แอร์บัส เอ330นีโอ
แอร์บัส เอ330นีโอ | |
---|---|
แอร์บัส เอ330-900 ของอาซูลบราซิลเลียนแอร์ไลน์ | |
ข้อมูลทั่วไป | |
บทบาท | อากาศยานไอพ่นลำตัวกว้าง |
บริษัทผู้ผลิต | แอร์บัส |
สถานะ | ในประจำการ |
ผู้ใช้งานหลัก | เดลตาแอร์ไลน์ ตัปแอร์ปูร์ตูกัล ค็อนดอร์ อิตาแอร์เวย์ |
จำนวนที่ผลิต | 139 ลำ (กรกฎาคม ค.ศ. 2024)[1] |
ประวัติ | |
สร้างเมื่อ | ค.ศ. 2015-ปัจจุบัน |
เริ่มใช้งาน | 15 ธันวาคม ค.ศ. 2018 โดยตัปแอร์ปูร์ตูกัล |
เที่ยวบินแรก | 19 ตุลาคม ค.ศ. 2017 |
พัฒนาจาก | แอร์บัส เอ330ซีอีโอ |
แอร์บัส เอ330นีโอ (อังกฤษ: Airbus A330neo) ("นีโอ (Neo)" ย่อจาก New Engine Option แปลว่า ตัวเลือกเครื่องยนต์แบบใหม่) เป็นรุ่นของอากาศยานไอพ่นลำตัวกว้างสองเครื่องยนต์ ผลิตโดยแอร์บัสแอสอาแอส แอร์บัส โดยเป็นการพัฒนามาจากแอร์บัส เอ330ซีอีโอ[2] รุ่นนีโอจะใช้เครื่องยนต์โรลส์-รอยซ์ เทรนต์ 7000 ที่ทันสมัย ซึ่งมีอัตราบายพาสมากกว่ารุ่นก่อนหน้าเป็นเท่าตัว แอร์บัสเปิดตัวโครงการเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2014 ในงานฟาร์นโบโรห์อินเตอร์แนชนัลแอร์โชว์ โดยโฆษณาไว้ว่าจะมีอัตราการใช้เชื้อเพลิงต่อที่นั่งดีขึ้นจากรุ่นก่อนหน้า 14%
ทั้งสองรุ่นของตระกูลเอ330นีโอจะมีพื้นฐานมาจากเอ330-200 และ -300 รุ่น -800 จีมีพิสัยการบิน 8,150 nmi (15,090 km; 9,380 mi) และจุผู้โดยสารได้ 257 ที่นั่ง ในขณะที่รุ่น -900 สามารถทำการบินได้ 7,200 ไมล์ทะเล (13,130 กิโลเมตร; 8,290 ไมล์) โดยมีความจุ 287 ทีนั่ง รุ่น -900 ทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ. 2017 รับการรับรองจาก EASA เมื่อวันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 2018 และส่งมอบให้กับตัปแอร์ปูร์ตูกัลเป็นสายแรกในวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 2018 และเริ่มเข้าประจำการในวันที่ 15 ธันวาคม รุ่น -800 ทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 2018 รับการรับรองจาก EASA เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 เอ330-800 สองลำแรกได้ส่งมอบให้แก่คูเวตแอร์เวย์ในวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 2020 และเข้าประจำการในวันที่ 20 พฤศจิกายน ข้อมูลเมื่อ กรกฎาคม 2024[update] มีคำสั่งสั่งซื้อสำหรับเครื่องบินตระกูลแอร์บัส เอ330นีโอจำนวน 326 ลำโดยลูกค้า 25 ราย โดยได้ส่งมอบแล้ว 139 ลำ
รุ่น
[แก้]เอ330-800
[แก้]แอร์บัส เอ330-800 มีพื้นฐานมาจาก แอร์บัส เอ330-200 โดยมีการปรับเปลี่ยนห้องโดยสาร เครื่องยนต์เทรนต์ 7000 ของโรลส์-รอยซ์ที่ใหญ่ขึ้น และการปรับปรุงด้านอากาศพลศาสตร์[3] รุ่น -800นีโอ จะมีขนาดเล็กกว่ารุ่น -900นีโอ เที่ยวบินแรกของ เอ330-800 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 2018[4] แอร์บัส เอ330-800 สองลำแรกได้ส่งมอบให้กับคูเวตแอร์เวย์ ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2020
เอ330-900
[แก้]แอร์บัส เอ330-900 มีพื้นฐานจากเอ330-300 และมีขนาดใกล้เคียงกับเอ340-300 โดยการปรับปรุงห้องโดยสารทำให้เอ330-900 สามารถเพิ่มที่นั่งได้สิบแถวจากรุ่นเดิม (310 ที่นั่ง)[5] รุ่น -900 มีพิสัยการบิน 7,200 ไมล์ทะเล (13,130 กิโลเมตร; 8,290 ไมล์) ด้วยความจุผู้โดยสารสูงสุด 440 ที่นั่ง[6]
เดลตาคาดว่าจะลดต้นทุนการดำเนินงานต่อที่นั่งได้ร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับโบอิง 767-300อีอาร์ที่จะถูกทดแทน[7]
การปรับโครงสร้างใหม่ของสิ่งอำนวยความสะดวกในห้องโดยสารทำให้เครื่องบินรุ่น -900 สามารถรองรับผู้โดยสารได้มากถึง 460 คนในรูปแบบชั้นประหยัด[8] ซึ่งเกินกว่าขีดจำกัดทางออกสูงสุด 440 ที่นั่งที่มีอยู่เดิมที่อนุญาตตามใบรับรองประเภท และต้องมีการดัดแปลงประตูทางออกประเภท A เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดทางออกฉุกเฉิน[9] ในเดือนพฤศจิกายน 2562 จำนวนที่นั่งสูงสุดได้เพิ่มขึ้นเป็น 460 ที่นั่ง โดยติดตั้งทางออกใหม่แบบ 'Type-A+' พร้อมสไลด์อพยพสองช่องทาง[10]
เครื่องบินขนส่งสินค้า
[แก้]แอมะซอนแอร์และยูพีเอสแอร์ไลน์ได้เสนอให้มีการพัฒนารุ่นสำหรับการขนส่งสินค้า โดยจะขยายลำตัวของเอ330-900 ในการขนส่งสินค้าระยะใกล้ ถึงแม้ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาเครื่องบินขนส่งสินค้าที่เสนอมาจะต่ำกว่าโปรแกรมใหม่ เนื่องจากงานวิศวกรรมส่วนใหญ่ได้ทำไปแล้วสำหรับเอ330-200เอฟ[11] แต่เครื่องบินโดยสาร 767 และเอ330 ที่ปลดระวางแล้วต่างก็มีศักยภาพในการดัดแปลงได้มากกว่า[12]
เครื่องบินการทหาร
[แก้]แอร์บัสเปิดตัวเครื่องบินเติมน้ำมันสำหรับตระกูลเอ330นีโออย่างเป็นทางการในงานฟาร์นโบโรห์อินเตอร์แนชนัลแอร์โชว์ ค.ศ. 2024 ในชื่อ เอ330 เอ็มอาร์ทีที+โดยรุ่นใหม่นี้จะมีพื้นฐานมาจากเอ330-800 และมีวัตถุประสงค์เพื่อทดแทนเอ330 เอ็มอาร์ทีทีเดิม โดยเอ330 เอ็มอาร์ทีที+ ยังคงความจุเชื้อเพลิง 111,000 กก. (245,000 ปอนด์) ของเอ330 เอ็มอาร์ทีที[13]
ผู้บริการ
[แก้]ณ เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2024 มีแอร์บัส เอ330นีโอ จำนวน 139 ลำให้บริการกับ 20 สายการบิน ผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุดห้าราย ได้แก่ เดลตาแอร์ไลน์ (29) ตัปแอร์ปูร์ตูกัล (19) ค็อนดอร์ (17) อิตาแอร์เวย์ (11) และเซบูแปซิฟิก (9)[1]
เมื่อวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 2023 แอร์บัสส่งมอบเอ330นีโอลำที่ 100 ให้แก่สายการบินเช่าเหมาลำสัญชาติเยอรมัน ค็อนดอร์ฟลูคดีนสท์ เกเอ็มเบฮา ซึ่งเป็นเอ330-900 ที่เช่าจากแอร์แคป ณ เวลานั้นเครื่องบินตระกูลเอ330นีโอให้บริการกับ 22 สายการบินสู่จุดหมายปลายทางกว่า 200 เส้นทางทั่วโลก[15]
รายชื่อผู้ให้บริการ
[แก้]ณ เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2024 มีผู้ให้บริการเครื่องบินตระกูลแอร์บัส เอ330นีโอดังนี้:
ผู้ให้บริการ | วันที่เริ่มปนะจำการ | -800 | -900 | รวม |
---|---|---|---|---|
แอร์เบลเยียม[i] | 15 ตุลาคม ค.ศ. 2021[16] | — | (2) | (2) |
แอร์กาแล็ง | 30 กรกฎาคม ค.ศ. 2019[17] | — | 2 | 2 |
แอร์กรีนแลนด์ | 19 ธันวาคม ค.ศ. 2022[18] | 1 | — | 1 |
แอร์มอริเชียส | 18 เมษายน ค.ศ. 2019[19] | — | 2 | 2 |
แอร์เซเนกัล | 8 มีนาคม ค.ศ. 2019[20] | — | 2 | 2 |
อาซูลบราซิลเลียนแอร์ไลน์ | 13 พฤษภาคม ค.ศ. 2019[21] | — | 7 | 7 |
เซบูแปซิฟิก | 15 ธันวาคม ค.ศ. 2021[22] | — | 9 | 9 |
ซิตีลิงก์ | 26 มกราคม ค.ศ. 2020 | — | 2 | 2 |
ค็อนดอร์ | 27 ธันวาคม ค.ศ. 2022 | — | 17 | 17 |
คอร์แซร์อินเตอร์แนชนัล | 31 มีนาคม ค.ศ. 2021 | — | 7 | 7 |
เดลตาแอร์ไลน์ | 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2019[23] | — | 29 | 29 |
การูดาอินโดนีเซีย | 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019[24] | — | 3 | 3 |
อิตาแอร์เวย์ | 7 มีนาคม ค.ศ. 2023[25] | — | 11 | 11 |
คูเวตแอร์เวย์ | 29 ตุลคม ค.ศ. 2020 | 4 | — | 4 |
ไลอ้อนแอร์ | 19 กรกฎาคม ค.ศ. 2019[26] | — | 8 | 8 |
ออร์เบสท์ | 7 สิงหาคม ค.ศ. 2020[27] | — | 2 | 2 |
สตาร์ลักซ์แอร์ไลน์ | 1 มิถุนายน ค.ศ. 2022[28] | — | 5 | 5 |
ซันคลาสแอร์ไลน์ | 12 ธันวาคม ค.ศ. 2022[29] | — | 2 | 2 |
ตัปแอร์ปูร์ตูกัล | 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 2018[30] | — | 19 | 19 |
ยูกันดาแอร์ไลน์ | 21 ธันวาคม ค.ศ. 2020[31] | 2 | — | 2 |
เวอร์จินแอตแลนติก | 27 ตุลาคม ค.ศ. 2022[32] | — | 5 | 5 |
รวม | 7 | 132 | 139 |
คำสั่งซื้อและการส่งมอบ
[แก้]- คำสั่งซื้อและการส่งมอบแบ่งตามปี
รุ่น | คำสั่งซื้อ | การส่งมอบ | ค้างส่งมอบ |
---|---|---|---|
เอ330-800 | 12 | 7 | 5 |
เอ330-900 | 344 | 132 | 212 |
รวม | 356 | 139 | 217 |
2014 | 2015 | 2016 | 2017 | 2018 | 2019 | 2020 | 2021 | 2022 | 2023 | 2024 | รวม | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
คำสั่งซื้อ | เอ330-800 | 10 | — | — | −4 | 2 | 6 | 1 | — | −4 | 1 | — | 12 |
เอ330-900 | 110 | 52 | 42 | 10 | 16 | 93 | −7 | 22 | −61 | 7 | 60 | 344 | |
รวม | 120 | 52 | 42 | 6 | 18 | 99 | −6 | 22 | −65 | 8 | 60 | 356 | |
การส่งมอบ | เอ330-800 | — | — | — | — | — | — | 3 | 1 | 1 | 2 | — | 7 |
เอ330-900 | — | — | — | — | 3 | 41 | 10 | 11 | 22 | 27 | 18 | 132 | |
รวม | — | — | — | — | 3 | 41 | 13 | 12 | 23 | 29 | 18 | 139 |
ข้อมูล ณ เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2024[1]
ข้อมูลจำเพาะ
[แก้]เอ330-800 | เอ330-900 | |
---|---|---|
นักบิน | สองคน | |
ความจุที่นั่ง (การจัดเรียงสามชั้น) | 220–260 | 260–300 |
การจัดเรียงที่นั่งสูงสุด | 406 | 460 |
ความกว้างที่นั่ง | 8-abreast economy: 18 in (46 ซm)[34]: 90 | |
ความกว้างห้องโดยสาร | 5.26 m (17 ft 3 in) | |
พื้นที่บรรทุกสินค้า | 132.4 ลูกบาศก์เมตร (4,680 ลูกบาศก์ฟุต)[34]: 46 | 158.4 ลูกบาศก์เมตร (5,590 ลูกบาศก์ฟุต)[34]: 42 |
ความจุสินค้า | 27 LD3 or 8 pallets + 3 LD3 | 33 LD3 or 9 pallets + 5 LD3 |
ความยาว | 58.82 เมตร (193.0 ฟุต) | 63.66 เมตร (208.9 ฟุต) |
ความสูง | 17.39 เมตร (57.1 ฟุต) | 16.79 เมตร (55.1 ฟุต) |
ปีก | 11 AR,[35] 64 เมตร (210 ฟุต) span, 372 ตารางเมตร (4,000 ตารางฟุต) area | |
น้ำหนักขึ้นบินสูงสุด | 251 t (553,000 lb) | |
น้ำหนักบรรทุกสูงสุด | 44 ตัน (97,000 ปอนด์) | 46 ตัน (101,000 ปอนด์)[34]: 261 |
น้ำหนักเครื่องเปล่า[36] | 132 ตัน (291,000 ปอนด์)[a] | 135–137 ตัน (298,000–302,000 ปอนด์)[34][b] |
ความจุเชื้อเพลิง | 139,090 ลิตร (36,740 US gallon; 30,600 imperial gallon), 111,272 kg (245,313 lb)[37] | |
ความเร็วสูงสุด | มัค 0.86 (569 นอต; 1,054 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 655 ไมล์ต่อชั่วโมง)[38][39] | |
พิสัยการบิน | 8,150 nmi (15,094 km; 9,380 ไมล์) | 7,200 nmi (13,334 km; 8,300 ไมล์) |
เพดานบิน | 41,450 ฟุต (12,634 เมตร)[37] | |
เครื่องยนต์ (×2) | โรลส์-รอยซ์ เทรนต์ 7000-72 | |
แรงผลักดัน (×2) | 324.0 กิโลนิวตัน (72,834 lbf) (ขณะขึ้นบิน)[37] |
- ↑ มีเสนอให้ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ให้มีความจุ 252 ที่นั่ง (ชั้นหนึ่งและชั้นธุรกิจ 51 ที่นั่ง ชั้นประหยัดแบบมีพื้นที่วางขาพิเศษ 56 ที่นั่ง และชั้นประหยัด 145 ที่นั่ง)
- ↑ มีเสนอให้ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ให้มีความจุ 303 ที่นั่ง (ชั้นหนึ่งและชั้นธุรกิจ 57 ที่นั่ง ชั้นประหยัดแบบมีพื้นที่วางขาพิเศษ 32 ที่นั่ง และชั้นประหยัด 214 ที่นั่ง)
เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน
[แก้]การพัฒนาที่ใกล้เคียงกัน
[แก้]รุ่นที่ใกล้เคียงกัน
[แก้]เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "Airbus O&D". Airbus S.A.S. 29 February 2024. สืบค้นเมื่อ 9 March 2024.
- ↑ Goold, Ian (11 November 2017). "Airbus Presents Updated Airliners to Middle East Carriers". AIN Online. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2020. สืบค้นเมื่อ 29 March 2020.
...Airbus had flown some planned improvements during a 130 flight-hour program with A330ceo (current engine option) MSN871...
- ↑ "First A330-800 successfully completes maiden flight | Airbus". www.airbus.com (ภาษาอังกฤษ). 2021-10-28.
- ↑ "First A330-800 successfully completes maiden flight | Airbus". www.airbus.com (ภาษาอังกฤษ). 2021-10-28.
- ↑ "Living up to its billing: Airbus officially launches the A330neo programme" (Press release). Airbus. 14 July 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 February 2017. สืบค้นเมื่อ 16 August 2014.
- ↑ "Airbus Family figures" (PDF). Airbus. July 2017. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2018. สืบค้นเมื่อ 9 March 2018.
- ↑ "Delta makes it official -- picks Airbus over Boeing". www.bizjournals.com. 20 November 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2021. สืบค้นเมื่อ 3 February 2020.
- ↑ Kaminski-Morrow, David (18 June 2019). "Cebu Pacific to take 460-seat A330neos". Flightglobal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 June 2019. สืบค้นเมื่อ 18 June 2019.
- ↑ Kaminski-Morrow, David (19 June 2019). "Modified exit doors key to 460-seat Cebu A330neos". Flightglobal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 June 2019. สืบค้นเมื่อ 20 June 2019.
- ↑ Kaminski-Morrow, David (29 Nov 2019). "A350-1000 maximum seating rises to 480". Flightglobal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 November 2019. สืบค้นเมื่อ 30 November 2019.
- ↑ David Harris (March 22, 2018). "The next big freighter?". Cargo Facts. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 March 2020. สืบค้นเมื่อ 1 March 2020.
- ↑ "Airbus Weighs New A330 Cargo Model, Spurred by Amazon". bloomberg.com. Bloomberg. 19 March 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 March 2018. สืบค้นเมื่อ 20 March 2018.
- ↑ Robert Wall (24 July 2024). "Airbus Sees MRTT+ In Customer Hands By 2030". Aviation Week.
- ↑ "Philippines' Cebu Pacific Air takes first A330neo". ch-aviation.com. 30 November 2021. สืบค้นเมื่อ 10 July 2023.
- ↑ "Flying towards a promising future; Airbus delivers its 100th A330neo" (Press release). Airbus. 11 April 2023. สืบค้นเมื่อ 16 April 2023.
- ↑ "Air Belgium modernises its fleet with two new A330-900 aircraft" (Press release). Air Belgium. 1 July 2021. สืบค้นเมื่อ 21 June 2022.
- ↑ Gubisch, Michael (2019-07-30). "PICTURE: AirCalin receives its first A330neo". Flightglobal.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 July 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-12-05.
- ↑ "A330-800 goes in operations on 19. December 2022". 2022-12-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2022. สืบค้นเมื่อ 8 December 2022.
- ↑ Elias, Amber (2019-04-18). "Picture: Air Mauritius takes delivery of first A330neo". Flightglobal.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 April 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-12-05.
- ↑ Clark, Oliver (2019-03-08). "Picture: Air Senegal takes delivery of first A330neo". Flightglobal.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-12-05.
- ↑ Kaminski-Morrow, David (2019-05-13). "PICTURE: Azul takes delivery of its first A330neo". Flightglobal.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-12-05.
- ↑ "Cebu Pacific receives first A330neo". Airbus (ภาษาอังกฤษ). 29 November 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-12-08.
- ↑ "PICTURE: Delta receives first A330neo". Flightglobal.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2019-05-24. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 June 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-12-05.
- ↑ Hashim, Firdaus (2019-11-18). "PICTURE: Garuda Indonesia receives first A330neo". Flightglobal.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-12-05.
- ↑ Skyteam. "ITA Airways Revises A330-900neo Service Entry in June 2023". Aeroroutes. สืบค้นเมื่อ 11 June 2023.
- ↑ Gubisch, Michael (2019-07-19). "PICTURE: Lion Air receives its first A330neo". Flightglobal.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 July 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-12-05.
- ↑ "Portugal's Orbest adds first A330neo". ch-aviation (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 September 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-08-20.
- ↑ "Starlux Airlines' Airbus A330-900neo enters service". IH Aviation and Travel. 3 June 2022. สืบค้นเมื่อ 20 June 2022.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Liu, Jim (26 September 2022). "Sunclass Airlines Outlines A330-900neo Network From Dec 2022". AeroRoutes. สืบค้นเมื่อ 8 May 2024.
- ↑ Perry, Dominic (2018-11-26). "PICTURES: Airbus delivers first A330neo to TAP". Flightglobal.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-12-05.
- ↑ Kaminski-Morrow2020-12-22T07:03:00+00:00, David. "Uganda Airlines takes delivery of its first A330-800". Flight Global (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-12-22.
- ↑ Dunn, Graham (2022-07-09). "First A330neo in Virgin Atlantic livery rolls out". Flightglobal.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 September 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-10-15.
- ↑ "Family figures" (PDF). Airbus. May 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 October 2019. สืบค้นเมื่อ 11 July 2018.
- ↑ 34.0 34.1 34.2 34.3 34.4 "A330" (PDF). Aircraft Characteristics – Airport and Maintenance Planning. Airbus. 1 July 2021.
- ↑ "The A330neo has one of the most modern and efficient wing geometries". Airbus. 5 October 2021.
- ↑ Edward Russell (10 July 2018). "Airbus and United talk A321LR and A330neo specifics". Flightglobal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 July 2018. สืบค้นเมื่อ 10 July 2018.
- ↑ 37.0 37.1 37.2 "Type certificate data sheet No. EASA.A.004 for Airbus A330, revision 48" (PDF). European Aviation Safety Agency. 22 November 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 22 November 2018. สืบค้นเมื่อ 22 November 2018.
- ↑ "A330-800 specs". Airbus. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2019. สืบค้นเมื่อ 9 August 2019.
- ↑ "A330-900 specs". Airbus. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2019. สืบค้นเมื่อ 9 August 2019.