ข้ามไปเนื้อหา

ศาสนาพุทธตามประเทศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อัตราร้อยละของพุทธศาสนิกชนแบ่งตามประเทศ จากสำนักวิจัยพิว

รายชื่อ ศาสนาพุทธตามประเทศ นี้แสดงถึงการกระจายตัวของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธซึ่งในคริสต์ทศวรรษ 2010 มีจำนวนประมาณ 500 ล้านคน[4] และเป็นตัวแทนประชากรโลกรวมร้อยละ 7 ถึง 8

ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติใน 4 ประเทศเหล่านี้ คือ ภูฏาน, กัมพูชา, พม่า และศรีลังกา[5] ศาสนานี้ยังมีสถานะพิเศษในสองประเทศนี้ คือ ไทยและลาว

ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือส่วนใหญ่ในประเทศภูฏาน, พม่า, กัมพูชา, ศรีลังกา, ไทย, มองโกเลีย และลาว และยังเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในประเทศหรือดินแดนที่ไม่มีศาสนาที่มีผู้นับถือส่วนใหญ่ เช่น จีนแผ่นดินใหญ่, ฮ่องกง,[6] มาเก๊า,[7] ญี่ปุ่น,[8] สิงคโปร์,[9] ไต้หวัน, เวียดนาม[10] และสาธารณรัฐคัลมืยเคียในประเทศรัสเซีย ประชากรชาวพุทธจำนวนมากอาศัยอยู่ในเกาหลีเหนือ, เนปาล, อินเดีย และเกาหลีใต้ ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีพุทธศาสนิกชนมากที่สุด โดยมีผู้นับถือประมาณ 244 ล้านคน หรือร้อยละ 18.2 ของประชากรทั้งประเทศ[1]

มากกว่าครึ่งหนึ่งของพุทธศาสนิกชนในโลก โดยเฉพาะในบริเวณเอเชียตะวันออก นับถือนิกายมหายาน[1] รองลงมาคือนิกายเถรวาท ซึ่งมีผู้นับถือส่วนใหญ่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และศรีลังกา[1] อันดับที่ 3 คือนิกายวัชรยาน ที่มีผู้นับถือส่วนใหญ่ในประเทศทิเบต, ภูฎาน, เนปาล, มองโกเลีย และรัสเซียบางพื้นที่[1] แต่ก็มีผู้นับถือกระจายอยู่ทั่วโลก นิกายที่มีผู้นับถือมากเป็นอันดับที่ 4 คือนวยาน ซึ่งมีผู้นับถือส่วนใหญ่ในรัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย[11][12]

ตามภูมิภาค

[แก้]
ศาสนาพุทธตามภูมิภาคใน ค.ศ. 2010[1]
ภูมิภาค ประชากรรวมโดยประมาณ พุทธศาสนิกชนโดยประมาณ ร้อยละ
เอเชียแปซิฟิก 4,054,990,000 481,290,000 11.9%
อเมริกาเหนือ 344,530,000 3,860,000 1.1%
ยุโรป 742,550,000 1,330,000 0.2%
ตะวันออกกลาง-แอฟริกาเหนือ 341,020,000 500,000 0.1%
ลาตินอเมริกา-แคริบเบียน 590,080,000 410,000 <0.1%
รวม 6,895,890,000 487,540,000 7.1%

ประเทศที่มีพุทธศาสนิกชนมากที่สุด 10 ประเทศแรก

[แก้]
ประเทศที่มีพุทธศาสนิกชนมากที่สุดใน ค.ศ. 2010 ตามรายงานจากสำนักวิจัยพิว[1]
ประเทศ พุทธศาสนิกชนโดยประมาณ ร้อยละของประชากรทั้งหมดในประเทศ ร้อยละของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก
จีน 244,130,000 18.2% 50.1%
ไทย 64,420,000 93.2% 13.2%
ญี่ปุ่น 45,820,000 36.2% 9.4%
พม่า 38,410,000 87.90% 7.9%
ศรีลังกา 14,450,000 69.3% 3.0%
เวียดนาม 14,380,000 16.4% 2.9%
กัมพูชา 13,690,000 96.9% 2.8%
เกาหลีใต้ 11,050,000 22.9% 2.3%
อินเดีย 9,250,000 0.8% 1.9%
มาเลเซีย 5,010,000 19.8% 1.0%
ผลรวมย่อยจาก 10 ประเทศ 460,620,000 (ร้อยละของประชากรรวม 10 ประเทศ) 15.3% 94.5%
ผลรวมย่อยจากส่วนอื่นของโลก 26,920,000 (ร้อยละของประชากรในส่วนอื่นของโลก) 0.4% 5.5%
รวมทั่วโลก 487,540,000 7.1% 100%

ดูเพิ่ม

[แก้]

ทั่วไป:

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 "Global Religious Landscape: Buddhists". Pew Research Center. 18 December 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 January 2018. สืบค้นเมื่อ 12 April 2019.
  2. Johnson, Todd M.; Grim, Brian J. (2013). The World's Religions in Figures: An Introduction to International Religious Demography (PDF). Hoboken, NJ: Wiley-Blackwell. pp. 34–37. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 20 October 2013. สืบค้นเมื่อ 2 September 2013.
  3. Harvey, Peter (2013). An Introduction to Buddhism: Teachings, History and Practices (2nd ed.). Cambridge, UK: Cambridge University Press. p. 5. ISBN 978-0-521-67674-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 January 2023. สืบค้นเมื่อ 2 September 2013.
  4. ค่าประมาณ ได้แก่: 488 ล้านคน (Pew 2012),[1] 495 ล้านคน (Johnson & Grim 2013),[2] และ 535 ล้านคน (Harvey 2013)[3]
  5. Mitchell, T. (2022, April 26). Many countries favor specific religions. Pew Research Center's Religion & Public Life Project. https://www.pewresearch.org/religion/2017/10/03/many-countries-favor-specific-religions-officially-or-unofficially/ เก็บถาวร 20 กันยายน 2023 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. Planet, Lonely. "Religion & Belief in Hong Kong, China". Lonely Planet (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
  7. "Religion in Macau – Festivals and Places of Worship – Holidify". holidify.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 September 2020. สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
  8. "ASIA SOCIETY: THE COLLECTION IN CONTEXT". asiasocietymuseum.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
  9. Kuah, Khun Eng (1991). "State and Religion: Buddhism and NationalBuilding in Singapore". Pacific Viewpoint (ภาษาอังกฤษ). 32 (1): 24–42. doi:10.1111/apv.321002. ISSN 2638-4825.
  10. "Vietnam Buddhism". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2021. สืบค้นเมื่อ 31 March 2021.
  11. "Manu Moudgil, Dalits Are Still Converting to Buddhism, but at a Dwindling Rate, The Quint, 17.06.17". 17 June 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2017. สืบค้นเมื่อ 11 November 2019.
  12. Moudgil, Manu (July 2017). "Conversion To Buddhism Has Brought Literacy, Gender Equality And Well-Being To Dalits – IndiaSpend-Journalism India -Data Journalism India-Investigative Journalism-IndiaSpend". indiaspend.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2020. สืบค้นเมื่อ 11 November 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]