อาณัฐชัย รัตตกุล
อาณัฐชัย รัตตกุล | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 17 ตุลาคม พ.ศ. 2497 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2537–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | ภัทธีมา โกมลบวรกุล (หย่า) สุกัญญา แกสิน |
อาณัฐชัย รัตตกุล (เกิด 17 ตุลาคม พ.ศ. 2497) ผู้อำนวยการศูนย์นโยบายสาธารณะและการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต และอดีตนักการเมืองชาวไทย
ประวัติ
[แก้]อาณัฐชัย เกิดเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2497 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรชายของนายพิชัย รัตตกุล อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และประธานรัฐสภา กับคุณหญิงจรวย รัตตกุล และเป็นน้องชายของ พิจิตต รัตตกุล อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ด้านครอบครัวสมรสครั้งแรกกับนางสาวภัทธีมา โกมลบวรกุล มีบุตร 1 คนคือ ชวนท รัตตกุล สมรสครั้งที่สองกับสุกัญญา แกสิน มีบุตร 2 คนคือ กฤษชัย รัตตกุล และพชพร รัตตกุล
จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน ปริญญาตรีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และปริญญาเอกหลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
การทำงาน
[แก้]อาณัฐชัย รัตตกุล เคยลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) 2 ครั้ง ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในปี พ.ศ. 2538 โดยลงในเขต 5 กรุงเทพมหานคร (เขตดินแดง, ห้วยขวาง, วัฒนา, พระโขนง) ร่วมกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และดร.ธวัช วิชัยดิษฐ แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[1] และในปี พ.ศ. 2544 ในเขต 9 กรุงเทพมหานคร (เขตคลองเตย) ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับนาวาอากาศตรีศิธา ทิวารี จากพรรคไทยรักไทย [2]
และลงเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2549 ก็ไม่ได้รับการเลือกตั้งอีก[3] [4]
ดร.อาณัฐชัย เป็นผู้ที่สนับสนุนด้านความสัมพันธ์ระหว่างไทย-เกาหลี และเป็นผู้สนับสนุนกีฬาเทควันโด จนก่อตั้งเป็นสมาคมเทควันโดแห่งประเทศไทย และเป็นนายกสมาคมฯเป็นคนแรกด้วย[5]
ในปี พ.ศ. 2550 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แทนตำแหน่งที่ว่าง[6]
ในทางด้านการแสดง เคยแสดงรับเชิญในละครเรื่อง เจ้านาง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ หน้า 80, คือความคิด คือชีวิต คือ...อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดย ศิริกานดา ศรีชลัมภ์ (มีนาคม, พ.ศ. 2547) ISBN 974-92093-3-8
- ↑ "ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับนาวาอากาศตรี" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-04-29. สืบค้นเมื่อ 2022-04-25.
- ↑ เปิดสาแหรกผู้สมัครสว.ทั่วประเทศ 49เก็บถาวร 2007-04-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากผู้จัดการออนไลน์
- ↑ ผลการเลือกตั้ง ส.ว.ทั่วประเทศอย่างไม่เป็นทางการ[ลิงก์เสีย]
- ↑ ร่วมยินดี ดร.อาณัฐชัย รัตตกุล คนไทยคนแรกในรอบ 20 ปี[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศสำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรื่อง รายชื่อสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แทนตำแหน่งที่ว่าง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๘, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๒๔, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ เก็บถาวร 2022-11-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๓๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๙ ตุลาคม ๒๕๓๕
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2497
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- บุคคลจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- นักการเมืองไทย
- อาจารย์คณะรัฐศาสตร์
- บุคคลจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
- บุคคลในวงการพลศึกษา
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.