โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดน้อยใน) ในพระราชูปถัมภ์ฯ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดน้อยใน) ในพระราชูปถัมภ์ฯ
Dipangkornwittayapat (Watnoinai) School
ที่ตั้ง
แผนที่
12 ซอยชัยพฤกษ์ 20 ถ.ชัยพฤกษ์ แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170
ข้อมูล
ชื่ออื่นทป.2
ประเภทรัฐบาล
คำขวัญบุคคลล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร
หน่วยงานกำกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3
ผู้อำนวยการนางสิริกร สุกิน
ระดับปีที่จัดการศึกษาม.1-ม.6
สีน้ำทะเล-เหลือง
เพลงมาร์ชทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดน้อยใน) ในพระราชูปถัมภ์ฯ
เว็บไซต์http://www.dp2watnoinai.com/
ทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดน้อยใน) ในพระราชูปถัมภ์ฯตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
ทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดน้อยใน) ในพระราชูปถัมภ์ฯ
ทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดน้อยใน) ในพระราชูปถัมภ์ฯ
ทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดน้อยใน) ในพระราชูปถัมภ์ฯ (กรุงเทพมหานคร)

โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดน้อยใน) ในพระราชูปถัมภ์ฯ (อังกฤษ: Dipangkornwittayapat (Watnoinai) School) ตั้งอยู่ที่167 หมู่ 4 ถ.ชัยพฤกษ์ แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร

ประวัติโรงเรียน[แก้]

โรงเรียนวัดน้อยในยุคแรก[แก้]

โรงเรียนวัดน้อยในเป็นโรงเรียนเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยมีพระอธิการมั่งเป็นเจ้าอาวาสวัดน้อยในเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนนี้ แรกเริ่มมีนักเรียนเพียง 20 คน เรียนในศาลาการเปรียญ มีพระภิกษุเที่ยง เป็นผู้สอนเพียงองค์เดียว ต่อมาพระภิกษุเที่ยงลาสิกขาบทและลาออกจากการเป็นครู คุณครูขำ มัฆลักษณ์บ้านอยู่ตรงข้ามวัดน้อยใน เป็นครูใหญ่แทนและนักเรียนเพิ่มมากขึ้น จึงต้องเพิ่มครูสอนเป็น 3-4 คนมีชั้สูงสุดเรียกว่า "ประโยคประถม" เทียบได้กับประถมศึกษาปีที่ 6 ในปัจจุบันกิจการตอนนี้นับว่าเจริญดีขึ้นกระทรวงศึกษาธิการเห็นความดีความชอบของพระอธิการมั่งจึงขอพระราชทานสมณศักดิ์เป็น"พระครูวิทยานุกูล" ใรัชกาลที่ 6 ได้ก่อตั้งกองลูกเสือที่ 28 เนื่องจากโรงเรียนอาศัยการเปรียญ และมีนักเรียนเพิ่มมากขึ้น ท่านผู้ใจบุญ 2 ท่านคือนายเหมือน และนางเปี่ยม มัฆลักษณ์ (บิดามารดาคุณครูขำ มัฆลักษณ์) ได้บริจาคทรัพย์สร้างโรงเรียนขึ้นเป็นเอกเทศซึ่งอยู่ทางหน้าวัดด้านใต้ เป็นอาคารชั้นเดียวจุนักเรียนได้มากต่อมาทางวัดได้รื้อเอาไม้มาสร้างโรงเรียนนักธรรมของวัดและได้มอบโรงเรียนให้กระทรวงศึกษาธิการกระทรวงฯ ได้ทูลเชิญกรมพระชัยนาทนเรนทรครั้งยังเป็นพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์) เสด็จมาเปิดป้าย นามโรงเรียน คุณครูขำ มัฆลักษณ์ ยังเป็นครูอยู่ตามเดิม (ต่อมาในรัชกาลที่ 7 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ขุนภารศาสตร์) หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2485ทางราชการได้เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดใหม่ โรงเรียนวัดน้อยใน ซึ่งเดิมขึ้นอยู่กับจังหวัดธนบุรีได้เปลี่ยนแปลงไปขึ้นกับอำเภอบางกรวยจังหวัดนนทบุรีและได้เปลี่ยนเป็นโรงเรียนประจำอำเภอบางกรวยต่อมาขุนภารศาสตร์สุขภาพไม่สมบูรณ์และลาออกจากราชการ ร.ต.ถิน อาจหาญ ได้มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทนเนื่องจากโรงเรียนวัดสุวรรณคีรี(วัดขี้เหล็ก) ซึ่งตั้งอยู่ในย่านคลองบางกอกน้อย และอยู่ใกล้โรงเรียนวัดน้อยในเจริญขึ้นมากมีการศึกษาถึงขึ้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.3 ปัจจุบัน) ราชการจึงสั่งยุบโรงเรียนวัดน้อยในแต่ต่อมาโรงเรียนวัดสุวรรณคีรีก็ได้ยุบเลิกไปอีกการศึกษาในย่านคลองบางกอกน้อยจึงซบเซาไปมากเพราะไม่มีโรงเรียนในบริเวณนั้นเหลืออยู่อีกเลย

โรงเรียนวัดน้อยในยุคต่อมา[แก้]

โรงเรียนวัดน้อยในได้ถูกรื้อฟื้นอีกครั้งหนึ่ง โดยการเรียกร้องของราษฏรในตำบลตลิ่งชันอยู่ 3-4 ปีความนี้ทราบถึง พลตรี เฉลิม พงษ์สวัสดิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้นได้รื้อฟื้นโรงเรียนอีกครั้งหนึ่ง และให้โรงเรียนเปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาขึ้นในปี พ.ศ. 2497 และอาคารเรียนก็สร้างเสร็จในปีนั้นเอง จึงได้ย้ายมาเรียนที่อาคารเรียนหลังแรกนี้ เมื่อวันที่ 1 กันยายนและมี พิธีเปิดป้ายนามโรงเรียน เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 โดยมี นายนาค เทพหัสดิน ณ อยุธยาปลัดกระทรวงศึกษาธิการเวลานั้น มาเป็นประธานในพิธี(ต่อมาโรงเรียนกำหนดวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ทุกปี เป็นวันรวมน้ำใจ) โรงเรียนวัดน้อยในเป็นโรงเรียนในส่วนกลางสังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการและตั้งอยู่ชานพระนครในย่านชุมชน จึงมีผู้ปกครองในย่านนี้ (เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร กับอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี) นิยมส่งบุตรหลานมาเข้าเรียน โดยเริ่มในปีแรกมีนักเรียน 91 คน มีครู 5 คนและได้ทวีจำนวนมากขึ้นตามลำดับในปีการศึกษา 2521 เปิดรับนักเรียนจำนวน 72 ห้องเรียน

พระมหากรุณาธิคุณ[แก้]

ในปี พ.ศ. 2551 โรงเรียนวัดน้อยในได้รับพระราชทานนามโรงเรียนจากพระบาท​สมเด็จ​พระวชิร​เกล้า​เจ้า​อยู่​หัว​สมัยยังดำรงพระบรมราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดน้อยใน) ในพระราชูปถัมภ์ พร้อมกับโรงเรียนวัดโบสถ์ เขตดุสิต และโรงเรียนทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา ที่เปลี่ยนเป็นโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดโบสถ์) ในพระราชูปถัมภ์ฯ และโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีวัฒนา) ในพระราชูปถัมภ์ฯ ตามลำดับ พร้อมทั้งยังมีพระบรมราชานุญาตให้ใช้ตราประจำพระองค์ มวก. เป็นตราประจำโรงเรียนอีกด้วย นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้น

ปัจจุบัน โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดน้อยใน) ในพระราชูปถัมภ์ เปิดสอนในระดับช่วงชั้นที่ 3 ในหลักสูตรปกติ MEP (Mini English Program) และ EP (English Program) และการสอนภาษาญี่ปุ่น และช่วงชั้นที่ 4 ในหลักสูตรเน้นวิทย์-คณิต อังกฤษ-จีน อังกฤษ-ฝรั่งเศส และไทย-สังคม มีนางสิริกร สุกิน เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]