ข้ามไปเนื้อหา

เนื้อแดง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อวัวสดหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ
เนื้อวัวย่าง (roast beef)

ในเรื่องการทำอาหารของชาวตะวันตก เนื้อแดง (อังกฤษ: red meat) ปกติจะแดงเมื่อยังสด และมีสีเข้มขึ้นเมื่อสุก เทียบกับกับ "เนื้อขาว" ที่มีสีออกซีด ๆ ทั้งสดทั้งสุก[1][2] เนื้อจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหรือสัตว์ปีกเท่านั้น (ไม่รวมปลา) จะจัดเป็นเนื้อแดงเนื้อขาว[3][4] ในโภชนศาสตร์ เนื้อแดงหมายถึงเนื้อใดก็ได้ที่มีโปรตีนไมโยโกลบินมากกว่า "เนื้อขาว" ที่นิยามว่า เป็นเนื้อสีไม่เข้มจากไก่ (ไม่รวมน่องหรือขา) หรือจากปลา เนื้อบางอย่าง เช่น เนื้อหมู จัดเป็นเนื้อแดงตามโภชนศาสตร์ แต่จัดเป็นเนื้อขาวตามการทำอาหาร

นิยาม

[แก้]
ไมโยโกลบินในเนื้อสัตว์โดยเป็นอัตราร้อยละของมวล
ชื่อ ไมโยโกลบิน หมวดตามกระทรวงเกษตรสหรัฐ
อกไก่ 0.005%[5] เนื้อขาว[6]
ขาไก่ 0.18 - 0.20%[5] เนื้อเข้ม (Dark Meat)
ขาไก่งวง 0.25 - 0.30%[5] เนื้อเข้ม
หมู 0.10 - 0.30%[5] เนื้อแดง[6]
เนื้อลูกวัว 0.10 - 0.30%[5] เนื้อแดง[6]
เนื้อวัว 0.40 - 1.00%[5] เนื้อแดง[6]
เนื้อวัวแก่ 1.50 - 2.00%[5] เนื้อแดง[6]

ตามกระทรวงเกษตรสหรัฐ (USDA) เนื้อที่ได้มาจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นส่วนไหนหรืออายุเท่าไร เป็นเนื้อแดงเพราะมีไมโยโกลบินมากกว่าปลาหรือเนื้อขาว[5] จากไก่ (แต่อาจไม่มากกว่าเนื้อเข้ม)[6]

ตามนิยามของการทำอาหาร เนื้อจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่โตแล้ว หรือเนื้อป่า รวมทั้งเนื้อวัว เนื้อม้า เนื้อแกะ เนื้อกวาง เนื้อหมูป่า เนื้อกระต่ายเป็นต้น เป็นเนื้อแดง แต่เนื้อจากสัตว์ที่ยังไม่โต (รวมทั้งลูกกระต่าย ลูกวัว และลูกแกะ) เป็นเนื้อขาว เนื้อสัตว์ปีกโดยมากเป็นเนื้อขาว แต่เป็ดและห่านเป็นเนื้อแดง เนื้อส่วนต่าง ๆ จากหมูโดยมากเป็นเนื้อแดง แต่ส่วนอื่น ๆ จัดเป็นเนื้อขาว[7] เนื้อป่าบางครั้งจัดเป็นหมวดต่างหาก (ฝรั่งเศส: viandes noires = dark meats)[4] นักเขียนอื่น ๆ จัดเนื้อบางอย่าง (เช่น แกะ หมู) ในหมู่อื่น ๆ

เนื้อหมูบางส่วนจัดเป็นเนื้อขาวตามหลักการทำอาหาร แต่ในโภชนาการ นี้จัดเป็นเนื้อแดง องค์กรโปรโหมตเนื้อหมูบางองค์กร (เช่น National Pork Board) อาจโฆษณาหมูว่าเป็นเนื้อขาวอีกอย่างหนึ่ง โดยถือเอาประโยชน์จากความคลุมเครือแล้วกล่าวโดยนัยว่า มีคุณลักษณะเหมือนเนื้อขาวและถูกสุขภาพมากกว่า[8][9]

โภชนาการ

[แก้]
เป็ดกับมันฝรั่ง แสดงสีแดงของเนื้อ

เนื้อแดงมีแร่ธาตุและวิตามินต่าง ๆ รวมทั้งธาตุเหล็ก, creatine, สังกะสีและฟอสฟอรัส, วิตามินบี (รวมทั้งไนอาซิน วิตามินบี12 ไทอามีน และไรโบเฟลวิน )[10] เป็นแหล่งหนึ่งของ alpha lipoic acid

เนื้อแดงมีวิตามินดีเล็กน้อย[11] โดยตับจะมีจำนวนมากที่สุดในบรรดาส่วนต่าง ๆ

ในปี 2011 กระทรวงเกษตรสหรัฐเริ่มโครงการอาหาร MyPlate ซึ่งไม่ได้จำแนกเนื้อเป็นชนิดต่าง ๆ แต่ก็แนะนำให้ทานปลาอย่างน้อย 227 กรัมต่อสัปดาห์[12][13] ในปีเดียวกันคณะสาธารณสุขศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดก็ได้เริ่มโครงการ Healthy Eating Plate ส่วนหนึ่งก็เพราะมองว่า คำแนะนำของกระทรวงเกษตรไม่ดีพอ[12] โครงการแนะนำให้ผู้บริโภคเลี่ยงเนื้อแปรรูปและจำกัดการทานเนื้อเพียงแค่ 2 ครั้งต่ออาทิตย์เพราะสัมพันธ์กับโรคหัวใจ โรคเบาหวาน และมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดนแนะนำให้ทานปลา ไก่ พืชถั่วหรือเมล็ดถั่วแทน[12]

สุขภาพมนุษย์

[แก้]

เนื้อแดงไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกันทั้งหมด ผลต่อสุขภาพจะขึ้นอยู่กับไขมันที่มีและกระบวนการแปรรูป เนื้อแดงแปรรูปสัมพันธ์กับอัตราการตายที่สูงกว่า โดยหลักเนื่องกับโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดและมะเร็ง[14] แต่ก็มีหลักฐานด้วยว่าการบริโภคเนื้อแดงที่ไม่ได้แปรรูปก็อาจมีผลลบต่อสุขภาพของมนุษย์[15]

อันตราย

[แก้]

เนื้อแดง

[แก้]

ความเห็นพ้องว่าการบริโภคเนื้อแดงมีผลเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดได้เปลี่ยนไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ งานศึกษาที่แยกแยะผลของเนื้อแปรรูปและเนื้อสดไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อแดงที่ไม่ได้แปรรูปกับโรคหัวใจ งานวิเคราะห์อภิมานขนาดใหญ่ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดปี 2010 ซึ่งรวมข้อมูลของคน 1 ล้านคนที่ทานเนื้อพบว่า เนื้อแปรรูปเท่านั้นมีผลลบต่อโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ (CHD)[16][17] งานศึกษาจึงเสนอว่า "ความแตกต่างของเกลือและสารกันเสีย ไม่ใช่ไขมัน อาจอธิบายความเสี่ยงโรคหัวใจและโรคเบาหวานที่สูงกว่าดังที่เห็นกับเนื้อแปรรูป แต่ไม่เห็นกับเนื้อแดงที่ไม่ได้แปรรูป" กลไกที่เสนอว่าทำไมการบริโภคเนื้อแดงจึงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดรวมทั้งผลของมันต่อคอเลสเตอรอลในเลือด[18], เนื้อแดงมีกรด arachidonic acid[19], มีเหล็กแบบ heme[20], มี homocysteine[21] และมีไขมันอิ่มตัวสูง

งานศึกษาหลายงานได้พบความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อแดงที่ไม่ได้แปรรูปกับการเกิดโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ (CHD) และโรคหลอดเลือดสมองบางประเภทโดยได้ควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่เป็นตัวแปรกวนหลายอย่างแล้ว[22] งานศึกษาในหญิง 84,000 คนเป็นเวลา 26 ปี พบว่า ผู้ที่ทานเนื้อแดงไม่ได้แปรรูปมากที่สุด เสี่ยงโรค CHD สูงขึ้น 13%[22] เช่นเดียวกัน งานศีกษาของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดปี 2012 พบว่า การบริโภคเนื้อแดงที่ไม่ได้แปรรูปปริมาณที่หนึ่งต่อวัน (ประมาณ 42 กรัม/วัน) เพิ่มความเสี่ยงตาย 13%[23] ส่วนเนื้อแดงที่แปรรูปปริมาณเท่ากันเพิ่มความเสี่ยงตาย 20%[23] แม้อัตราทั้งสองจะรวมทั้งโรคมะเร็งและโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด (CVD) แต่งานศึกษาก็บ่งว่า ในบรรดาผู้เสียชีวิต 23,926 ราย ที่ได้ตรวจสอบเมื่อกำลังทำงานศึกษา[23] 5,910 รายเสียชีวิตเนื่องกับ CVD[23] การเสียชีวิตสัมพันธ์กับเนื้อแปรรูปและกับเนื้อไม่ได้แปรรูปโดยไม่ต่างกันอย่างสำคัญ[23]

ความต่างกันระหว่างงานวิเคราะห์อภิมานต่าง ๆ จะต้องหาข้อยุติ เพราะแม้งานหนึ่งจะชี้ว่า เนื้อแดงที่ไม่ได้แปรรูปไม่มีผลต่อความเสี่ยงโรค แต่งานศึกษาตามแผนขนาดใหญ่ที่ทำเฉพาะเรื่องต่าง ๆ ก็ยังพบสหสัมพันธ์[23][22] การบริโภคเนื้อแดงที่ไม่ได้แปรรูปมีหลักฐานเบื้องต้นว่าสัมพันธ์กับความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิด 2 ที่สูงขึ้น แต่ความสัมพันธ์ค่อนข้างอ่อนและชัดเจนน้อยกว่าความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อแดงที่แปรรูปกับโรคเบาหวาน[24]

งานอื่น ๆ ได้เสนอว่า ความสัมพันธ์อาจเป็นกับไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ และคอเลสเตอรอลในอาหาร ไม่ใช่กับเนื้อแดงโดยตรง[25] งานศึกษาหนึ่งประเมินว่า "การแทนที่เนื้อแดงหนึ่งที่ต่อวันด้วยเมล็ดถั่ว ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ และธัญพืชไม่ขัดสี สัมพันธ์กับความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิด 2 ที่ต่ำกว่า 16-35%"[26]

งานวิเคราะห์อภิมานปี 2012 พบว่า ความเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหารสูงขึ้นเมื่อทานเนื้อแดงหรือเนื้อแปรรูปมากขึ้น[27] คือเนื้อแดงเองมีสารบางอย่างที่ในสถานการณ์โดยเฉพาะ ๆ จะเกิดสารก่อมะเร็งเช่นสารประกอบ N-nitroso (N-nitroso compound, NOC)[28]

ในปี 2015 สำนักงานวิจัยมะเร็งนานาชาติ (IARC) สรุปว่า เนื้อแดงน่าจะเป็นสารก่อมะเร็ง (กลุ่ม 2A) สำหรับมนุษย์[29] และรายงานว่า การได้เนื้อแดงมากขึ้นแต่ละ 100 กรัม (จนถึงประมาณ 140 ก.) ต่อวัน[30] เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ 17% และก็ดูเหมือนจะเสี่ยงมะเร็งตับอ่อนและมะเร็งต่อมลูกหมากเพิ่มขึ้นด้วย แม้ความสัมพันธ์จะไม่ชัดเจนเท่า[31] ให้มองเห็นง่ายขึ้นก็คือ ในสหราชอาณาจักร คน 56 คนจาก 1,000 คนที่ทานเนื้อแดงน้อยที่สุดจะเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ (5.6%) เทียบกับ 66 คนจาก 1,000 คนที่ทานเนื้อแดงมากกว่า (6.6%) คือเสี่ยงมะเร็งมากกว่า 17% (1.17 x 5.6 = 6.6)[32]

งานทบทวนวรรณกรรมปี 2016 รายงานว่า การทานเนื้อแดงมากขึ้นทุก ๆ 100 ก. ต่อวัน จะเพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองและมะเร็งเต้านมแต่ละอย่างขึ้น 11%, ความเสี่ยงตายเพราะโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด 15%, ความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ 17% และความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากระยะท้าย ๆ 19%[33]

งานศึกษาปี 2018 ยังพบการแพ้เนื้อแดงที่สูงขึ้นในสหรัฐเพราะถูกแมงปรสิต (tick) กัด[34]

เนื้อแปรรูป

[แก้]

เนื้อแปรรูปโดยมากมีเนื้อแดงอย่างน้อยก็เป็นบางส่วน[29] เพื่อเพิ่มรสชาติหรือเพื่อให้อยู่ได้นาน เนื้อจะหมักเกลือ หมักเกลือ+ไนเตรต (nitrate)+ไนไตรต์ (nitrite)/น้ำตาล ผ่านกระบวนการหมัก รมควัน หรือผ่านกระบวนการอื่น ๆ กลายเป็นเนื้อแปรรูป[29] แต่ไนเตรตและไนไตรต์ที่พบในเนื้อเช่นนี้ (เช่น เบคอน แฮม ไส้กรอกอิตาลี/ซาลามิ ไส้กรอกอเมริกัน/เป็บเปอโรนี ฮอตดอก) อาจเปลี่ยนในร่างกายมนุษย์เป็นไนโตรซามีน (nitrosamine) ที่เป็นสารก่อมะเร็ง ทำให้เซลล์ในลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงกลายพันธุ์ โดยก่อเนื้องอกแล้วในที่สุดก็กลายเป็นมะเร็ง[35]

เนื้อไหม้ที่ผิวเพราะทำอาหารด้วยความร้อนสูง

สำนักงานวิจัยมะเร็งนานาชาติ (IARC) ได้แถลงข่าวในปี 2015 อาศัยการทบทวนงานศึกษากว่า 800 งานที่ทำในช่วง 20 ปี แล้วสรุปว่า เนื้อแปรรูปเป็นสารก่อมะเร็ง (กลุ่ม 1) อย่างชัดเจน และพบว่า เนื้อแปรรูปที่ทานเพิ่มขึ้น 50 กรัมในแต่ละวัน จะเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ขึ้น 18% (จนถึงขนาดมากสุดคือ 140 ก.)[30] องค์กรยังพบว่ามันเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหารอีกด้วยแต่ยังไม่ชัดเจนเท่า[31] งานทบทวนวรรณกรรมปี 2016 พบว่า การทานเนื้อแปรรูปเพิ่มขึ้น 50 กรัมแต่ละวัน (เช่น เบคอน แฮม ฮอตดอก และไส้กรอก) จะเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก 4%, ความเสี่ยงตายเพราะมะเร็ง 8%, มะเร็งเต้านม 9%, มะเร็งลำไส้ใหญ่ 18%, มะเร็งตับอ่อน 19%, โรคหลอดเลือดสมอง 13%, ความเสี่ยงตายเพราะโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด 24% และเบาหวาน 32%[33]

การทำอาหาร

[แก้]

การทำเนื้อด้วยความร้อนสูง หรือการรมควันเนื้อ จะสร้างสารประกอบ polycyclic aromatic hydrocarbon (PAH) และ heterocyclic amine (HCA) ที่ก่อมะเร็ง[36] กลุ่มย่อยของ HCA รวมทั้ง amino-dimethylimidazo-quinoxaline (MelQx), amino-dimethylimidazo-quinoxaline (DiMelQx) และ amino-methyl-phenylimidazo-pyridine (PhIP) ซึ่งเกิดโดยมากเพราะทำเนื้อด้วยความร้อนสูง ยังพบสารประกอบ Benzo[a]pyrene (B[a]P) ในเนื้อที่ทำด้วยความร้อนสูงมากอีกด้วย ดังนั้น การหมักเนื้อแดงสดมีไขมันน้อยในซอสแล้วหุงต้มที่ความร้อนต่ำ จึงน่าจะช่วยลดการสร้างสารประกอบซึ่งก่อมะเร็ง และลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่[37][38]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. "Red Meat". thefreedictionary.com.
  2. "White Meat". thefreedictionary.com.
  3. "Archived copy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-30. สืบค้นเมื่อ 2017-04-29.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  4. 4.0 4.1 Larousse Gastronomique (1st ed.). France: Éditions Larousse. 1938.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 5.7 "Iowa State Animal Science". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-24. สืบค้นเมื่อ 2009-09-16.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 "USDA-Safety of Fresh Pork...from Farm to Table". Fsis.usda.gov. 2008-05-16. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-18. สืบค้นเมื่อ 2009-09-16.
  7. Larousse Gastronomique (1st ed.). France: Éditions Larousse. 1961. s.v. pork
  8. "ADVERTISING; Dressing Pork for Success". The New York Times. 1987-01-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-14.
  9. "And This Little Piggy Is Now on the Menu". The New York Times. 1991-11-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-14.
  10. "Red Meats: Nutrient Contributions to the Diet" (PDF). Kansas State University Agricultural Experiment Station and Cooperative Extension Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-09-12.
  11. "Nutritional composition of red meat". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-10.
  12. 12.0 12.1 12.2 "Food Pyramids: What Should You Really Eat". Harvard School of Public Health. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-16.
  13. "MyPlate Protein foods". USDA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-16. สืบค้นเมื่อ 2015-02-27.
  14. Rohrmann, Sabine; Overvad, Kim; European Prospective Investigation into Cancer and Nutrition และคณะ (2013-03-07). "Meat consumption and mortality - results from the European Prospective Investigation into Cancer and Nutrition". BMC Medicine. 11 (1): 63. doi:10.1186/1741-7015-11-63. PMC 3599112. PMID 23497300. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-09. สืบค้นเมื่อ 2013-03-07. The results of our analysis support a moderate positive association between processed meat consumption and mortality, in particular due to cardiovascular diseases, but also to cancer.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  15. Larsson, SC; Orsini, N (February 2014). "Red meat and processed meat consumption and all-cause mortality: a meta-analysis". Am. J. Epidemiol. (Meta-analysis). 179 (3): 282–9. doi:10.1093/aje/kwt261. PMID 24148709.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  16. Micha, R.; Wallace, S. K.; Mozaffarian, D. (2010-06-01). "Red and Processed Meat Consumption and Risk of Incident Coronary Heart Disease, Stroke, and Diabetes Mellitus: A Systematic Review and Meta-Analysis". Circulation. 121 (21): 2271–2283. doi:10.1161/CIRCULATIONAHA.109.924977. PMC 2885952. PMID 20479151. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-05. สืบค้นเมื่อ 2013-01-28.
  17. "Eating processed meats, but not unprocessed red meats, may raise risk of heart disease and diabetes" (Press release). Harvard University School of Public Health. 2010-05-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-04. สืบค้นเมื่อ 2018-10-30.
  18. Gotto, AM; LaRosa, JC; Hunninghake, D; Grundy, SM; Wilson, PW; Clarkson, TB; และคณะ (1990). "The cholesterol facts. A summary relating dietary fats, serum cholesterol and coronary heart disease" (PDF). Circulation. 81: 1721–1733. doi:10.1161/01.cir.81.5.1721. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-10-25.
  19. Leaf, A; Weber, PC (1988). "Cardiovascular effects of n-3 fatty acids". N Engl J Med. 318: 549–557. doi:10.1056/nejm198803033180905.
  20. Malaviarachchi, D; Veugelers, PJ; Yip, AM; MacLean, DR (2002). "Dietary iron as a risk factor for myocardial infarction. Public health considerations for Nova Scotia". Can J Public Health. 93: 267–270.
  21. Verhoef, P; Stampfer, MJ; Buring, JE; Gaziano, JM; Allen, RH; Stabler, SP; และคณะ (1996). "Homocysteine metabolism and risk of myocardial infarction: relation with vitamins B6 and B12 and folate". Am J Epidemiol. 143: 845–859. doi:10.1093/oxfordjournals.aje.a008828.
  22. 22.0 22.1 22.2 TH, Leung (2012). "Red Meat Consumption: The Good and the Bad" (PDF). Non-Communicable Diseases Watch. 5: 1–7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-12-30.
  23. 23.0 23.1 23.2 23.3 23.4 23.5 Pan, An (2012-03-12). "Red Meat Consumption and Mortality: Results from Two Prospective Cohort Studies". Archives of Internal Medicine. 172: 555–63. doi:10.1001/archinternmed.2011.2287. PMC 3712342. PMID 22412075.
  24. Micha, Renata; Michas, Georgios; Mozaffarian, Dariush (2012-09-22). "Unprocessed Red and Processed Meats and Risk of Coronary Artery Disease and Type 2 Diabetes - An Updated Review of the Evidence". Current Atherosclerosis Reports. 14 (6): 515–524. doi:10.1007/s11883-012-0282-8. PMC 3483430. PMID 23001745.
  25. Hu, F. B.; Van Dam, S.; Liu, R. M. (2001). "Diet and risk of Type II diabetes: the role of types of fat and carbohydrate". Diabetologia. 44 (7): 805–817. doi:10.1007/s001250100547. PMID 11508264.
  26. Pan, A.; Sun, Q.; Bernstein, A. M.; Schulze, M. B.; Manson, J. E.; Willett, W. C.; Hu, F. B. (2011). "Red meat consumption and risk of type 2 diabetes: 3 cohorts of US adults and an updated meta-analysis". American Journal of Clinical Nutrition. 94 (4): 1088–1096. doi:10.3945/ajcn.111.018978. PMC 3173026. PMID 21831992.
  27. Zhu, H; และคณะ (2013). "Red and processed meat intake is associated with higher gastric cancer risk: a meta-analysis of epidemiological observational studies". PLOS ONE. 8 (8): e70955. doi:10.1371/journal.pone.0070955. PMC 3743884. PMID 23967140.
  28. "Inherited Bowel Cancer". geneticseducation.nhs.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-25.
  29. 29.0 29.1 29.2 International Agency for Research on Cancer (2015-10-26), IARC Monographs evaluate consumption of red meat and processed meat (PDF), คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-11-10
  30. 30.0 30.1 Chan, DS; Lau, R; Aune, D; Vieira, R; Greenwood, DC; Kampman, E; Norat, T (2011-06-06). "Red and processed meat and colorectal cancer incidence: meta-analysis of prospective studies". PLOS ONE. 6 (6): e20456. doi:10.1371/journal.pone.0020456. PMC 3108955. PMID 21674008. In non-linear models, colorectal cancer risk appears to increase almost linearly with increasing intake of red and processed meats up to approximately 140 g/day. Above this level, the risk increase is less pronounced..
  31. 31.0 31.1 Bouvard, V; International Agency for Research on Cancer Monograph Working Group.; และคณะ (Dec 2015). "Carcinogenicity of consumption of red and processed meat". The Lancet. Oncology. 16 (16): 1599–600. doi:10.1016/s1470-2045(15)00444-1. PMID 26514947.
  32. "Processed meat and cancer - what you need to know". Cancer Research UK - Science blog. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-09. สืบค้นเมื่อ 2016-12-29.
  33. 33.0 33.1 Wolk, A (2016-09-06). "Potential health hazards of eating red meat". Journal of Internal Medicine. doi:10.1111/joim.12543. PMID 27597529. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-08.
  34. Aubrey, Allison (2018-06-25). "Red Meat Allergies Caused By Tick Bites Are On The Rise". NPR. สืบค้นเมื่อ 2018-06-26.
  35. Raphaëlle, Santarelli (2008). "Processed Meat and Colorectal Cancer: A Review of Epidemiologic and Experimental Evidence". Nutrition and Cancer. 60: 131–144. doi:10.1080/01635580701684872. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-24.
  36. "Chemicals in Meat Cooked at High Temperatures and Cancer Risk". National Cancer Institute. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-06.
  37. "Marinades Reduce Heterocyclic Amines from Primitive Food Preparation Techniques". Schor J. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-25.
  38. "Seer Stat Fact Sheets: Colon and Rectum Cancer". Seer.cancer.gov. National Cancer Institute. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-24.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]