ข้ามไปเนื้อหา

วิธีใช้:การนำทาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บนสุดของทุกหน้ามีกล่องค้นหาที่ให้ผู้เขียนค้นหาบทความผ่านคำที่กรอก ทุกบทความของวิกิพีเดียถูกเชื่อมโยงหรืออ้างอิงข้ามเพื่อความสะดวกในการนำทางผ่านสารานุกรม

เมื่อใดก็ตามที่คุณเห็นข้อความอย่างนี้ หมายความว่า มีลิงก์ไปยังบทความหรือหน้าวิกิพีเดียอื่นที่มีสารสนเทศเพิ่มเติมหากคุณต้องการ เลื่อนเมาส์ค้างไว้เหนือลิงก์จะแสดงให้คุณเห็นว่าลิงก์นั้นนำไปยังที่ใด หมายความว่า บทความไม่จำเป็นต้องปูพื้นฐานในเชิงลึก คุณแค่คลิกครั้งเดียวก็จะได้รับสารสนเทศเพิ่มเติมจากจุดใดก็ตามที่มีลิงก์แนบ

ยังมีลิงก์อื่นอยู่ช่วงท้ายบทความส่วนมาก เป็นบทความที่น่าสนใจอื่น เว็บไซต์และหน้าภายนอกที่เกี่ยวข้อง และแหล่งอ้างอิง ท้ายสุดของบทความมีหมวดหมู่ความรู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งคุณสามารถค้นและเดินทางผ่านลำดับชั้นที่เชื่อมโยงระหว่างกันเพื่อสารสนเทศที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมในสาขาหนึ่ง ๆ

บางบทความมีลิงก์ไปยังคำนิยามพจนานุกรม คำคม หรือบทความเรื่องเดียวกันในภาษาอื่น คุณสามารถช่วยได้โดยเพิ่มลิงก์อีกหากลิงก์ที่เกี่ยวข้องขาดหายไป

การนำทางเบื้องต้นในวิกิพีเดีย

[แก้]

การใช้หน้าหลัก

[แก้]

ส่วนบนของหน้าหลัก มีแถบเรียกค้น ซึ่งมีลิงก์ไปยังรายการหมวดหมู่ บทความเรียงตามตัวอักษรและบทความทั้งหมด

  • หมวดหมู่ จะมีหมวดหมู่ย่อยหรือบทความบรรจุอยู่
  • บทความเรียงตามตัวอักษร จะช่วยค้นหาหน้า เพียงแค่คุณใส่ตัวอักษรสองหรือสามตัวของหัวเรื่อง

การใช้หมวดหมู่

[แก้]

ทุกบทความมีรายการที่ตอนท้ายสุดของหมวดหมู่หลักที่บทความดังกล่าวมีความเกี่ยวข้อง ยกตัวอย่างจากหน้า บารัก โอบามา ได้ถูกจัดให้อยู่ในหมวดหมู่ดังนี้:

บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2504, ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา, ผู้นำประเทศในปัจจุบัน, บุคคลจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด, ชาวอเมริกันเชื้อสายอังกฤษ, บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่, นักการเมืองอเมริกัน, ผู้สมัครประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ปี 2008, พรรคเดโมแครต, นักเขียนชาวอเมริกัน, บารัก โอบามา, ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ, ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน, บุคคลจากโฮโนลูลู, บุคคลจากรัฐอิลลินอยส์, สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐอเมริกา

ลองค้นดูบทความจากหมวดหมู่ด้านล่าง

ศิลปะ | วัฒนธรรม | ภูมิศาสตร์ | ประวัติศาสตร์ | วิทยาศาสตร์ | สังคม | เทคโนโลยี

ปุ่มและแผงอื่นที่มีประโยชน์

[แก้]
ทางเลือกผู้ใช้ประกอบด้วย "การตั้งค่าของฉัน" และ "รายการเฝ้าดู" แถบบนประกอบด้วย "อภิปราย" และ "ประวัติ" แถบข้าง ประกอบด้วย "หน้าหลัก" และ "ศาลาประชาคม" กล่องเครื่องมือประกอบด้วย "หน้าที่ลิงก์มา" และ "ปรับปรุงล่าสุด"

แถบข้าง (ด้านซ้าย)

[แก้]

ด้านซ้ายของแต่ละบทความมีตัวเลือกมาตรฐานสำหรับการบอกทางและการมีส่วนร่วม เครื่องมือ และบางบทความยังมีภาษาอื่นด้วย

ตัวเลือกป้ายบอกทาง:

ตัวเลือกมีส่วนร่วม:

ตัวเลือกกล่องเครื่องมือ:

  • หน้าที่ลิงก์มา – มีประโยชน์ในการติดตามหน้าที่ลิงก์มายังบทความนี้
  • ปรับปรุงที่เกี่ยวโยง – รายการการเปลี่ยนแปลงซึ่งเกี่ยวข้องกับหน้าที่ลิงก์มาจากบทความนี้โดยเฉพาะ
  • อัปโหลด – สถานที่สำหรับอัปโหลดภาพและไฟล์อื่นขึ้นสู่วิกิพีเดีย
  • หน้าพิเศษ – ฟังก์ชันพิเศษทั้งหมดและตัวเลือกสำหรับผู้ดูแลระบบ
  • ลิงก์ถาวร – ใช้สำหรับการลิงก์ไปยังเวอร์ชั่นโดยเฉพาะของหน้า
  • อ้างอิงบทความนี้ – สร้างรูปแบบการอ้างอิงบทความในหลายรูปแบบ ซึ่งสามารถลอกได้
  • สร้างหนังสือ – สำหรับรวบรวมหน้า
  • ดาวน์โหลดเป็นพีดีเอฟ – สำหรับการเก็บพีดีเอฟของหน้าไว้อ่านออฟไลน์
  • รุ่นสำหรับพิมพ์ – แสดงบทความ โดยไม่มีการนำทางอื่นของเว็บไซต์

ภาษาอื่น – หากมีบทความเรื่องเดียวกันในวิกิพีเดียภาษาอื่นที่มีอยู่เกือบ 300 ภาษา บทความนั้นควรปรากฏในรายการลิงก์ภาษาอื่นในแถบข้างส่วนนี้

แถบบน

[แก้]

แต่ละหน้าในวิกิพีเดียประกอบด้วย บทความ และหน้า อภิปราย (หรือมักเรียกว่า "พูดคุย...")

คุณสามารถมองเห็นสองแถบนี้ด้านบน บทความถูกติดป้ายว่า "ช่วยเหลือ" และหน้าอภิปรายเป็นแถบที่อยู่ติดกันทางขวามือ สองหน้านี้ถือว่าแยกจากกันในวิกิพีเดีย แต่ถูกแสดงไว้ข้างกันเพื่อความสะดวกในการใช้

ไม่ว่าคุณกำลังดูบทความหรือหน้าโครงการ หรือหน้าอภิปรายก็ตาม คุณจะเห็นว่ามีปุ่มที่เขียนว่า "แก้ไข" และอาจมีปุ่ม "เพิ่มส่วนใหม่" และปุ่มเครื่องหมายรูปดาว

  • "แก้ไข" – เป็นการมีส่วนร่วมหลักในวิกิพีเดีย เมื่อคุณคลิกปุ่มนี้ คุณเปลี่ยนจากการชมบทความหรืออภิปรายเกี่ยวกับบทความ มาเป็นสามารถแก้ไขบทความ หรือเพิ่มความเห็นต่อการอภิปรายที่กำลังดำเนินอยู่
บางครั้ง หน้าที่สำคัญหรืออาจถูกก่อกวนถูกล็อก ซึ่งในกรณีนี้ ปุ่ม "แก้ไข" จะเปลี่ยนเป็น "ดูโค้ด" แทน และคุณจะไม่สามารถแก้ไขบทความได้ในขณะนั้น
การแก้ไขหน้านั้นง่ายมาก และคุณไม่สามารถทำความเสียหายแก่หน้าได้แม้คุณจะทำผิดพลาด เพราะการแก้ไขทั้งหมดสามารถทำกลับได้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการป้องกันการก่อกวนของวิกิพีเดีย
  • "เพิ่มส่วนใหม่" – เพิ่มส่วนใหม่ในหน้าอภิปราย โดยไม่เปลี่ยนแปลงเนื้อหาที่มีอยู่แล้ว
  • "ประวัติ" – ทุกหน้าที่สามารถแก้ไขได้บนวิกิพีเดียมีหน้าประวัติประกอบเสมอ ซึ่งมีข้อความวิกิรุ่นเก่า เช่นเดียวกับบันทึกวันและเวลา (ใน เวลาสากลเชิงพิกัด) ของการแก้ไขทุกครั้ง ชื่อผู้ใช้หรือหมายเลขไอพีของผู้ใช้ที่เขียน เช่นเดียวกับคำอธิบายอย่างย่อ ดูรายละเอียดที่ วิธีใช้:หน้าประวัติ
  • เครื่องหมายดาว – เพิ่มหรือลดหน้าจากรายการเฝ้าดูของคุณ ซึ่งเป็นรายการหน้าที่คุณกำลังติดตามความเปลี่ยนแปลง คุณสามารถดูรายการเฝ้าดูของคุณโดยปุ่ม "รายการเฝ้าดู" ด้านบนขวาของจอภาพ ดูรายละเอียดที่ วิธีใช้:การเฝ้าดูหน้า

ตัวเลือกผู้ใช้ (มุมขวาบน)

[แก้]

ตัวเลือกเหล่านี้ควบคุมบัญชีผู้ใช้ของคุณ ในการสร้างบัญชีผู้ใช้ คุณเพียงจำเป็นต้องเลือกชื่อกับรหัสผ่าน ที่อยู่อีเมลนั้นจะใส่หรือไม่ก็ได้ และใช้เพื่อส่งตัวเตือนรหัสผ่านเท่านั้น และใช้ติดต่อกับผู้ใช้อื่นบ้าง

คุณไม่สามารถปรับแต่งการตั้งค่าวิกิพีเดียได้หากคุณไม่มีบัญชีผู้ใช้ ผู้ใช้ที่ช่ำชองแทบทุกคนใช้บัญชีกันทั้งนั้น

ตัวเลือกผู้ใช้ยังรวมลิงก์เพื่อดูรายการเฝ้าดูของคุณ และเรื่องที่คุณเขียน