ข้ามไปเนื้อหา

เจ้าชายเยิร์นแห่งเดนมาร์ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าชายเยิร์นแห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์
ดยุกแห่งคัมบาลันด์
พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถเเห่ง อังกฤษ สกอตแลนด์ เเละไอร์แลนด์
ดำรงพระยศ8 มีนาคม ค.ศ. 1702 - 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1707
พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถแห่ง
บริเตนใหญ่และไอร์แลนด์
ดำรงพระยศ1 พฤษภาคม ค.ศ. 1707 - 28 ตุลาคม ค.ศ. 1708
ประสูติ2 เมษายน ค.ศ. 1653
โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก
สิ้นพระชนม์28 ตุลาคม ค.ศ. 1708 (55 ปี 209 วัน)
พระราชวังเค็นซิงตัน ประเทศอังกฤษ
พระชายาสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์แห่งบริเตนใหญ่
พระบุตรเจ้าชายวิลเลี่ยม ดยุกแห่งกลอสเตอร์
ราชวงศ์ออลเดนบูร์ก
พระบิดาพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 3 แห่งเดนมาร์ก
พระมารดาโซฟี อมาลีแห่งบรันสวิค-ลืนเบิร์ก
ธรรมเนียมพระยศของ
เจ้าชายเยิร์น พระราชสวามี
ตราประจำพระอิสริยยศ
การทูลHis Royal Highness
(ใต้ฝ่าละออพระบาท)
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับYour Royal Highness
(พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ)

เจ้าชายเยิร์นแห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์ (เดนมาร์ก: Jørgen) หรือ เจ้าชายจอร์จ ดยุกแห่งคัมบาร์ลันด์ (อังกฤษ: The Prince George, Duke of Cumberland) (2 เมษายน ค.ศ. 1653 - 28 ตุลาคม ค.ศ. 1708) เจ้าชายเยิร์นแห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์ประสูติเมื่อวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1653 ที่โคเปนเฮเกนในประเทศเดนมาร์ก เป็นพระโอรสองค์ที่สามของพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 3 แห่งเดนมาร์กและ พระราชินีโซฟี อมาลี (Sophie Amalie of Brunswick-Lüneburg) เป็นพระสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์แห่งบริเตนใหญ่ ระหว่างวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1702 ถึงวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1708 เจ้าชายเยิร์นสิ้นพระชนม์เมื่อ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1708 ที่พระราชวังเค็นซิงตัน ประเทศอังกฤษ พระศพตั้งอยู่ที่แอบบีเวสต์มินสเตอร์

ชีวิตในเดนมาร์ก

[แก้]

เมื่อยังทรงพระเยาว์เจ้าชายเยิร์นทรงได้รับการศึกษาจากอ็อตโต โกรท[1]ระหว่างปี ค.ศ. 1661 ถึงปี ค.ศ. 1665

ในปี ค.ศ. 1674 ทรงเป็นผู้หนึ่งผู้มีสิทธิได้รับเลือกตั้งให้เป็นพระมหากษัตริย์แห่งโปแลนด์คนหนึ่งโดยทรงได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส[2] แต่ทรงได้รับการเลี้ยงดูมาเป็นลูเธอรันอย่างเคร่งครัดซึ่งถ้าทรงได้รับเลือกก็ต้องทรงเปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิก. [3] แต่เจ้าชายจอร์จทรงมีความเหมาะสมในการเป็นพระสวามีของเจ้าหญิงแอนน์เพราะเดนมาร์กและอังกฤษเป็นประเทศโปรเตสแตนต์ด้วยกัน แม้ว่าในขณะนั้นโอกาสที่เจ้าหญิงแอนน์จะได้ขึ้นครองราชย์จะมีน้อยก็ตาม พระปิตุลาของเจ้าหญิงแอนน์ตกลงว่าแอนน์ควรจะแต่งงานกับเจ้าชายจอร์จซึ่งก็เป็นที่ตกลงโดยพระราชบิดาพระเจ้าเจมส์ที่ 2 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงพอพระทัยแต่เจ้าชายวิลเลียมแห่งออเรนจ์พระสวามีของพระขนิษฐาเจ้าหญิงแมรีไม่ทรงพอพระทัย[4]

พระสวามีในพระราชินีนาถแอนน์

[แก้]

เจ้าชายเยิร์น(จอร์จ)และเจ้าหญิงแอนน์ทรงเสกสมรสกันเมื่อวันที่28 กรกฎาคม ค.ศ. 1683 ที่พระราชวังเซนต์เจมส์ใน กรุงลอนดอน [5] หลังจากนั้นก็ทรงได้รับสัญชาติอังกฤษและทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์การ์เตอร์ และพระอิศริยยศเป็นดยุกแห่งคัมบาร์ลันด์, เอิร์ลแห่งเค็นดัล และ บารอนแห่งโวคคิงแฮม. [6] เจ้าชายจอร์จทรงได้รับเงินประจำปีจากรัฐสภาปีละ ƒ10,000 ในขณะที่เจ้าหญิงแอนน์ทรงได้รับ ƒ20,000 [7]

แม้ว่าจะทรงเป็นโปรเตสแตนต์ ตลอดพระชนม์ชีพแต่มิได้ทรงเปลี่ยนไปนับถือนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ที่พระชายาทรงเป็นประมุขสูงสุด ทรงยังเป็นลูเธอรันแม้ว่าจะหลังจากที่เจ้าหญิงแอนน์ขึ้นครองราชย์และทรงมีชาเปลเป็นการส่วนพระองค์[8]

ชีวิตการสมรสของพระองค์กับพระราชินีนาถแอนน์เป็นการสมรสที่มีความสุข พระราชินีนาถแอนน์ทรงพระครรภ์ถึง 18 ครั้ง ระหว่างปี ค.ศ. 1684 ถึงปี ค.ศ. 1700 แต่วิลเลียม ดยุกแห่งกลอสเตอร์ก็พระองค์เดียวที่รอดมาได้แต่ก็มาสิ้นพระชนม์ด้วยฝีดาษในปี ค.ศ. 1700 เมื่อพระชนมายุได้ 11 พรรษา ทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่าเหตุที่ทรงแท้งมาโดยตลอดก็อาจจะเป็นเพราะเจ้าชายจอร์จประชวรด้วยโรคซิฟิลิส อีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่าแอนน์อาจจะทรงถ่ายทอดเชื้อ haemolytic ให้กับพระทารกที่เพิ่งประสูติ (Rhesus disease).

กลุ่มทางสังคมและทางการเมืองของทั้งสองพระองค์เรียกกันว่า “Cockpit Circle” ตามสถานที่ประทับในกรุงลอนดอนที่ปัจจุบันเป็นถนนดาวน์นิงในเวสต์มินสเตอร์) หลังจากที่พระขนิษฐาเจ้าหญิงแมรีทรงเสกสมรสกับเจ้าชายวิลเลียมแห่งออเร้นจ์แล้วก็ทรงย้ายไปเนเธอแลนด์ตามพระสวามี ฝ่ายโปรเตสแตนต์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ก็หันความสนใจไปยังเจ้าหญิงแอนน์และจอร์จแทนที่จะเป็นเจ้าหญิงแมรีผู้เป็นรัชทายาทโดยพฤตินัย ในปีค.ศ. 1688 การตัดสินพระทัยในการละทิ้งพระเจ้าเจมส์ของเจ้าชายวิลเลียม, เจ้าหญิงแมรี, เจ้าชายจอร์จ และเจ้าหญิงแอนน์เป็นสิ่งสำคัญที่เป็นความมีสิทธิในการเป็นพระมหากษัตริย์ของพระเจ้าเจมส์เริ่มลดถอยลงและในที่สุดก็นำมาซึ่งการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ ในปีค.ศ. 1689 ที่นำโดยเจ้าชายวิลเลียมและสนับสนุนโดยเจ้าชายจอร์จ จอร์จทรงได้รับตำแหน่งเป็นผู้บังคับบัญชากองเรือสูงสุดแต่ก็ถูกยกเลิกในปีต่อมา

เมื่อพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ทรงทำพิธีราชาภิเษกในปี ค.ศ. 1685 เจ้าชายวิลเลียมไม่ทรงยอมเข้าร่วมพิธีเพราะเจ้าชายจอร์จผู้เป็นสมาชิกในกลุ่มเจ้านายยุโรปทรงมีฐานะที่เหนือกว่า แต่ความเคลือบแคลงใจนี้ก็มาหายไประหว่างการปฏิวัติแต่ก็ยังไม่หายสนิทและยังมีผลกระทบกระเทือนต่อความสัมพันธ์ระหว่างสองพระองค์เรื่อยมาจนเมื่อพระราชินีนาถแมรีที่ 2 เสด็จสวรรคตอย่างกะทันหันในปี ค.ศ. 1694 แต่เจ้าชายจอร์จก็มิได้มีตำแหน่งหน้าที่สำคัญอย่างใดจนมาถึงรัชสมัยของพระชายาที่เริ่มในปี ค.ศ. 1702

เจ้าชายจอร์จมีพระปรีชาสามารคในการเป็นผู้บริหารการทหารและทรงดำรงตำแหน่งผู้บังคับบัญชาทหารสูงสุดระหว่างปี ค.ศ. 1702 ถึงปี ค.ศ. 1708 เมื่อเจ้าชายเยิร์น(จอร์จ)สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1708 พระราชินีนาถแอนน์ก็ทรงโศรกเศร้าจนไม่ยอมแต่งตั้งผู้ใดแทนตำแหน่งที่เจ้าชายเยิร์นเคยทำ แต่ในที่สุดก็ทรงต้องยอมเพราะไม่ทรงทนกับการที่จะต้องลงพระนามในเอกสารที่เจ้าชายเยิร์นเคยเป็นผู้ลงพระนาม

อ้างอิง

[แก้]
  1. Michael A. Beatty, The English Royal Family of America, from Jamestown to the American Revolution
  2. Zbigniew Wójcik, Jan Sobieski, p. 215. Warsaw 1982
  3. Michael A. Beatty, The English Royal Family of America, from Jamestown to the American Revolution
  4. Winston S. Churchill, Marlborough
  5. Michael A. Beatty, The English Royal Family of America, from Jamestown to the American Revolution
  6. Michael A. Beatty, The English Royal Family of America, from Jamestown to the American Revolution
  7. Winston S. Churchill, Marlborough
  8. Michael A. Beatty, The English Royal Family of America, from Jamestown to the American Revolution


ดูเพิ่ม

[แก้]