พรรคประชาธิปไตยอินโดนีเซีย-การต่อสู้
พรรคประชาธิปไตยอินโดนีเซีย-การต่อสู้ Partai Demokrasi Indonesia Perjuangan | |
---|---|
ชื่อย่อ | PDI Perjuangan, PDI-P |
ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย | โจโก วีโดโด |
ประธานหญิง | เมกาวาตี ซูการ์โนปูตรี |
เลขาธิการ | ฮัสโต กริสตียันโต |
คำขวัญ | พรรคของวง จีลิก (อินโดนีเซีย: Partainya wong cilik) |
ก่อตั้ง | 10 มกราคม 1973 15 กุมภาพันธ์ 1999 | (การอ้างของพรรคประชาธิปไตยอินโดนีเซีย-การต่อสู้)
แยกจาก | พรรคประชาธิปไตยอินโดนีเซีย-การต่อสู้ |
ที่ทำการ | จาการ์ตา |
ฝ่ายเยาวชน | BMI (Indonesian Young Bulls) TMP (Red White Cadets) |
กลุ่มมุสลิม | บามูซี (Indonesian Muslims Abode) |
อุดมการณ์ | ปัญจศีล ลัทธิมาร์แฮน[1] ชาตินิยมทางเศรษฐกิจ[2] ชาตินิยม[2] ลัทธิอิงสามัญชน[2] |
จุดยืน | กลาง-ซ้าย[3] |
กลุ่มระดับสากล | Progressive Alliance[4] สภาเสรีภาพและประชาธิปไตยแห่งเอเชีย |
กลุ่มในภูมิภาค | เครือข่ายประชาธิปไตยสังคมนิยมในเอเชีย[5] |
หมายเลขบัตรเลือกตั้ง | 3 |
สภาผู้แทนราษฎร | แม่แบบ:DPR RI / 575 <div style="background-color: แม่แบบ:Indonesian Democratic Party – Struggle/meta/color; width: ข้อผิดพลาดนิพจน์: "[" เป็นอักขระเครื่องหมายวรรคตอนที่ไม่รู้จัก%; height: 100%;"> |
สภาผู้แทนราษฎรประจำจังหวัด | 418 / 2,207 |
เว็บไซต์ | |
www |
พรรคประชาธิปไตยอินโดนีเซีย – การต่อสู้ (Indonesian Democratic Party – Struggle) เป็นพรรคการเมืองในอินโดนีเซีย นำโดยเมกาวาตี ซูการ์โนปูตรี เมกาวตีได้เป็นประธานาธิบดีของอินโดนีเซียระหว่าง พ.ศ. 2544 – 2547 แนวคิดหลักของพรรคคือปัญจศีล
จุดกำเนิด
[แก้]ในการประชุมระดับชาติ พ.ศ. 2536 เมกาวตี ซูการ์โนปุตรีได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปไตยอินโดนีเซียซึ่งเป็นพรรคการเมืองในยุคระเบียบใหม่ การเลือกตั้งนี้ไม่เป็นที่ยอมรับของรัฐบาล และยังพยายามผลักดัน บูดี อาร์โยโน คู่แข่งให้เป็นหัวหน้าพรรค การประชุมครั้งพิเศษถูกจัดขึ้นในที่ๆรัฐบาลคาดหวังว่าอาร์โยโนจะได้รับเลือก แต่เมกาวตีชนะอีกครั้ง
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2539 มีการประชุมระดับชาติอีกครั้งที่เมดาน ซึ่งเมกาวตีไม่ได้รับเชิญ มีกลุ่มที่ต่อต้านเมกาวตีและผู้ที่รัฐบาลสนับสนุนคือสุรยาดีได้รับการเลือกตั้งเป็นหัวหน้าพรรค เมกาวตีประกาศไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งและแสดงตนเป็นผู้นำพรรคประชาธิปไตยอินโดนีเซียที่ถูกต้อง ตอนเช้าของวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 สุรยาดีเดินทางกลับมายังสำนักงานพรรคที่จาการ์ตา กลุ่มผู้สนับสนุนสุรยาดีเข้าบุกยึดสำนักงานใหญ่และปะทะกับผู้สนับสนุนเมกาวตีที่ตั้งหลักอยู่ที่นั่นตั้งแต่มีการประชุมที่เมดาน ทำให้เกิดการจลาจลขึ้นในที่สุด
พรรคประชาธิปไตยอินโดนีเซียถูกแบ่งเป็นสองส่วนคือกลุ่มของเมกาวตีและกลุ่มของสุรยาดี ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2540 กลุ่มของเมกาวตีหันไปสนับสนุนพรรคสหพัฒนาการทำให้พรรคประชาธิปไตยอินโดนีเซียได้คะแนนเสียงเพียง 3% เมื่อซูฮาร์โตหมดอำนาจ การควบคุมจำนวนพรรคการเมืองสิ้นสุดลง กลุ่มของเมกาวตีได้แยกออกมาตั้งพรรคประชาธิปไตยอินโดนีเซีย-การต่อสู้โดยเมกาวตีเป็นหัวหน้าพรรค
การเลือกตั้ง พ.ศ. 2542
[แก้]พรรคนี้ได้คะแนน 33% ซึ่งได้คะแนนสูงสุดแต่ไม่ได้เสียงข้างมากอย่างแท้จริง เพราะไม่ได้เป็นแนวร่วมกับพรรคการเมืองใด ในครั้งแรกตัวเลือกแข่งขันเป็นประธานาธิบดีมีเมกาวตีและฮาบิบี แต่ต่อมา ฮาบิบีถอนตัวและโกลการ์หันไปสนับสนุนอับดุลเราะห์มาน วาฮีด ทำให้วาฮิดได้เป็นประธานาธิบดี เมกาวตีประท้วงแต่ไม่สำเร็จ เธอได้รับเลือกเป็นรองประธานาธิบดี ต่อมา วาฮิดถูกสภาถอดถอนในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2544 เมกาวตีในฐานะรองประธานาธิบดีได้เป็นประธานาธิบดีแทน
ความแตกแยกภายในพรรค
[แก้]ได้เกิดความแตกแยกขึ้นในพรรคหลังจากที่เมกาวตีได้เป็นประธานาธิบดี โดยมีสมาชิกแยกตัวออกไปในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2545 สุขมวตี ซูการ์โนปุตรีได้ก่อตั้งพรรคแห่งชาติอินโดนีเซีย ส่วนรัชมวตี ซูการ์โนปุตรีก่อตั้งพรรคผู้บุกเบิกในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2545
การเลือกตั้ง พ.ศ. 2547
[แก้]พรรคนี้ได้คะแนนเสียงเพียง 18.5%[6] และไม่ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2552 พรรคได้คะแนนเสียง 14%[7][8]และไม่ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีอีกเช่นกัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://www.neliti.com/id/publications/295078/ideologi-dan-partai-politik-menakar-ideologi-politik-marhaenisme-di-pdip-sosiali.
{{cite web}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help) - ↑ 2.0 2.1 2.2 Bulkin, Nadia (24 October 2013). "Indonesia's Political Parties". Carnegie Endowment for International Peace. สืบค้นเมื่อ 1 August 2019.
- ↑ Indonesia Electoral, Political Parties Laws and Regulations Handbook - Strategic Information, Regulations, Procedures. June 2015. ISBN 9781514517017.
- ↑ "Parties & Organisations". Progressive Alliance. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-06. สืบค้นเมื่อ 9 November 2018.
- ↑ "About Us". SocDem Asia. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2022. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2022.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-06-20. สืบค้นเมื่อ 2015-04-23.
- ↑ Indonesian General Election Commission website[ลิงก์เสีย] Official Election Results
- ↑ Indonesian General Election Commission website KPU Ubah Perolehan Kursi Parpol di DPR (KPU Changes Allocations of Parties' seats in the DPR (15 May 2009)) เก็บถาวร 2014-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Access date 24 May 2009 (อินโดนีเซีย)