ข้ามไปเนื้อหา

เลวี เอชโคล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เลวี เอชโคล
לוי אשכול
เอชโคลในปี ค.ศ. 1963
นายกรัฐมนตรีอิสราเอล คนที่ 3
ดำรงตำแหน่ง
26 มิถุนายน ค.ศ. 1963 – 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1969
ก่อนหน้าเดวิด เบนกูเรียน
ถัดไปยิกัล อัลลอน (รักษาการ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม คนที่ 3
ดำรงตำแหน่ง
26 มิถุนายน ค.ศ. 1963 – 5 มิถุนายน ค.ศ. 1967
นายกรัฐมนตรีตัวเขาเอง
ก่อนหน้าเดวิด เบนกูเรียน
ถัดไปโมเช ดายัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง คนที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
25 มิถุนายน ค.ศ. 1952 – 26 มิถุนายน ค.ศ. 1963
นายกรัฐมนตรีเดวิด เบนกูเรียน
โมเช ชาเรตต์
ก่อนหน้าเอลีเซอร์ เคปแลน
ถัดไปพินแชส ซาเปียร์
ผู้นำพรรคมาไป
ดำรงตำแหน่ง
มิถุนายน ค.ศ. 1963 – 23 มกราคม ค.ศ. 1968
ก่อนหน้าเดวิด เบนกูเรียน
ถัดไปตัวเขาเอง (ในฐานะผู้นำพรรคแรงงานอิสราเอล)
ผู้นำพรรคแรงงานอิสราเอล
ดำรงตำแหน่ง
23 มกราคม ค.ศ. 1968 – 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1969
ก่อนหน้าตัวเขาเอง (ในฐานะผู้นำพรรคมาไป)
ถัดไปโกลดา เมอีร์
สมาชิกสภาคเนสเซ็ท
ดำรงตำแหน่ง
20 สิงหาคม ค.ศ. 1951 – 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1969
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
เลวี ยิตซัค สโคลนิค

25 ตุลาคม ค.ศ. 1895(1895-10-25)
โอราทีฟ จังหวัดเคียฟ จักรวรรดิรัสเซีย
เสียชีวิต26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1969(1969-02-26) (73 ปี)
เยรูซาเลม ประเทศอิสราเอล
ที่ไว้ศพเมาต์เฮิร์ซล์ เยรูซาเลม ประเทศอิสราเอล
เชื้อชาติ จักรวรรดิรัสเซีย
 จักรวรรดิออตโตมัน
 ปาเลสไตน์
 อิสราเอล
พรรคการเมือง
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
แนวร่วม (ค.ศ. 1965–1968)
คู่สมรส
บุตรโนอา
ดโวรา
แทมมา
โอฟรา
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองพันยิวอาสา (ค.ศ. 1918–1920)
ฮากานาห์ (ค.ศ. 1920–1948)

เลวี เอชโคล (ฮีบรู: לֵוִי אֶשְׁכּוֹל ‎; listen, ชื่อแรกเกิด เลวี ยิตซัค สโคลนิค (ฮีบรู: לוי יצחק שקולניק ‎)‎ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1895 – 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1969) เป็นรัฐบุรุษของชาวอิสราเอลผู้ทำหน้าที่เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่สามของประเทศอิสราเอล[1] ตั้งแต่ ค.ศ. 1963 กระทั่งถึงแก่อสัญกรรมจากอาการหัวใจวายในปี ค.ศ. 1969 เขาเป็นผู้ก่อตั้งพรรคแรงงานอิสราเอล ซึ่งทำหน้าที่ในตำแหน่งระดับอาวุโสหลายตำแหน่ง รวมถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ค.ศ. 1963–1967) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ค.ศ. 1952–1963)

เอชโคลได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีเป็นครั้งแรกหลังจากการลาออกของเดวิด เบนกูเรียน จากนั้นเขาเป็นผู้นำพรรคในการเลือกตั้งสู่สภาคเนสเซ็ทครั้งที่หก (ค.ศ. 1965) และเป็นฝ่ายชนะ โดยดำรงตำแหน่งเป็นเวลาหกปีติดต่อกัน ไม่นานหลังจากที่ดำรงตำแหน่ง เขาได้ทำการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายอย่าง เขาลบล้างการปกครองทางทหารต่อชาวอาหรับอิสราเอลและการเดินทางไปยังสหรัฐที่ประสบความสำเร็จ โดยเป็นผู้นำอิสราเอลคนแรกที่ได้รับเชิญอย่างเป็นทางการสู่ทำเนียบขาว ความสัมพันธ์ระหว่างเขากับประธานาธิบดีอเมริกา ลินดอน บี. จอห์นสัน มีผลอย่างมากต่อความสัมพันธ์อิสราเอล–สหรัฐ และต่อจากนั้นในสงครามหกวัน

เอชโคลมีบทบาทในขบวนการไซออนิสต์ตั้งแต่อายุยังน้อย เขาอพยพไปอยู่ในออตโตมันปาเลสไตน์ใน ค.ศ. 1914 และทำงานในภาคเกษตร เขาเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งสถาบันหลักของยีชูฟ ซึ่งมีองค์กรสำคัญที่สุดคือฮิสตาดรุตและฮากานาห์ เขาเป็นเหรัญญิกของพรรคการเมืองฮาโปเอลฮัตเซอร์และเหรัญญิกของศูนย์เกษตรกรรม ในปี ค.ศ. 1929 เขาได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานคณะกรรมการตั้งข้อสังเกตภายในสภาคองเกรสไซออนิสต์ โดยมีบทบาทสำคัญในการวางเงื่อนไขสำหรับโครงสร้างใหม่ ส่วนในปี ค.ศ. 1937 เขาก่อตั้งบริษัทน้ำเมโกรอทและเป็นผู้อำนวยการจนกระทั่งปี ค.ศ. 1951 ขณะเดียวกัน เขาดำรงตำแหน่งที่ฮากานาห์ ที่พรรคมาไปและในฐานะประธานสภาแรงงานของเทลอาวีฟ ในปี ค.ศ. 1948–1949 เขาดำรงตำแหน่งอธิบดีกระทรวงกลาโหม และจากปี ค.ศ. 1948–1963 เขาเป็นประธานแผนกการตั้งถิ่นฐานขององค์การชาวยิว ตลอดจนได้รับเลือกในการเลือกตั้งสู่สภาคเนสเซ็ทครั้งที่สองในปี ค.ศ. 1951 หลังจากนั้นเขาก็ได้รับการแต่งสู่บทบาทสำคัญของรัฐบาล

เขาเป็นผู้นำรัฐบาลอิสราเอลในระหว่างและหลังสงครามหกวัน รวมทั้งเป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอลคนแรกที่ถึงแก่อสัญกรรมในตำแหน่ง

ประวัติ

[แก้]

ช่วงปีแรก

[แก้]

เลวี เอชโคล (สโคลนิค) เกิดในชเทลของโอราทอฟ จังหวัดเคียฟ จักรวรรดิรัสเซีย (ปัจจุบันคือโอราทีฟ แคว้นวินนีตเซีย ประเทศยูเครน) มารดาของเขาชื่อดโวรา (ชื่อเกิด ดโวรา คราสเนียนสกายา) มีภูมิหลังมาจากศาสนายูดาห์นิกายฮาซิด และบิดาของเขา (โจเซฟ โสโคลนิค) มาจากครอบครัวของมิสนักดิม ทั้งสองครอบครัวมีความมุ่งมั่นทางธุรกิจ และเป็นเจ้าของธุรกิจการเกษตร รวมทั้งโรงงานแป้ง, โรงงานอุตสาหกรรม และธุรกิจเกี่ยวกับป่าไม้

เอชโคลได้รับการศึกษาแบบชาวยิวแบบดั้งเดิมตั้งแต่อายุสี่ขวบและเริ่มศึกษาตาลมุดตอนอายุเจ็ดขวบ นอกเหนือจากการศึกษาเฮเดอร์แล้ว เอชโคลยังได้รับการสอนโดยอาจารย์ผู้สอนในการศึกษาทั่วไป ในปี ค.ศ. 1911 เขาได้รับการยอมรับให้เข้าเรียนที่โรงเรียนเตรียมเข้ามหาวิทยาลัยของชาวยิวในเมืองวิลนา (ปัจจุบันคือวิลนีอุส ประเทศลิทัวเนีย) และออกจากบ้านเกิดรวมทั้งครอบครัวของเขา

ในเมืองวิลนา เอชโคลได้เข้าร่วมสมาคมนักศึกษาเซียรีไซออน (เยาวชนแห่งไซออน) และเริ่มมีความสัมพันธ์กับขบวนการไซออนิสต์ เขาได้รับเลือกให้เป็นคณะกรรมการบริหารท้องถิ่น และในปี ค.ศ. 1913 เขาได้เข้าร่วมพรรคฮาโปเอลฮัตเซอร์หลังจากการพบปะกับโยเซฟ สปรินแซค ผู้เป็นหัวหน้าพรรค

กิจกรรมสาธารณะ: ค.ศ. 1914–1937

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1914 เขาเดินทางไปปาเลสไตน์ ซึ่งตอนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมัน โดยตอนแรกเขาปักหลักในเปตะห์ติกวาและทำงานในการตั้งค่าของอุโมงค์ชลประทานที่สวนผลไม้ท้องถิ่น ในปีถัดมาเขาหวนคิดได้ว่าเป็นคนทำงานที่ยอดเยี่ยมในช่วงเวลานี้ เอชโคลผู้มีความคล่องแคล่วกลายเป็นที่รู้จักในระดับสาธารณะได้อย่างรวดเร็วและได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นไม่นานเขาก็ออกจากเปตะห์ติกวา แล้วเข้าร่วมกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่งที่ตั้งอยู่ในเขตอาทารอต (เคลานเดีย)

เมื่อมีการปะทุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ด้วยความกลัวการต่อต้านของท้องถิ่น กลุ่มของเขาจึงปักหลักช่วงสั้น ๆ ในคฟาร์ยูเรีย ริชอนเลซิออน และกลับไปเปตะห์ติกวา ในปี ค.ศ. 1915–17 เขาเป็นสมาชิกสำคัญของสหภาพแรงงานจูเดีย ส่วนในปี ค.ศ. 1918 เขารับอาสากับกองพันยิวอาสาและทำหน้าที่ในกองพันนี้จนกระทั่งฤดูร้อนปี ค.ศ. 1920

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1920 เอชโคลเป็นหนึ่งใน 25 ผู้ก่อตั้งของคิบบุตซ์เดกาเนียเบตโดยทำให้กลายเป็นถิ่นที่อยู่ถาวรของเขา อย่างไรก็ตาม กิจกรรมสาธารณะของเขาเติบโตขึ้นและเขามักถูกส่งไปปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ในปี ค.ศ. 1920 เขาเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งฮิสตาดรุต และเป็นผู้ก่อตั้งฮากานาห์ เขาเป็นสมาชิกกองบัญชาการสูงสุดแห่งชาติชุดแรกของฮากานาห์ (ค.ศ. 1920–21) ในฐานะตัวแทนสำหรับฮิสตาดรุต เขาได้เป็นตัวแทนระหว่างประเทศในการประชุมต่าง ๆ และได้รับมอบหมายให้จัดตั้งองค์กร "สหภาพแรงงานเกษตร" ส่วนในปี ค.ศ. 1929 เขาได้เป็นตัวแทนสู่สภาคองเกรสไซออนิสต์เป็นครั้งแรก และได้รับเลือกสู่ฝ่ายบริหารไซออนิสต์ รวมทั้งเป็นสมาชิกคนหนึ่งของคณะผู้บริหารในองค์การชาวยิวที่จัดตั้งขึ้นใหม่

ระหว่าง ค.ศ. 1933–34 เอชโคลได้ทำงานอยู่ในกรุงเบอร์ลินในนามขององค์การไซออนิสต์โลกและฮาลูทซ์ ในช่วงเวลานี้เขาได้เจรจากับทางการเยอรมันเกี่ยวกับความตกลงฮาวารา เมื่อกลับมายังปาเลสไตน์ในปี ค.ศ. 1934 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการของบริษัทเนอร์ ซึ่งจัดหาเงินทุนให้กับการตั้งถิ่นฐานทางการเกษตรใหม่ ๆ

ผู้อำนวยการเมโกรอท

[แก้]

เอชโคลพยายามชักจูงผู้มีอำนาจให้อนุมัติกฎหมายสำหรับบริษัทน้ำแห่งชาติตั้งแต่ช่วงประมาณ ค.ศ. 1930 โดยการเสนอแผนงบประมาณต่อหน้าองค์การไซออนิสต์โลกในปี ค.ศ. 1933 และ 1935 การก่อตัวของบริษัทน้ำเมโกรอท ได้ทำให้เกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1937 ภายใต้การบริหารจัดการร่วมกันของหน่วยงานชาวยิว, ฮิสตาดรุต และกองทุนแห่งชาติยิว เอชโคลทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการจนกระทั่ง ค.ศ. 1951 ซึ่งการกำกับดูแลได้มีขยายตัวในปี ค.ศ. 1938 จากพื้นที่การเกษตรไปยังพื้นที่ที่อยู่อาศัย และการก่อสร้างสายน้ำสายแรกสู่พื้นที่ภาคใต้ของทะเลทรายเนเกฟโดยเร็วใน ค.ศ. 1941 จนถึงปี ค.ศ. 1947 มีสายน้ำกว่า 200 กิโลเมตรที่ดำเนินการ

กิจกรรมทางการเมืองและการทหาร: ค.ศ. 1940–1949

[แก้]
เอชโคลที่คิบบุตส์ยัสอูร์ในปี ค.ศ. 1949

เอชโคลกลับไปทำหน้าที่ในการบัญชาการระดับสูงของฮากานาห์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1940 ถึงปี 1948 และเป็นผู้รับผิดชอบในกองคลังขององค์กร[2] เขามีส่วนร่วมในการซื้ออาวุธสำหรับฮากานาห์ก่อนและระหว่างสงครามอาหรับ–อิสราเอล ค.ศ. 1948

ระหว่าง ค.ศ. 1942–44 เอชโคลทำหน้าที่เป็นเลขาธิการใหญ่แห่งพรรคมาไป

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เอชโคลสนับสนุนให้ชาวยิวสมัครเข้าเป็นทหารกับกองทัพสหราชอาณาจักร อย่างไรก็ตาม เขาได้ยืนยันกับผู้นำยีชูฟ และต่อมาได้เข้าร่วมอุดมการณ์ยืนยันความแตกต่างระหว่างแนวรบทั่วโลกและแนวรบในประเทศ โดยการต่อสู้กับอาณัติของสหราชอาณาจักร ส่วนในปี ค.ศ. 1945-46 เอชโคลเป็นตัวแทนของฮากานาห์ในการเป็นผู้นำขบวนการต่อต้านของชาวยิว

ในปี ค.ศ. 1944 เขาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาแรงงานแห่งเทลอาวีฟ ซึ่งอยู่ในตำแหน่งดังกล่าวจนถึงปี ค.ศ. 1948

ส่วนในปี ค.ศ. 1947 เอชโคลได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกของสองสภาป้องกันหลัก: ได้แก่คณะกรรมการเนเกฟ ที่ดูแลการบริหารของเนเกฟก่อนการประกาศเอกราชของอิสราเอล ตลอดจคณะกรรมการกลาโหมทั่วไปแห่งผู้นำของยีชูฟ หลังจากปีนั้น เขาได้รับการแต่งตั้งจากเดวิด เบนกูเรียน เพื่อเป็นหัวหน้าศูนย์สรรหาบุคลากรระดับชาติ ซึ่งเป็นรากฐานของการสร้างกองกำลังป้องกันอิสราเอลขึ้นเมื่อรัฐอิสราเอลเป็นเอกราชในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1948 ณ จุดนี้ เอชโคลได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิบดีกระทรวงกลาโหม ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1948 ถึงเดือนมกราคม ค.ศ. 1949[3]

การสู่อาชีพนักการเมืองระดับประเทศ

[แก้]

ในช่วงเวลาของการอพยพจำนวนมากสู่รัฐอิสราเอล (ค.ศ. 1949–1950) เอชโคลเป็นหัวหน้าแผนกการตั้งถิ่นฐานในองค์การชาวยิว ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เขาเสนอแนวคิดในการจัดการกับจำนวนที่เหมาะสมของผู้อพยพเหล่านี้เมื่อตั้งฟาร์มเกษตรขึ้นใหม่ เพื่อแก้ภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกด้านที่อยู่อาศัยของพวกเขา เขากล่าวว่า: "...เราไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรกับชาวยิวเหล่านี้ ดังนั้นเราก็แทรกแซงจากคำแนะนำจากใจของเรา และจากประสบการณ์ที่เราได้สะสมจนถึงปัจจุบัน และกล่าวว่า: ประเทศที่โดดเดี่ยว, ประชาชนที่โดดเดี่ยว; สิ่งทั้งสองนี้ต้องทำให้กันและกันเพื่อเบ่งบาน จากนี้ แนวคิดได้เกิดขึ้นเพื่อเปิดตัวการตั้งถิ่นฐานทางการเกษตรที่กว้างใหญ่ และดึงดูดผู้อพยพส่วนใหญ่"[4] เอชโคลได้รับเลือกให้เข้าสู่สภาคเนสเซ็ท ในปี ค.ศ. 1951 ในฐานะสมาชิกพรรคมาไป เขาทำหน้าที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรจนถึงปี ค.ศ. 1952

ในการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติ ค.ศ. 1959 เอชโคลได้ประสานงานรณรงค์หาเสียงระดับชาติของมาไปร่วมกับสาขาพรรคท้องถิ่น เขายังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะกรรมการพรรคเกี่ยวกับกิจการทางสังคม ขณะที่ความตึงเครียดภายในพรรคเติบโตขึ้นเนื่องจากปฏิบัติลาวอน เอชโคลได้รับการขอให้ทำหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการ

ในปี ค.ศ. 1961 เบนกูเรียนได้ขอลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแลแนะนำให้เอชโคลเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากเขา อย่างไรก็ตาม พรรคมาไปปฏิเสธที่จะอนุญาตให้เบนกูเรียนลาออก ซึ่งเขายังคงเป็นผู้นำพรรคมาไปในการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติ ค.ศ. 1961 แม้ว่าเขาพยายามที่จะสร้างรัฐบาลผสมและอาศัยการเจรจาของเอชโคลกับพรรคคู่แข่ง

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

[แก้]
เลวี เอชโคล (ขวา) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอิสราเอล พบปะกับอาเทอร์ เลวิตต์ ซีเนียร์ (ซ้าย) เจ้าพนักงานตรวจสอบการเงินการบัญชีรัฐนิวยอร์ก (ค.ศ. 1959)

หลังจากการเสียชีวิตของเอลีเซอร์ เคปแลน เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและดำรงตำแหน่งดังกล่าวต่อไปอีก 12 ปี ในช่วงหลายปีดังกล่าว เขาช่วยจัดรูปแบบกระทรวงการคลัง, จัดตั้งคณะกรรมการงบประมาณและหน่วยงานอื่น ๆ ส่วนในปี ค.ศ. 1954 เขาเสร็จสิ้นการออกกฎหมายเพื่อจัดตั้งธนาคารแห่งประเทศอิสราเอล

เอชโคลดูแลการดำเนินงานตามแผนเศรษฐกิจปี ค.ศ. 1952 ของเคปแลน ตลอดจนการทำข้อตกลงการชดใช้ค่าเสียหายระหว่างอิสราเอลและเยอรมนีตะวันตกให้บรรลุผล ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเจรจาต่อรองและลงนามในเดือนกันยายนปี ค.ศ. 1952

ในปี ค.ศ. 1957 เขาเริ่มเจรจากับประชาคมเศรษฐกิจยุโรปต่อการผสานของอิสราเอลในตลาด ซึ่งประสบความสำเร็จในท้ายที่สุดในปี ค.ศ. 1964 ด้วยการลงนามในข้อตกลงการค้าระหว่างสองหน่วยงาน

ส่วนในปี ค.ศ. 1962 เอชโคลได้เสนอแผนเศรษฐกิจฉบับใหม่

ตำแหน่งประธานพรรค

[แก้]
เอชโคลและเบนกูเรียน ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1963

ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เอชโคลเป็นที่ยอมรับในความเป็นผู้นำของพรรคมาไป และได้รับการแต่งตั้งจากนายกรัฐมนตรี เดวิด เบนกูเรียน ในฐานะผู้รับช่วงต่อจากเขา

เมื่อเบนกูเรียนลาออกในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1963 เอชโคลได้รับเลือกเป็นประธานพรรคโดยมีมติเป็นเอกฉันท์ และต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างเขากับเบ็นกูเรียนกลับกลายเป็นเรื่องรุนแรงในช่วงหลัง ๆ ของการสืบสวนเรื่องปฏิบัติลาวอน ซึ่งเป็นการปฏิบัติการลับของอิสราเอลในประเทศอียิปต์ ที่มีความผิดพลาดในทศวรรษก่อน เบนกูเรียนล้มเหลวต่อการท้าทายความเป็นผู้นำของเอชโคลและแยกตัวออกจากพรรคมาไปร่วมกับผู้ที่อยู่ในอุปถัมภ์ของเขาเพื่อจัดตั้งพรรคราฟีในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1965 ขณะเดียวกัน พรคคมาไปได้รวมกับอาห์ดัตฮาอโวดาเพื่อก่อตั้งพรรคแนวร่วมโดยมีเอชโคลเป็นหัวหน้า พรรคราฟีแพ้ในการเลือกตั้งแก่พรรคแนร่วมที่จัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนปี ค.ศ. 1965 โดยการสถาปนาเอชโคลในฐานะผู้นำที่ไม่อาจปฏิเสธได้ของประเทศ ถึงกระนั้น เบนกูเรียนผู้มีอิทธิพลในฐานะบิดาผู้ก่อตั้งประเทศอิสราเอล ยังคงเป็นบ่อนทำลายอำนาจของเอชโคลตลอดระยะเวลาของเขาในฐานะนายกรัฐมนตรี โดยการพรรณาถึงเขาว่าเป็นนักการเมืองไร้ความเข้มแข็งที่ไม่สามารถรับมือกับสถานการณ์ความมั่นคงของอิสราเอลได้[ต้องการอ้างอิง]

ในฐานะประธานพรรค เอชโคลได้สร้างรากฐานสำหรับพรรคแนวร่วมในปี ค.ศ. 1964, การก่อตัวของพรรคแรงงานอิสราเอลที่รวมเป็นหนึ่งในปี ค.ศ. 1968 และการรวมพลังกับพรรคมาปัมเพื่อสร้างแนวร่วมที่สองในปี ค.ศ. 1969

นายกรัฐมนตรี

[แก้]

เอชโคลก่อตั้งรัฐบาลที่สิบสองของอิสราเอลในปี ค.ศ. 1963[5] วาระแรกของเขาในตำแหน่งได้แสดงให้เห็นการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนจากการเปิดตัวของระบบผู้ให้บริการน้ำแห่งชาติในปี ค.ศ. 1964 เขาและพินแชส ซาเปียร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนต่อมา มี "การแก้ไขอย่างละมุนละม่อม" ของเศรษฐกิจที่ร้อนแรง โดยใช้นโยบายถอยกลับที่เกิดการตกต่ำอย่างรุนแรงในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลางของอิสราเอลขาดกลไกในการควบคุมการชะลอตัวของตนเอง ซึ่งถึงระดับที่สูงกว่าที่คาดไว้ เอชโคลเผชิญกับความไม่สงบในประเทศที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการว่างงานถึง 12 เปอร์เซ็นต์ในปี ค.ศ. 1966 แต่ในที่สุดภาวะถดถอยก็ทำหน้าที่รักษาข้อบกพร่องทางเศรษฐกิจขั้นพื้นฐานและช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวเมื่อปี ค.ศ. 1967–1973[ต้องการอ้างอิง]

เมื่อได้รับเลือกเข้าสู่ตำแหน่ง เลวี เอชโคล เติมเต็มปรารถนาของเซฟ จาบอตินสกี และนำร่างของเขารวมถึงภรรยาสู่ประเทศอิสราเอลซึ่งพวกเขาได้รับการฝังในสุสานเมาต์เฮอร์เซิล

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

[แก้]

เอชโคลทำงานเพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอิสราเอล โดยสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศเยอรมนีตะวันตกในปี ค.ศ. 1965 รวมถึงความผูกพันทางวัฒนธรรมกับสหภาพโซเวียต ซึ่งอนุญาตให้ชาวยิวโซเวียตบางคนอพยพไปยังอิสราเอล เขาเป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอลคนแรกที่ได้รับเชิญให้ไปเยือนสหรัฐอย่างเป็นทางการในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1964

ด้วยการบริหารงานของประธานาธิบดีจอห์นสัน ซึ่งมีตัวแทนในกรณีนี้โดยเสนาธิการความมั่นคงแห่งชาติ โรเบิร์ต ดับเบิลยู. โคเมอร์ และคณะ เอชโคลลงนามในสิ่งที่รู้จักในฐานะเอชโคล-โคเมอร์ (sic)[ไม่แน่ใจ ] ในเอกสารบันทึกข้อตกลง (MOU) เกี่ยวกับขีดความสามารถด้านนิวเคลียร์ของอิสราเอล วันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1965 เอกสารบันทึกข้อตกลง ได้รับการตีความแตกต่างกันนับแต่นั้นมา โดยกล่าวว่า 'อิสราเอลจะไม่เป็นประเทศแรกที่ "แนะนำ" อาวุธนิวเคลียร์สู่ตะวันออกกลาง'[6]

สงครามหกวัน

[แก้]
เอชโคล และเมนาเฮม เบกิน เยี่ยมกองทหารในไซนาย ไม่นานหลังจากสงครามหกวัน

ความสัมพันธ์พิเศษที่เขาพัฒนากับประธานาธิบดีลินดอน บี. จอห์นสัน จะปรากฏความจริงหลักในการรับประกันทางการเมืองและการทหารของสหรัฐในการสนับสนุนอิสราเอลระหว่าง"ช่วงเวลารอคอย"ก่อนสงครามหกวันของเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1967[7]

อ้างอิงจากไมเคิล โอเรน เผยว่า การดื้อแพ่งของเอชโคลเมื่อเผชิญกับแรงกดดันทางทหารเพื่อเริ่มการโจมตีของอิสราเอลถือเป็นเครื่องมือในการเพิ่มความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ของอิสราเอลรวมถึงการได้รับความชอบธรรมระหว่างประเทศ แต่ในเวลานั้นเขาถูกมองว่าเป็นคนลังเล โดยภาพลักษณ์คำพูดทางวิทยุที่พูดติดอ่างในวันที่ 28 พฤษภาคม[8] ประธานาธิบดีนาศิรของอียิปต์ได้ยั่วยุมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยสร้างการสนับสนุนทางการทูตกับอิสราเอล ในที่สุดเอชโคลได้จัดตั้งรัฐบาลรักษาการแห่งชาติร่วมกับพรรคเฮรุตของเมนาเฮม เบกิน ซึ่งยอมรับผลงานด้านกลาโหมต่อโมเช ดายัน[9]

การถึงแก่อสัญกรรมและงานศพ

[แก้]
หลุมฝังศพของเลวี เอชโคล และมิเรียมภรรยาของเขา ที่เมาต์เฮิร์ซ เยรูซาเลม

ในปีหลังสงคราม สุขภาพของเอชโคลค่อย ๆ เสื่อมลง แม้ว่าเขาจะยังคงอยู่ในอำนาจ เขาประสบอาการหัวใจล้มเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1969 ซึ่งเขาหายจากอาการแล้วค่อยกลับไปทำงาน โดยดำเนินการประชุมจากที่พำนักอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีต่อไป ในตอนเช้าของวันที่ 26 กุมภาพันธ์ เขาได้ประสบกับอาการหัวใจวาย ซึ่งเขาถึงแก่อสัญกรรมเมื่อเวลา 8:15 น. โดยข้างกายเขามีภรรยาและแพทย์สามคนรวมถึงโมเช ราชไมล์วิตซ์ เขาถึงแก่อสัญกรรมในตำแหน่งเมื่ออายุ 73 ปี

อ้างอิง

[แก้]
  1. Gal Perl Finkel, Wars are won by preparation and not by courage alone, The Jerusalem Post, 8 April 2017.
  2. "Archived copy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2016. สืบค้นเมื่อ 2012-01-04.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  3. "Levi Eshkol" เก็บถาวร 9 เมษายน 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Israel Ministry of Foreign Affairs web site.
  4. Levi Eshkol, the Third Prime-Minister: A Selection of Documents Covering his Life [Heb. (לוי אשכול - ראש הממשלה השלישי : מבחר תעודות מפרקי חייו (1895-1969], ed. Y. Rosental, A. Lampron & H. Tzoref, Israel State Archives (publisher): Jerusalem 2002, chapter 6 - In the Jewish Agency, During the Years of Mass Immigration (Hebrew)
  5. "New Israel Cabinet Sworn into Office in Knesset; German Issue Raised". JTA. 27 June 1963. สืบค้นเมื่อ 7 July 2013.
  6. Avni, Benny,"Iran and Syria Eye Israel’s Nukes" เก็บถาวร 21 มกราคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Newsweek, 17 October 2013. This source and others misspell Komer's last name. For confirmation of correct spelling/identification, for example Cohen, Avner, Israel and the Bomb เก็บถาวร 5 พฤษภาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (Columbia University Press) p. 207; or Hersh, Seymour, The Samson option: Israel's nuclear arsenal เก็บถาวร 12 พฤษภาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (NY: Random House, 1991), p. 134; both via Google Books. Retrieved 2015-04-04.
  7. Avner, Yehuda (2010). The Prime Ministers: An Intimate Narrative of Israeli Leadership. The Toby Press. p. 599. ISBN 978-1-59264-278-6.
  8. Oren, Michael B. (2003). Six Days of War: June 1967 and the Making of the Modern Middle East. New York: Random House. p. 316. ISBN 0-345-46192-4.
  9. Tucker, Spencer C.; Roberts, Priscilla (2008-05-12). The Encyclopedia of the Arab-Israeli Conflict: A Political, Social, and Military History [4 volumes]: A Political, Social, and Military History (ภาษาอังกฤษ). ABC-CLIO. ISBN 9781851098422.

หนังสืออ่านเพิ่ม

[แก้]

หนังสือประพันธ์

[แก้]
  • Eshkol, Levi (1958). The Birth Pangs of Settlement (ภาษาฮิบรู). Am Oved.
  • Eshkol, Levi (1965). Up the Road (ภาษาฮิบรู). Ayanot.
  • Eshkol, Levi (1969). The Covenant of the Land (ภาษาฮิบรู). Tarbut ve Hinuch.

ในภาษาอังกฤษ

[แก้]

ในภาษาฮีบรู

[แก้]
  • Israel State Archive (2001). Levi Eshkol: Third Prime Minister (1895–1969) (ภาษาฮิบรู). Israel State Archive.
  • Ben-Horin, Daniel (2017). Intelligence of the Hesitant: The Life and Views of the Third Prime Minister (ภาษาฮิบรู). Orion.
  • Eshkol-Nevo, Ofra (1988). A Token of Humor (ภาษาฮิบรู). Idanim.
  • Giladi, Dan (1993). Levi Eshkol: Captain of Mass Settlement, 1948–1952 (ภาษาฮิบรู). Golda Meir Institute.
  • Goldstein, Yossi (2003). Eshkol: Biography (ภาษาฮิบรู). Keter.
  • Lammfrom, Arnon (2014). Levi Eshkol: Political Biography, 1944–1969 (ภาษาฮิบรู). Resling.
  • Lufpban, Hezi (1965). Eshkol (ภาษาฮิบรู). Am Oved.
  • Manor, Alexander (1965). Levi Eshkol Sayings (ภาษาฮิบรู). Orli.
  • Medved, Dov (2004). Levi Eshkol, State and Party, 1948–1953 (ภาษาฮิบรู). Ben-Gurion University of the Negev. Text has an English summary.
  • Rosenman, Avraham (1969). The Lights: Ruppin and Eshkol (ภาษาฮิบรู). Masada.
  • Shapiro, Yosef (1969). Levi Eshkol: Within Public Service (ภาษาฮิบรู). Masada.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]