คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
Faculty of Medicine Vajira Hospital, Navamindradhiraj University | |
ชื่อย่อ | พวช. |
---|---|
คติพจน์ | สพฺเพสํ ชีวิตํ ปิยํ (ชีวิตย่อมเป็นที่รักของทุกคน) |
สถาปนา | 28 มกราคม พ.ศ. 2536 (วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานคร) (31 ปี 298 วัน) |
คณบดี | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ จักราวุธ มณีฤทธิ์ |
ที่อยู่ | |
วารสาร | วชิรเวชสาร |
เพลง | สดุดีมหาวชิราวุธ |
สี | สีน้ำเงิน |
สถานปฏิบัติ | วชิรพยาบาล |
เว็บไซต์ | vajira.ac.th |
คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เป็นโรงเรียนแพทย์ที่ก่อตั้งขึ้นเป็นแห่งที่ 10 ของประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2536 โดยมีต้นกำเนิดมาจาก วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานคร และได้พัฒนามาเป็นคณะแรกเริ่มแห่งมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
ประวัติ
[แก้]- ดูบทความหลักการก่อตั้งวชิรพยาบาลที่ วชิรพยาบาล
วชิรพยาบาล เป็นโรงพยาบาลแห่งแรก ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย สถาปนาขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดซื้อที่ดินพร้อมตึกและสิ่งปลูกสร้าง มอบไว้เป็นสาธารณสถานแก่ประชาชนให้เป็นที่พยาบาลผู้ป่วยไข้ต่อไป พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาเปิดโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2455 (นับปีปฏิทินแบบเก่า) พร้อมทั้งพระราชทานนามโรงพยาบาลว่า "วชิรพยาบาล"
วชิรพยาบาลได้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2528 ด้วยความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งร่วมกันตั้งคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาลขึ้นภายในวชิรพยาบาล เป็นโรงเรียนแพทย์ที่ก่อตั้งขึ้นแห่งที่ 8 ของประเทศไทย นิสิตจะศึกษาชั้นปรีคลินิกที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒและศึกษาชั้นคลินิกที่วชิรพยาบาล
ภายหลังกรุงเทพมหานครได้มีแนวคิดที่จะเปิดโรงเรียนแพทย์เป็นของตนเอง วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานคร จึงได้รับการก่อตั้งขึ้น ภายใต้สังกัด สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร โดยมีการประกาศอย่างเป็นทางการลงราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2536[1]
วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานคร ได้เข้าเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งนักศึกษาจะได้ศึกษาระดับปรีคลินิกที่ มหาวิทยาลัยมหิดล กำกับดูแลโดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในชั้นปีที่ 1 ถึง ภาคต้นของชั้นปีที่ 3 แล้วเข้ามาศึกษาวิชาปรีคลินิกส่วนที่เหลือ และระดับชั้นคลินิก ที่โรงพยาบาลวชิรพยาบาล บัณฑิตแพทย์จะได้รับพระราชทานปริญญาบัตรจากมหาวิทยาลัยมหิดล[2]
ในครั้งแรก วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครดำเนินการสอบรับนักศึกษาร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 กรุงเทพมหานครประกาศเปิดรับสมัครสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานคร ในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 1 จำนวน 32 คน โดยมีผู้มาสมัครสอบคัดเลือกทั้งสิ้นถึง 936 คน ในปีการศึกษาต่อมาได้รับนักศึกษาผ่านการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาโดยทบวงมหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2541[3] ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างใหม่ โดยได้รวม "วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานคร" และ "วชิรพยาบาล" เข้าเป็นหน่วยราชการเดียวกันโดยใช้ชื่อว่า "วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล" (วพบ.) ทำให้วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาลได้รับการบริหารจากวชิรพยาบาลโดยตรง ในเวลานี้วชิรพยาบาลได้มีการพัฒนาและเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากนักศึกษา 32 คนในรุ่นแรก ได้รับนักศึกษาเพิ่มเป็น 50 คน จนกระทั่ง พ.ศ. 2547 ได้รับนักศึกษารุ่นละ 80 คนเป็นต้นมา
จากนั้นในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ทางวิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล ร่วมกับ วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ ซึ่งเป็นโรงเรียนพยาบาลในสังกัด สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ได้ร่วมกันก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ขึ้นมา ในนาม มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร ทำให้วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาลมีสถานะเป็นคณะแพทยศาสตร์ในมหาวิทยาลัย โดยใช้ชื่อคณะเป็น "คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร" ได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการลงราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้ใน วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553[4] ต่อมาเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อมหาวิทยาลัยว่า “มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช” โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556 [5]
หลังจากคณะฯ ได้ยกสถานะตามบทเฉพาะการในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช พ.ศ. 2553 แล้ว คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ได้ยกเลิกการเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีสถานะเป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์[6] โดยนักศึกษาที่เข้าเรียนตั้งแต่ปีการศึกษา 2554 เป็นต้นไป เมื่อจบการศึกษาจะได้รับพระราชทานปริญญาบัตรจากมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 เป็นต้นมา คณะฯ ได้เริ่มย้ายการจัดการเรียนการสอนภาคปรีคลินิก ชั้นปีที่ 3 ภาคต้น ของหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มาจัดการเรียนการสอนเองโดยภาควิชาพยาธิวิทยาคลินิก และ ภาควิชาพยาธิวิทยากายวิภาค ส่วนรายวิชาปรีคลินิกในชั้นปีที่ 2 อยู่ระหว่างการพัฒนาบุคลากรและสถานที่จัดการเรียนการสอน และยังจัดการเรียนการสอนคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตามเดิม
ในปีการศึกษา 2557 คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ได้รับการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย ให้เปิดดำเนินการเรียนการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ อีกหลักสูตรหนึ่ง และต่อมาในปีการศึกษา 2561 คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ได้รับการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย ให้เปิดดำเนินการเรียนการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารังสีเทคนิค ซึ่งเป็นหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพลำดับที่สอง นับเป็นการขยายขีดความสามารถในการผลิตบัณฑิตในสาขาที่ขาดแคลน และเป็นที่ต้องการของสังคม
ต่อมาในปีการศึกษา 2562 สภามหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ได้อนุมัติหลักการให้คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562) สำหรับนักศึกษาแพทย์ที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป โดยย้ายสถานที่จัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป เตรียมแพทย์ และปรีคลินิกจาก มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ในชั้นปีที่ 1 และ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ในชั้นปีที่ 2 มาจัดการเรียนการสอนโดยมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชตลอดทั้งหลักสูตร พร้อมทั้งเพิ่มศักยภาพในการผลิตแพทย์จากเดิม 80 คน เป็น 100 คน โดยแบ่งเป็นปฏิบัติงานในชั้นคลินิกที่วชิรพยาบาล จำนวน 80 คน และ โรงพยาบาลตากสิน สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร อีก 20 คน ทั้งนี้สำหรับนักศึกษาที่เข้าศึกษาก่อนปีการศึกษา 2562 ยังคงศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตามเดิม
ทำเนียบคณบดี
[แก้]ทำเนียบผู้อำนวยการวชิรพยาบาล | |
---|---|
รายนามผู้อำนวยการ | วาระการดำรงตำแหน่ง |
1. เสวกเอก พระยาวิรัชเวช (ดร. ติลลีกี) | 2 มกราคม พ.ศ. 2455 - 1 กันยายน พ.ศ. 2474 |
2. ร้อยเอก หลวงแพทย์โกศล (นายแพทย์ ขำ รักกุศล) | 1 กันยายน พ.ศ. 2474 - 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 |
3. นายแพทย์กร เกรียงไกร | 14 มีนาคม พ.ศ. 2488 - 1 มิถุนายน พ.ศ. 2494 |
4. นายแพทย์ประพนธ์ เสรีรัตน์ | 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 - 6 มิถุนายน พ.ศ. 2497 |
5. นายแพทย์เสนอ ตัณฑเศรษฐี | 6 มิถุนายน พ.ศ. 2497 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 |
6. นายแพทย์ประเสริฐ นุตกุล | 1 ธันวาคม พ.ศ. 2517 - 28 มกราคม พ.ศ. 2519 |
7. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประพฤติ ธีรคุปต์ | 28 มกราคม พ.ศ. 2519 - 30 กันยายน พ.ศ. 2528 |
8. นายแพทย์ปรีชา ตาปสนันท์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2528 - 8 มกราคม พ.ศ. 2530 |
9. นายแพทย์ยศพร จิตตะเสนีย์ | 9 มกราคม พ.ศ. 2530 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2530 |
10. นายแพทย์อุทัย ตู้จินดา | 7 มกราคม พ.ศ. 2530 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2532 |
11. นายแพทย์สุวัฒน์ จันทรจำนง | 2 ตุลาคม พ.ศ. 2532 - 9 ตุลาคม พ.ศ. 2533 |
12. นายแพทย์ธรรมนูญ วานิยะพงศ์ | 10 ตุลาคม พ.ศ. 2533 - 30 กันยายน พ.ศ. 2534 |
13. นายแพทย์สมัย ขาววิจิตร | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2534 - 4 มกราคม พ.ศ. 2539 |
ทำเนียบผู้อำนวยการวิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานคร สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร | |
รายนามผู้อำนวยการ | วาระการดำรงตำแหน่ง |
1. ศาสตราจารย์ (พิเศษ) นายแพทย์นคร สมบูรณ์วิทย์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2539 - 30 กันยายน พ.ศ. 2540 |
2. ศาสตราจารย์ (พิเศษ) นายแพทย์วีระวัฒน์ หาญทวิชัย | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2540 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2543 |
ทำเนียบผู้อำนวยการวิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร | |
รายนามผู้อำนวยการ | วาระการดำรงตำแหน่ง |
1. นายแพทย์มาโนชญ์ ลีโทชวลิต | 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 |
2. นายแพทย์ธานี บุณยประสิทธิ์ | 17 ธันวาคม พ.ศ. 2544 - 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 |
3. นายแพทย์วิวัฒน์ วนาโรจน์ | 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 - 30 กันยายน พ.ศ. 2548 |
3. นายแพทย์โอกาส ไทยพิสุทธิกุล | 4 ตุลาคม พ.ศ. 2548 - 30 กันยายน พ.ศ. 2549 |
4. ศาสตราจารย์ (พิเศษ) นายแพทย์มานิต ศรีประโมทย์ | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2550 |
5. นายแพทย์ชัยวัน เจริญโชคทวี | พ.ศ. 2551 - 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 |
ทำเนียบคณบดีคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร | |
รายนามคณบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง |
1. นายแพทย์ชัยวัน เจริญโชคทวี | 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 - 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556 |
ทำเนียบคณบดีคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช | |
รายนามคณบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง |
1. นายแพทย์ชัยวัน เจริญโชคทวี | 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 [7] |
2. นายแพทย์มาโนชญ์ ลีโทชวลิต | 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (รักษาการ) |
3. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ประยุทธ ศิริวงษ์ | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 - 30 เมษายน พ.ศ. 2564 |
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์จักราวุธ มณีฤทธิ์ | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน |
ภาควิชาและหน่วยงาน
[แก้]
ภาควิชา[แก้]
|
หน่วนงานสนับสนุน[แก้]
โรงพยาบาลวชิรพยาบาล[แก้]
|
หลักสูตรที่เปิดสอน
[แก้]ระดับปริญญาตรี |
---|
|
ระดับหลังปริญญา |
---|
วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน และ การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด
|
การเรียนการสอนในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
[แก้]หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2554) ได้ปรับปรุงจากหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2549) เดิม ขณะมีสถานะเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหิดล เล็กน้อย มีศักยภาพในการรับนักศึกษาประมาณ 80 คนต่อปี
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554 ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสถาบันรับรองมาตรฐานแพทยศาสตรศึกษา (IMEAc) ซึ่งใช้มาตรฐานจากเกณฑ์มาตรฐานแพทยศาสตร์ศึกษาสากล (WFME) โดยได้การรับรองถึงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565[18] หลักสูตรนี้มีการแบ่งการเรียนการสอนเป็น 3 ช่วง ได้แก่ |
ชั้นปีที่ 1 เตรียมแพทยศาสตร์
ศึกษาวิชาพื้นฐานทั่วไปและวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ซึ่งศึกษาที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา วิชาที่เรียนจะประกอบด้วยวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เช่น ชีววิทยา เคมี เคมีอินทรีย์ แคลคูลัส สถิติ และฟิสิกส์ แล้วมีวิชาทางภาษาได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และวิชาศึกษาทั่วไป (MUGE) นอกจากนี้ในการชั้นปีที่ 1 ที่นี่จะมีวิชาปรีคลินิกด้วย 1 วิชา คือชีวเคมี นักศึกษาจะได้เรียนร่วมกับนักศึกษาคณะอื่นๆของมหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึง คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กลุ่มนักศึกษาแพทย์สถาบันพระบรมราชชนก คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ชั้นปีที่ 2-3 ปรีคลินิก
ศึกษาวิชาแพทย์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์การแพทย์ เช่นวิชา กายวิภาคศาสตร์ สรีวิทยา เภสัชวิทยา ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท การที่ได้เรียนกับคณะวิทยาศาสตร์ นักศึกษาจะได้รับแนวคิดด้านวิทยาศาสตร์และการวิจัยซึ่งเป็นประโยชน์ในการนำไปสู่ ความเป็นเลิศด้านการศึกษาและวิจัย และการพัฒนาศาสตร์การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จากนั้นนักศึกษาจะเข้าสู่ปีที่ 3 ได้แก่ วิทยาภูมิคุ้มกัน จุลชีววิทยา เวชพันธุศาสตร์ และพยาธิวิทยา โดยศึกษาที่คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล |
ชั้นปีที่ 4-6 คลินิก
ศึกษาและฝึกอบรมที่วชิรพยาบาล สำหรับนักศึกษาปีที่ 6 (extern) จะมีการเรียนเสมือนการทำงานจริง ดูแลควบคุมโดยอาจารย์แพทย์และแพทย์ประจำบ้าน (residence) อย่างใกล้ชิด แล้วจะมีการศึกษาดูงานที่โรงพยาบาลในสำนักการแพทย์กรุงเทพมหานครหลายๆแห่งด้วย |
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562) ได้ปรับปรุงจากหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2554) โดยมีการย้ายสถานที่จัดการศึกษามายังมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชตลอดทั้งหลักสูตร มีศักยภาพในการผลิตนักศึกษาแพทย์ประมาณ 100 คนต่อปี
หลักสูตรได้รับการรับรองมาตรฐานจากสถาบันรับรองมาตรฐานแพทยศาสตรศึกษา (IMEAc) ซึ่งใช้มาตรฐานจากเกณฑ์มาตรฐานแพทยศาสตร์ศึกษาสากล (WFME) โดยได้การรับรองถึงวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2567[18] หลักสูตรนี้มีการแบ่งการเรียนการสอนเป็น 3 ช่วง |
ชั้นปีที่ 1 เตรียมแพทยศาสตร์
จะศึกษาวิชาศึกษาทั่วไปที่มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชกำหนด เช่น วิชาภาษาอังกฤษ การสื่อสาร วิชาที่สนับสนุนอัตลักษณ์ของบัณฑิตของมหาวิทยาลัย และวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เช่น เคมี สถิติ และ ฟิสิกส์ นอกจากนี้ในการชั้นปีที่ 1 ในภาคเรียนที่ 2 จะมีเริ่มเรียนวิชาปรีคลินิกด้วย คือ ชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุล และ ชีววิทยาของเซลล์ รวมทั้งวิชาพื้นฐานวิชาชีพที่เรียนต่อเนื่องตลอดหลักสูตร เช่น วิชาเวชจริยศาสตร์ วิชาระบบสุขภาพเขตเมืองเพื่อส่งเสริมจุดเน้นด้านเวชศาสตร์เขตเมืองของสถาบัน |
ชั้นปีที่ 2-3 ปรีคลินิก
เป็นการศึกษาระดับปรีคลินิก จะศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน โดยมีการบูรณาการวิชาต่าง ๆ เช่น มหกายวิภาคศาสตร์ จุลกายวิภาคศาสตร์ เอมบริโอวิทยา สรีรวิทยา จุลชีววิทยา วิทยาภูมิคุ้มกัน พยาธิวิทยา และ เภสัชวิทยา เป็นตามระบบต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงกันขององค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานรวมทั้งการนำความรู้ไปใช้ในระดับชั้นคลินิกต่อไป และศึกษาวิชาพื้นฐานวิชาชีพที่ต่อเนื่องจากชั้นปีที่ 1 |
ชั้นปีที่ 4-6 คลินิก
เข้าสู่การศึกษาระดับคลินิก ซึ่งศึกษาและฝึกอบรมในโรงพยาบาล แบ่งเป็นศึกษาที่วชิรพยาบาล จำนวน 80 คน และที่โรงพยาบาลตากสิน จำนวน 20 คน สำหรับนักศึกษาปีที่ 6 (extern) จะมีการเรียนเสมือนการปฏิบัติงานจริง ดูแลควบคุมโดยอาจารย์แพทย์และแพทย์ประจำบ้าน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาดูงานที่โรงพยาบาลที่มีความร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาลเป็นโรงเรียนแพทย์ที่มุ่งเน้นไปทางการให้บริการประชาชน (public service) โดยเฉพาะในเขตชุมชนเมือง ดั่งเช่นกรุงเทพมหานคร โดยมีการจัดการเรียนการสอนแบบ Community-Based Learning : CBL (ใช้ชุมชนเป็นฐาน) มีการไปออกชุมชนอยู่อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังเป็นคณะแพทย์แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่เปิดสอนวิชาเวชศาสตร์เขตเมือง (urban medicine) ซึ่งสอนที่เจาะจงในการแก้ปัญหาสุขภาพชาวเมืองโดยเฉพาะ เป็นการเข้าสู่การมุ่งเน้นในการผลิตแพทย์ที่ทำงานบริการประชาชนเขตเมื่องอย่างแท้จริง |
กิจกรรมนักศึกษาแพทย์
[แก้]สโมสรนักศึกษาแพทย์วชิรพยาบาล เป็นหน่วยงานหลักในการจัดกิจกรรมต่างๆของคณะ โดยส่วนมากจะเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นโดยคณะ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่จัดขึ้นพร้อมกับคณะอื่นในมหาวิทยาลัยมหิดล หรือคณะแพทย์แห่งอื่นๆในประเทศไทย และกิจกรรมที่ทางคณะเข้าร่วม ซึ่งทางสโมสรจะเป็นผู้ติดต่อประสานงานและดำเนิดกิจกรรมต่างๆ
ค่ายเปิดเสื้อกาวน์
[แก้]ค่ายเปิดเสื้อกาวน์ (Opengown Camp) เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้เข้ามาสัมผัสชีวิตการเรียนแพทย์ ชีวิตนักศึกษาแพทย์ การทำงานของแพทย์ ได้รู้จักความเป็นโรงเรียนแพทย์ รู้จักคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาลมากขึ้น และที่สำคัญคือ ผู้เข้าร่วมโครงการค่ายเปิดเสื้อกาวน์จะสามารถค้นพบตนเองได้ว่า ตนเองนั้นชอบและรักวิชาชีพแพทย์หรือไม่ หรือมีความเหมาะสมในการเรียนแพทย์มากน้อยเพียงใด
กิจกรรมนี่จัดขึ้นในเดือนตุลาคมของทุกปี โดยเริ่มรับสมัครนักเรียนตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม ค่ายเปิดเสื้อกาวน์เป็นค่ายที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดแห่งหนึ่ง มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมากจากทั่วประเทศ และมีกระแสตอบรับทั้งก่อนและหลังการเข้าค่ายเป็นอย่างดี
รับน้อง & ค่ายฉันจะไปเรียนหมอล่ะ
[แก้]กิจกรรมรับน้อง เป็นกิจกรรมที่ทางสโมสรจัดขึ้นให้นักศึกษาแพทย์ ขั้นปีที่ 1 ที่เข้ามาใหม่ เพื่อให้ได้รู้จักคณะและมหาวิทยาลัยมากขึ้น ให้ปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนใหม่ๆ เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้อง กิจกรรมรับน้องนี้รวมไปด้วยหลายๆกิจกรรมที่จัดขึ้นในช่วงปิดภาคเรียนแรก ระหว่างเดือน เมษายน-พฤษภาคม
"แรกพบ-ทวิภพ" เป็นกิจกรรมแรกที่มีขึ้น เป็นการรวมตัวกับครั้งแรกของนักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่1 จัดขึ้นให้นักศึกษาใหม่ได้รู้จักกัน และแนะนำให้รู้จักกับคณะและมหาวิทยาลัย กิจกรรมนี้จะจัดขึ้น 2 วัน ในวันแรกจัดขึ้นที่วชิรพยาบาล ให้ได้รู้จักกับคณะมากขึ้น และในวันที่ 2 จัดที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เป็นการให้นักศึกษาได้รู้จักกับศาลายา เพื่อเตรียมพร้อมกับการศึกษาที่นี่ กิจกรรม "สอนน้องร้องเพลง" เป็นการสอนร้องเพลงคณะเพลงมหาวิทยาลัยและเพลงต่างๆ "ค่ายฉันจะไปเรียนหมอล่ะ" จะจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤกษภาคม เสริมสร้างความสัมพันธ์ในรุ่นและคณะนักศึกษา ในงานนี้นักศึกษาจะเข้าใจถึงความเป็น "นักศึกษาแพทย์วชิรพยาบาล" อย่างแท้จริง และกิจกรรมสุดท้ายคือ "Conc day" (วันวิชาการ) เป็นวันแนะแนวการเรียนการสอน ในงานจะมีรุ่นพี่นักศึกษาแพทย์ถ่ายทอดและแนะนำวิธีการเรียนในมหาวิทยาลัย วิธีการอ่านหนังสืออย่างมีประสิทธิภาพ และเตรียมตัวสอบในทุกๆวิชา ให้นักศึกษาได้เตรียมพร้อมกับการเรียนในมหาวิทยาลัยอย่างเต็มตัว
Open House แพทย์วชิระ
[แก้]จัดขึ้นที่คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียน และผู้สนใจ โดยเฉพาะผู้ที่สนใจจะเข้าศึกษาต่อในสาขาแพทยศาสตร์ ได้เข้าชมคณะ ชมโรงพยาบาล ในงานนี้จะมีกิจกรรมต่างๆจัดขึ้นโดนคณะ ให้ผู้สนใจมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาต่อในวิชาชีพแพทย์มากขึ้น สัมผัสกับความเป็นโรงเรียนแพทย์ นอกจากนี้นักเรียนมัธยมยังสามารถปรึกษารับคำแนะนำจากรุ่นพี่นักศึกษา ในการเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้ด้วย
กิจกรรมระหว่างคณะ
[แก้]- กีฬาเข็มสัมพันธ์
จัดขึ้นโดย สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทย (สพท.) เป็นกิจกรรมกีฬาที่รวมตัวโรงเรียนแพทย์ทุกแห่งในประเทศ
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย
[แก้]โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย | จังหวัด | สังกัด |
---|---|---|
วชิรพยาบาล | เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร | คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช |
สถาบันร่วมผลิตแพทย์ | จังหวัด | สังกัด |
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลตากสิน | เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร | สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร |
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล
- วชิรเวชสาร เก็บถาวร 2011-09-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 16)
- ↑ ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง การรับวิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครเข้าเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๓๖
- ↑ ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 38)
- ↑ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2553
- ↑ พระราชบัญญัติ เปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานครเป็นมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช พ.ศ. 2556
- ↑ http://www.op.mahidol.ac.th/oraa/files/joined_institute_annouced_1n.pdf
- ↑ http://www.ryt9.com/s/bmnd/1864037
- ↑ หลักสูตรฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขากุมารเวชศาสตร์ พ.ศ. 2561
- ↑ เกณฑ์หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำานาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาจักษุวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)
- ↑ หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจาบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชานาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
- ↑ หลักสูตรและเกณฑ์การฝึกอบรมแพทย์ประจา บ้าน เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์ ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย ฉบับ พ.ศ. 2560
- ↑ หลักสูตรและเกณฑ์การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทยฉบบั พ.ศ. 2561
- ↑ ภาคผนวก 4 งานวิจัยเพื่อวุฒิบัตรฯ สาขาโสต ศอ นาสิกวิทยา
- ↑ "มติที่ประชุมโดยย่อ การประชุมคณะอนุกรรมการด้านมาตรฐานการอุดมศึกษา ครั้งที่ 4/2551" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-01-22. สืบค้นเมื่อ 2020-01-14.
- ↑ "เกณฑ์หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจาบ้าน เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชานาญ ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาออร์โธปิดิกส์ ฉบับ พ.ศ. 2561" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-07-13. สืบค้นเมื่อ 2020-01-14.
- ↑ มาตรฐานคุณวุฒิความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาอายุรศาสตร์ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย
- ↑ "หลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-22. สืบค้นเมื่อ 2019-12-22.
- ↑ 18.0 18.1 "Accreditation status from IMEAc". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-22. สืบค้นเมื่อ 2019-12-22.
- ↑ "เนื้อหาสาระสำคัญของหลักสูตรหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-12-22. สืบค้นเมื่อ 2019-12-22.
- หนังสือ 96 ปี วชิรพยาบาล
- นิทรรศการ ๑๐๐ ปี วชิรพยาบาล