สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาขาวิชารัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สถาปนา19 สิงหาคม พ.ศ. 2523
คณบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วนัส ปิยะกุลชัยเดช
ที่อยู่
มาสคอต
สิงห์เขียว-ทอง
เว็บไซต์https://politicalsci.stou.ac.th/

สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช เป็นสาขาวิชาในสังกัดมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเปิดที่ใช้ระบบการศึกษาทางไกลแห่งเดียวในประเทศไทย สาขาวิชาในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีฐานะเทียบเท่ากับคณะในมหาวิทยาลัยทั่วไป มีสัญลักษณ์เป็นสิงห์เขียวทอง

ประวัติ[แก้]

การจัดตั้งสาขาวิชารัฐศาสตร์ มีเหตุสืบเนื่องมาจากการศึกษาวิชารัฐศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ของประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นการศึกษาในห้องเรียน สำหรับผู้ที่จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) เพื่อให้ได้รับปริญญาเป็นส่วนใหญ่ ส่วนการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับประชาชน ผู้สนใจทั่วไป เพื่อยกระดับความรู้ความสามารถ เพิ่มทักษะที่จำเป็นในชีวิต ตลอดจนทักษะในการทำงาน ยังไม่มีสถาบันที่ให้ความสำคัญกลุ่มคนเหล่านี้

ดังนั้นมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเปิดที่ใช้ระบบการสอนทางไกลเป็นเครื่องมือในการจัดการศึกษา จึงดำเนินการเปิดหลักสูตรสาขาวิชารัฐศาสตร์สำหรับประชาชนทั่วไป ที่ต้องการยกระดับความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง รวมทั้งผู้ที่มุ่งหวังพัฒนาอาชีพทางการเมืองการปกครองของตน โดยการเพิ่มพูนความรู้และทักษะบางอย่างในทางการเมือง การบริหารงานนั้น นับว่ามีความสำคัญทั้งในด้านการยกระดับคุณภาพบุคคลและการพัฒนาพลเมืองใน ระบอบประชาธิปไตยของสังคมไทยโดยส่วนรว[1]

นอกจากหลักสูตรปริญญาแล้ว ยังมีหลักสูตรเพื่อยกระดับความรู้และเพื่อเพิ่มพูนทักษะในทางการเมือง และการปกครอง คือ หลักสูตรประกาศนียบัตร ด้วย และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ไม่ปิดกั้นที่นักศึกษาจะเข้ารับการศึกษาควบคู่หลายมหาวิทยาลัยในขณะเดียวกัน

การเปิดสอน[แก้]

สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้เริ่มทำการเปิดสอนในระดับปริญญาตรี เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2525 เพื่อทำการผลิตบัณฑิตทางรัฐศาสตร์โดยระบบการศึกษาทางไกล ตลอดจนภารกิจในด้านการวิจัย และในด้านการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ได้เปิดรับนักศึกษาใน พ.ศ. 2526 ใน 2 แขนงการศึกษา คือ แขนงเทคนิคและทฤษฎีทางรัฐศาสตร์ และ แขนงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการเมืองการปกครองเปรียบเทียบ

ด้วยระยะเวลา 40 กว่าปี สาขาวิชารัฐศาสตร์ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงและเพื่อตอบสนองต่อการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ด้วยเหตุนี้ในปัจจุบัน สาขาวิชารัฐศาสตร์จึงได้เปิดการเรียนการสอนทั้งระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา จำนวน 4 หลักสูตร ดังนี้

  1. หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต แขนงการเมืองการปกครอง
  2. หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต แขนงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
  3. หลักสูตรรัฐศาสตมหาบัณฑิต วิชาเอกการเมืองการปกครอง และวิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น
  4. หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อพัฒนาสาขาวิชารัฐศาสตร์ ให้เปนแหล่งเรียนรู้ชั้นนำทางรัฐศาสตร์
  2. ผลิตบัณฑิตที่มีองค์ความรู้ทางรัฐศาสตร์
  3. เป็นสาขาวิชาที่ใช้ระบบการศึกษาทางไกลที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย

พันธกิจ

  1. ผลิตบัณฑิตด้านรัฐศาสตร์
  2. วิจัย ส่งเสริม และพัฒนาองค์ความรู้ทางรัฐศาสตร์สู่สังคมและชุมชน
  3. บริการวิชาการด้านรัฐศาสตร์สู่สังคมและชุมชน
  4. ส่งเสริม สนับสนุน และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม

หลักสูตรที่เปิดสอน[แก้]

ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก
รัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.)[2]
  • แขนงวิชาการเมืองการปกครอง
  • แขนงวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต​ (ร.ม.)[3]
  • วิชาเอกการเมืองและการปกครอง
  • วิชาเอกการเมืองและการปกครองท้องถิ่น
รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ร.ด)[4]
  • วิชารัฐศาสตร์

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-27. สืบค้นเมื่อ 2017-05-06.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-16. สืบค้นเมื่อ 2017-05-06.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-09. สืบค้นเมื่อ 2017-05-06.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-09. สืบค้นเมื่อ 2017-05-06.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]