อัลฆามิอา
อัลฆามิอา (สเปน: aljamía) หรือ อะญะมียะฮ์ (อาหรับ: عَجَمِيَة, ʿajamiyah) เป็นเอกสารตัวเขียนที่ใช้อักษรอาหรับในการเขียนภาษากลุ่มโรมานซ์ เช่น ภาษาโมแซรับ ภาษาโปรตุเกส ภาษาสเปน ภาษาอารากอน หรือภาษาลาดิโน
คำว่าอัลฆามิอาเพี้ยนมาจากคำในภาษาอาหรับว่า ʿajamiyah ซึ่งในที่นี้หมายถึงภาษาต่างชาติ และโดยทั่วไปใช้เรียกกลุ่มชนที่ไม่มีบรรพบุรุษเป็นชาวอาหรับ[2] ส่วนในทางภาษาศาสตร์ อัลฆามิอาคือการนำอักษรอาหรับไปเขียนภาษาในกลุ่มภาษาโรมานซ์ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวันในบางพื้นที่ของอัลอันดะลุส ส่วนภาษาอาหรับเป็นภาษาที่ใช้ในทางวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรมชั้นสูง และศาสนา
ระบบการเขียนกลุ่มภาษาโรมานซ์ด้วยอักษรอาหรับพัฒนาขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 15 (พุทธศตวรรษที่ 20) และพบมากในศตวรรษต่อมา[3] ต่อมา ชาวโมริสโกได้เลิกใช้ภาษาอาหรับเป็นภาษาทางศาสนา และใช้ภาษาสเปนแทน[4]
การใช้ในสเปน
[แก้]อัลฆามิอามีบทบาทสำคัญในการรักษาศาสนาอิสลามและภาษาอาหรับในชีวิตของชาวโมริสโก หลังจากที่จักรวรรดิมุสลิมในคาบสมุทรไอบีเรียล่มสลาย ชาวโมริสโกถูกบังคับให้เปลี่ยนศาสนาเป็นชาวคริสต์ มิฉะนั้นจะถูกขับออกจากคาบสมุทร แต่ชาวโมริสโกบางส่วนก็ยังใช้อัลฆามิอาอยู่
ใน ค.ศ. 1567 (พ.ศ. 2110) พระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน ได้ออกพระราชกฤษฎีกาบังคับให้ชาวโมริสโกเลิกใช้ภาษาอาหรับในทุกกรณี ไม่ว่าจะพูดหรือเขียน ทางการหรือไม่ทางการ การใช้ภาษาอาหรับกลายเป็นอาชญากรรม ชาวโมริสโกได้แปลบทสวดและวจนะของนบีมุฮัมมัดภาษาอาหรับออกมาเป็นภาษาสเปนในรูปของอัลฆามิอา ม้วนเอกสารอัลฆามิอาถูกส่งต่อเวียนกันไปในหมู่ชาวโมริสโก ปัจจุบันบางส่วนได้รับการเก็บรักษาในหอสมุดแห่งชาติของสเปน
การใช้แบบอื่น
[แก้]บางครั้งมีการใช้คำว่า "อัลฆามิอา" เรียกการถอดเสียงภาษาอื่น (นอกเหนือจากภาษากลุ่มโรมานซ์) ซึ่งไม่ใช่กลุ่มภาษาเซมิติกเป็นอักษรอาหรับ เช่น การเขียนภาษาบอสเนียและภาษาแอลเบเนียที่เขียนด้วยอักษรอาหรับระหว่างสมัยจักรวรรดิออตโตมัน เคยถูกเรียกว่าอัลฆามิอาเช่นกัน แต่ก็มีการใช้คำ อาเรบีตซา ซึ่งหมายถึงการใช้อักษรอาหรับเขียนภาษาในกลุ่มภาษาสลาฟ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ The passage is an invitation directed to the Spanish Moriscos or Crypto-Muslims so that they continue fulfilling the Islamic prescriptions in spite of the legal prohibitions and so that they disguise and they are protected showing public adhesion the Christian faith.
- ↑ Chejne, A.G. (1993): Historia de España musulmana. Editorial Cátedra. Madrid, Spain. Published originally as: Chejne, A.G. (1974): Muslim Spain: Its History and Culture. University of Minnesota Press. Minneapolis, USA
- ↑ L.P. Harvey. "The Moriscos and the Hajj" Bulletin of the British Society for Middle Eastern Studies, 14.1 (1987:11–24) p. 15.
- ↑ Gerard Albert Wiegers, Islamic Literature in Spanish and Aljamiado 1994, p. 226.
ดูเพิ่ม
[แก้]- Los Siete Alhaicales y otras plegarias de mudéjares y moriscos by Xavier Casassas Canals published by Almuzara, Sevilla (Spain), 2007. (ในภาษาสเปน).
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "A bilingual Arabic-aljamiado Qur'an from the fifteenth century", Árabo - Islámica, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 ตุลาคม 2005
- "Aljamiado (Texts and Studies)", Árabo - Islámica, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 เมษายน 2005
- "Alhadith: Morisco Literature & Culture", Stanford University, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 ธันวาคม 2012,
A website devoted to the literature and language of the Moriscos; contains a multilingual bibliography, digital texts, and a catalogue of aljamiado-morisco manuscripts