พระปารวตี
พระแม่ปารวตี | |
---|---|
เทวีแห่งความอุดมสมบูรณ์ ความรัก การอุทิศตน พลังอำนาจศักดิ์สิทธิ์ ความเป็นแม่ ความอ่อนโยน การเลี้ยงดู ความปรองดอง ความสวยงาม ความจงรักภักดี | |
ส่วนหนึ่งของ ตรีเทวี | |
พระแม่ปารวตีและพระศิวะ ภาพพิมพ์นิยมจำหน่ายในบาซาร์ (bazaar art) ยุค 1950 | |
ชื่อในอักษรเทวนาครี | पार्वती |
ชื่อในการทับศัพท์ภาษาสันสกฤต | Pārvatī |
ส่วนเกี่ยวข้อง | ตรีเทวี[1], อาทิปราศักติ, ศักติ, เทวี, กาลี, ทุรคา, ตริปุรสุนทรี, สตี, พระปรเมศวรี, พระแม่ศักติ-ศิวา,ไวษโณเทวี พระมีนากษี,พระแม่มเหศวรี, อัมพิกา, เกาศิกี, มูกามพิกา, มาตฤกา, มหาวิทยา |
ที่ประทับ | เขาไกรลาส |
มนตร์ | สรรวะมังคะละมางคัลเย ศิเว สรรวารถะสาธิเกฯ ศะรัณเย ตรยัมพะเก เคาริ นารายะณิ นะโมสตุ เต๚[2] |
สัญลักษณ์ | โยนี, ตรีศูล |
วัน | วันจันทร์ และ วันศุกร์ |
พาหนะ | เสือ สิงโต โคนนทิ |
เทศกาล | นวราตรี, กาลีบูชา, วิชัยทัศมี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
คู่ครอง | พระศิวะ |
บุตร - ธิดา | พระพิฆเนศ[3] พระขันทกุมาร[4] บางแห่งรวม: อโศกสุนทรี |
บิดา-มารดา | ท้าวหิมวัต พระนางเมนกา[7][8] |
พี่น้อง | พระแม่คงคา (ภคินี)[5], Mainaka (เชษฐา)[6] |
พระแม่ปารวตี (สันสกฤต: पार्वती Pārvatī) หรือ พระแม่อุมา (สันสกฤต: उमा Umā) เป็นเทวีในศาสนาฮินดู เป็นเทวีแห่งความอุดมสมบูรณ์ ความรัก การอุทิศตน ตลอดจนพลังอำนาจศักดิ์สิทธิ์[9][10][11] ถือกันว่า พระนางเป็นด้านอ่อนโยนและเอาใจใส่ของศักติ พระนางยังแสดงพระองค์เป็นหลายด้าน เรียกว่า "ปาง" แต่ละปางเป็นที่รู้จักด้วยหลายชื่อหลายเรื่องราว[12] พระนางกับพระลักษมีและพระสรัสวดี ประกอบกันเป็นตรีเทวี[13]
พระนางเป็นพระชายาของพระศิวะ เทพเจ้าผู้ปกปักรักษาสรรพชีวิตและทำลายล้างความชั่วร้าย[14] พระนางเป็นพระธิดาของพระหิมวัต เทพแห่งภูเขา กับพระนางเมนกาผู้เป็นพระชายา[15] พระนางทรงให้กำเนิดพระพิฆเนศกับพระขันทกุมาร คัมภีร์ปุราณะยังกล่าวว่า พระนางเป็นพระภคินีของพระวิษณุและพระแม่คงคา[16][6]
พระนางกับพระสวามีทรงเป็นเทพศูนย์กลางแห่งลัทธิไศวะ หรือลัทธิซึ่งถือพระศิวะเป็นใหญ่ ศาสนาฮินดูยังเชื่อว่า พระนางทรงเป็นพลังงานและอำนาจแห่งการสร้างสรรค์ใหม่ของพระสวามี เป็นรากเหง้าของพันธะที่รัดรึงสรรพสิ่งเข้าด้วยกัน และเป็นหนทางแห่งการปลดปล่อยทางจิตวิญญาณ[17][18] ในเทวาลัยฮินดูที่สร้างถวายพระนางและพระสวามี มักใช้โยนี (อวัยวะเพศหญิง) เป็นสัญลักษณ์แทนพระนาง[19][20]
ศัพทมูล
[แก้]คำว่า "ปารวตี" มีที่มาจาก "ปรรวัต" (สันสกฤต: पर्वत Parvata) คือ บรรพต แปลว่า ภูเขา พระนามหนึ่งของพระหิมวัต พระบิดาผู้เป็นเจ้าแห่งภูเขา[14][15] "ปารวตี" แปลว่า นางภูเขา[21]
ในวรรณกรรมฮินดู พระนางปารวตีทรงเป็นที่รู้จักในหลายพระนาม[22] คัมภีร์ ลลิตาสหสรนาม (Lalita Sahasranama) บันทึกพระนามของพระนางไว้ถึงหลักพัน[12]
หนึ่งในพระนามที่นิยมใช้เรียกขานพระนาง คือ "อุมา"[23] ในเอกสารสมัยแรก พระนามนี้เป็นของพระสตี ชายาองค์แรกของพระศิวะซึ่งกลับชาติมาเกิดเป็นพระนางปารวตี แต่เอกกสารสมัยหลัง เช่น รามายณะ ถือว่า "อุมา" เป็นไวพจน์ของ "ปารวตี" ซึ่งอุมาแปลว่าแสงสว่าง ชื่อเสียงหรือความราบคาบ [24]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ James D. Holt (2014). Religious Education in the Secondary School: An Introduction to Teaching, Learning and the World Religions. Routledge. p. 180. ISBN 978-1-317-69874-6.
- ↑ Sharma, Mahima (2023-07-18). "Worship Goddess Parvati by Offering These Things". Times of India. สืบค้นเมื่อ 2023-08-28.
- ↑ Williams 1981, p. 62.
- ↑ Cush, Robinson & York 2008, p. 78.
- ↑ Siva: The Erotic Ascetic. Oxford University Press. 28 May 1981. ISBN 978-0-19-972793-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2023. สืบค้นเมื่อ 19 March 2023.
- ↑ 6.0 6.1 Wilkins 2001, p. 295. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "wjw295" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ C. Mackenzie Brown (1990). The Triumph of the Goddess: The Canonical Models and Theological Visions of the Devi-Bhagavata Purana. SUNY Press. ISBN 9780791403648. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2024. สืบค้นเมื่อ 20 August 2019.
- ↑ Sita Narasimhan (2006). Śaivism Under the Imperial Cōl̲as as Revealed Through Their Monuments. p. 100. ISBN 9788188934324.
- ↑ H.V. Dehejia, Parvati: Goddess of Love, Mapin, ISBN 978-8185822594
- ↑ James Hendershot, Penance, Trafford, ISBN 978-1490716749, pp 78
- ↑ Suresh Chandra (1998), Encyclopaedia of Hindu Gods and Goddesses, ISBN 978-8176250399, pp 245-246
- ↑ 12.0 12.1 Keller and Ruether (2006), Encyclopedia of Women and Religion in North America, Indiana University Press, ISBN 978-0253346858, pp 663
- ↑ Frithjof Schuon (2003), Roots of the Human Condition, ISBN 978-0941532372, pp 32
- ↑ 14.0 14.1 Edward Balfour, Parvati, p. 153, ที่กูเกิล หนังสือ, The Encyclopaedia of India and of Eastern and Southern Asia, pp 153
- ↑ 15.0 15.1 H.V. Dehejia, Parvati: Goddess of Love, Mapin, ISBN 978-8185822594, pp 11
- ↑ Edward Washburn Hopkins, Epic Mythology, p. 224, ที่กูเกิล หนังสือ, pp. 224-226
- ↑ Ananda Coomaraswamy, Saiva Sculptures, Museum of Fine Arts Bulletin, Vol. 20, No. 118 (Apr., 1922), pp 17
- ↑ Stella Kramrisch (1975), The Indian Great Goddess, History of Religions, Vol. 14, No. 4, pp. 261
- ↑ Hariani Santiko, The Goddess Durgā in the East-Javanese Period, Asian Folklore Studies, Vol. 56, No. 2 (1997), pp. 209-226
- ↑ Ananda Coomaraswamy, Saiva Sculptures, Museum of Fine Arts Bulletin, Vol. 20, No. 118 (Apr., 1922), pp 15-24
- ↑ Alain Daniélou (1992), Gods of Love and Ecstasy: The Traditions of Shiva and Dionysus, ISBN 978-0892813742, pp 77-80
- ↑ John Muir, Original Sanskrit Texts on the Origin and History of the People of India, p. 422, ที่กูเกิล หนังสือ, pp 422-436
- ↑ Gopal, Madan (1990). K.S. Gautam (บ.ก.). India through the ages. Publication Division, Ministry of Information and Broadcasting, Government of India. p. 68.
- ↑ Wilkins pp.240-1
ข้อมูล
[แก้]- Coleman, Charles N. (2021) [1832]. Mythology of the Hindus. Legare Street Press. ISBN 978-1014497710.
- Kennedy, Vans (1831). Researches Into the Nature and Affinity of Ancient and Hindu Mythology. Longman, Rees, Orme, Brown, and Green – โดยทาง Internet Archive.
- Kinsley, David R. (1988). Hindu Goddesses: Visions of the Divine Feminine in the Hindu Religious Tradition. University of California Press. ISBN 978-0-520-90883-3.
- Tate, Karen (2006). Sacred Places of Goddess: 108 Destinations. Consortium of Collective Consciousness. ISBN 978-1888729115.
- Wilkins, William J. (2001) [1882]. "Uma – Parvati". Hindu Mythology, Vedic and Puranic. Adamant Media Corporation. ISBN 1-4021-9308-4 – โดยทาง Internet Archive.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Srivastava, A. L. (2004). Umā-Maheśvara: An Iconographic Study of the Divine Couple. Sukarkshetra Shodh Sansthana.