เซอมารัง

พิกัด: 06°59′24″S 110°25′21″E / 6.99000°S 110.42250°E / -6.99000; 110.42250
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เซอมารัง

Semarang
นคร และเมืองหลวงของจังหวัด
นครเซอมารัง
Kota Semarang
การถอดเสียงภาษาอื่น ๆ
 • อักษรชวาꦏꦸꦛꦯꦼꦩꦫꦁ
ธงของเซอมารัง
ธง
ตราราชการของเซอมารัง
ตราอาร์ม
สมญา: 
Venetië van Java, เมืองลุมปียา
คำขวัญ: 
Kota ATLAS
คำย่อของ Aman, Tertib, Lancar, Asri, Sehat
(ปลอดภัย, เป็นระเบียบ, คล่องแคล่ว, สวย, สุขภาพดี)
ที่ตั้งภายในจังหวัดชวากลาง
ที่ตั้งภายในจังหวัดชวากลาง
เซอมารังตั้งอยู่ในเกาะชวา
เซอมารัง
เซอมารัง
ที่ตั้งในเกาะชวา
เซอมารังตั้งอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย
เซอมารัง
เซอมารัง
พิกัด: 06°59′24″S 110°25′21″E / 6.99000°S 110.42250°E / -6.99000; 110.42250
ประเทศธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย
ภูมิภาคชวา
จังหวัด ชวากลาง
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีHevearita Gunaryanti Rahayu (PDI-P)
พื้นที่
 • ทั้งหมด373.78 ตร.กม. (144.32 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล1,643.4 ตร.กม. (634.5 ตร.ไมล์)
ความสูง4 เมตร (13 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2024)[1]
 • ทั้งหมด1,694,740 คน
 • ความหนาแน่น4,500 คน/ตร.กม. (12,000 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล3,183,516 คน
 • ความหนาแน่นรวมปริมณฑล1,900 คน/ตร.กม. (5,000 คน/ตร.ไมล์)
 [2][3]
เดมะนิมเซอมารางัน (Semarangan)
ประชากรศาสตร์
 • กลุ่มชาติพันธุ์
 • ศาสนา (ค.ศ. 2022)[4][5]
เขตเวลาUTC+7 (เวลาอินโดนีเซียตะวันตก)
รหัสโทรศัพท์(+62) 24
ทะเบียนรถH
เอชดีไอ (ค.ศ. 2022)ลดลง 0.841 (สูงมาก)
เว็บไซต์semarangkota.go.id

เซอมารัง (อินโดนีเซีย: Semarang, ชวา: ꦯꦼꦩꦫꦁ) เป็นเมืองบนชายฝั่งทางเหนือของเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย และเป็นเมืองหลวงของจังหวัดชวากลาง มีพื้นที่ประมาณ 373.78 ตารางกิโลเมตร และมีจำนวนประชากรประมาณ 1.6 ล้านคน เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของอินโดนีเซีย เป็นเมืองท่าที่มีความสำคัญของเนเธอร์แลนด์ในยุคอาณานิคมและยังคงเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค มีประชากรชาวชวาหนาแน่น

ประวัติ[แก้]

ประวัติความเป็นมาของเซอมารังย้อนกลับไปช่วงท้ายของศตวรรษที่ 15 มีชาวชวาอิสลาม เข้ามาตั้งรกรากก่อตั้งหมู่บ้านและโรงเรียนสอนศาสนา เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 1547 และในศตวรรษที่ 19, เป็นที่รู้จักกันในนาม เบอร์โกตา

ในปี ค.ศ. 1678 เมืองเซอมารังก็ตกอยู่ในการควบคุมของบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ เพื่อเป็นการชำระหนี้ และอยู่ภายใต้อาณานิคมในเวลาต่อมา มีการขยายพื้นที่สร้างถนน และ ทำทางรถไฟ ทำให้เซอมารังเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญในยุคอาณานิคมอย่างรวดเร็ว

แม้ว่าเมืองซูราบายาจะเป็นศูนย์กลางของการปกครองและการเมืองในชวา แต่เซอมารังก็เป็นศูนย์กลางสำคัญของรัฐบาลในชวาเหนือด้วย หลังจากสิ้นสุดยุคอาณานิคม เมืองเซอมารังก็ได้กลายเป็นศูนย์กลางของฝ่ายซ้ายและพรรคชาตินิยม โดยการก่อตั้งของพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย เป็นที่รู้จักกันว่า "เมืองสีแดง"

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองเมืองพร้อมกับส่วนที่เหลือของเกาะชวา ในปี 1942 เมื่อสิ้นสุดสงคราม อินโดนีเซียได้ประกาศอิสรภาพในปี 1945 เซอมารังจึงกลายเป็นเมืองหลวงของจังหวัดชวากลาง

ภูมิศาสตร์[แก้]

ภูมิประเทศ[แก้]

เซอมารังตั้งอยู่ทางชายฝั่งด้านทิศเหนือของเกาะชวา ตั้งอยู่ที่พิกัด 6 ° 58 'ต 110 ° 25'อ พื้นที่ทางตอนเหนือของเมืองเป็นที่ราบชายฝั่งทะเล ในขณะที่พื้นที่ทางทิศใต้เป็นที่ราบสูง

ภูมิอากาศ[แก้]

เซอมารังมีสภาพภูมิอากาศเป็นแบบป่าฝนเขตร้อน ตั้งอยู่บนเส้นมรสุมเขตร้อน เป็นเมืองที่มีคุณสมบัติอากาศแบบร้อนชื้น และแห้งอย่างเห็นได้ชัดในเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม อุณหภูมิเฉลี่ยในเมือง โดยประมาณ 28 องศาเซลเซียส

ข้อมูลภูมิอากาศของเซอมารัง
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 29.4
(85)
29.4
(85)
30
(86)
31.1
(88)
31.7
(89)
31.7
(89)
31.7
(89)
31.7
(89)
32.2
(90)
32.2
(90)
31.1
(88)
30
(86)
31.02
(87.8)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 25
(77)
25
(77)
25
(77)
25.6
(78)
25.6
(78)
25
(77)
24.4
(76)
24.4
(76)
25
(77)
25.6
(78)
25.6
(78)
25
(77)
25.09
(77.2)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 430
(16.93)
360
(14.17)
320
(12.6)
230
(9.06)
160
(6.3)
80
(3.15)
80
(3.15)
60
(2.36)
100
(3.94)
160
(6.3)
220
(8.66)
330
(12.99)
2,780
(109.45)
แหล่งที่มา: Weatherbase [6]

เศรษฐกิจ[แก้]

ส่วนตะวันตกของเมือง เป็นพื้นที่สวนอุตสาหกรรมและโรงงานหลายแห่ง ท่าเรือของเซอมารังตั้งอยู่บนชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองและเป็นท่าเรือหลักของจังหวัดชวากลาง มีการผลิตสินค้า เช่น สิ่งทอ เครื่องเรือน และอาหารแปรรูป ธนาคารหลายแห่งในอินโดนีเซียมีสำนักงานใหญ่ในเซอมารัง ส่วนใหญ่สำนักงานเหล่านี้จะตั้งอยู่ในใจกลางเมือง และยังมีโรงแรมขนาดใหญ่ไว้รองรับนักเดินทาง นักธุรกิจและนักท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน

การขนส่ง[แก้]

ทางอากาศ[แก้]

เซอมารังมีการขนส่งทางอากาศด้วย โดยมีสนามบินนานาชาติ Achmad Yani ซึ่งมีเที่ยวบินต่อวันไปยังเมืองต่าง ๆ ของอินโดีเซีย และยังมีเที่ยวบินจากต่างประเทศด้วย เช่น สิงคโปร มาเลเซีย

ทางบก[แก้]

เซอมารังมีบริการ แท็กซี่สาธารณะ รถโดยสารประจำทาง รวมถึงรถไฟด้วย

ทางทะเล[แก้]

มีท่าเรือเพื่อขนส่งสินค้า และท่าเรือโดยสารด้วย (Tanjung Mas seaport)

วัฒนธรรม[แก้]

ประชากรของเซอมารังส่วนใหญ่เป็นชาวเกาะชวา รวมถึงชาวอินโดนีเชียจากเกาะต่าง ๆ ด้วย มีชาวจีนอาศัยอยู่ในใจกลางเมือง และมีอิทธิพลทางด้านเศรษฐกิจ ภาษาพูดมีการพูดภาษาอินโดนีเซียและชวา เป็นหลักและยังมีการพูดภาษาจีนฮกเกี้ยน ภาษาจีนกลาง ในการติดต่อธุรกิจด้วย

อ้างอิง[แก้]

  1. "Indonesia: Java Province (Regencies and Cities) - Population Statistics, Charts and Map". citypopulation.de. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 June 2021. สืบค้นเมื่อ 2020-11-05.
  2. Badan Pusat Statistik, Jakarta, 28 February 2024, Kota Semarang Dalam Angka 2024 (Katalog-BPS 1102001.3374)
  3. Badan Pusat Statistik, Jakarta, 2023, Kota Semarang Dalam Angka 2023 (Katalog-BPS 1102001.3374)
  4. "Peringatan". sp2010.bps.go.id.
  5. "Jumlah Penduduk Menurut Kabupaten Kota dan Agama di Provinsi Jawa Tengah, 2020". Badan Pusat Statistik Provinsi Jawa Tengah. 14 April 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 September 2022. สืบค้นเมื่อ 4 March 2022.
  6. "Weatherbase: Weather for Semarang, Indonesia". Weatherbase. 2011. Retrieved on December 1, 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]