วราห์ บุญญะสิทธิ์
วราห์ บุญญะสิทธิ์ | |
---|---|
สมาชิกวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 | |
สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ[1] | |
ดำรงตำแหน่ง 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2560 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 28 มิถุนายน พ.ศ. 2501 |
คู่สมรส | หม่อมหลวง พิศเพียงแข บุญญะสิทธิ์[2] |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 18 (ตท.18) โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 29 (จปร.29) โรงเรียนเสนาธิการทหารบก วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.54) |
ชื่อเล่น | ต้อม[3] |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2561 |
ยศ | พลเอก[4] |
พลเอก วราห์ บุญญะสิทธิ์ (28 มิถุนายน 2501-) สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12[5] นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์[6] และกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์[7] ราชองครักษ์เวร[8] อดีตตุลาการศาลทหารสูงสุด[9] อดีตที่ปรึกษาพิเศษกองทัพบก อดีตรองเสนาธิการทหารบก อดีตรองแม่ทัพภาคที่ 1 อดีตผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ อดีตผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ อดีตกรรมการบริหารกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ[10] อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เป็นหนึ่งในนายทหารที่ควบคุมการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553
ประวัติ
[แก้]พลเอก วราห์ บุญญะสิทธิ์ เกิดเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2501 เป็นบุตรชายของพลเอก วัฒนา บุญญะสิทธิ์ อดีตรองแม่ทัพภาคที่ 1 , ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 9 และผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ กับ นางนงลักษณ์ บุญญะสิทธิ์ มีพี่น้อง 2 คน คือ
- พลเอก วราห์ บุญญะสิทธิ์
- นางวัลย์ลีย์ บุญญะสิทธิ์[11]
พลเอก วราห์ฯ รับราชการทหารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 ถึงปี พ.ศ. 2561 โดยเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ขณะดำรงตำแหน่งรองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ พันเอก วราห์ฯ(ยศในขณะนั้น)ได้เป็นหนึ่งในนายทหารที่ร่วมกระทำรัฐประหาร และต่อมาได้ขึ้นเป็นผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ (ผบ.ร.1 รอ.) แทน พันเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา(ยศในขณะนั้น) ที่ได้เลื่อนขึ้นเป็น รองผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (รอง ผบ.พล.1 รอ.)
หลังจากเกษียณอายุราชการแล้ว ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา เมื่อ วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
ครอบครัว
[แก้]ชีวิตครอบครัวสมรสกับ หม่อมหลวง พิศเพียงแข บุญญะสิทธิ์(ชยางกูร)[12] มีบุตรสาว 2 คน คือ
- นางสาว วรรณพักตร์ บุญญะสิทธิ์
- นางสาว วรรณรดา บุญญะสิทธิ์[13]
การศึกษา
[แก้]สำเร็จการศึกษาจาก โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 18 รุ่นเดียวกับพลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ พลอากาศเอก ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 29 รุ่นเดียวกับพลเอก เทพพงศ์ ทิพยจันทร์ สมาชิกวุฒิสภา อดีตปลัดกระทรวงกลาโหมและอดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก พลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี อดีตสมาชิกวุฒิสภา และอดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด พลโท ปิยวัฒน์ นาควานิช อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม[14]
- พ.ศ. 2518 โรงเรียนเตรียมทหาร
- พ.ศ. 2520 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- พ.ศ. 2528 หลักสูตรชั้นนายร้อย เหล่าทหารราบ รุ่นที่ 70
- พ.ศ. 2531 หลักสูตรชั้นนายพัน เหล่าทหารราบ รุ่นที่ 49
- พ.ศ. 2533 โรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรหลักประจำชุดที่ 69
- พ.ศ. 2549 มหาวิทยาลัยศรีปทุม (รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต)
- พ.ศ. 2554 ปริญญาบัตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.54)
การรับราชการ
[แก้]พลเอก วราห์ฯ ดำรงตำแหน่งที่สำคัญ เช่น ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์(ผบ.ร.1 รอ.) เมื่อปี พ.ศ. 2549 จากนั้นในปี พ.ศ. 2555 ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์(ผบ.พล.1 รอ.) ต่อมาได้ดำรงตำแหน่ง รองแม่ทัพภาคที่ 1(รอง มทภ.1), รองเสนาธิการทหารบก(รอง เสธ.ทบ.) และได้รับพระราชทานยศพลเอก ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2560
- ธ.ค. 2540 - ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
- ธ.ค. 2544 - เสนาธิการกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์
- ธ.ค. 2546 - รองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
- ต.ค. 2549 - ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์[15]
- ต.ค. 2551 - รองผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์[16]
- ต.ค. 2555 - ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์[17]
- เม.ย. 2557 - รองแม่ทัพภาคที่ 1[18]
- เม.ย. 2558 - รองแม่ทัพภาคที่ 1 / ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส[19]
- ต.ค. 2558 - รองเสนาธิการทหารบก[20]/รอง ลธ.รมน.[21]
- ต.ค. 2560 - ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพบก[22]
ราชการพิเศษ
[แก้]ตำแหน่งและหน้าที่พิเศษ
[แก้]- 5 ต.ค. 2558 - สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
- 21 ก.ค. 2557 - คณะกรรมการบริหารกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ[25][26]
- 11 พ.ค. 2562 - สมาชิกวุฒิสภา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[27]
- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[28]
- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[29]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[30]
- พ.ศ. 2560 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[31]
- พ.ศ. 2535 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[32]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒ ตอน ๒๓๙ ง พิเศษ หน้า ๗ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๘
- ↑ หม่อมหลวงพิศเพียงแข บุญญะสิทธิ์ ภริยา พล.ท.วราห์ บุญญะสิทธิ์ รอง เสธ.ทบ.(4)เก็บถาวร 2019-06-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ลับ ลวง พราง
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานยศทหารชั้นนายพล เล่ม ๑๓๔ ตอน ๔๒ ข ราชกิจจานุเบกษา ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา หน้า ๖ เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๑๒๑ ง,๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งนายทหารพิเศษเล่ม ๑๒๖ ตอนพิเศษ ๑๕๕ ง ราชกิจจานุเบกษา] ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งนายทหารพิเศษเล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๖๒ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
- ↑ พระราชโองการ ประกาศแต่งตั้งราชองครักษ์เวรและนายตำรวจราชสำนักเวร เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๑๙๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
- ↑ ประกาศแต่งตั้งตุลาการศาลทหารสูงสุด
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการบริหารกิจการขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เล่ม ๑๓๕ ตอนพิเศษ ๑๔๒ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๑
- ↑ "ประวัติ วราห์ บุญญะสิทธิ์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-07-18. สืบค้นเมื่อ 2019-07-18.
- ↑ ทรัพย์สิน 77 ล. ‘พล.อ.วราห์ บุญญะสิทธิ์’ อดีตที่ปรึกษา ทบ.ไขก๊อกบอร์ด ขสมก. นั่ง ส.ว.
- ↑ "ชีวิตครอบครัว" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-07-18. สืบค้นเมื่อ 2019-07-18.
- ↑ สำเร็จการศึกษา
- ↑ ทบ.ปรับย้ายผู้การกรมตอบแทนร่วมปฏิวัติ!!..ฮือฮา “ลูกบิ๊กจ๊อด” ขึ้น เสธ.พล.1 รอ.
- ↑ อนุพงษ์ - ประยุทธ์ ผนึกกำลังร่วมจัดแถวใหม่ ทหารคุมกำลัง ระดับพ.อ.พิเศษ ทั่วปท. 141 อัตรา
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๒๙ ตอนพิเศษ ๑๔๓ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๓๑ ตอนพิเศษ ๕๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
- ↑ ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๓๒ ตอนพิเศษ ๑๙๘ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
- ↑ ผบ.ทบ.เซ็นคำสั่งตั้งกำลังพล ปฏิบัติหน้าที่ในกอ.รมน.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๒๑๗ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ถอดถอนและแต่งตั้งตุลาการศาลทหารกลาง หน้า ๑๕ เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๒๐๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๙ กันยายน ๒๕๕๙
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ถอดถอนและแต่งตั้งตุลาการศาลทหารสูงสุด เล่ม ๑๓๕ ตอนพิเศษ ๑๘๗ ง ราชกิจจานุเบกษา ๖ สิงหาคม ๒๕๖๑
- ↑ คณะกรรมการบริหารกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพเก็บถาวร 2017-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หน้า41
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการบริหารกิจการขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หน้า ๑๒ เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๒๑๒ ง ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘๐, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๗ ข หน้า ๑๖, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๕, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๒๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๑๙ กันยายน ๒๕๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๙ ข หน้า ๑๕, ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลาและเหรียญจักรมาลา, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๓๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑๘, ๒๖ มีนาคม ๒๕๓๖
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2501
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบสรรหา
- นักการเมืองไทย
- ทหารบกชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมทหาร
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- นายพลชาวไทย
- ราชองครักษ์เวร
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- ผู้ได้รับเหรียญราชการชายแดน
- สมาชิกเหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2