สถูปสาญจี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สาญจิ)
กลุ่มพุทธสถานแห่งสาญจี *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
File:Sanchi_Great_Stupa_Torana.jpg
ประตูโตรณะด้านทิศตะวันออกของสถูปสาญจี
สาญจีตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
สาญจี
สาญจี
สาญจี (ประเทศอินเดีย)
ที่ตั้งของสถูปสาญจี ประเทศอินเดีย
พิกัด23°28′50″N 77°44′11″E / 23.480656°N 77.736300°E / 23.480656; 77.736300พิกัดภูมิศาสตร์: 23°28′50″N 77°44′11″E / 23.480656°N 77.736300°E / 23.480656; 77.736300
ประเทศรัฐมัธยประเทศ อินเดีย ประเทศอินเดีย
ภูมิภาค **เอเชีย
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(i)(ii)(iii)(iv)(vi)
อ้างอิง524
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียนพ.ศ. 2532 (คณะกรรมการสมัยที่ 13)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

สถูปสาญจี (ฮินดี: साँची का स्तूप ; อังกฤษ: Sanchi) คำว่าสาญจี คือชื่อหมู่บ้านเล็ก ๆ ในเขตรายเสน ของรัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 46 กิโลเมตร จากเมืองโภปาล และ 10 กิโลเมตรจากเมืองวิทิศา ในส่วนกลางของรัฐมัธยประเทศ ซึ่งเป็นที่ตั้งของอนุสรณ์สถานทางพระพุทธศาสนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 ถึงพุทธศตวรรษที่ 12 และเป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญในการแสวงบุญของชาวพุทธในดินแดนพุทธภูมิ

สถูปแห่งนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า กลุ่มพุทธสถานแห่งสาญจี (Buddhist Monuments at Sanchi) ซึ่งเป็นมรดกโลกที่รักษาไว้เป็นอย่างดี โดยเปิดทำการให้สาธารณะเข้าชมในเวลา 8.00 –17.00 น.[1]

มหาสถูปสาญจี คือโครงสร้างหินเก่าแก่ที่สุดในอินเดีย ซึ่งสร้างโดยคำสั่งของพระเจ้าอโศกมหาราช ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 แกนกลางของสถูป คือโครงสร้างอิฐรูปครึ่งวงกลมที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ด้านบนของสถูปปัก ฉัตรวลี (ร่มหลายชั้นที่ปักอยู่บนยอดสถูป) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกความสำคัญของสถูปนี้ สถูปแห่งนี้จึงสร้างขึ้นเพื่อเป็นการให้เกียรติและที่เก็บรักษาพระบรมสารีริกธาตุ ซุ้มประตูโตรณะทั้ง 4 ด้านแกะสลักและตกแต่งอย่างหรูหรา และมีราวระเบียงล้อมรอบทั้งสถูป

ประตูโตรณะ[แก้]

ประตูโตรณะ

สถูปสาญจีมีซุ้มประตูอยู่โดยรอบ เรียกว่าโตรณะ ลวดลายของซุ้มประตูเหล่านี้นำเสนอแนวคิดเรื่องความรัก สันติ ความจริง ความกล้า[2] ประตูและระเบียงรอบสถูปสร้างโดยราชวงศ์สาตวาหนะ ซึ่งมีศิลาจารึกปรากฏอยู่ตรงขอบบนสุดของประตูโตรณะทางทิศใต้ โดยช่างฝีมือของกษัตริย์ศาตกณี [en] กษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์สาตวาหนะ

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Buddhist Monuments at Sanchi". UNESCO World Heritage Centre.
  2. Parul Pandya Dhar (1 ธันวาคม 2010). The Torana in Indian and Southeast Asian Architecture. New Delhi: D K Print World. ISBN 978-8124605349.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]