ปปัญจสูทนี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปปัญจสูทนี คือ คัมภีร์อรรถกถาที่อธิบายความในมัชฌิมนิกายแห่งพระสุตตันตปิฎก พระพุทธโฆสะเป็นผู้เรียบเรียงขึ้นจากอรรถกถาภาษาสิงหฬ เมื่อราว พ.ศ. 1,000 [1] โดยอาศัยอรรกถาเก่าภาษาสิงหลที่แปลมาจากภาษมคธหรือภาษาบาลีมาแต่เดิม แต่ต่อมาต้นฉบับสูญหายไปพระพุทธโฆษาจารย์จึงเดินทางไปยังลังกาทวีปเพื่อแปลอรรกถาเหล่านี้กลับคืนเป็นภาษาบาลีอีกครั้ง ทั้งนี้ ชื่อคัมภีร์ "ปปัญจสูทนี" มีหมายความว่า การไขความกระจ่างแก่อุปสรรคแก่ความก้าวหน้าทางจิต [2] [3]

ที่มา[แก้]

พระพุทธโฆษาจารย์ หรือพระพุทธโฆสะ ได้รจนาคัมภีร์นี้ขึ้นตามคำอาราธนาของพระพุทธมิตตะเถระ[4] เริ่มต้นคัมภีร์ พระพุทธโฆษาจารย์ได้เกริ่นถึงที่มาที่ไปของการรจนาปปัญจสูทนี กล่าวคือ เป็นการแปลจากอรรถกาเดิมที่พระอรหันต์ผู้เชี่ยวชาญ 500 องค์สังคายนาเป็นภาษามคธ หรือภาษาบาลีไว้ตอนปฐมสังคายนา รวมถึงที่พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายสังคายนาเพิ่มเติมในเวลาต่อมา เพื่อเนื้อความแห่งพระสูตร มัชฌิมนิกาย ต่อมาพระมหินทเถระได้นำอรรถกถาเหล่านี้มาเผยแผ่ที่ลังกาทวีป แล้วแปลเป็นภาษาสิงหล เพื่อยังประโยชน์แก่ชาวลังกา ในเวลาต่อมาอรรถกาเดิมในภาษามคธสูญหายไป พระพุทธโฆษาจารย์จึงเดินทางมาลังกาเพื่อแปลอรรถกาต่างๆ รวมถึงอรรถกถาที่อธิบายมัชฌิมนิกาย กลับเป็นภาษาบาลีอีกครั้ง นอกจากนี้ ในการแปลครั้งนี้ พระพุทธโฆษาจารย์ยังประกาศว่า อรรถกาเนื้อความมีความสอดคล้องกับคำสอนของพระเถระคณะวัดมหาวิหาร ซึ่งรักษาคำสอนตามแนวทางพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทไว้อย่างครบถ้วน [5]

เนื้อหา[แก้]

ปปัญจสูทนี มีลักษณะเดียวกับคัมภีร์อรรถกถาอื่นๆ กล่าวคือ ผู้รจนา จะกล่าวถึงเบื้องหลังที่มีการแสดงพระสูตรนั้น มีการอธิบายคำศัพท์สำคัญในพระสูตร และมีการอธิบายเพิ่มเติม ซึ่งรายละเอียดของข้อธรรมซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงในพระสูตรนั้น ๆ โดยในที่นี้จะมีการแบ่งเนื้อหาโดยสรุปของปปัญจสูทนี ตามลักษณะการแบ่งหมวดหมู่ของมัชฌิมนิกาย ดังนี้

อรรถกถามูลปริยายวรรค (10 สูตร)

อรรถกถาสีหนาทวรรค (10 สูตร)

อรรถกถาโอปัมมวรรค (10 สูตร)

อรรถกถามหายมกวรรค (10 สูตร)

อรรถกถาจูฬยมกวรรค (10 สูตร)

  • ปปัญจสูทนี อรรถกามัชฌิมนิกาย หมวดมัชฌิมปัณณาสก์

อรรถกถาคหปติวรรค (10 สูตร)

อรรถกถาภิกขุวรรค (10 สูตร)

อรรถกถาปริพพาชกวรรค (10 สูตร)

อรรถกถาราชวรรค (10 สูตร)

อรรถกถาพราหมณวรรค (10 สูตร)

  • ปปัญจสูทนี อรรถกามัชฌิมนิกาย หมวดอุปริปัณณาสก์

อรรถกถาเทวทหวรรค (10 สูตร)

อรรถกถาอนุปทวรรค (10 สูตร)

อรรถกถาสุญญตวรรค (10 สูตร)

อรรถกถาวิภังควรรค (10 สูตร)

อรรถกถาสฬายตนวรรค (10 สูตร)

อ้างอิง[แก้]

  1. พระพรหมคุณาภรณ์ หน้า 200
  2. ดู "papanca" ใน palikanon.com
  3. Jayarava Attwood. (2012)
  4. Bimala Charan Law. (1923). หน้า 79
  5. พระไตรปิฎกมหามกุฏราชวิทยาลัย. ปปัญจสูทนี. อรรถกถา พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย หน้า 16 - 17

บรรณานุกรม[แก้]

  • พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2550). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร.
  • Jayarava Attwood. (2012). Proliferation : An exploration of the concept of papanca in the Pali Suttas with translations of relevant texts.
  • พระไตรปิฎกมหามกุฏราชวิทยาลัย. ปปัญจสูทนี. อรรถกถา พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย
  • สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2550). พระไตรปิฎกฉบับประชาชน. กรุงเทพมหานคร. กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม.
  • พระศรีปริยัติโมลี. (2542). เก็บเพชรจากคัมภีร์พระไตรปิฎก. กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หน้า 129 - 144
  • Bimala Charan Law. (1923). The Life and Work of Buddhaghosa. Calcutta : Thacker, Spink & Co.

ตัวบทคัมภีร์[แก้]

ปปญจสูทนี (บาลี)

ปปญจสูทนี ๑

ปปญจสูทนี ๒

ปปญจสูทนี ๓