เสือพูมา
เสือพูมา[1] ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 0.3–0Ma สมัยไพลสโตซีนตอนกลาง – สมัยโฮโลซีน | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม Mammalia |
อันดับ: | สัตว์กินเนื้อ Carnivora |
อันดับย่อย: | เฟลิฟอเมีย Feliformia |
วงศ์: | เสือและแมว Felidae |
วงศ์ย่อย: | แมว Felinae |
สกุล: | Puma Puma (Linnaeus, 1771)[1] |
สปีชีส์: | Puma concolor |
ชื่อทวินาม | |
Puma concolor (Linnaeus, 1771)[1] | |
ชนิดย่อย | |
และอื่น ๆ | |
การกระจายพันธุ์ของเสือพูมา (ไม่มีข้อมูลยืนยันการมีตัวตนในดินแดนทางเหนือของแคนาดา, สหรัฐฝั่งตะวันออก และรัฐอะแลสกา) |
เสือพูมา หรือ เสือคูการ์ หรือ สิงโตภูเขา (อังกฤษ: cougar, puma, mountain lion, mountain cat, catamount, panther; ชื่อวิทยาศาสตร์: Puma concolor) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในวงศ์เสือและแมว (Felidae) มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา เป็นแมวรักสันโดษขนาดใหญ่ที่มีการกระจายพันธุ์กว้างที่สุดในบรรดาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดใหญ่ในซีกโลกตะวันตก[3] จากยูคอนในประเทศแคนาดาถึงทางตอนใต้ของเทือกเขาแอนดีสในอเมริกาใต้ เป็นสัตว์ที่ปรับตัวได้เก่ง สามารถพบในถิ่นอาศัยเกือบทุกแบบในทวีปอเมริกา เป็นสัตว์จำพวกแมวที่หนักเป็นอันดับสองในซีกโลกตะวันตก รองจากเสือจากัวร์ แม้ว่าเสือพูมาจะมีขนาดใหญ่มันกลับมีพันธุกรรมใกล้ชิดกับแมวบ้านมากกว่าสิงโตคาดว่าสืบเชื้อสายมาจากเสือชีตาห์อเมริกาที่สูญพันธุ์ไปแล้ว
ด้วยความเป็นนักล่าที่มีความสามารถในการย่องเงียบและซุ่มโจมตี ทำให้เสือพูมาสามารถล่าเหยื่อได้หลากหลาย เหยื่ออันดับแรก ประกอบด้วย สัตว์มีกีบ เช่น กวาง, กวางเอลก์, กวางมูส, และแกะบิ๊กฮอร์น รวมทั้งปศุสัตว์อย่าง วัวบ้าน, ม้า และแกะ นอกจากนี้ยังล่าสัตว์ขนาดเล็กอย่างแมลงและสัตว์ฟันแทะ เสือพูมาชอบอาศัยในบริเวณที่มีพุ่มไม้และก้อนหินหนาแน่นเพื่อการหลบซ่อน แต่มันก็สามารถอาศัยในพื้นที่เปิดได้เช่นกัน เสือพูมาเป็นสัตว์ที่มีอาณาเขต มีความหนาแน่นของประชากรในแต่ละบริเวณต่ำ ขนาดของเขตแดนแต่ละเขตขึ้นกับ ภูมิประเทศ พืชพรรณ และความอุดมสมบูรณ์ของเหยื่อ แม้เป็นนักล่าขนาดใหญ่ แต่มันไม่จำเป็นต้องเป็นนักล่าที่โดดเด่นของบริเวณนั้น เพราะมันต้องแข่งขันในการล่ากับนักล่าอื่น เช่น เสือจากัวร์, หมาป่าสีเทา, หมีดำ, และหมีกริซลีย์ มันเป็นสัตว์สันโดษและหลีกเลี่ยงมนุษย์ การโจมตีมนุษย์นั้นเกิดขึ้นน้อยมาก แม้ว่าปัจจุบันจะมีความถี่เพิ่มขึ้น[4]
เพราะการล่าสัตว์มากเกินไปของชาวยุโรปที่มาตั้งถิ่นฐานในอเมริกาและการเจริญของสังคมมนุษย์ในถิ่นอาศัยของเสือพูมา ทำให้ประชากรของเสือพูมาลดลงในพื้นที่กระจายพันธุ์ส่วนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เสือพูมาได้สูญพันธุ์ไปแล้วในทางตะวันออกของอเมริกาเหนือในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ยกเว้น ประชากรส่วนน้อยในรัฐฟลอริดา อย่างไรก็ตาม ในทศวรรษที่ผ่านมาประชากรได้ย้ายจากทางทิศตะวันออกไปในส่วนตะวันตกของดาโกตาส์, รัฐเนแบรสกา, และรัฐโอคลาโฮมา มีการยืนยันถึงเพศผู้ผ่านถิ่นในคาบสมุทรบนของรัฐมิชิแกนและรัฐอิลลินอยส์ที่ซึ่งมันถูกยิงในเขตเมืองของชิคาโก [5][6][7] และอย่างน้อยหนึ่งตัวที่สังเกตพบในตะวันออกไกลของรัฐคอนเนตทิคัต[8][9]
ลูกผสม
[แก้]ในศตวรรษที่ 19 และ 20 มีการพยายามเลี้ยงเสือพูมาที่ผสมกับแมวขนาดใหญ่ต่างกันหลายตัวในสวนสัตว์และมีรายงานว่าประสบความสำเร็จ ได้แก่เสือพูมาผสมเสือดาว (เรียกว่า พูมาพาร์ด) และ เสือพูมาผสมเสือจากัวร์[10]
นอกจากนี้ ยังมีรายงานการผสมพันธุ์ระหว่างเสือพูมากับบอบแคตในป่า โดยที่ลูกผสมมีชื่อเรียกขานว่า "บูการ์" (bougar)
นอกจากนั้น ยังมีการผสมพันธุ์อย่างน้อยหนึ่งครั้งระหว่างเสือพูมาและโอเซลอตเกิดขึ้นในสวนสัตว์[11]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ประชากรในคอสตาริกาและปานามาอยู่ใน Appendix I
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Wozencraft, W. Christopher (16 November 2005). "Order Carnivora (pp. 532-628)". In Wilson, Don E., and Reeder, DeeAnn M., eds. Mammal Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference (3rd ed.). Baltimore: Johns Hopkins University Press, 2 vols. (2142 pp.). pp. 544–45. ISBN 978-0-8018-8221-0. OCLC 62265494.
- ↑ 2.0 2.1 Nielsen, C.; Thompson, D.; Kelly, M. & Lopez-Gonzalez, C. A. (2016) [errata version of 2015 assessment]. "Puma concolor". IUCN Red List of Threatened Species. 2015: e.T18868A97216466. doi:10.2305/IUCN.UK.2015-4.RLTS.T18868A50663436.en. สืบค้นเมื่อ 16 January 2022.
- ↑ J. Agustin Iriarte; William L. Franklin; Warren E. Johnson; Kent H. Redford (1990). "Biogeographic variation of food habits and body size of the America puma". Oecologia. 85 (2): 185. doi:10.1007/BF00319400. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-23. สืบค้นเมื่อ April 4, 2007.
- ↑ McKee, Denise (2003). "Cougar Attacks on Humans: A Case Report". Wilderness and Environmental Medicine. Wilderness Medical Society. 14 (3): 169–73. doi:10.1580/1080-6032(2003)14[169:CAOHAC]2.0.CO;2. PMID 14518628. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-24. สืบค้นเมื่อ May 20, 2007.
- ↑ "The Cougar Network – Using Science to Understand Cougar Ecology". Cougarnet.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-18. สืบค้นเมื่อ February 16, 2011.
- ↑ "Trail cam photo of cougar in the eastern Upper Peninsula. Loc... on Twitpic". Twitpic.com. November 5, 2009. สืบค้นเมื่อ February 16, 2011.
- ↑ "Indiana confirms mountain lion in Green County". Poorboysoutdoors.com. May 10, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-11. สืบค้นเมื่อ February 16, 2011.
- ↑ "Mountain lion run over in Conn. had traveled 1,500 miles". msnbc.com. July 26, 2011. สืบค้นเมื่อ July 26, 2011.
- ↑ NPR News. "Connecticut Mountain Lion Likely Came From The Black Hills". NPR. สืบค้นเมื่อ 28 July 2011.
- ↑ "Pumapard & Puma/Jaguar Hybrids".
- ↑ Dubost, G.; Royère, J. Y. (1993). "Hybridization between ocelot (Felis pardalis) and puma (Felis concolor)". Zoo Biology. 12 (3): 277–283. doi:10.1002/zoo.1430120305.
ดูเพิ่ม
[แก้]- Baron, David (2004). The Beast in the Garden: A Modern Parable of Man and Nature. New York: W. W. Norton and Company. ISBN 0-393-05807-7.
- Bolgiano, Chris (2001). Mountain Lion:An Unnatural History of Pumas and People (Paperback ed.). Mechanicsburg, PA: Stackpole Books. ISBN 0-8117-2867-6.
- Eberhart, George M. (2002). Mysterious Creatures: A Guide to Cryptozoology. Vol. 2. Santa Barbara, CA: ABC-CLIO. pp. 153–161. ISBN 1-57607-283-5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-09. สืบค้นเมื่อ 2011-11-06.
- Hamm, Neil (November 2007). "Survival Stories: Mauled by a Cougar". Outside magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-17. สืบค้นเมื่อ June 12, 2011.
- Hornocker, Maurice; Negri, Sharon; Lindzey, Fred, บ.ก. (2010). Cougar: Ecology and Conservation (Hardcover ed.). Chicago: University of Chicago Press. ISBN 978-0-226-35344-9.
- Kobalenko, Jerry (2005). Forest Cats of North America. Hove: Firefly Books Ltd. ISBN 1-55209-172-4.
- Lester, Todd (October 2001). "Search for Cougars in the East North America" (PDF). North American BioFortean Review. Zoological Miscellania website. 3 (7): 15–17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-09-27. สืบค้นเมื่อ 2011-11-06.
- Logan, Ken; Linda Sweanor (2001). Desert Puma: Evolutionary Ecology and Conservation of an Enduring Carnivore. Island Press. ISBN 1-55963-866-4.
- "Publications". Mountain Lion Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-21. สืบค้นเมื่อ 2011-11-06.
- Parker, Gerry (1994). The Eastern Panther – Mystery Cat of the Appalachians (Softcover ed.). Nimbus Publishing (CN). ISBN 1-55109-268-9.
- Wright, Bruce S (1972). The Eastern Panther: A Question of Survival. Toronto: Clark, Irwin, and Company.
- "Annotated Bibliography". easterncougar.org – Cougar Rewilding Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-04. สืบค้นเมื่อ 2011-11-06.