โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว ในพระบรมราชูปถัมภ์

Ratwinit BangKaeo School, under the Patronage of His Majesty the King
ที่ตั้ง
แผนที่
31 หมู่ที่ 13 ถนนบางนา - ตราด กิโลเมตรที่ 7.7
ต.บางแก้ว อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540
ข้อมูล
ชื่ออื่นร.ว.บ. (R.W.B.)
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญศึกษาดี มีวินัย ใฝ่กีฬา รักษาคุณธรรม
ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ สะอาด มารยาทดี สามัคคี มีวินัย ใฝ่ความรู้ กตัญญู เสียสละ
สติมโต สทา ภทฺทํ
(ผู้มีสติย่อมมีความเจริญทุกเมื่อ)
สถาปนา7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514

(52 ปี 161 วัน)
สถาปนา 9 มีนาคม พ.ศ. 2516

(51 ปี 47 วัน)
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
รหัส11022007
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1-6 สหศึกษา
จำนวนนักเรียน3,629 คน ปีการศึกษา 2560[1]
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
ญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่น
จีน ภาษาจีน
สี ​ แสด   ดำ
ต้นไม้ประดู่แดง
เว็บไซต์http://www.rwb.ac.th

โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว โรงเรียนสหศึกษาในพระบรมราชูปถัมภ์[2] สังกัดส่วนกลาง กรมสามัญศึกษา ตั้งอยู่ที่ ตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยคำว่า "ราชวินิต " หมายความว่า "สถานที่ อบรมสั่งสอนกุลบุตรกุลธิดาให้เป็นคนดีโดยพระราชา"

ประวัติ[แก้]

โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว โดยมีประวัติเริ่มจากนายสุขุม และคุณหญิงจันทร์ฟอง ถิระวัฒน์ ได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดิน จำนวน 30 ไร่ แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2513 เพื่อก่อสร้างโรงเรียนมัธยมศึกษาแทนสถานที่บริเวณโรงเรียนราชวินิตซึ่งคับแคบ ไม่สามารถจะขยายออกไปได้ ซึ่งพระองค์โปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่กระทรวงศึกษาธิการให้จัดตั้งเป็นโรงเรียนรัฐบาลมัธยมศึกษาสายสามัญ เมื่อวันที่ 16 พฤจิกายน 2514 ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารโรงเรียนด้วยเงินงบประมาณปีพ.ศ. 2513 จะสำเร็จเรียบร้อยภายในเดือนมิถุนายน 2515 เป็นอย่างช้า และได้รับพระราชทานนามโรงเรียนว่า "โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว" เปิดสอนครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 2515 โดยขณะนั้นมีนักเรียน 347 คน ปัจจุบันโรงเรียนมีเนื้อที่เพิ่มขึ้นอีก ประมาณ 42 ไร่ 2 งาน 30 ตารางวา

นับแต่โรงเรียนราชวินิตบางแก้วได้ก่อตั้งมา โรงเรียนได้รับพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่ด้านความเจริญเติบโตก้าวหน้าของโรงเรียนมาโดยตลอด ดังเห็นได้จากการเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดอาคารเรียนต่าง ๆ ของโรงเรียน ดังนี้

ครั้งที่ 1 วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2516 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินมา ทรงประกอบพิธีเปิดอาคารเรียนหลังที่ 1 อาคาร “ร่มเกล้า” ทรงปลูกต้นประดู่แดงไว้เป็นที่ระลึกโรงเรียนจึงถือว่าวันที่ 9 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันสถาปนาโรงเรียน และถือเอาต้น“ประดู่แดง” เป็นต้นไม้ประจำโรงเรียน

ครั้งที่ 2 วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาทรงประกอบพิธีเปิดอาคาร “บงกชมาศ”

ครั้งที่ 3 วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครั้นทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดอาคาร “ราชวิธานค์”

ครั้งที่ 4 วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดอาคาร “เฉลิมพระเกียรติ” กับทั้งได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ และตราพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก วันที่ ๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑ ประดิษฐานหน้าอาคาร

ครั้งที่ 5 วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2540 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครั้นทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดอาคาร“เฉลิมพระเกียรติ” อาคาร “สิริยาคาร” และอาคาร“พิพิธภัณฑ์” กับทั้งได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์ งานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๓๙ ประดิษฐานหน้าอาคาร “เฉลิมพระเกียรติ”

ครั้งที่ 6 วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2543 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดศูนย์คอมพิวเตอร์ การเรียนการสอนเฉลิมพระเกียรติ ศูนย์สืบค้นข้อมูลนานาชาติ (R.W.B.International Resource Center) และห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราช

ครั้งที่ 7 วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดอาคาร 48 พรรษาเฉลิมพระเกียรติ

ครั้งที่ 8 วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคารศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติครองราชย์ 60 ปี ศูนย์เทคโนโลยีสิรินธร และสวนเจ้าฟ้านักเกษตร

ครั้งที่ 9 วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดอาคาร เฉลิมพระเกียรติ ทั้งได้รับพระราชานุญาตให้เชิญตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ ประดิษฐานหน้าอาคาร “เฉลิมพระเกียรติ”

รายนามผู้บริหารโรงเรียน[แก้]

ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว ในพระบรมราชูปถัมภ์
รายชื่อ ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง ดำรงตำแหน่ง
1. คุณหญิงบุญเจือ ไชยภัฏ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 251510 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 ครูใหญ่
2. นางนภา หุ่นจำลอง 1 ธันวาคม พ.ศ. 251510 กันยายน พ.ศ. 2518 อาจารย์ใหญ่
3. นางบุษยา สาครวาสี 1 ตุลาคม พ.ศ. 251831 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 อาจารย์ใหญ่
3. นางบุษยา สาครวาสี 1 มิถุนายน พ.ศ. 252117 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 ผู้อำนวยการ
4. นางสาวสุวรรณา เอมประดิษฐ์ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 252710 กันยายน พ.ศ. 2535 ผู้อำนวยการ
5. นางมาลี ไพรินทร์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 253530 กันยายน พ.ศ. 2540 ผู้อำนวยการ
6. นายเชิดชัย พลานิวัติ 1 ตุลาคม พ.ศ. 25407 มกราคม พ.ศ. 2546 ผู้อำนวยการ
7. นายกมล บุญประเสริฐ (เปลี่ยนชื่อเป็น นายณัฐพัชร์ บุญประเสริฐชีวา) 8 มกราคม พ.ศ. 25466 มกราคม พ.ศ. 2553 ผู้อำนวยการ
8. นายบุญชู หวิงปัด 7 มกราคม พ.ศ. 255330 กันยายน พ.ศ. 2559 ผู้อำนวยการ
9. นายจิราพงศ์ จุติธนะเสฎฐ์ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559ปัจจุบัน ผู้อำนวยการ

เกียรติประวัติโรงเรียน[แก้]

เกียรติประวัติโรงเรียน[แก้]

ด้านวิชาการ[แก้]

  • ชนะเลิศ การแข่งขันระบบปฏิบัติการลินุกซ์ ครั้งที่ 9 ประเภท คอมพิวเตอร์สำหรับควบคุมและบริการเครือข่าย[ต้องการอ้างอิง]
  • ปีการศึกษา 2551 การแข่งขันการเขียนโปรแกรมบังคับหุ่นยนต์ สสวท รางวัลชมเชย[ต้องการอ้างอิง]
  • ปีการศึกษา 2548 รอบชิงชนะเลิศ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น)รางวัลชมเชย[ต้องการอ้างอิง]
  • ปีการศึกษา 2547 การแข่งขันการเขียนโปรแกรมบังคับหุ่นยนต์ สสวท รางวัลชมเชย[ต้องการอ้างอิง]
  • เกียรติบัตรเหรียญทองแดง การแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิกระดับมัธยมศึกษาตอนต้น[ต้องการอ้างอิง]

ด้านดนตรีไทย[แก้]

  • ชนะเลิศ ครองถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากการประกวดดนตรีไทยมหาดุริยางค์ รายการ “ อัศจรรย์ คันธรรพ ” ทางทีวีไทย PBS[ต้องการอ้างอิง]
  • ชนะเลิศ ครองถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 7 สมัยติดต่อกันวงปี่พาทย์ไม้นวม มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปี 2549, 2550, 2551, 2552, 2553, 2554, 2555 (2556 ครองที่2 ไม่มีที่1) และปัจจุบัน 2557[ต้องการอ้างอิง]
  • ชนะเลิศ ครองถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีวงเครื่องสายผสม มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปี 2548, 2550[ต้องการอ้างอิง]
  • ชนะเลิศ ครองถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีวงอังกะลุง มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปี 2549, 2552[ต้องการอ้างอิง]

ด้านดนตรีสากล[แก้]

  • ได้รับรางวัลชนะเลิศ การประกวดวงโยธวาทิต ระดับประเทศชิงถ้วยพระราชทานประเภทนั่งบรรเลง (Concert Band) ประจำ พ.ศ. 2551[ต้องการอ้างอิง]
  • รางวัลชนะเลิศ การประกวดวงโยธวาทิต ระดับประเทศชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประเภท ก ประจำ พ.ศ. 2536-2542[ต้องการอ้างอิง]
  • รางวัลเหรียญทองการแปรขบวน รางวัลเหรียญทองการเดินมาร์ชชิ่ง การประกวดดนตรีโลก ณ ประเทศเนเธอร์แลนด์ พ.ศ. 2536[ต้องการอ้างอิง]
  • รางวัลรองชนะเลิศการประกวดดุริยางค์เครื่องลมนานาชาติ (Asian Symphonic Band Competition[ต้องการอ้างอิง]
  • รางวัลชนะเลิศการประกวด Rangsit Music Competition 2016 ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรภูมิพลอดุลยเดช[ต้องการอ้างอิง]
  • ราฃวัลชนะเลิศดนตรีธนาคารโรงเรียนธนาคารออมสิน พ.ศ. 2559 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี[ต้องการอ้างอิง]

ด้านกีฬา[แก้]

กีฬาฟุตซอล[แก้]

  • รองแชมป์กีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งประเทศไทย ปี 2550(จังหวัดชุมพร)[ต้องการอ้างอิง]
  • แชมป์เนชั่นแมน สพฐ.ฟุตซอลลีก ครั้งที่ 4 รางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ปี 2551(รุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี)[ต้องการอ้างอิง]
  • รองชนะเลิศอันดับ 3 รายการฟุตซอลรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี ซูเปอร์แม็ต[ต้องการอ้างอิง]
  • ชนะเลิศฟุตซอลรายการกรมพลศึกษา รุ่นอายุ 16 ปี ประเภททั่วไป ปี 2558[ต้องการอ้างอิง]

กีฬาฟุตบอล[แก้]

ด้านพัฒนาผู้เรียนและอื่นๆ[แก้]

  • รองชนะเลิศอันดับ 1 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในการประกวดการสร้างโมเดลลูกโลกจากวัสดุเหลือใช้ ภายใต้แนวคิด "Anit Druge Anti"[ต้องการอ้างอิง]

จากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ[ต้องการอ้างอิง]

  • โรงเรียนต้นแบบการพัฒนาระบบการรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปีตามระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาปีการศึกษา 2549[ต้องการอ้างอิง]
  • สถานศึกษานำร่องและให้การสนับสนุนการฝึกยุวชนทหารส่วนกลางที่ 1 โดยหน่วยบัญชาการกำลังสำรอง[ต้องการอ้างอิง]
  • รางวัลสถานศึกษาวิชาทหารดีเด่น โดยหน่วยบัญชาการกำลังสำรอง[ต้องการอ้างอิง]

บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]

อาคารและสถานที่[แก้]

หลักสูตรที่เปิดการเรียนการสอน[แก้]

  • ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3) 14 ห้องเรียน แบ่งเป็น
    • ห้องเรียนพิเศษ MEP (Mini English Program)
    • ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์
    • ห้องเรียนพิเศษ EIS (English Integrated Study)
    • ห้องเรียนเตรียมนายร้อย (Pre-cadet)
    • ห้องเรียนดนตรี (Music Program : MSP)
    • ห้องเรียนทั่วไป
  • ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6) 16 ห้องเรียน แบ่งเป็น
    • ห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science & Mathematics Intensive Program : SMIP)
    • ห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี (Science Mathematics and Technology : SMT)
    • ห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
    • ห้องเรียนภาษาญี่ปุ่น
    • ห้องเรียนเตรียมนายร้อย (Pre-cadet)
    • ห้องเรียนพิเศษด้านภาษาจีน (Chinese Intensive Program : CHIP)
    • ห้องเรียนภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์
    • ห้องเรียนดนตรี (Music Program : MSP)
    • ห้องเรียนโครงการความสามารถพิเศษฟุตบอลและฟุตซอล

คณะสี 6 คณะ[แก้]

  • ██ คณะธำรงชาติ (สีชมพู)
  • ██ คณะเกื้อศาสน์ (สีเหลือง)
  • ██ คณะเทิดกษัตริย์ (สีฟ้า)
  • ██ คณะศาสตร์พัฒนา (สีเทา)
  • ██ คณะประชาบำรุง (สีเขียว)
  • ██ คณะผดุงเอกลักษณ์ (สีม่วง)

อ้างอิง[แก้]

  1. จำนวนนักเรียน
  2. http://www.prdnorth.in.th/The_King/king_study_01.php เก็บถาวร 2010-01-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์
  3. http://women.kapook.com/view11413.html มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส ประจำปี 2553

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]