เนื้อแปรรูป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อแปรรูปต่าง ๆ ที่มีขายในร้านค้า

เนื้อแปรรูป (อังกฤษ: processed meat) หมายถึงเนื้อสัตว์ที่ปรุงแต่งเพื่อเพิ่มรสชาติหรือเพิ่มอายุคุณภาพสินค้า วิธีการแปรรูปรวมทั้งการใส่เกลือ การบ่ม การหมัก และการรมควัน การแปรรูปรวมวิธีการทั้งหมดที่แปรเนื้อสด ยกเว้นกรรมวิธีง่าย ๆ เช่น ตัด/หั่น บด หรือผสม เนื้อที่แปรรูปมักจะเป็นเนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อไก่ โดยอาจรวมเครื่องใน และสิ่งที่ได้จากสัตว์อื่น ๆ รวมทั้งเลือด ผลิตภัณฑ์เนื้อแปรรูปรวมทั้งเบคอน แฮม ไส้กรอก เนื้อแช่เกลือ เนื้อแห้ง เนื้อกระป๋อง น้ำซอสที่ทำจากเนื้อ กุนเชียง หมูหย็อง หมูยอ เป็นต้น[1]

สำนักงานวิจัยมะเร็งนานาชาติ (IARC) และองค์การอนามัยโลกจัดเนื้อแปรรูปอยู่ในสารก่อมะเร็งกลุ่มที่ 1 ในมนุษย์ เพราะพบหลักฐานเพียงพอว่า การบริโภคเนื้อแปรรูปก่อมะเร็งลำไส้ใหญ่[2][3][4]

รายงานปี 2016 ของสถาบันวิจัยมะเร็งอเมริกัน (AICR) และกองทุนวิจัยมะเร็งแห่งโลก (WCRF) ระบุว่า การบริโภคเนื้อแปรรูปเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหาร[5] งานวิจัยปี 2012 ระบุแบคทีเรีย Helicobacter pylori ว่าอาจเป็นเหตุโดยแนะนำว่าควรศึกษาให้ละเอียดขึ้น[6]

การแปรรูปเริ่มตั้งแต่สมัยที่มนุษย์เริ่มรู้ว่า การหุงต้มและการใส่เกลือทำให้เนื้อเสียช้าลง แม้จะไม่รู้ว่าเริ่มขึ้นแรกสุดเมื่อไร แต่การใส่เกลือแล้วตากแดดให้แห้งมีตั้งแต่ในสมัยอียิปต์โบราณ การใช้น้ำแข็งและหิมะเริ่มในยุคโรมันต้น ๆ และคนทำขนมหวานชาวฝรั่งเศส Nicolas Appert ประดิษฐ์การบรรจุเนื้อกระป๋องในปี 1810 ซึ่งเขาได้รับรางวัลจากรัฐบาลฝรั่งเศส[1]

สารกันเสียโซเดียมไนไตรต์ (E250) ซึ่งผสมใส่ในเกลือแปรรูป ช่วยระงับการเติบโตของสปอร์แบคทีเรีย Clostridium botulinum (ซึ่งสร้างชีวพิษโบทูลินัม) ในเนื้อแปรรูปและในเนื้อแช่เย็น ปัญหาหลักของโซเดียมไนไตรต์ก็คือเมื่อเนื้อไหม้หรือสุกเกิน จะเกิดไนโตรซามีน (nitrosamine) ซึ่งก่อมะเร็ง ไนโตรซามีนยังเกิดจากปฏิกิริยาของไนไตรต์กับอะมีน (Amine) ในสภาพกรด (เช่นที่พบในกระเพาะอาหารมนุษย์) และในกระบวนการบ่มเนื้อให้อยู่ได้นาน[ต้องการอ้างอิง] ไนเตรตและไนไตรต์ที่บริโภคมาจากอาหารทั้งพืชและสัตว์ คนทั่วไป 80% จะได้ไนเตรตจากผักโดยเฉพาะที่เป็นใบหรือราก/หัว เช่น ผักโขม[7] ร่างกายมนุษย์จะเปลี่ยนไนเตรตเป็นไนไตรต์บางส่วน[7] องค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) พิจารณาไนไตรต์โดยทั่วไปว่า ปลอดภัย

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • Meat processing technology for small- to medium-scale producers เก็บถาวร 2018-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Gunter Heinz, Peter Hautzinger, Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO) Regional Office for Asia and the Pacific (RAP), Bangkok, 2007,
  • Pearson, A. M.; Tauber, F. W. (2012-12-06). Processed Meats. Springer Science & Business Media. ISBN 9789401096928. Introduction [2]
  • Yes, bacon is really killing us Bee Wilson, The Guardian, 2018-03-01.

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Pearson, A. M.; Tauber, F. W. (2012-12-06). Processed Meats. Springer Science & Business Media. ISBN 9789401096928. Introduction [1]
  2. "You might be surprised by what counts as processed meat". Business Insider. สืบค้นเมื่อ 2015-11-19.
  3. "What is processed meat? - BBC News". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2015-11-19.
  4. "IARC Monographs evaluate consumption of red meat and processed meat" (PDF). IARC. 2015-10-26. สืบค้นเมื่อ 2015-11-19.
  5. "Diet, nutrition, physical activity and stomach cancer" (PDF). American Institute for Cancer Research and World Cancer Research Fund. 2016-04-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-04-29. สืบค้นเมื่อ 2016-04-23.
  6. "The role of red and processed meat in colorectal cancer development: a perspective". Meat Science. 97: 583–596. doi:10.1016/j.meatsci.2014.02.011. สืบค้นเมื่อ 2016-12-07.
  7. 7.0 7.1 "Public Health Statement for NITRATE and NITRITE". Agency for Toxic Substances and Disease Registry, Division of Toxicology and Human Health Sciences. 2015-01-21. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-05.