนตราแผ่นดินจากเดิมในสมัยโซเวียตเป็นตราที่เคยใช้ในสมัยก่อนการปกครองของสหภาพโซเวียตเป็นแห่งแรก รัฐสภาของลัตเวียและเอสโตเนียก็ได้ทำการอย่างเดียวกันกับสภาลิทัวเนียเป็นลำดับถัดมาในเวลาไม่นานนัก

สิ่งที่เกิดขึ้นดังกล่าวไม่ช้าก็ได้ชักนำให้เกิดกระบวนการอย่างเดียวกันในยูเครนด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยูเครนตะวันตกและในกรุงเคียฟ เมืองหลวงของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน ได้เกิดการเดินขบวนทางการเมืองเป็นระยะๆ โดยผู้ชุมนุมได้มีการชูธงสีฟ้า-เหลืองขึ้นเป็นสัญลักษณ์ในการชุมนุม

เหตุการณ์ต่างๆ ในยูเครนได้เกิดขึ้นโดยลำดับดังต่อไปนี้

20 มีนาคม ค.ศ. 1990
สภาประจำเมืองเตียร์โนปิล (Ternopil) ได้มีการลงมติให้ฟื้นฟูการใช้ธงสีฟ้า-เหลือง ตราสามง่าม (tryzub) และเพลงชาติยูเครนซึ่งมีชื่อว่า "Shche ne vmerla Ukrainy" ในวันเดียวกันนั้นธงสีฟ้า-เหลืองก็ได้ชักขึ้นเหนืออาคารของรัฐบาลในกรุงเคียฟแทนธงของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนเป็นครั้งแรก
28 เมษายน ค.ศ. 1990
สภาจังหวัดลวีฟได้อนุมัติให้มีการใช้สัญลักษณ์ประจำชาติอย่างใหม่ภายในจังหวัด
29 เมษายน ค.ศ. 1990
ธงสีฟ้า-เหลืองถูกชักขึ้นเหนืออาคารโรงละครในเมืองเตียร์โนปิลโดยไม่มีการชักธงของสหภาพโซเวียตเหนือธงดังกล่าว
24 กรกฎาคม ค.ศ. 1990
ได้มีการชักธงฟ้า-เหลืองอย่างเป็นทางการครั้งแรกเหนืออาคารสภากรุงเคียฟ ที่จตุรัสไมดาน เนซาเลซนอสติ (Maidan Nezalezhnosti square) ถนนเครสชาตีค (Khreschatyk street)

หลังการประกาศเอกราชของยูเครนในวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ธงชาติยูเครนสีฟ้า-เหลืองก็ได้ชักขึ้นในฐานะธงชาติรัฐเอกราชครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 1991 ที่อาคารรัฐสภาของประเทศยูเครน

สีธง

ตารางของสีธงชาติในที่นี้มาจากเว็บไซต์ vexilla-mundi.com:

Scheme สีฟ้า สีเหลือง
ระบบสีแพนโทน[8] 285 C 108 C
RGB[8] 58-117-196 249-221-22
CMYK[8] 70-40-0-23 0-11-91-2

อ้างอิง

  1. Volker Preuß. "Ukraine". สืบค้นเมื่อ 2007-05-17. {{cite web}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help) (เยอรมัน)
  2. Geraldika.ru Флаг Украины
  3. Abbott, Peter (2004). Ukrainian Armies 1914-55. Osprey Publishing. pp. M1 9, 13. ISBN 9781841766683. {{cite book}}: |access-date= ต้องการ |url= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  4. State Symbols of Ukraine, Cabinet of Ministers of Ukraine, website.
  5. http://vexillography.narod.ru/ukraine/unr.htm
  6. Ukrainian Historical Journal, 1999, #4, ISSN 0130-S247
  7. Українське військо у ХХ-ХХІ сторіччі
  8. 8.0 8.1 8.2 "vexilla mundi". สืบค้นเมื่อ 2007-03-13.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น