ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วันมาฆบูชา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
Waniosa Amedestir (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{บทความคุณภาพ}}
{{บทความคุณภาพ}}
{{Infobox holiday
[[ไฟล์:จตุรงคสันนิบาต.jpg|200px|thumb|วันมาฆบูชา มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า '''"[[จาตุรงคสันนิบาต|วันจาตุรงคสันนิบาต]]"''' เพราะเป็นวันที่[[พระพุทธองค์]]ประทานหลัก[[โอวาทปาฏิโมกข์]] อันเป็นหัวใจของพระธรรม แก่[[พระอรหันตสาวก]]ผู้เป็น[[เอหิภิกขุ]]ทั้ง 1,250 รูปที่มาประชุมพร้อมกันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยมิได้นัดหมายในวัน[[เดือน 3|มาฆ]][[วันเพ็ญ|ปุรณมี]]]]
|holiday_name=วันมาฆบูชา
'''วันมาฆบูชา''' ({{lang-pi|Māgha Pūjā, มาฆปูชา}}; {{lang-roman|Magha Puja}}) เป็น[[รายชื่อวันสำคัญทางศาสนาพุทธ|วันสำคัญ]]ของชาวพุทธ[[เถรวาท]]และวันหยุดราชการใน[[ประเทศไทย]]<ref name="วันหยุดมาฆะ">ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2456/A/533.PDF ประกาศกำหนดวันหยุดราชการ นักขัตฤกษ์ประจำปี (พระพุทธศักราช ๒๔๕๖)], เล่ม ๓๐, ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๖, หน้า ๕๓๓</ref> "มาฆบูชา" ย่อมาจาก "มาฆปูรณมีบูชา" หมายถึง การ[[บูชา]]ในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะตาม[[ปฏิทินฮินดู|ปฏิทินอินเดีย]] หรือเดือน 3 ตามปฏิทิน[[จันทรคติ]]ของไทย (ตกช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม) ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีเดือน 8 สองหน ([[ปฏิทินไทย|ปีอธิกมาส]]) ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 3 หลัง (วันเพ็ญเดือน 4)<ref name="ReferenceA">วันสำคัญของเรา, กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ, พ.ศ. 2520, หน้า 6</ref>
|nickname = วันพระสงฆ์<br />จาตุรงคสันนิบาต<ref name="bbc">{{cite web |title=Sangha Day |url=http://www.bbc.co.uk/religion/religions/buddhism/holydays/sangha.shtml |archive-url=https://web.archive.org/web/20181218014113/http://www.bbc.co.uk/religion/religions/buddhism/holydays/sangha.shtml |archive-date=18 December 2018 |url-status=live |website=[[BBC]] |date=7 May 2004}}</ref><br />
|image=Magha Puja.jpg
|caption=พระพุทธเจ้าทรงให้โอวาทเนื่องในวันมาฆบูชา
|observedby= [[เถรวาท|ชาวพุทธเถรวาท]]ใน[[ประเทศกัมพูชา]], [[ลาว]], [[พม่า]], [[ศรีลังกา]] และ[[ไทย]]
|date=ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3
|observances=เดินขบวนเวียนเทียน ทำ[[บุญ]]โดยทั่วไป
|celebrations=
|type=พุทธ, วัฒนธรรม
|significance=พระสงฆ์สาวก 1,250 รูปมาประชุมพร้อมกันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยมิได้นัดหมาย
|scheduling = ตามปฏิทินจันทรคติเอเชีย
|duration=หลายแบบ
|relatedto= [[Chotrul Duchen]] <small>(ในทิเบต)</small><br />[[Daeboreum]] <small>(ในเกาหลี)</small><br /> [[ตรุษญี่ปุ่น#ตรุษเล็ก|โคโชงัตสึ]] <small>(ในญี่ปุ่น)</small><br /> [[เทศกาลโคมไฟ]] <small>(ในจีน)</small><br /> [[ตรุษญวน|Tết]] Nguyên tiêu <small>(ในเวียดนาม)</small><ref name="LanternFestival">{{Cite book |title=The Full Moons: Topical Letters In Esoteric Astrology |last=Artley|first= Malvin |publisher=eBookIt.com |year=2014 |isbn=978-1-4566-2227-5}}</ref>
}}
'''วันมาฆบูชา''' ({{lang-pi|Māgha Pūjā, มาฆปูชา}}; {{lang-roman|Magha Puja}}) เป็น[[รายชื่อวันสำคัญทางศาสนาพุทธ|วันสำคัญ]]ของชาวพุทธ[[เถรวาท]]และวันหยุดราชการใน[[ประเทศไทย]]<ref name="วันหยุดมาฆะ">ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2456/A/533.PDF ประกาศกำหนดวันหยุดราชการ นักขัตฤกษ์ประจำปี (พระพุทธศักราช ๒๔๕๖)], เล่ม ๓๐, ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๖, หน้า ๕๓๓</ref> "มาฆบูชา" ย่อมาจาก "มาฆปูรณมีบูชา" หมายถึง การ[[บูชา]]ในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะตาม[[ปฏิทินฮินดู|ปฏิทินอินเดีย]] หรือเดือน 3 ตามปฏิทิน[[จันทรคติ]]ของไทย{{sfn|Irons|2008|page=199}} (ตกช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม) ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีเดือน 8 สองหน ([[ปฏิทินไทย|ปีอธิกมาส]]) ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 3 หลัง (วันเพ็ญเดือน 4)<ref name="ReferenceA">วันสำคัญของเรา, กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ, พ.ศ. 2520, หน้า 6</ref>


วันมาฆบูชาได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธ เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน คือ [[พระโคตมพุทธเจ้า]]ทรงแสดง[[โอวาทปาติโมกข์]]ท่ามกลางที่ประชุมมหาสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา คัมภีร์[[ปปัญจสูทนี]]ระบุว่าครั้งนั้นมีเหตุการณ์เกิดขึ้นพร้อมกัน 4 ประการ คือ พระภิกษุ 1,250 รูป ได้มาประชุมพร้อมกันยังวัดเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย, พระภิกษุทั้งหมดนั้นเป็น "[[เอหิภิกขุอุปสัมปทา]]" หรือผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง, พระภิกษุทั้งหมดนั้นล้วนเป็น[[พระอรหันต์]]ผู้ทรง[[อภิญญา]] 6, และวันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญเดือน 3<ref name="อรรถกถาทีฆนขสูตร">[http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=269&p=1 อรรถกถาทีฆนขสูตร], อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ปริพพาชกวรรค</ref> ดังนั้น จึงเรียกวันนี้อีกอย่างหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" หรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ 4<ref>[[พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช)]], ''พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด '''คำวัด,''' กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548</ref>
วันมาฆบูชาได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธ เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน คือ [[พระโคตมพุทธเจ้า]]ทรงแสดง[[โอวาทปาติโมกข์]]ท่ามกลางที่ประชุมมหาสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา คัมภีร์[[ปปัญจสูทนี]]ระบุว่าครั้งนั้นมีเหตุการณ์เกิดขึ้นพร้อมกัน 4 ประการ คือ พระภิกษุ 1,250 รูป ได้มาประชุมพร้อมกันยังวัดเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย, พระภิกษุทั้งหมดนั้นเป็น "[[เอหิภิกขุอุปสัมปทา]]" หรือผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง, พระภิกษุทั้งหมดนั้นล้วนเป็น[[พระอรหันต์]]ผู้ทรง[[อภิญญา]] 6, และวันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญเดือน 3<ref name="อรรถกถาทีฆนขสูตร">[http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=269&p=1 อรรถกถาทีฆนขสูตร], อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ปริพพาชกวรรค</ref> ดังนั้น จึงเรียกวันนี้อีกอย่างหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" หรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ 4<ref>[[พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช)]], ''พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด '''คำวัด,''' กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548</ref>
บรรทัด 164: บรรทัด 178:
== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง|2}}
{{รายการอ้างอิง|2}}

== บรรณานุกรม ==
{{refbegin |30em}}
* {{Citation |last1=Bellenir |first1=K. |title=Religious Holidays and Calendars: An Encyclopedic Handbook |date=2004 |publisher=[[Omnigraphics]] |isbn=0-7808-0665-4 |edition=3rd}}
* {{Citation |last1=Bhaskar|first1=V.S.|title=Faith and Philosophy of Buddhism|date=2009|publisher=Kalpaz Publications|isbn=978-8178357225|url=https://books.google.com/books?id=C19Pn4HKq-MC}}
* {{Citation|url=https://www.politicalavenue.com/PDF/ENCYCLOPEDIAS/Encyclopedia%20of%20Religious%20Practices%20Vol2.pdf|year=2006|title=Laos|encyclopedia=Worldmark Encyclopedia of Religious Practices|publisher=[[Thomson Gale]]|volume=2|isbn=978-0-7876-6613-2|last1=Cate|first1=Sandra|last2=Lefferts|first2=Leedom|editor-last=Riggs|editor-first=Thomas|access-date=2019-10-13|archive-url=https://web.archive.org/web/20170302051611/http://www.politicalavenue.com/PDF/ENCYCLOPEDIAS/Encyclopedia%20of%20Religious%20Practices%20Vol2.pdf|archive-date=2017-03-02|url-status=dead}}
* {{Citation |last=Cheam |first=V.S. |year=2018 |title=The Monk's Duty in Khmer Society: The Living, Role and Participation |journal=Journal of Buddhist Education and Research |volume=4 |issue=1 |url=http://ojs.mcu.ac.th/index.php/ijbe/article/view/3386/2494}}
* {{Citation |last1=Daniels |first1=P. |last2=Gulevich |first2=T. |last3=Thompson |first3=S.E. |editor1-last=Henderson |editor1-first=H. |title=Holiday Symbols and Customs |date=2009 |publisher=[[Omnigraphics]] |isbn=978-0-7808-0990-1 |edition=4th}}
*{{Citation|last1=Egge|first1=James|title=Religious Giving and the Invention of Karma in Theravada Buddhism|date=2013|publisher=[[Taylor and Francis]] |isbn=978-1-136-85915-1|url=https://books.google.com/books?id=hkddAgAAQBAJ}}
* {{Citation|last1=Irons|first1=Edward A.|series=Encyclopedia of World Religions|title=Encyclopedia of Buddhism|date=2008|publisher=[[Facts on File]]|isbn=978-0-8160-5459-6|url=http://www.khamkoo.com/uploads/9/0/0/4/9004485/encyclopedia_of_buddhism.pdf}}
*{{Citation|last1=Keyes|first1=Charles F.|editor1-last=Keyes|editor1-first=Charles F.|editor2-last=Daniel|editor2-first=E. Valentine|title=Karma: An Anthropological Inquiry|date=1983|publisher=[[University of California Press]] |isbn=978-0-520-04429-6|edition=2nd|url=https://books.google.com/books?id=49GVZGD8d4oC}}
* {{Citation |last1=Ling|first1=Trevor|last2=Axelrod|first2=Steven|title=Buddha, Marx, and God: Some Aspects of Religion in the Modern World|date=1979|publisher=[[Macmillan Press]]|isbn=978-1-349-16054-9|url=https://books.google.com/books?id=x8ewCwAAQBAJ}}
* {{Citation|last1=Melton|first1=J. Gordon|author-link1=J. Gordon Melton |title=Religious Celebrations: An Encyclopedia of Holidays, Festivals, Solemn Observances, and Spiritual Commemorations|date=2011|publisher=[[ABC-CLIO]]|isbn=978-1-59884-205-0}}
* {{Citation |last1=Norman |first1=Kenneth Roy |author-link1=K.R. Norman |title=The Word of the Doctrine: Dhammapada |date=1997 |publisher=[[Pali Text Society]] |isbn=978-0-86013-335-3 |url=https://books.google.com/books?id=x-UQAQAAIAAJ}}
* {{Citation |last1=Payutto|first1=Phra|author-link=Prayudh Payutto|script-title=th:พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมาลศัพท์|trans-title=Dictionary of Buddhism, Vocabulary|date=1993|language=th|publisher=[[Mahachulalongkornrajavidyalaya University]] |isbn=974-575-029-8|page=575|edition=7th|url=http://www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/dictionary_of_buddhism_vocabulary_version.pdf}}
* {{Citation |last1=Pengvipas |first1=Polpao|script-title=th:ความรักในมุมมองของพระพุทธศาสนาในวันมาฆบูชา |trans-title=Love from a Buddhist Perspective on Māgha Pūjā Day |journal=Dhammathas Academic Journal |date=2013 |volume=13 |issue=2 |pages=45–54 |url=https://www.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/77590 |language=th |issn=1513-5845}}
* {{Citation |last1=Premchit |first1=Sommai |last2=Dore |first2=Amphay |title=The Lan Na Twelve-Month Traditions |publisher=Faculty of Social Sciences, [[Chiang Mai University]], Thailand, and [[Centre National de la Recherche Scientifique]], France |year=1992}}
* {{Citation |last=Swearer |first=D.K. |year=2001 |chapter=Centre and Periphery: Buddhism and Politics in Modern Thailand |title=Buddhism and Politics in Twentieth-Century Asia |pages=194–228 |url=https://books.google.com/books?id=nUXUAwAAQBAJ |editor-first=Ian |editor-last=Harris |publisher=[[A&C Black]] |edition=revised |isbn=978-0-8264-5178-1}}
* {{Citation |last1=Swearer|first1=D.K.|title=The Buddhist World of Southeast Asia|date=2010|publisher=[[State University of New York Press]]|isbn=978-1-4384-3251-9|url=http://www.ahandfulofleaves.org/documents/The%20Buddhist%20World%20of%20Southeast%20Asia_Swearer.pdf |edition=2nd}}
* {{Citation |date=1 January 1976 |title=A Model for the Study of Thai Buddhism |journal=[[The Journal of Asian Studies]] |volume=35 |issue=3 |pages=391–403 |doi=10.2307/2053271 |jstor=2053271 |last1=Terwiel |first1=B.J. |author-link=Barend_Jan_Terwiel}}
* {{Citation |last1=Tetsunori|first1=Koizumi|last2=幸泉|first2=哲紀|last3=コイズミ|first3=テツノリ|title=Adoption and Adaptation of an Imported Culture: Buddhism in Thailand and Korea|date=25 March 2004 |publisher=Ryukoku University Institute for International Society and Culture |pages=179{{en dash}}94|hdl=10519/2339}}
* {{Citation |title=Thai Buddhism: Its Rites and Activities |first=Kenneth E. |last=Wells |year=1939 |oclc=1004812732 |url=https://archive.org/details/in.ernet.dli.2015.529208 |publisher=Bangkok Times Press}}
* {{Citation|last=Williams|first=Paul|author-link=Paul Williams (Buddhist studies scholar) |title=Mahayana Buddhism: The Doctrinal Foundations |year=2008|edition=2nd |publisher=[[Taylor & Francis]] |isbn=978-0-203-42847-4}}
* ปัณณวัฒน์. ''ปฏิทิน 100 ปี พ.ศ. 2468-2568 คัมภีร์พยากรณ์คู่บ้าน.'' กรุงเทพฯ : ไพลิน, 2550. ISBN 974-455-535-1
* ปัณณวัฒน์. ''ปฏิทิน 100 ปี พ.ศ. 2468-2568 คัมภีร์พยากรณ์คู่บ้าน.'' กรุงเทพฯ : ไพลิน, 2550. ISBN 974-455-535-1

{{refend}}


== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:11, 17 กุมภาพันธ์ 2565

วันมาฆบูชา
พระพุทธเจ้าทรงให้โอวาทเนื่องในวันมาฆบูชา
ชื่ออื่นวันพระสงฆ์
จาตุรงคสันนิบาต[1]
จัดขึ้นโดยชาวพุทธเถรวาทในประเทศกัมพูชา, ลาว, พม่า, ศรีลังกา และไทย
ประเภทพุทธ, วัฒนธรรม
ความสำคัญพระสงฆ์สาวก 1,250 รูปมาประชุมพร้อมกันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยมิได้นัดหมาย
การถือปฏิบัติเดินขบวนเวียนเทียน ทำบุญโดยทั่วไป
วันที่ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3
ส่วนเกี่ยวข้องChotrul Duchen (ในทิเบต)
Daeboreum (ในเกาหลี)
โคโชงัตสึ (ในญี่ปุ่น)
เทศกาลโคมไฟ (ในจีน)
Tết Nguyên tiêu (ในเวียดนาม)[2]

วันมาฆบูชา (บาลี: Māgha Pūjā, มาฆปูชา; อักษรโรมัน: Magha Puja) เป็นวันสำคัญของชาวพุทธเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทย[3] "มาฆบูชา" ย่อมาจาก "มาฆปูรณมีบูชา" หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะตามปฏิทินอินเดีย หรือเดือน 3 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย[4] (ตกช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม) ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีเดือน 8 สองหน (ปีอธิกมาส) ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 3 หลัง (วันเพ็ญเดือน 4)[5]

วันมาฆบูชาได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธ เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน คือ พระโคตมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ท่ามกลางที่ประชุมมหาสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา คัมภีร์ปปัญจสูทนีระบุว่าครั้งนั้นมีเหตุการณ์เกิดขึ้นพร้อมกัน 4 ประการ คือ พระภิกษุ 1,250 รูป ได้มาประชุมพร้อมกันยังวัดเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย, พระภิกษุทั้งหมดนั้นเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" หรือผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง, พระภิกษุทั้งหมดนั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา 6, และวันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญเดือน 3[6] ดังนั้น จึงเรียกวันนี้อีกอย่างหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" หรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ 4[7]

เดิมนั้นไม่มีพิธีมาฆบูชาในประเทศพุทธเถรวาท จนมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) พระองค์ได้ทรงปรารภถึงเหตุการณ์ครั้งพุทธกาลในวันเพ็ญเดือน 3 ดังกล่าวว่า เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญยิ่ง ควรประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความศรัทธาเลื่อมใส จึงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชกุศลมาฆบูชาขึ้น[8] การประกอบพระราชพิธีคงคล้ายกับวันวิสาขบูชา คือ มีการบำเพ็ญพระราชกุศลต่าง ๆ และมีการพระราชทานจุดเทียนตามประทีปเป็นพุทธบูชาในวัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระอารามหลวงต่าง ๆ เป็นต้น ในช่วงแรก พิธีมาฆบูชาคงเป็นการพระราชพิธีภายใน ยังไม่แพร่หลายทั่วไป ต่อมา ความนิยมจัดพิธีมาฆบูชาจึงได้ขยายออกไปทั่วราชอาณาจักร

ปัจจุบัน วันมาฆบูชาได้รับการประกาศให้เป็นวันหยุดราชการในประเทศไทย[3] โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์[9] พระสงฆ์และประชาชนประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญดังกล่าวที่ถือได้ว่า เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประทานโอวาทปาฏิโมกข์[10] ซึ่งกล่าวถึงหลักคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญความดีให้ถึงพร้อม และการทำจิตของตนให้ผ่องใส เพื่อเป็นหลักปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนทั้งมวล

นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2549 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันมาฆบูชาเป็น "วันกตัญญูแห่งชาติ" เนื่องจากในสังคมไทยปัจจุบัน หญิงสาวมักเสียตัวในวันวาเลนไทน์ หลายหน่วยงานจึงพยายามรณรงค์ให้วันมาฆบูชาเป็นวันแห่งความรัก (อันบริสุทธิ์) แทน

เหตุการณ์สำคัญที่เกิดในวันมาฆบูชาตามพุทธประวัติ

จาตุรงคสันนิบาต

กลุ่มป่าไผ่ร่มรื่น ในกลุ่มโบราณสถานวัดเวฬุวันมหาวิหาร สถานที่พระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์

คัมภีร์สุมังคลวิลาสินี อรรถกถามหาปทานสูตร ระบุว่าหลังจากพระพุทธเจ้าเทศนา "เวทนาปริคคหสูตร" (หรือทีฆนขสูตร) ณ ถ้ำสูกรขาตา เขาคิชฌกูฎ จบแล้ว ทำให้พระสารีบุตรได้บรรลุอรหัตตผล จากนั้นพระองค์ได้เสด็จทางอากาศไปปรากฏ ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร ใกล้กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ แล้วทรงประกาศโอวาทปาติโมกข์แก่พระภิกษุจำนวน 1,250 รูป โดยจำนวนนี้เป็นบริวารของชฏิลสามพี่น้อง 1,000 รูป และบริวารของพระอัครสาวก 250 รูป[11]

คัมภีร์ปปัญจสูทนีระบุว่า การประชุมสาวกครั้งนั้นประกอบด้วย "องค์ประกอบอัศจรรย์ 4 ประการ" คือ[6]

  1. วันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญเดือน 3
  2. พระภิกษุทั้ง 1,250 องค์นั้น ได้มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย
  3. พระภิกษุเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทรงอภิญญา 6
  4. พระภิกษุเหล่านั้นไม่ได้ปลงผมด้วยมีดโกน เพราะพระพุทธเจ้าประทาน "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" ด้วยพระองค์เอง

ดังนั้นจึงมีคำเรียกวันนี้อีกคำหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" หรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ 4 ดังกล่าวแล้ว

ด้วยเหตุการณ์ประจวบกับ 4 อย่าง จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จาตุรงคสันนิบาต (มาจากศัพท์บาลี จาตุร+องฺค+สนฺนิปาต แปลว่า การประชุมอันประกอบด้วยองค์ประกอบทั้งสี่ประการ) หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว 9 เดือน (45 ปี ก่อนพุทธศักราช)

มีผู้เข้าใจผิดว่าเหตุที่พระสาวกทั้ง 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมายนั้น เพราะวันเพ็ญเดือน 3 ตามคติพราหมณ์เป็นวันพิธีมหาศิวาราตรีเพื่อบูชาพระศิวะ พระสาวกเหล่านั้นซึ่งเคยนับถือศาสนาพราหมณ์มาก่อนจึงได้เปลี่ยนจากการรวมตัวกันทำพิธีชำระบาปตามพิธีพราหมณ์ มารวมกันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแทน[12] แต่ความคิดนี้ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง เพราะพระศิวะเป็นเทพที่ชาวฮินดูเริ่มบูชากันในยุคหลังพุทธกาล คือตั้งแต่ พ.ศ. 800 เป็นต้นมา[13]

ประทานโอวาทปาติโมกข์

พระพุทธเจ้าเมื่อทอดพระเนตรเห็นมหาสังฆสันนิบาตอันประกอบไปด้วยเหตุอัศจรรย์ดังกล่าว จึงทรงเห็นเป็นโอกาสอันสมควรที่จะแสดง "โอวาทปาติโมกข์" อันเป็นหลักคำสอนสำคัญที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาแก่ที่ประชุมพระสงฆ์เหล่านั้น เพื่อวางจุดหมาย หลักการ และวิธีการ ในการเข้าถึงพระพุทธศาสนาแก่พระอรหันตสาวกและพุทธบริษัททั้งหลาย พระพุทธองค์จึงทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์เป็นพระพุทธพจน์ 3 คาถากึ่ง ท่ามกลางมหาสังฆสันนิบาตนั้น มีใจความดังนี้[10]

  • พระพุทธพจน์คาถาแรกทรงกล่าวถึง พระนิพพาน ว่าเป็นจุดมุ่งหมายหรืออุดมการณ์อันสูงสุดของบรรพชิตและพุทธบริษัท อันมีลักษณะที่แตกต่างจากศาสนาอื่น ดังพระบาลีว่า "นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา"
  • พระพุทธพจน์คาถาที่สองทรงกล่าวถึง "วิธีการอันเป็นหัวใจสำคัญเพื่อเข้าถึงจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนาแก่พุทธบริษัททั้งปวงโดยย่อ" คือ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญแต่ความดี และการทำจิตของตนให้ผ่องใสเป็นอิสระจากกิเลสทั้งปวง ส่วนนี้เองของโอวาทปาฏิโมกข์ที่พุทธศาสนิกชนมักท่องจำกันไปปฏิบัติ ซึ่งเป็นเพียงหนึ่งคาถาในสามคาถากึ่งของโอวาทปาฏิโมกข์เท่านั้น
  • ส่วนพระพุทธพจน์คาถาสุดท้าย ทรงกล่าวถึงหลักการปฏิบัติของพระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่เผยแผ่พระศาสนา 6 ประการ คือ การไม่กล่าวร้ายใคร, การไม่ทำร้ายใคร , การมีความสำรวมในปาติโมกข์ทั้งหลาย, การเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร ,การรู้จักที่นั่งนอนอันสงัด และบำเพ็ญเพียรในอธิจิต

สถานที่สำคัญเนื่องด้วยวันมาฆบูชา (พุทธสังเวชนียสถาน)

พระพุทธรูปยืนกลางมณฑลมหาสังฆสันนิบาต ในโบราณสถานวัดเวฬุวันมหาวิหาร เมืองราชคฤห์ รัฐพิหาร อินเดีย (เป็นพระพุทธรูปสร้างใหม่ ปัจจุบันเป็นสถานที่จาริกแสวงบุญสำคัญของชาวพุทธทั่วโลก)

เหตุการณ์สำคัญที่เกิดในวันมาฆบูชา เกิดภายในบริเวณที่ตั้งของ "กลุ่มพุทธสถานโบราณวัดเวฬุวันมหาวิหาร" ภายในอาณาบริเวณของวัดเวฬุวันมหาวิหาร ซึ่งลานจาตุรงคสันนิบาตอันเป็นจุดที่เกิดเหตุการณ์สำคัญในวันมาฆบูชานั้น ยังคงเป็นที่ถกเถียงและหาข้อสรุปทางโบราณคดีไม่ได้มาจนถึงปัจจุบัน

วัดเวฬุวันมหาวิหาร

"วัดเวฬุวันมหาวิหาร" เป็นอาราม (วัด) แห่งแรกในพระพุทธศาสนา ตั้งอยู่ใกล้เชิงเขาเวภารบรรพต บนริมฝั่งแม่น้ำสรัสวดีซึ่งมีตโปธาราม (บ่อน้ำร้อนโบราณ) คั่นอยู่ระหว่างกลาง นอกเขตกำแพงเมืองเก่าราชคฤห์ (อดีตเมืองหลวงของแคว้นมคธ) รัฐพิหาร ประเทศอินเดียในปัจจุบัน (หรือแคว้นมคธในสมัยพุทธกาล)[14]

วัดเวฬุวันในสมัยพุทธกาล

เดิมวัดเวฬุวันเป็นพระราชอุทยานสำหรับเสด็จประพาสของพระเจ้าพิมพิสาร เป็นสวนป่าไผ่ร่มรื่นมีรั้วรอบและกำแพงเข้าออก เวฬุวันมีอีกชื่อหนึ่งปรากฏในพระสูตรว่า "พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน"[15] หรือ "เวฬุวันกลันทกนิวาป" (สวนป่าไผ่สถานที่สำหรับให้เหยื่อแก่กระแต)[16] พระเจ้าพิมพิสารได้ถวายพระราชอุทยาน[17] แห่งนี้เป็นวัดในพระพุทธศาสนาหลังจากได้สดับพระธรรมเทศนาอนุปุพพิกถาและจตุราริยสัจจ์[18] ณ พระราชอุทยานลัฏฐิวัน (พระราชอุทยานสวนตาลหนุ่ม) โดยในครั้งนั้นพระองค์ได้บรรลุพระโสดาบัน เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา และหลังจากการถวายกลันทกนิวาปสถานไม่นาน อารามแห่งนี้ก็ได้ใช้เป็นสถานที่สำหรับพระสงฆ์ประชุมจาตุรงคสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา อันเป็นเหตุการณ์สำคัญในวันมาฆบูชา

วัดเวฬุวันหลังการปรินิพพาน

หลังพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน วัดเวฬุวันได้รับการดูแลมาตลอด โดยเฉพาะมูลคันธกุฎีที่มีพระสงฆ์เฝ้าดูแลทำการปัดกวาดเช็ดถูปูลาดอาสนะและปฏิบัติต่อสถานที่ ๆ พระพุทธเจ้าเคยประทับอยู่ทุก ๆ แห่ง เหมือนสมัยที่พระพุทธองค์ทรงพระชนม์ชีพอยู่มิได้ขาด โดยมีการปฏิบัติเช่นนี้ติดต่อกันกว่าพันปี

แต่จากเหตุการณ์ย้ายเมืองหลวงแห่งแคว้นมคธหลายครั้งในช่วง พ.ศ. 70 ที่เริ่มจากอำมาตย์และราษฎรพร้อมใจกันถอดกษัตริย์นาคทัสสก์แห่งราชวงศ์ของพระเจ้าพิมพิสารออกจากพระราชบัลลังก์ และยกสุสูนาคอำมาตย์ซึ่งมีเชื้อสายเจ้าลิจฉวีในกรุงเวสาลีแห่งแคว้นวัชชีเก่า ให้เป็นกษัตริย์ตั้งราชวงศ์ใหม่แล้ว พระเจ้าสุสูนาคจึงได้ทำการย้ายเมืองหลวงของแคว้นมคธไปยังเมืองเวสาลีอันเป็นเมืองเดิมของตน และกษัตริย์พระองค์ต่อมาคือพระเจ้ากาลาโศกราช ผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุสูนาค ได้ย้ายเมืองหลวงของแคว้นมคธอีก จากเมืองเวสาลีไปยังเมืองปาตลีบุตร ทำให้เมืองราชคฤห์ถูกลดความสำคัญลงและถูกทิ้งร้าง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้วัดเวฬุวันขาดผู้อุปถัมภ์และถูกทิ้งร้างอย่างสิ้นเชิงในช่วงพันปีถัดมา[19]

โดยปรากฏหลักฐานบันทึกของหลวงจีนฟาเหียน (Fa-hsien) ที่ได้เข้ามาสืบศาสนาในพุทธภูมิในช่วงปี พ.ศ. 942–947 ในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2 (พระเจ้าวิกรมาทิตย์) แห่งราชวงศ์คุปตะ ซึ่งท่านได้บันทึกไว้ว่า เมืองราชคฤห์อยู่ในสภาพปรักหักพัง แต่ยังทันได้เห็นมูลคันธกุฎีวัดเวฬุวันปรากฏอยู่ และยังคงมีพระภิกษุหลายรูปช่วยกันดูแลรักษาปัดกวาดอยู่เป็นประจำ แต่ไม่ปรากฏว่ามีการบันทึกถึงสถานที่เกิดเหตุการณ์จาตุรงคสันนิบาตแต่ประการใด

แต่หลังจากนั้นประมาณ 200 ปี วัดเวฬุวันก็ถูกทิ้งร้างไป ตามบันทึกของพระถังซำจั๋ง (Hiuen-Tsang) ซึ่งได้จาริกมาเมืองราชคฤห์ราวปี พ.ศ. 1300 ซึ่งท่านบันทึกไว้แต่เพียงว่า ท่านได้เห็นแต่เพียงซากมูลคันธกุฎีซึ่งมีกำแพงและอิฐล้อมรอบอยู่เท่านั้น (ในสมัยนั้นเมืองราชคฤห์โรยราถึงที่สุดแล้ว พระถังซำจั๋งได้แต่เพียงจดตำแหน่งที่ตั้งทิศทางระยะทางของสถูปและโบราณสถานเก่าแก่อื่น ๆ ในเมืองราชคฤห์ไว้มาก ทำให้เป็นประโยชน์แก่นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีในการค้นหาโบราณสถานต่าง ๆ ในเมืองราชคฤห์ในปัจจุบัน)

จุดแสวงบุญและสภาพของวัดเวฬุวันในปัจจุบัน

ปัจจุบันหลังถูกทอดทิ้งเป็นเวลากว่าพันปี และได้รับการบูรณะโดยกองโบราณคดีอินเดียในช่วงที่อินเดียยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ วัดเวฬุวัน ยังคงมีเนินดินโบราณสถานที่ยังไม่ได้ขุดค้นอีกมาก สถานที่สำคัญ ๆ ที่พุทธศาสนิกชนในปัจจุบันนิยมไปนมัสการคือ "พระมูลคันธกุฎี" ที่ปัจจุบันยังไม่ได้ทำการขุดค้น เนื่องจากมีกุโบร์ของชาวมุสลิมสร้างทับไว้ข้างบนเนินดิน, "สระกลันทกนิวาป" ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลอินเดียได้ทำการบูรณะใหม่อย่างสวยงาม, และ "ลานจาตุรงคสันนิบาต" อันเป็นลานเล็ก ๆ มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางประทานพรอยู่กลางซุ้ม ลานนี้เป็นจุดสำคัญที่ชาวพุทธนิยมมาทำการเวียนเทียนสักการะ (ลานนี้เป็นลานที่กองโบราณคดีอินเดียสันนิษฐานว่าพระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ในจุดนี้)[20]

จุดที่เกิดเหตุการณ์สำคัญในวันมาฆบูชา (ลานจาตุรงคสันนิบาต)

ถึงแม้ว่าเหตุการณ์จาตุรงคสันนิบาตจะเป็นเหตุการณ์สำคัญยิ่งที่เกิดในบริเวณวัดเวฬุวันมหาวิหาร แต่ทว่าไม่ปรากฏรายละเอียดในบันทึกของสมณทูตชาวจีนและในพระไตรปิฎกแต่อย่างใดว่าเหตุการณ์ใหญ่นี้เกิดขึ้น ณ จุดใดของวัดเวฬุวัน รวมทั้งจากการขุดค้นทางโบราณคดีก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการทำเครื่องหมาย (เสาหิน) หรือสถูประบุสถานที่ประชุมจาตุรงคสันนิบาตไว้แต่อย่างใด (ตามปกติแล้วบริเวณที่เกิดเหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนา มักจะพบสถูปโบราณหรือเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราชสร้างหรือปักไว้เพื่อเป็นเครื่องหมายสำคัญสำหรับผู้แสวงบุญ) ทำให้ในปัจจุบันไม่สามารถทราบโดยแน่ชัดว่าเหตุการณ์จาตุรงคสันนิบาตเกิดขึ้นในจุดใดของวัด

ในปัจจุบันกองโบราณคดีอินเดียได้แต่เพียงสันนิษฐานว่า "เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดในบริเวณลานด้านทิศตะวันตกของสระกลันทกนิวาป" (โดยสันนิษฐานเอาจากเอกสารหลักฐานว่าเหตุการณ์ดังกล่าวมีพระสงฆ์ประชุมกันมากถึงสองพันกว่ารูป และเกิดในช่วงที่พระพุทธองค์พึ่งได้ทรงรับถวายอารามแห่งนี้ การประชุมครั้งนั้นคงยังต้องนั่งประชุมกันตามลานในป่าไผ่ เนื่องจากเสนาสนะหรือโรงธรรมสภาขนาดใหญ่ยังคงไม่ได้สร้างขึ้น และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันลานด้านทิศตะวันตกของสระกลันทกนิวาป เป็นลานกว้างลานเดียวในบริเวณวัดที่ไม่มีโบราณสถานอื่นตั้งอยู่) โดยได้นำพระพุทธรูปยืนปางประทานพรไปประดิษฐานไว้บริเวณซุ้มเล็ก ๆ กลางลาน และเรียกว่า "ลานจาตุรงคสันนิบาต" ซึ่งในปัจจุบันก็ยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดว่าลานจาตุรงคสันนิบาตที่แท้จริงอยู่ในจุดใด และยังคงมีชาวพุทธบางกลุ่มสร้างซุ้มพระพุทธรูปไว้ในบริเวณอื่นของวัดโดยเชื่อว่าจุดที่ตนสร้างนั้นเป็นลานจาตุรงคสันนิบาตที่แท้จริง แต่พุทธศาสนิกชนชาวไทยส่วนใหญ่ก็เชื่อตามข้อสันนิษฐานของกองโบราณคดีอินเดียดังกล่าว โดยนิยมนับถือกันว่าซุ้มพระพุทธรูปกลางลานนี้เป็นจุดสักการะของชาวไทยผู้มาแสวงบุญจุดสำคัญ 1 ใน 2 แห่งของเมืองราชคฤห์ (อีกจุดหนึ่งคือพระมูลคันธกุฎีบนยอดเขาคิชฌกูฏ)[21]

กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติในวันมาฆบูชา

วันมาฆบูชา พุทธศาสนิกชนชาวไทยนิยมทำบุญตักบาตรในตอนเช้า และตลอดวันจะมีการบำเพ็ญบุญกุศลความดีอื่น ๆ เช่น ไปวัดรับศีล งดเว้นการทำบาปทั้งปวง ถวายสังฆทาน ให้อิสระทาน (ปล่อยนกปล่อยปลา) ฟังพระธรรมเทศนา และไปเวียนเทียนรอบโบสถ์ในเวลาเย็น[5] ปฏิ

โดยก่อนทำการเวียนเทียนพุทธศาสนิกชนควรร่วมกัน ปฏิบัติภาวนา ใน วันพระอุโบสถ ซึ่งเป็น หน้าที่ ตามปกติของชาวพุทธ กล่าวคำสวดมนต์และคำบูชาในวันมาฆบูชา โดยปกติตามวัดต่าง ๆ จะจัดให้มีการทำวัตรสวดมนต์ก่อนทำการเวียนเทียน ซึ่งส่วนใหญ่นิยมทำการเวียนเทียนอย่างเป็นทางการ (โดยมีพระภิกษุสงฆ์นำเวียนเทียน) ในเวลาประมาณ 20 นาฬิกา โดยบทสวดมนต์ที่พระสงฆ์นิยมสวดในวันมาฆบูชาก่อนทำการเวียนเทียนนิยมสวด (ทั้งบาลีและคำแปล) ตามลำดับดังนี้

  1. บทบูชาพระรัตนตรัย (บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:อรหัง สัมมา ฯลฯ)
  2. บทนมัสการนอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า (นะโม ฯลฯ ๓ จบ)
  3. บทสรรเสริญพระพุทธคุณ (บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:อิติปิโส ฯลฯ)
  4. บทสรรเสริญพระพุทธคุณ สวดทำนองสรภัญญะ (บทสวดสรภัญญะที่ขึ้นต้นด้วย:องค์ใดพระสัมพุทธ ฯลฯ)
  5. บทสรรเสริญพระธรรมคุณ (บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:สวากขาโต ฯลฯ)
  6. บทสรรเสริญพระธรรมคุณ สวดทำนองสรภัญญะ (บทสวดสรภัญญะที่ขึ้นต้นด้วย:ธรรมมะคือ คุณากร ฯลฯ)
  7. บทสรรเสริญพระสังฆคุณ (บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:สุปฏิปันโน ฯลฯ)
  8. บทสรรเสริญพระสังฆคุณ สวดทำนองสรภัญญะ (บทสวดสรภัญญะที่ขึ้นต้นด้วย:สงฆ์ใดสาวกศาสดา ฯลฯ)
  9. บทสวดบูชาเนื่องในวันมาฆบูชา (บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:อัชชายัง ฯลฯ)[22]

จากนั้นจุดธูปเทียนและถือดอกไม้เป็นเครื่องสักการบูชาในมือ แล้วเดินเวียนรอบปูชนียสถาน 3 รอบ โดยขณะที่เดินนั้นพึงตั้งจิตให้สงบ พร้อมสวดระลึกถึงพระพุทธคุณ ด้วยการสวดบทอิติปิโส (รอบที่หนึ่ง) ระลึกถึงพระธรรมคุณ ด้วยการสวดสวากขาโต (รอบที่สอง) และระลึกถึงพระสังฆคุณ ด้วยการสวดสุปะฏิปันโน (รอบที่สาม) จนกว่าจะเวียนจบ 3 รอบ จากนั้นนำธูปเทียนดอกไม้ไปบูชาตามปูชนียสถานจึงเป็นอันเสร็จพิธี

การกำหนดให้วันมาฆบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาในประเทศไทย

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้ดำริให้มีพิธีมาฆบูชาขึ้นเป็นครั้งแรกของไทย

การประกอบพิธีในวันมาฆบูชาได้เริ่มมีขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์ทรงเล็งเห็นว่าวันนี้เป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญในพระพุทธศาสนา คือเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ฯลฯ ควรจะได้มีการประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา โดยในครั้งแรกนั้นได้ทรงกำหนดเป็นเพียงการพระราชพิธีบำเพ็ญกุศลเป็นการภายใน แต่ต่อมาประชาชนก็ได้นิยมนำพิธีนี้ไปปฏิบัติสืบต่อมาจนกลายเป็นวันประกอบพิธีสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่งไป

เนื่องจากในประเทศไทย พุทธศาสนิกชนได้มีการประกอบพิธีในวันมาฆบูชาสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 และนับถือกันโดยพฤตินัยว่าวันนี้เป็นวันสำคัญวันหนึ่งในทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทยมาตั้งแต่นั้น[23] โดยเมื่อถึงวันนี้พุทธศาสนิกชนจะร่วมใจกันประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ กันเป็นงานใหญ่ ดังนั้นเมื่อถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์จึงทรงประกาศให้วันมาฆบูชาเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์[3] สำหรับชาวไทยจะได้ร่วมใจกันบำเพ็ญกุศลในวันมาฆบูชาโดยพร้อมเพรียง

ในปัจจุบันยังคงปรากฏการประกอบพิธีมาฆบูชาอยู่ในประเทศไทยและประเทศที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย เช่น ลาว และกัมพูชา (ซึ่งเป็นส่วนที่ไทยได้เสียให้แก่ฝรั่งเศสในสมัยรัชกาลที่ 5) โดยไม่ปรากฏว่ามีการประกอบพิธีนี้ในประเทศพุทธมหายานอื่นหรือประเทศพุทธเถรวาทนอกนี้ เช่น พม่า และศรีลังกา ซึ่งคงสันนิษฐานได้ว่า พิธีมาฆบูชานี้เริ่มต้นจากการเป็นพระราชพิธีของราชสำนักไทยและได้ขยายไปเฉพาะในเขตราชอาณาจักรสยามในเวลานั้น ต่อมาดินแดนไทยในส่วนที่เป็นประเทศลาวและกัมพูชาได้ตกเป็นดินแดนในอารักขาของฝรั่งเศส และได้รับเอกราชในเวลาต่อมา พุทธศาสนิกชนในประเทศทั้งสองที่ได้รับคตินิยมการปฏิบัติพิธีมาฆบูชาตั้งแต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยาม คงได้ถือปฏิบัติพิธีมาฆบูชาอย่างต่อเนื่องโดยไม่ได้มีการยกเลิก จึงทำให้คงปรากฏพิธีมาฆบูชาในประเทศดังกล่าวจนถึงปัจจุบัน

วันมาฆบูชาในปฏิทินสุริยคติ

ปี วันที่ วันที่ วันที่
ปีชวด 4 มีนาคม พ.ศ. 2539 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
ปีฉลู 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
ปีขาล 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
ปีเถาะ 1 มีนาคม พ.ศ. 2542 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 6 มีนาคม พ.ศ. 2566
ปีมะโรง 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 7 มีนาคม พ.ศ. 2555 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
ปีมะเส็ง 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568
ปีมะเมีย 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 4 มีนาคม พ.ศ. 2569
ปีมะแม 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 4 มีนาคม พ.ศ. 2558 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2570
ปีวอก 5 มีนาคม พ.ศ. 2547 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2571
ปีระกา 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2572
ปีจอ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 1 มีนาคม พ.ศ. 2561 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2573
ปีกุน 3 มีนาคม พ.ศ. 2550 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 8 มีนาคม พ.ศ. 2574

การประกอบพิธีทางศาสนาในวันมาฆบูชา

พระราชพิธี

ไฟล์:ทรงพระราชกุศล.jpg
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลในวันมาฆบูชานี้ โดยปกติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช เป็นองค์ประธานในการพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล และบางครั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จแทน โดยสถานที่ประกอบพระราชพิธีจะจัดในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สำนักพระราชวังจะออกหมายกำหนดการประกาศการพระราชพิธีนี้ให้ทราบทั่วไปเป็นประจำทุกปี ในอดีตจะใช้ชื่อเรียกการพระราชพิธีในราชกิจจานุเบกษาแตกต่างกัน บางครั้งจะใช้ชื่อ "การพระราชกุศลมาฆบูชาจาตุรงคสันนิบาต"[24] หรือ "การพระราชกุศลมาฆบูชา"[25] หรือแม้ "มาฆบูชา"[26] ส่วนในรัชกาลปัจจุบัน สำนักพระราชวังจะใช้ชื่อเรียกหมายกำหนดการที่ชัดเจน เช่น "หมายกำหนดการ พระราชกุศลมาฆบูชา พุทธศักราช ๒๕๒๒"[27]

รายละเอียดการประกอบพระราชพิธีนี้ในพระราชนิพนธ์พระราชพิธีสิบสองเดือน[28] ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชาธิบายเกี่ยวกับการพระราชพิธีในเดือนสาม คือพระราชพิธีบำเพ็ญกุศลในวันมาฆบูชาไว้ มีใจความว่า

“เวลาเช้า พระสงฆ์วัดบวรนิเวศและวัดราชประดิษฐ ๓๐ รูป ฉันในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เวลาค่ำเสด็จออกทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการแล้ว พระสงฆ์สวดทำวัตรเย็นเหมือนอย่างที่วัด แล้วจึงได้สวดมนต์ต่อไป มีสวดคาถาโอวาทปาฏิโมกข์ด้วย สวดมนต์จบทรงจุดเทียนรายตามราวรอบพระอุโบสถ ๑,๒๕๐ เล่ม มีประโคมด้วยอีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงมีเทศนาโอวาทปาฏิโมกข์กัณฑ์ ๑ เป็นเทศนาทั้งภาษามคธและภาษาสยาม เครื่องกัณฑ์จีวรเนื้อดีผืนหนึ่ง เงิน ๓ ตำลึงและขนมต่าง ๆ เทศน์จบพระสงฆ์สวดมนต์รับสัพพี ๓๐ รูป”[29]

ในรัชกาลต่อมาได้มีการลดทอดพิธีบางอย่างออกไปบ้าง เช่น ยกเลิกการถวายภัตตาหารพระสงฆ์ในเวลาเช้า หรือการจุดเทียนราย 1,250 เล่ม เป็นต้น แต่ก็ยังคงมีการบำเพ็ญพระราชกุศลในวัดพระศรีรัตนศาสดารามเหมือนเคย โดยในบางปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชจะทรงประกอบพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลมาฆบูชาและทรงเวียนเทียนรอบพุทธศาสนสถานเป็นการส่วนพระองค์ตามพระอารามหลวงหรือวัดราษฎร์อื่น ๆ บ้าง ตามพระราชอัธยาศัย[30] ซึ่งการพระราชพิธีนี้เป็นการแสดงออกถึงพระราชศรัทธาอันแน่นแฟ้นในพระพุทธศาสนา ขององค์พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็นเอกอัครพุทธศาสนูปถัมภ์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

พิธีสามัญ

วันมาฆบูชา บางครั้งเรียกกันในภาษาปากว่า วันเวียนเทียน เพราะเป็นวันที่ชาวพุทธในประเทศไทยนิยมไปทำบุญและเวียนเทียนรอบพุทธศาสนสถานที่วัดในเวลาค่ำของวันนี้

การประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาเนื่องในวันมาฆบูชาของพุทธศาสนิกชนชาวไทย โดยทั่วไปนิยมทำบุญตักบาตร ปฏิบัติภาวนา ฟังพระธรรมเทศนา เวียนเทียนรอบอุโบสถหรือสถูปเจดีย์พุทธสถานต่าง ๆ ภายในวัด เพื่อเป็นการระลึกถึงวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนาในวัน ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3

พุทธศาสนิกชนชาวไทยนิยมนับถือเอาวันนี้เป็นวันสำคัญในการละเว้นความชั่ว บำเพ็ญความดี ทำใจให้ผ่องใส ตามแนวทางพระบรมพุทโธวาท โดยมีแนวปฏิบัติในการประกอบพิธีในวันมาฆบูชาคล้ายกับการประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา คือมีการตั้งใจบำเพ็ญกุศลทำบุญตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนาและเจริญจิตตภาวนาในวันนี้ เมื่อตกกลางคืนก็มีการเวียนเทียนถวายเป็นพุทธบูชาตามอารามต่าง ๆ และอาจมีการบำเพ็ญปกิณณกะกุศลต่าง ๆ ตลอดคืนตามแต่จะเห็นสมควร

การประกอบพิธีวันมาฆบูชาในปัจจุบันนี้นอกจากการเวียนเทียน ทำบุญตักบาตร ในวันสำคัญแล้ว ยังมีหน่วยงานภาครัฐ องค์กรทางศาสนา และภาคประชาชน ร่วมกันจัดกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้นมากมาย เพื่อเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและประชาสัมพันธ์กิจกรรมทางพระพุทธศาสนาต่าง ๆ ให้แก่ประชาชน เช่น กิจกรรมสัปดาห์เผยแผ่พระพุทธศาสนาวันมาฆบูชา ณ ท้องสนามหลวง หรือตามวัดในจังหวัดต่าง ๆ เป็นต้น

วันสำคัญอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับวันมาฆบูชา

วันคล้ายวันปลงพระชนมายุสังขาร

ปาวาลเจดีย์ เมืองเวสาลี สถานที่ ๆ พระพุทธองค์ทรงทำการปลงพระชนมายุสังขารในวันเพ็ญเดือนสามแห่งพรรษาสุดท้ายของพระชนมชีพ

นอกจากเหตุการณ์จาตุรงคสันนิบาตในวันเพ็ญเดือน 3 ในพรรษาแรกของพระพุทธเจ้าแล้ว ในวันเพ็ญเดือน 3 แห่งพรรษาสุดท้ายของพระพุทธเจ้า (คราวที่ทรงพระชนมายุ 80 พรรษา) ก็ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้นอีกเหตุการณ์หนึ่งคือ พระพุทธองค์ได้ทรง ปลงพระชนมายุสังขาร พระศาสดาเสด็จพักผ่อนกลางวัน ณ ปาวาลเจดีย์ ทรงแสดงนิมิตโอภาสแก่พระอานนท์ว่า ผู้ใดเจริญอิทธิบาท 4 ประการ อาจมีอายุยืนได้ถึงกัป แต่พระอานนท์มิได้ทูลอาราธนา เมื่อพระอานนท์ออกไป มารจึงได้มาอาราธนาให้นิพพาน พระองค์ทรงมีสติสัมปชัญญะ ปลงอายุสังขาร ณ ปาวาลเจดีย์ว่า อีก 3 เดือนจะเสด็จปรินิพพาน เกิดเหตุแผ่นดินไหว เมื่อพระอานนท์ทราบ จึงกราบทูลอาราธนาให้ทรงพระชนม์ชีพอยู่อีก แต่พระศาสดาตรัสว่า มิใช่กาล เพราะได้ทรงแสดงนิมิตแล้วถึง 16 ครั้ง ทรงทำนายว่าในวันเพ็ญเดือน 6 ที่จะมาถึง พระองค์จะเข้าสู่มหาปรินิพพาน จึงถือได้ว่าวันมาฆบูชาเป็น วันคล้ายวันสำคัญของพระพุทธศาสนาสองเหตุการณ์สำคัญ คือวันที่พระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ และวันที่ทรงทำการปลงพระชนมายุสังขาร

หมายเหตุ:โดยทั่วไปจะทราบแต่เพียงว่าวันนี้เป็นวันที่พระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์เท่านั้น

วันกตัญญูแห่งชาติ (ประเทศไทย)

ในปี พ.ศ. 2549 รัฐบาลไทยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของวันมาฆบูชา (ที่อาจถือได้ว่าเป็นวันแห่งความรักของพระพุทธศาสนา) โดยถือว่าเหตุการณ์สำคัญที่เหล่าพระสาวกทั้ง 1,250 รูป ได้กลับมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าด้วยความรักในพระองค์หลังจากได้ออกไปเผยแพร่พระศาสนาโดยมิได้นัดหมายดังกล่าวเป็นสิ่งที่แสดงถึงความกตัญญูกตเวทีอันบริสุทธิ์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาในปฏิทินจันทรคติในวันเพ็ญเดือนสาม มักจะตกใกล้กับช่วง"เทศกาลวาเลนไทน์" อันเป็นเทศกาลวันแห่งความรักของคริสต์ศาสนา ซึ่งวัยรุ่นไทยบางกลุ่มมักยึดถือคติค่านิยมวันแห่งความรักในวันวาเลนไทน์ผิด ๆ โดยนิยมยึดถือกันว่าเป็นวันแห่งความรักของคนหนุ่มสาว หรือแม้กระทั่งถือว่าเป็น "วันเสียตัวแห่งชาติ"[31] ซึ่งส่งผลกระทบต่อค่านิยมทางจริยธรรมและศีลธรรมของวัยรุ่นไทย รัฐบาลไทยในสมัยนั้นจึงได้ประกาศให้วันมาฆบูชาเป็นวันกตัญญูแห่งชาติ "เพื่อส่งเสริมค่านิยมที่เหมาะสมแก่วัยรุ่นไทย ให้หันมาสนใจกับความรักอันบริสุทธิ์ที่ไม่หวังสิ่งตอบแทน" แทนที่จะไปมัวเมากับความรักใคร่ชู้สาวหรือเรื่องฉาบฉวยทางเพศของหนุ่มสาว อันจะก่อให้เกิดปัญหาแก่สังคมตามมา

การผลักดันให้มีวันกตัญญูแห่งชาติมีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2546 เคยมีการตั้งกระทู้ถามในสภาผู้แทนราษฎรให้พิจารณากำหนดให้มีวันกตัญญูแห่งชาติ แต่ถูกปฏิเสธจากผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยอ้างว่า ในประเทศไทยมีวันสำคัญแห่งชาติที่เกี่ยวกับการแสดงความกตัญญูมากพอแล้ว[32] ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 นักพูดชื่อดังหลายคน เช่น ดร.ผาณิต กันตามระ นายสุรวงศ์ วัฒนกุล ดร.อภิชาติ ดำดี นายเฉลิมชัย จารุไพบูลย์ ดร.โอภาส กิจกำแหง และนายถาวร โชติชื่น ได้ร่วมกันทำหนังสือถึงคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติขอให้ส่งเสริมให้วันมาฆบูชาเป็นวันกตัญญูแห่งชาติอีกวันหนึ่งด้วย และได้รับการตอบรับจากผู้เกี่ยวข้อง[33]

วันกตัญญูแห่งชาตินี้ นอกจากเพื่อแสดงออกถึงวันแห่งความรักอันบริสุทธิ์ของชาวพุทธแล้ว ยังเพื่อส่งเสริมค่านิยมให้คนไทยยึดถือความกตัญญู โดยอาจมีการพูดคุย ส่งบัตรอวยพร มอบของขวัญหรือช่อดอกไม้แก่ผู้มีพระคุณ เป็นการแสดงความระลึกถึงพระคุณด้วยความหวังดีของผู้ให้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ การแสดงออกซึ่งน้ำใจหรือคำพูดก็ตาม

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "Sangha Day". BBC. 7 May 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 December 2018.
  2. Artley, Malvin (2014). The Full Moons: Topical Letters In Esoteric Astrology. eBookIt.com. ISBN 978-1-4566-2227-5.
  3. 3.0 3.1 3.2 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกำหนดวันหยุดราชการ นักขัตฤกษ์ประจำปี (พระพุทธศักราช ๒๔๕๖), เล่ม ๓๐, ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๖, หน้า ๕๓๓
  4. Irons 2008, p. 199.
  5. 5.0 5.1 วันสำคัญของเรา, กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ, พ.ศ. 2520, หน้า 6
  6. 6.0 6.1 อรรถกถาทีฆนขสูตร, อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ปริพพาชกวรรค
  7. พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช), พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
  8. จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ.พระราชพิธีสิบสองเดือน .พิมพ์ครั้งที่ 14, 41 : ศิลปาบรรณาคาร, 2516
  9. ราชกิจจานุเบกษา, หมายกำหนดการ พระราชกุศลมาฆบูชา พุทธศักราช ๒๕๕๑, เล่ม ๑๒๕, ตอน ๗ ข, ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑, หน้า ๑๐
  10. 10.0 10.1 พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปทานสูตร
  11. อรรถกถามหาปทานสูตร, อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค
  12. ความเป็นมาวันมาฆบูชา.เว็บไซต์เรียนพระไตรปิฎก
  13. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548,หน้า 241-3
  14. Bagri, S.C. Buddhist Pilgrimages & Tours in India. Nodida : Trishul Publication, 1992
  15. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ธนัญชานิสูตร
  16. อรรถกถาพระไตรปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ โอปัมมวรรค อรรถกถารถวินีตสูตร
  17. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ ทรงรับพระเวฬุวันเป็นสังฆิกาวาส
  18. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑
  19. พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต).พุทธสถานในอินเดีย - เวฬุวันมหาวิหาร เมืองราชคฤห์. กรุงเทพ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2541.
  20. ไพโรจน์ คุ้มไพโรจน์.ตามรอยบาทพระศาสดา. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์ธรรมสภา, 2539.
  21. อมตานันทะ,พระ และคณะ. เอกสารโครงการค้นคว้าพุทธสถานในแดนพุทธองค์ทางวิชาการ. กรุงเทพมหานคร : เอกสารตีพิมพ์ถ่ายสำเนาจากต้นฉบับ, ม.ป.ป.
  22. วันสำคัญทางศาสนา วันมาฆบูชา เก็บถาวร 2009-02-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เว็บไซต์ศูนย์กลางความรู้แห่งชาติ (TKC:Thailand Knowledge Center). เรียกข้อมูลเมื่อ 23-1-52
  23. เทวประภาส มากคล้าย เปรียญ.. สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น : ประเพณีวัฒนธรรมและพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของวัดและหมู่บ้านคุ้งตะเภา. อุตรดิตถ์: วัดคุ้งตะเภา, ๒๕๕๑.
  24. ราชกิจจานุเบกษา, การพระราชกุศลมาฆบูชาจาตุรงคสันนิบาต, เล่ม ๓๒, ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๘, หน้า ๒๙๒๐
  25. ราชกิจจานุเบกษา, การพระราชกุศลมาฆบูชา, เล่ม ๒๘, ๑๐ มีนาคม ร.ศ. ๑๓๐, หน้า ๒๖๔๔
  26. ราชกิจจานุเบกษา, มาฆบูชา, เล่ม ๕, ตอนที่ ๕๗, ๘ เมษายน จ.ศ.๑๘๘๘, หน้า ๔๑๔
  27. ราชกิจจานุเบกษา, หมายกำหนดการ พระราชกุศลมาฆบูชา พุทธศักราช ๒๕๒๒, เล่ม ๙๖, ตอนที่ ๑๗, ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๒, ฉบับพิเศษ หน้า ๒๗
  28. เบญจมาศ พลอินทร์.2523.วรรณคดีขนบประเพณี พระราชพิธีสิบสองเดือน.กรุงเทพฯ.สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
  29. จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระ 2396-2453.2506.พระราชพิธีสิบสองเดือน/พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.พระนคร.องค์การค้าของคุรุสภา.
  30. ประวัติการประกอบพิธีมาฆบูชา เก็บถาวร 2009-02-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. เรียกข้อมูลเมื่อวันที่ 23-1-52
  31. เพศสัมพันธ์ วันเทศกาล ฮิต Poll ระบุ วันเสียตัวแห่งชาติ. สำนักพิมพ์ข่าวสด. เรียกข้อมูลวันที่ 24-1-52
  32. ราชกิจจานุเบกษา, กระทู้ถามที่ ๑๒๑๙ ร. เรื่อง การกำหนดให้มีวันกตัญญูแผ่นดินในประเทศไทย ของ นายเปรมศักดิ์ เพียยุระ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, เล่ม ๑๒๐, ตอนที่ ๑๑๒ ก, ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๖, หน้า ๓๒
  33. “วันกตัญญูแห่งชาติ”. หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ ฉบับที่ 768 ประจำวันที่ 17-2-2007 ถึง 20-2-2007. เรียกข้อมูลวันที่ 24-1-52

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น