แหวนวิเศษ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แหวนวิเศษ
กำกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
บทภาพยนตร์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
เนื้อเรื่องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
อำนวยการสร้างพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา (ผู้ช่วยผู้อำนวยการ)
นักแสดงนำพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์
หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์
หม่อมเจ้าอัฌชา จักรพันธุ์
หม่อมเจ้ายุธิษเฐียร สวัสดิวัตน์
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต
หม่อมเจ้าสีดาดำรวง สวัสดิวัตน์
หม่อมหลวงบัว สนิทวงศ์
กำกับภาพหม่อมเจ้าอมรทัต กฤดากร
หม่อมเจ้ากมลีสาณ ชุมพล
ประเทศไทย

แหวนวิเศษ เป็นภาพยนตร์ไทย ในปี พ.ศ. 2472 โดยฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายใต้นามแฝง นายน้อย ศรศักดิ์[1] โดยทรงเป็นผู้อำนวยการสร้าง แต่งเรื่อง และกำกับการแสดง ใช้ชื่อบริษัทผู้สร้างว่า ภาพยนตร์อัมพร ซึ่งก็คือนามของพระที่นั่งอัมพรสถาน เป็นภาพยนตร์เงียบ มีความยาว 25 นาที บนฟิล์ม 16 มม. มีอินเตอร์ไตเติลคั่นบอกความเป็นไปและบทเจรจาของแต่ละฉาก[2] ถ่ายทำที่อ่าวธารเสด็จ และบริเวณน้ำตกธารเสด็จ เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฏร์ธานี โดยทรงพระราชนิพนธ์บทภาพยนตร์ขึ้นในเรือพระที่นั่งมหาจักรี (ลำที่ 2) ระหว่างการเสด็จฯ ประพาสทางทะเล และโปรดเกล้าฯ ให้ถ่ายทำขึ้นที่เกาะพะงันในหมู่เกาะสมุย ตัวละครสวมบทบาทโดยพระประยูรญาติในราชวงศ์จักรี

ในปี พ.ศ. 2556 หอภาพยนตร์ได้ลงทะเบียนเป็นมรดกของชาติครั้งที่ 3 จากภาพยนตร์ 25 เรื่อง[3] ภาพยนตร์ แหวนวิเศษ บางส่วนอยู่ในสภาพชำรุดมาก ต่อมากรมศิลปากรมอบให้หอจดหมายเหตุภาพยนตร์และเสียงแห่งชาติออสเตรเลียช่วยดำเนินการอนุรักษ์ให้ด้วยการซ่อมแซมและฟื้นสภาพเพื่อพิมพ์ถ่ายทอดใหม่ จนเสร็จเรียบร้อยสมบูรณ์[4] ปัจจุบันยังจัดฉายให้ดูเป็นประจำ ที่ศาลาเฉลิมกรุงจำลอง ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร[5]

เนื้อเรื่อง[แก้]

ภาพยนตร์มีเนื้อหาเกี่ยวกับพ่อเลี้ยงที่มีลูกเลี้ยงถึง 5 คน จึงคิดพาลูกเลี้ยงไปปล่อยเกาะโดยบังคับให้หาผลไม้มาให้ ลูกเลี้ยงชื่อไอ้ซนพบกับนางพรายและเล่าเรื่องของพ่อเลี้ยงใจร้ายให้ฟัง นางพรายได้มอบแหวนวิเศษให้ ที่ให้ความปรารถนาเป็นจริง สามารถเสกได้เพียงสามครั้ง เด็ก ๆ จึงลองนำไปใช้กับพ่อเลี้ยงดู พ่อเลี้ยงต้องการแหวนจึงคิดกำจัดลูก ๆ ไอ้ซนชี้ให้พ่อเลี้ยงกลายเป็นสุนัขแต่ต่อมาให้กลับเป็นคนดังเดิม พ่อเลี้ยงรู้สำนึกจึงพากันกลับบ้าน ขณะขึ้นเรือแหวนวิเศษเกิดหลุดลงน้ำหายไป หนูแหวนจึงพูดเตือนสติพี่ ๆ ว่า "ของผีของสางหายไปก็ดีแล้ว"[6]

ตัวละคร[แก้]

บทบาท นามแฝงนักแสดง พระนามจริง/นามจริง/ชื่อจริง
ตาคง นายอ๊อด แสงแก้ว พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์
อ้ายเก่ง เด็กชายต่วน ปีปนนท์ หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์
อ้ายขี้เกียจ เด็กชายไหน ปีปนนท์ หม่อมเจ้าอัฌชา จักรพันธุ์
อ้ายตะกละ เด็กชายเขล์ สุขเจริญ หม่อมเจ้ายุธิษเฐียร สวัสดิวัตน์
อ้ายซน เด็กชายเอียด แสงสว่าง พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต
หนูแหวน เด็กหญิงสาดี สุขเจริญ หม่อมเจ้าสีดาดำรวง สวัสดิวัตน์
นางพรายน้ำ นางสาวประทุม ชิดเชื้อ หม่อมหลวงบัว สนิทวงศ์
สุนักข์ ขุนช้าง
สุนัขทรงเลี้ยงในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี (นามแฝง นางนา ศรศักดิ์)[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-24. สืบค้นเมื่อ 2016-12-28.
  2. รายงานประจำปี ๒๕๕๗ - หอภาพยนตร์
  3. ประกาศขึ้นทะเบียนภาพยนตร์ “แหวนวิเศษ” ร.7 มรดกของชาติ[ลิงก์เสีย]
  4. ลัดดาซุบซิบ” เล่าเรื่องหาอ่านยาก ม.ล.บัว กิติยากร พระชนนีในสมเด็จพระนางเจ้าฯ เคยเป็นนางเอกภาพยนตร์ไทยที่ ร.7 ทรงสร้าง ทรงกำกับ[ลิงก์เสีย]
  5. เรื่องเก่าเล่าสนุก : ‘แหวนวิเศษ’ ภาพยนตร์ที่สร้างโดยพระมหากษัตริย์[ลิงก์เสีย]
  6. พฤทธิสาณ ชุมพล, รองศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์ (กรกฎาคม 2559). รายงานการวิจัย การสังเคราะห์ประวัติศาสตร์บอกเล่าในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 (PDF). พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า. p. 66.
  7. โรม บุนนาค (20 มกราคม 2557). "เรื่องเก่าเล่าสนุก : 'แหวนวิเศษ' ภาพยนตร์ที่สร้างโดยพระมหากษัตริย์". All Magazine. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]