วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
College of Management, Mahidol University
ชื่อย่อCMMU
สถาปนา1 ตุลาคม พ.ศ. 2539 (27 ปี)
คณบดีรศ. ดร. วิชิตา รักธรรม
ที่อยู่
69 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย 10400
สี   สีน้ำเงิน-สีส้ม[1]
เว็บไซต์http://www.cmmu.mahidol.ac.th/cmmu/

วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผลมาจากการประชุมวิชาการเรื่อง "โครงการบริหารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 และเรื่อง "บัณฑิตศึกษาเชิงสหวิทยาการ" ซึ่งจัดขึ้นโดยบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 12-13 กันยายน พ.ศ. 2536 เพื่อเป็นการเสริมศักยภาพวิชาที่เปิดสอนอยู่แล้วและผลิตบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการ เพื่อไปรับใช้ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในอนาคต

ประวัติ[แก้]

มูลเหตุในการจัดตั้งวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดลนั้น มาจากผลการประชุมวิชาการเรื่อง "โครงการบริหารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 และเรื่อง "บัณฑิตศึกษาเชิงสหวิทยาการ" ซึ่งจัดขึ้นโดยบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 12-13 กันยายน พ.ศ. 2536 โดยผลจากการประชุมวิชาการทำให้ได้ผลสรุปว่า สาขาการบริหารจัดการ เป็นสาขาหนึ่งที่มหาวิทยาลัยมหิดลสมควรดำเนินการจัดตั้งให้มีขึ้น เพื่อเป็นการเสริมศักยภาพวิชาที่เปิดสอนอยู่แล้ว เช่น ให้มีวิชาเลือกทางสาขาการจัดการให้กับนักศึกษาสายการแพทย์และวิทยาศาสตร์เป็นต้น และผลิตบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการ เพื่อไปรับใช้และช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในอนาคต

โครงการวิทยาลัยการจัดการประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2539 มี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. โอม หุวะนันทน์ เป็นผู้อำนวยการ และเริ่มเปิดดำเนินการสอนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2541 ในระดับปริญญาโท หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ (นานาชาติ) ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 ได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยและทบวงมหาวิทยาลัยให้เปลี่ยนชื่อหลักสูตร และชื่อปริญญาจาก ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ เป็นหลักสูตร การจัดการมหาบัณฑิต นอกจากนี้วิทยาลัยยังได้ขยายสาขาการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งเพิ่มหลักสูตรปริญญาโทการจัดการมหาบัณฑิต (ภาคภาษาไทย) และหลักสูตรการจัดการบัณฑิต (ปริญญาตรี) ที่มหาวิทยาลัยมหิดลวิทยาเขตกาญจนบุรีและมหาวิทยาลัยมหิดลวิทยาเขตนครสวรรค์ ในปี พ.ศ. 2552 วิทยาลัยการจัดการได้โอนหลักสูตรการจัดการบัณฑิตซึ่งประกอบด้วย 3 สาขาวิชา คือ สาขาการจัดการทั่วไป สาขาการเป็นผู้ประกอบการและสาขาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ มาให้อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลในขณะนั้น (พ.ศ. 2538-2542) ได้ให้แนวนโยบายเมื่อเข้ามาตรวจเยี่ยมและรับฟังบรรยายสรุปการดำเนินงานของวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดลว่า นอกจากวิทยาลัยการจัดการจะเป็นสถานการศึกษาที่รวบรวมองค์ความรู้ด้านการจัดการทั้งหลายที่เกิดจาการวิจัย การจัดการเรียนการสอน การให้บริการวิชาการแก่สังคม รวมทั้งแนวคิด แนวปฏิบัติด้านการจัดการ เพื่อใช้ในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกมาช่วยเหลือสังคมและประเทศชาติแล้ว องค์ความรู้ด้านการจัดการที่ได้เกิดขึ้นจากสถาบันการศึกษาแห่งนี้นั้น จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้มหาวิทยาลัยวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยของปวงชนอย่างแท้จริง

รายนามผู้อำนวยการ/คณบดี[แก้]

วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล มีรายนามผู้อำนวยการ/คณบดี ดังนี้

วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
รายนามผู้อำนวยการ/คณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. โอม หุวะนันทน์ ตุลาคม พ.ศ. 2539 - สิงหาคม พ.ศ. 2546
2. ศาสตราจารย์ ดร. เลียงชัย ลิ้มล้อมวงศ์ สิงหาคม พ.ศ. 2546 - กันยายน พ.ศ. 2550
3. ศาสตราจารย์ ดร. ชัยอนันต์ สมุทวณิช ตุลาคม พ.ศ. 2550 - กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
4. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร. พรชัย มาตังคสมบัติ (รักษาการ) มีนาคม พ.ศ. 2552 - เมษายน พ.ศ. 2552
5. Dr. Hermann Gruenwald พฤษภาคม พ.ศ. 2552 - มกราคม พ.ศ. 2553
6. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.ประสิทธิ์ วัฒนาภา มกราคม พ.ศ. 2553 - มีนาคม พ.ศ. 2554
7. ศาสตราจารย์ ดร.รัศมีดารา หุ่นสวัสดิ์ 1 เมษายน พ.ศ. 2554 - 30 กันยายน พ.ศ. 2555
8. รองศาสตราจารย์ ดร.อรรณพ ตันละมัย 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 30 กันยายน พ.ศ. 2559
9. ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์ (รักษาการ) 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 31 มกราคม พ.ศ. 2560
10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดวงพร อาภาศิลป์ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 - 31 มกราคม พ.ศ. 2564
11. รองศาสตราจารย์ ดร. วิชิตา รักธรรม 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน

หลักสูตร[แก้]

วิทยาลัยการจัดการได้ดำเนินการเปิดสอนการจัดการ หลักสูตรไทยและหลักสูตรนานาชาติ

ปริญญาเอก[แก้]

  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ (หลักสูตรนานาชาติ) Ph.D. in Management (International Program)
  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำอย่างยั่งยืน (หลักสูตรนานาชาติ) Ph.D. in Sustainable Leadership (International Program)

ปริญญาตรี - โท เร่งรัด[แก้]

  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) และ หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต(การจัดการธุรกิจ) รับนักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในชั้นปีที่ 2 เทอม 2 หรือปี 3
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีชีวภาพ) และ หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต (การตลาด) รับนักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ปริญญาโท[แก้]

ประกาศนียบัตรบัณฑิตขั้นสูง[แก้]

  • สาขาการจัดการ

รางวัลของวิทยาลัย[แก้]

  1. สีประจำวิทยาลัย, เข้าถึงวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559

รางวัลที่วิทยาลัยการจัดการได้รับในระดับนานาชาติมีมากมาย

2023 Innovations that Inspire by AACSB

PRME Global Champions (Responsible Business Schools)


แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]