แผลเก่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผลเก่า  
แผลเก่า ของ ไม้ เมืองเดิม
ผู้ประพันธ์ไม้ เมืองเดิม
ประเทศไทย
ภาษาไทย
ประเภทโศกนาฏกรรม
สำนักพิมพ์คณะเหม
วันที่พิมพ์พ.ศ. 2479

แผลเก่า เป็นผลงานประพันธ์เรื่องแรกของ ไม้ เมืองเดิม ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2479 สร้างเป็นภาพยนตร์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2483 และครั้งที่ 2 พ.ศ. 2489 ต่อมา เชิด ทรงศรี นำกลับมาสร้างภาพยนตร์อีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2520 ทำสถิติรายได้สูงสุดเมื่อออกฉายครั้งแรก ลบสถิติภาพยนตร์ทุกเรื่องที่เข้าฉายในเวลานั้นทั้งไทยและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังได้รางวัลชนะเลิศจากงานประกวดภาพยนตร์ ณ เมืองน็องต์ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2524 เป็นฉบับที่มีชื่อเสียงที่สุด เคยสร้างเป็นละครโทรทัศน์และภาพยนตร์หลายครั้ง ครั้งล่าสุดเป็นภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2557

เนื้อเรื่อง[แก้]

ขวัญเป็นลูกชายนายเขียน ผู้ใหญ่บ้านบางกะปิ เรียมเป็นลูกสาวตาเรือง อยู่คลองแสนแสบ เรียมมีพี่ชายชื่อ เริญ น้องชายชื่อ รอด ตาเรืองแพ้คดีรุกที่นาที่ผู้ใหญ่เขียนฟ้องร้อง จึงเป็นอริกับผู้ใหญ่เขียนเสมอมา แต่ขวัญกับเรียมรักกัน และแอบไปมาหาสู่เพื่อแสดงความรักกันตลอดมา ขวัญสาบานต่อเจ้าพ่อไทรว่า จะรักและซื่อตรงต่อเรียมตลอดไป ขณะนั้น ครอบครัวเรียมตามมาพบ จึงจับเรียมกลับไป ล่ามเรียมไว้ไม่ให้ไปพบกับขวัญอีก ขวัญซึ่งคิดถึงเรียมก็ลักลอบมาหา ได้พบและทำร้ายจ้อย นักเลงซึ่งสนิทกับครอบครัวเรียมและหลงรักเรียมอยู่ ตาเรืองเห็นว่า จะห้ามปรามขวัญกับเรียมไม่ได้ จึงขายเรียมให้ไปเป็นคนใช้คุณนายทองคำ เศรษฐินีม่ายในบางกอก ด้วยราคาหนึ่งร้อยบาท

คุณนายทองคำเห็นเรียมหน้าตาน่ารักและละม้ายโฉมยง บุตรสาวที่เพิ่งตาย จึงเอ็นดูและเลี้ยงเรียมเหมือนลูก เรียมจึงมีชีวิตเหมือนผู้ดีอยู่ในบางกอก เรียมยังได้พบสมชาย ลูกของพี่ชายคุณนายทองคำ ซึ่งเป็นคนรักของโฉมยง สมชายก็เหมือนคุณนายทองคำที่เมื่อเห็นเรียมก็รักใคร่ คุณนายเห็นทั้งสองสมน้ำสมเนื้อกันก็ส่งเสริม แต่เรียมยังคงรักขวัญอยู่

สามปีผ่านไป ขวัญซึ่งไร้เรียมใช้ชีวิตเหมือนรอวันตายไปวัน ๆ เข้าใจว่า เรียมไปได้ดีในบางกอกจนลืมคนเคยรักคนนี้เสียแล้ว เวลานั้น นางรวย แม่ของเรียมป่วย เรียมจึงขออนุญาตคุณนายกลับบ้านเดิมเพื่อมาเยี่ยมไข้ นางรวยเมื่อลูกสาวมาหาได้ไม่นานก็สิ้นใจ เมื่อกลับมาแล้ว เรียมได้พบกับขวัญ และแสดงให้เขาเข้าใจว่า ยังรักกันไม่เสื่อมคลาย

หลังเสร็จงานศพนางรวย สมชายมาตามเรียมกลับบางกอก เพราะคุณนายทองคำล้มป่วยลงเช่นกัน เรียมสองจิตสองใจ ใจหนึ่งไม่อยากกลับเพราะรักขวัญ ใจหนึ่งก็คิดถึงอนาคตอันรุ่งโรจน์ที่บางกอก ขณะนั้น สมชายก็พร่ำพลอดรักเรียม ขวัญแอบมาได้ยินก็โกรธจนบ้าคลั่ง เข้าทำลายเรือที่คนทั้งนั้นจะใช้ไปบางกอก ผู้คนจึงออกติดตามจับขวัญ สมชายใช้ปืนยิงขวัญตาย เรียมจึงคว้ามีดของขวัญมาเชือดคอตัวเองตายตามขวัญไป

ภาพยนตร์[แก้]

ภาพยนตร์เรื่อง แผลเก่า (2497)

ภาพยนตร์ แผลเก่า (2483)[แก้]

ภาพยนตร์เรื่อง แผลเก่า ฉบับ พ.ศ. 2483 เป็นภาพยนตร์ฟิล์ม 35 มม. ขาวดำ พากย์สด[1] สร้างโดย บูรพาศิลป์ภาพยนตร์ นำแสดงโดย สมพงษ์ จันทร์ประภา [2] และ อบเชย ชุ่มพันธ์ กำกับและประพันธ์เพลงประกอบโดยพรานบูรพ์ เพลงประกอบทีมีชื่อเสียงคือเพลงขวัญของเรียม ขับร้องโดย ส่งศรี จันทรประภา และเพลงเคียงเรียม, สั่งเรียม, ลำนำแผลเก่า

ภาพยนตร์ แผลเก่า (2489)[แก้]

ภาพยนตร์เรื่อง แผลเก่า ฉบับ พ.ศ. 2489 เป็นภาพยนตร์ฟิล์ม 16 มม.สีธรรมชาติ พากย์สด สร้างโดย บูรพาศิลป์ภาพยนตร์ กำกับโดย อรรถ อรรถไกวัลวที นำแสดงโดย ชีพ ชูพงษ์ (ท้วม ทรนง) และ พรทิพย์ โกศลมัชกิช เข้าฉายที่โรงภาพยนตร์เฉลิมกรุง ทำรายได้สามแสนบาท [2][3]

ภาพยนตร์ แผลเก่า (2520)[แก้]

ภาพยนตร์เรื่อง แผลเก่า ผลงานกำกับของ เชิด ทรงศรี เป็นภาพยนตร์ฟิล์ม 70 มม.สีอีสต์แมน เสียงพากย์ในฟิล์ม สร้างโดย เชิดไชยภาพยนตร์ จัดจำหน่ายโดย สหมงคลฟิล์ม [4] นำแสดงโดย สรพงศ์ ชาตรี รับบท "ขวัญ", นันทนา เงากระจ่าง รับบท "เรียม" ร่วมด้วย ส. อาสนจินดา, ชลิต เฟื่องอารมย์, เศรษฐา ศิระฉายา และศรินทิพย์ ศิริวรรณ ถ่ายทำด้วยฟิล์ม 35 มม. ฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2520 ใช้คำโฆษณาหนังว่า "เราจักสำแดงความเป็นไทยต่อโลก" เพลงประกอบเพิ่มจากเดิม คือ แสนแสบ ประพันธ์คำร้องโดย ชาลี อินทรวิจิตร ทำนองโดย สมาน กาญจนะผลิน ขับร้องโดย ไพรวัลย์ ลูกเพชร (ชรินทร์ นันทนาคร เคยขับร้องบันทึกแผ่นเสียง เมื่อ พ.ศ. 2503) เพลงอื่นๆ ได้แก่ ลำนำแผลเก่า ขับร้องโดย ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา และ ไพรวัลย์ ลูกเพชร, กุหลาบสีเขียว ขับร้องโดย สวลี ผกาพันธ์

เนื่องจากเป็นเรื่องแนวย้อนยุค ในขณะที่ผู้สร้างส่วนใหญ่นิยมสร้างภาพยนตร์ร่วมสมัย จึงไม่มีตัวแทนจำหน่ายหรือสายหนังรายใดสนใจเลย แต่เมื่อออกฉาย ปรากฏว่าเป็นที่นิยม ทำรายได้สูงสุดในประเทศไทย ภาพยนตร์ได้รับการต้อนรับจากคนดูหรือสังคมไทยอย่างเป็นประวัติการณ์ ได้รับรางวัลพระสุรัสวดี สาขาบทประพันธ์ยอดเยี่ยมและรางวัลเครื่องแต่งกายและแต่งหน้ายอดเยี่ยมจากการประกวดในประเทศ รวมทั้งโล่เกียรติยศภาพยนตร์ที่เชิดชูเอกลักษณ์ไทยยอดเยี่ยมจากพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น

พ.ศ. 2524 "แผลเก่า" ได้รับรางวัลกรังด์ปรีซ์จากการประกวดภาพยนตร์ในงาน Festival des 3 Continents เมืองน็องต์ ประเทศฝรั่งเศส

พ.ศ. 2541 "แผลเก่า" ได้รับเลือกจากหอภาพยนตร์และโทรทัศน์แห่งชาติของประเทศอังกฤษ (National Film and Television Archive) ร่วมกับนิตยสาร Sight and Sound ของสถาบันภาพยนตร์อังกฤษ (British Film Institute) และผู้กำกับภาพยนตร์และนักวิจารณ์ภาพยนตร์จากทั่วโลก ให้เป็น 1 ใน 360 ภาพยนตร์คลาสสิคของโลก โดยมีการประกาศผลเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2544

พ.ศ. 2548 หอภาพยนตร์แห่งชาติ จัดตั้งโครงการ 100 ภาพยนตร์ไทยที่คนไทยควรดู ได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 100 ภาพยนตร์ไทยที่คนไทยควรดู โดยจัดฉายวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 พร้อมกับภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ในโครงการ [5]

พ.ศ. 2550 มูลนิธิหนังไทยร่วมกับหอภาพยนตร์แห่งชาติ นำผลงานภาพยนตร์ของเชิด ทรงศรี จำนวน 5 เรื่อง รวมทั้งแผลเก่า มาจัดฉายอีกครั้งในระหว่างวันที่ 21 – 30 กันยายน พ.ศ. 2550 เพื่อนำรายได้ไปจัดสร้างประติมากรรมขนาดเท่าตัวจริงของเชิด ทรงศรี เพื่อจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย หอภาพยนตร์แห่งชาติ ศาลายา[6]

พ.ศ. 2554 ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับคัดเลือกให้เป็นภาพยนตร์ไทย 1 ในจำนวน 25 เรื่องที่ได้ประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติ โดยหอภาพยนตร์แห่งชาติ [7]

พ.ศ. 2561 หอภาพยนตร์แห่งชาติ ได้นำ"แผลเก่า" กลับมาฉายอีกครั้งในโครงการ "ทึ่ง....หนังโลก" ฉายในวันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน 2561 เวลา 20.00 น. ที่โรงภาพยนตร์สกาล่า ฉายด้วยระบบดิจิตอล DCP โดยหอภาพยนตร์ฯทำการบูรณะร่วมกับแลปฟิล์มที่ประเทศอิตาลี โดยต้นฉบับหนังดังกล่าว มาจากฟิล์มเนกาทีฟของคุณเชิดทรงศรี ซึ่งเคยมอบให้กับหอภาพยนตร์ตั้งแต่ปี 2531

ภาพยนตร์ แผลเก่า (2557)[แก้]

ละครโทรทัศน์[แก้]

รายชื่อนักแสดง[แก้]

ปี พ.ศ. 2483 พ.ศ. 2489 พ.ศ. 2507 พ.ศ. 2520 พ.ศ. 2531 พ.ศ. 2544 พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2557
รูปแบบ ภาพยนตร์ 35 มม. ขาว-ดำ ภาพยนตร์ 16 มม. สี ละคร ช่อง 4 บางขุนพรหม ภาพยนตร์ 70 มม. ละคร ช่อง 7 ภาพยนตร์ 35 มม.
ชื่อเรื่อง "ขวัญ-เรียม"
ละคร ช่อง 3 ภาพยนตร์ ดิจิตอล-DCP
ผู้กำกับ / ผู้สร้าง บูรพาศิลป์ภาพยนตร์
โดย พรานบูรพ์
อรรถ อรรถไกวัลวที คณะนาฏศิลป์สัมพันธ์ เชิด ทรงศรี ไพรัช สังวริบุตร สุทธากร สันติธวัช วินัย ปฐมบูรณ์ หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล
ไอ้ขวัญ สมพงษ์ จันทร์ประภา ชีพ ชูพงษ์ กำธร สุวรรณปิยะศิริ สรพงศ์ ชาตรี บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ นินนาท สินไชย ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์ ชัยพล พูพาร์ต
อีเรียม อบเชย ชุ่มพันธ์ [8] พรทิพย์ โกศลมัชกิช นันทวัน เมฆใหญ่ นันทนา เงากระจ่าง ชุติมา นัยนา ภัครมัย โปตระนันท์ เข็มอัปสร สิริสุขะ ดาวิกา โฮร์เน่
ผู้ใหญ่เขียน (พ่อขวัญ) เสริมพันธ์ สุทธิเนตร ส. อาสนจินดา มานพ อัศวเทพ กิตติคุณ เชียรสงค์ สรพงศ์ ชาตรี พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
กำนันเรือง (พ่อเรียม) ทัต เอกทัต สุวิน สว่างรัตน์ สมพล กงสุวรรณ นิเวศน์ กันไทยราษฎร์ ชลิต เฟื่องอารมย์ ศักราช ฤกษ์ธำรงค์
พิศ, รวย (แม่เรียม) มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา ศรินทิพย์ ศิริวรรณ จิตตรา จำเริญศักดิ์ วิยะดา โกมารกุล ณ นคร เดือนเต็ม สาลิตุล ปานเลขา ว่านม่วง

อ้างอิง[แก้]

  1. ฉากประทับใจในหนังเก่า (3)
  2. 2.0 2.1 ภราดร ศักดา. เปิดม่านคนดังหลังวัง ตำนานเก่าเล่าเรื่องดารายุคภาพยนตร์ไทยเฟื่อง. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์สยามบันทึก, พ.ศ. 2551. 264 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-13-8887-5
  3. แสนแสบ---ไม้ เมืองเดิม จากเว็บ แม่ไม้เพลงไทย
  4. แผลเก่า (2520) คิดถึงคุณเชิด โดย ประวิทย์ แต่งอักษร:สตาร์พิคส์ – REPLAY
  5. "100 ภาพยนตร์ไทยที่คนไทยควรดู ฉายตลอดปี". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 2016-03-06.
  6. "สัปดาห์ภาพยนตร์ เชิด ทรงศรี "ผู้สำแดงความเป็นไทยต่อโลก"". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2016-03-04.
  7. วธ.ตีทะเบียนหนังไทยชื่อดัง 25 เรื่อง เป็นมรดกชาติปี 54 ข่าวไทยรัฐออนไลน์.
  8. แผลเก่า (1977) | RAREMEAT BLOG