เขตมิสซังกรุงเทพฯ
อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ Archidiœcesis Bangkokensis | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
ประเทศ | ไทย |
อาณาเขต | กรุงเทพมหานคร |
พิกัด | 13°25′56″N 100°18′19″E / 13.4323°N 100.3054°E |
สถิติ | |
พื้นที่ | 18,831 ตารางกิโลเมตร (7,271 ตารางไมล์) |
ประชากร - รวม - คาทอลิก | (2012) 13,226,721[1] 115,945[1] (0.9%) |
แพริช | 54[1] |
ข้อมูล | |
นิกาย | คาทอลิก |
Sui iuris church | คริสตจักรละติน |
จารีต | จารีตโรมัน |
สถาปนา | 18 ธันวาคม 1965 |
อาสนวิหาร | อาสนวิหารอัสสัมชัญ |
ผู้นำปัจจุบัน | |
สันตะปาปา | สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส |
ประมุข | ว่าง |
ผู้ดูแลจากสันตะสำนัก | วีระ อาภรณ์รัตน์ |
อุปมุขนายก | อดิศักดิ์ สมแสงสรวง |
มุขนายกกิตติคุณ | มีชัย กิจบุญชู (1983–ปัจจุบัน) เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช (2009-ปัจจุบัน) |
แผนที่ | |
เว็บไซต์ | |
www |
เขตมิสซังกรุงเทพฯ[2] คริสต์ศาสนิกชนชาวคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่าอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เป็นอัครมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทย ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ ฉะเชิงเทราบางส่วน อำเภอบ้านนา (นครนายก) นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สุพรรณบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร พระนครศรีอยุธยา และอ่างทอง
สำนักมิสซังคาทอลิกกรุงเทพฯ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 51 ซอยโรงแรมแมนดารินโอเรียนเต็ล ซอยเจริญกรุง 40 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
ประวัติ
[แก้]เขตมิสซังกรุงเทพฯ มีพัฒนาการสืบต่อมาจากเขตมิสซังสยาม (Apostolic Vicarate of Siam) ซึ่งเป็นเขตผู้แทนพระสันตะปาปาแห่งแรกของศาสนจักรคาทอลิกในสยามที่ก่อตั้งมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช[3] ต่อมาเขตมิสซังสยามถูกแบ่งออกเป็นสองเขตมิสซัง โดยกรุงเทพขึ้นกับเขตมิสซังสยามตะวันออก (Vicariate Apostolic of Siam Orientale) ในปี ค.ศ. 1841 และเป็นเขตมิสซังกรุงเทพฯ ในปี ค.ศ. 1924 เมื่อเห็นว่างานเผยแผ่ศาสนาในแผ่นดินไทยมีความเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างดี สมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6 จึงได้ทรงสถาปนาเขตมิสซังกรุงเทพฯ ขึ้นเป็นอัครมุขมณฑล (Archdiocese) เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1965[4] โดยมีพื้นที่ครอบคลุมภาคกลางของประเทศไทย แต่ทางราชการไทยยังคงเรียกว่าเขตมิสซังกรุงเทพฯ พระคุณเจ้ายอแซฟ ยวง นิตโย ประมุขมิสซังกรุงเทพฯ องค์สุดท้ายได้รับแต่งตั้งเป็นอัครมุขนายกองค์แรกของมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ
ต่อมาพื้นที่บริเวณภาคกลางตอนบนถูกยกสถานะขึ้นเป็นเขตมิสซังนครสวรรค์ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1967[4] เขตมิสซังกรุงเทพฯ ปัจจุบันจึงมีพื้นที่เหลือครอบคลุม 11 จังหวัดข้างต้น
ประมุขมิสซัง
[แก้]หากไม่นับรวมประมุขมิสซังสยาม ถือว่ามิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ มีประมุขมาแล้ว 5 องค์ ได้แก่
ลำดับ | รูป | รายชื่อ | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | ตำแหน่ง |
1 | เรอเน แปร์รอส | ค.ศ. 1909 | ค.ศ. 1947 | ผู้แทนพระสันตะปาปา | |
2 | หลุยส์ โชแรง | ค.ศ. 1947 | ค.ศ. 1965 | ผู้แทนพระสันตะปาปา | |
3 | ยอแซฟ ยวง นิตโย | ค.ศ. 1965 | ค.ศ. 1973 | มุขนายกมหานคร | |
4 | ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู | ค.ศ. 1973 | ค.ศ. 2009 | มุขนายกมหานคร | |
5 | ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช | ค.ศ. 2009 | ค.ศ. 2024 | มุขนายกมหานคร |
สถิติ
[แก้]สถิติมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 มีดังนี้
ข้อมูล | พ.ศ. 2554[5] | พ.ศ. 2555[6] | พ.ศ. 2556[7] | พ.ศ. 2557[8] | พ.ศ. 2558[9] | พ.ศ. 2559[10] | พ.ศ. 2560[11] | พ.ศ. 2561[12] | พ.ศ. 2564[13] | พ.ศ. 2565[14] |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชาวคาทอลิก | 115,945 | 117,017 | 118,442 | 118,654 | 119,497 | 120,764 | 121,039 | 121,354 | 122,094 | 122,554 |
บาทหลวงมิสซัง | 143 | 144 | 144 | 147 | 149 | 148 | 151 | 150 | 150 | 151 |
บาทหลวงนักบวช | 93 | 99 | 97 | 103 | 98 | 102 | 92 | 86 | 93 | 90 |
ภราดา | 51 | 52 | 61 | 55 | 58 | 60 | 63 | 57 | 64 | 66 |
ภคินี | 456 | 466 | 456 | 450 | 441 | 439 | 448 | 464 | 440 | 439 |
โบสถ์ | 70 | 70 | 70 | 70 | 70 | 70 | 74 | 74 | 75 | 76 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Catholic Hierarchy: "Archdiocese of Bangkok" retrieved November 8, 2015
- ↑ "เอกสารกรมการศาสนา หน้า 161" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2012-03-22.
- ↑ วิกตอร์ ลาร์เก, ประวัติพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย, แม่พระยุคใหม่, 2539, หน้า 11
- ↑ 4.0 4.1 เรือง อาภรณ์รัตน์, พระคริสตเจ้าและพระศาสนจักรของพระองค์, เขตมิสซังกรุงเทพฯ, 2535, หน้า 50-3
- ↑ ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2556/2013, กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, หน้า 3
- ↑ ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2557/2014, กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, หน้า 3
- ↑ ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2558/2015, กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, หน้า 3
- ↑ ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2559/2016, กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, หน้า 3
- ↑ ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2560/2017, กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, หน้า 3
- ↑ ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2018/2561, กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, หน้า 3
- ↑ ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2019/2562, กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, หน้า 3
- ↑ ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2020/2563, กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, หน้า 3
- ↑ ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2021/2564, กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, หน้า 3
- ↑ ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2022/2565, กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, หน้า 3