ข้ามไปเนื้อหา

หลิว เช่าฉี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หลิว เช่าฉี
刘少奇
ประธานสาธารณรัฐประชาชนจีน คนที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
27 เมษายน ค.ศ. 1959 – 31 ตุลาคม ค.ศ. 1968
(9 ปี 187 วัน)
หัวหน้ารัฐบาลโจว เอินไหล
รองประธานาธิบดีต่ง ปี้อู่ และซ่ง ชิ่งหลิง
ผู้นำเหมา เจ๋อตง (ประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน)
ก่อนหน้าเหมา เจ๋อตง
ถัดไปต่ง ปี้อู่ และซ่ง ชิ่งหลิง (รักษาการ)
ประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติ คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
27 กันยายน ค.ศ. 1954 – 27 เมษายน ค.ศ. 1959
(4 ปี 212 วัน)
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปจู เต๋อ
รองประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ดำรงตำแหน่ง
28 กันยายน ค.ศ. 1956 – 1 สิงหาคม ค.ศ. 1966
(9 ปี 307 วัน)
ประธานเหมา เจ๋อตง
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปหลิน เปียว
สมาชิกสภาประชาชนแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
15 กันยายน ค.ศ. 1954 – 21 ตุลาคม ค.ศ. 1968
(14 ปี 36 วัน)
เขตเลือกตั้งปักกิ่ง ทั้งเขต
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1898(1898-11-24)
หนิงเซียง, มณฑลหูหนาน, จักรวรรดิชิง
เสียชีวิต12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1969(1969-11-12) (70 ปี)
ไคเฟิง, มณฑลเหอหนาน, สาธารณรัฐประชาชนจีน
พรรคการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน (1921–1968)
คู่สมรส
บุตร9 (รวมถึง หลิว หยุ่นปิน และหลิว ยฺเหวียน)
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวย่อ
อักษรจีนตัวเต็ม劉少奇

หลิว เช่าฉี (จีน: 刘少奇; พินอิน: Liú Shàoqí; 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1898 – 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1969) เป็นนักปฏิวัติและนักการเมืองชาวจีน ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติตั้งแต่ปี ค.ศ. 1954 ถึง 1959 รองประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีนคนที่หนึ่งตั้งแต่ปี ค.ศ. 1957 ถึง 1966 และประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน (ประมุขแห่งรัฐ) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1959 ถึง 1968 เขาเคยได้รับการพิจารณาให้เป็นผู้สืบทอดอำนาจต่อจากเหมา เจ๋อตง แต่ต่อมาได้ถูกปลดจากตำแหน่งและถูกกวาดล้างในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม

ในช่วงวัยเยาว์ หลิวได้เข้าร่วมขบวนการแรงงานในการนัดหยุดงานหลายครั้ง รวมถึงขบวนการ 30 พฤษภาคม หลังการปะทุของสงครามกลางเมืองจีนในปี ค.ศ. 1927 พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้มอบหมายให้เขาทำงานในพื้นที่เซี่ยงไฮ้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน และเดินทางไปยังโซเวียตเจียงซีในปี ค.ศ. 1932 เขาได้เข้าร่วมการเดินทัพทางไกล และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคในภาคเหนือของจีนในปี ค.ศ. 1936 เพื่อนำการต่อต้านญี่ปุ่นในภูมิภาคดังกล่าว ในช่วงสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง หลิวเป็นผู้นำสำนักงานที่ราบภาคกลางของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ภายหลังเหตุการณ์กองทัพใหม่ที่สี่ในปี ค.ศ. 1941 หลิวได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการทางการเมืองของกองทัพใหม่ที่สี่ หลังจากที่หลิวเดินทางกลับมายังเหยียนอานในปี ค.ศ. 1943 เขาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน และรองประธานคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง

หลังจากการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี ค.ศ. 1949 หลิวได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองประธานรัฐบาลกลางประชาชน หลังจากการก่อตั้งสภาประชาชนแห่งชาติในปี ค.ศ. 1954 หลิวได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการสามัญของสภา ในปี ค.ศ. 1959 เขาได้สืบทอดตำแหน่งประธานสาธารณรัฐประชาชนจีนจากเหมา เจ๋อตง ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งประธาน เขาได้ดำเนินนโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจของจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการประชุมคณะทำงานงาน 7,000 คนในปี ค.ศ. 1962 หลิวได้รับการประกาศต่อสาธารณะว่าเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งของเหมาในปี ค.ศ. 1961 อย่างไรก็ตาม เขาถูกการวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง และถูกขับออกจากพรรคโดยเหมาหลังจากการปฏิวัติวัฒนธรรมเริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1966 และในที่สุดก็ถูกกักบริเวณภายในบ้านในปี ค.ศ. 1967 เขาถูกบีบให้ออกจากวงการเมือง และถูกตราหน้าว่าเป็น "ผู้นำกองบัญชาการของชนชั้นนายทุนจีน" "ผู้เดินตามเส้นทางทุนนิยม" ที่สำคัญที่สุดของจีน และผู้ทรยศต่อการปฏิวัติ เขาถึงแก่อสัญกรรมในคุกในปี ค.ศ. 1969 จากภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน หลิวถูกประณามอย่างกว้างขวางในช่วงหลายปีหลังการอสัญกรรม จนกระทั่งได้รับการฟื้นฟูเกียรติยศหลังความตายโดยรัฐบาลของเติ้ง เสี่ยวผิงในปี ค.ศ. 1980 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุคปัวล่วนฝ่านเจิ้ง รัฐบาลของเติ้งยังได้อนุมัติให้มีการจัดรัฐพิธีศพอย่างเป็นทางการเพื่อไว้อาลัยแก่หลิว

วัยเยาว์

[แก้]
หลิว เช่าฉี ในปี ค.ศ. 1927

หลิวเกิดในครอบครัวชาวนะฐานะปานกลางในหมู่บ้านหัวหมิงโหลว[1] อำเภอหนิงเซียง มณฑลหูหนาน[2] บรรพบุรุษมีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่อำเภอจี๋ฉุ่ย มณฑลเจียงซี เขาได้รับการศึกษาสมัยใหม่[3]: 142  โดยศึกษาที่โรงเรียนมัธยมประจำอำเภอหนิงเซียง และได้รับการแนะนำให้เข้าร่วมชั้นเรียนที่เซี่ยงไฮ้เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการศึกษาต่อที่ประเทศรัสเซีย ในปี ค.ศ. 1920 เขาพร้อมด้วยเหริน ปี้ฉือได้เข้าร่วมองค์การเยาวชนสังคมนิยม และในปีต่อมาหลิวก็ได้รับการคัดเลือกให้ไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยกรรมกรแห่งตะวันออก ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาของโคมินเทิร์นในมอสโก[1]

เขาเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1921 ปีถัดมา เขาได้เดินทางกลับมายังประเทศจีน และในฐานะเลขาธิการสมาคมแรงงานแห่งประเทศจีน เขาได้เป็นผู้นำในการจัดการประท้วงของเหล่าคนงานรถไฟหลายครั้งในหุบเขาแยงซีและที่อันหยวนบนพรมแดนระหว่างมณฑลเจียงซีและหูหนาน[1]

กิจกรรมการปฏิวัติ

[แก้]

สาธารณรัฐประชาชนจีน

[แก้]

การถูกโจมตี เสียชีวิต และการฟื้นฟู

[แก้]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Dittmer, Lowell, Liu Shao-ch’i and the Chinese Cultural Revolution: The Politics of Mass Criticism, University of California Press (Berkeley), 1974, p. 27
  2. Snow, Edgar, Red Star Over China, Random House (New York), 1938. Citation is from the Grove Press 1973 edition, pp. 482–484
  3. Hammond, Ken (2023). China's Revolution and the Quest for a Socialist Future. New York, NY: 1804 Books. ISBN 9781736850084.