ลิงซ์ไอบีเรีย
ลิงซ์ไอบีเรีย ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไพลสโตซีนตอนต้น[1] - ปัจจุบัน 1–0Ma | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต |
อาณาจักร: | สัตว์ |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง |
ชั้น: | สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม |
อันดับ: | สัตว์กินเนื้อ |
อันดับย่อย: | เฟลิฟอเมีย |
วงศ์: | เสือและแมว |
วงศ์ย่อย: | แมว |
สกุล: | Lynx (Temminck, 1827) |
สปีชีส์: | Lynx pardinus |
ชื่อทวินาม | |
Lynx pardinus (Temminck, 1827) | |
การกระจายพันธุ์ของลิงซ์ไอบีเรียใน ค.ศ. 2015[ต้องการการอัปเดต] |
ลิงซ์ไอบีเรีย (อังกฤษ: Iberian lynx) หรือ ลิงซ์สเปน (Spanish lynx) เป็นหนึ่งในแมวป่าสี่ชนิดที่ยังไม่สูญพันธุ์ในสกุล Lynx เป็นสัตว์ประจำถิ่นของคาบสมุทรไอบีเรียในยุโรปตะวันตกเฉียงใต้ ทางบัญชีแดงไอยูซีเอ็นจัดให้มีสถานะเกือบอยู่ในข่ายใกล้สูญพันธุ์[3] ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ประชากรลิงซ์ไอบีเรียลดลงเนื่องจากการล่ามากเกิน การบุกรุกเข้าไปล่าสัตว์ การแตกเป็นหย่อมของแหล่งที่อยู่ และการลดลงของเหยื่อหลักอย่างกระต่ายยุโรป (Oryctolagus cuniculus) ซึ่งมีสาเหตุจากโรคมิกโซมาโทซิสและโรคเลือดออกในกระต่าย[4][5][6]
ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 ลิงซ์ไอบีเรียมีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ เนื่องจากเหลือสัตว์ชนิดนี้เพียง 94 ตัวอยู่ในกลุ่มประชากรย่อยที่แยกจากกัน 2 กลุ่มในแคว้นอันดาลูซิอาเมื่อ ค.ศ. 2002 นับแต่นั้นมาจึงมีการใช้มาตรการอนุรักษ์ ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงแหล่งที่อยู่อาศัย การเพิ่มจำนวนกระต่ายใหม่ การเคลื่อนย้าย การส่งคืนสู่ธรรมชาติ และการเฝ้าสังเกต ณ ค.ศ. 2012 ประชากรลิงซ์เพิ่มขึ้นเป็น 326 ตัว[7] จากนั้นจึงเพิ่มเป็น 855 ตัวใน ค.ศ. 2020[8] 1,111 ตัวใน ค.ศ. 2021[9] 1,668 ตัวใน ค.ศ. 2023[10] และ 2,021 ตัวใน ค.ศ. 2024 นำไปสู่การปรับสถานะใหม่จาก "ใกล้สูญพันธุ์" เป็น "เกือบอยู่ในข่ายใกล้สูญพันธุ์"[11]
อนุกรมวิธาน
[แก้]Felis pardina เป็นชื่อวิทยาศาสตร์ที่เสนอโดยกุนราด ยาโกบ แต็มมิงก์ ใน ค.ศ. 1827 เขาบรรยายหนังของลิงซ์ไอบีเรียที่ถูกฆ่าในแถบแม่น้ำเทกัสในประเทศโปรตุเกสแล้วนำไปขายในปารีสและลอนดอน[12] สัตว์ชนิดนี้มีเพียงชนิดเดียว[13]
วิวัฒนาการชาติพันธุ์
[แก้]มีการเสนอแนะว่าลิงซ์ไอบีเรียมีวิวัฒนาการมาจาก Lynx issiodorensis[14][15] ซากดึกดำบรรพ์ชิ้นแรกสุดเท่าที่พบมีอายุย้อนไปถึงปลายสมัยไพลสโตซีนตอนต้นประมาณ 1 ล้านปีก่อน[1]
ลิงซ์ไอบีเรียแยกพันธุกรรมเป็นชนิดจำเพาะเมื่อ 1.98 ถึง 0.7 ล้านปีก่อน ญาติที่มีชีวิตที่ใกล้เคียงที่สุดคือลิงซ์ยูเรเชีย (Lynx lynx) โดยอาศัยร่วมกันในระดับหนึ่งจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20[16][17]
ลักษณะ
[แก้]ลิงซ์ไอบีเรียมีน้ำหนัก 15-25 กิโลกรัม ตัวผู้มีน้ำหนักเฉลี่ย 12.8 กิโลกรัม ตัวเมีย 9.3 กิโลกรัม ซึ่งหนักใกล้เคียงกับลิงซ์แคนาดาและบอบแคตในทวีปอเมริกา[18]
ถิ่นที่อยู่อาศัย
[แก้]ลิงซ์ไอบีเรียพบในป่าไม้ของแถบเมดิเตอร์เรเนียน ชอบอาศัยอยู่ตามพื้นที่ที่มีไม้พุ่มหรือป่าละเมาะที่แน่นทึบสำหรับเป็นที่กำบังสลับกับพื้นที่เปิดสำหรับล่ากระต่าย ไม่ชอบพื้นที่เกษตรกรรม จากการติดตามด้วยวิทยุ พบว่าลิงซ์ไอบีเรียใช้เวลา 90 เปอร์เซ็นต์ตอนกลางวันในการหลบซ่อนตัวอยู่ในพุ่มไม้ทึบ
ลิงซ์ไอบีเรียมักพบที่ระดับความสูง 400–900 เมตร แต่อาจพบได้สูงถึง 1,600 เมตร
นับตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ลิงซ์ไอบีเรียได้กลายเป็นสัตว์หายากมากในสเปนตอนเหนือ แม้จะยังยังพบได้มากในตอนกลางและตอนใต้ของประเทศ พอมาถึงคริสต์ทศวรรษ 1960 พื้นที่หากินถูกจำกัดอยู่เพียงทางตอนตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรเท่านั้น พื้นที่นี้มีอาณาเขตประมาณ 57,000 ตารางกิโลเมตรและอาจยังต่อเนื่องกันอยู่ แต่ปัจจุบันพื้นที่หากินของลิงซ์ในสเปนเหลือเพียง 14,000 ตารางกิโลเมตร โดยมีพื้นที่ผสมพันธุ์ประมาณ 11,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งกินพื้นที่เพียง 2 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ประเทศเท่านั้น สำหรับเขตกระจายพันธุ์ของลิงซ์ไอบีเรียที่อยู่ในโปรตุเกสยังไม่มีข้อมูลมากนัก แต่ก็ลดลงไปมากนับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1940 ปัจจุบันคาดว่าเหลืออยู่เพียงสามแห่งซึ่งมีพื้นที่รวมเพียง 700 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดอยู่ในเขตสงวนธรรมชาติแซราดามัลกาตาและทิวเขาอัลการ์วึทางตอนใต้สุดของประเทศ
จากการศึกษาลิงซ์ไอบีเรียในอุทยานแห่งชาติดอญญานาด้วยวิทยุติดตามที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2526 พบว่า ในแหล่งที่อยู่อาศัยที่คุณภาพดี จะมีความหนาแน่นประชากรลิงซ์ (รวมลิงซ์วัยรุ่น) ประมาณ 16 ตัวต่อ 100 ตารางกิโลเมตร พื้นที่หากินของลิงซ์ตัวผู้กว้างเฉลี่ยประมาณ 18 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ในแต่ละเดือนประมาณ 10 ตารางกิโลเมตร พื้นที่หากินของลิงซ์ไอบีเรียตัวเมียประมาณ 10 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่ต่อเดือนประมาณ 8 ตารางกิโลเมตร ลิงซ์เพศเดียวกันจะมีหากินแยกจากกัน ส่วนตัวผู้และตัวเมียจะมีพื้นที่ซ้อนเหลื่อมกัน
อุปนิสัย
[แก้]อาหารของลิงซ์ไอบีเรียในฤดูร้อนเป็นกระต่ายเสีย 93 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ในฤดูหนาว สัดส่วนของกระต่ายในอาหารลดน้อยลงไปพร้อมกับจำนวนประชากรในธรรมชาติในรอบปีก็ลดลงด้วย ในช่วงเวลานี้ลิงซ์ไอบีเรียจะจับลูกกวางแดง กวางฟาลโลว์ และลูกมูฟฟลอนไปแทน ส่วนในพื้นที่ชุ่มน้ำดอญญานาที่อยู่ทางชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของสเปน เป็ดได้เป็นอาหารหลักสำคัญในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมซึ่งเป็นช่วงฤดูผสมพันธุ์ ลิงซ์ไอบีเรียหนึ่งตัวต้องการเหยื่อขนาดกระต่ายหนึ่งตัวต่อวัน
จากการติดตามด้วยวิทยุที่อุทยานแห่งชาติดอญญานาแสดงว่า ลิงซ์ไอบีเรียหากินตอนกลางคืนเป็นหลัก เริ่มออกหากินในโพล้เพล้ เดินทางวันหนึ่งเฉลี่ยราวเจ็ดกิโลเมตร ตัวผู้มักเดินทางไกลกว่าตัวเมีย และในฤดูหนาวจะหันหากินตอนกลางวันมากขึ้น
ชีววิทยา
[แก้]ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคม สูงสุดในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ แม่ลิงซ์ตั้งท้องนานประมาณสองเดือน ออกลูกในเดือนมีนาคม–เมษายน ออกลูกคราวละ 2–3 ตัว จำนวนอาจต่างกันมากตั้งแต่ 1–5 ตัว
เมื่ออายุได้ราว 7–10 เดือน ลูกลิงซ์ก็เป็นอิสระจากแม่ หลังจากที่เป็นอิสระแล้วจะยังคงหากินอยู่ในอาณาเขตบ้านเกิดเป็นระยะหนึ่งก่อนจนกระทั่งอายุราว 20 เดือน (8–28 เดือน) จึงออกไปหาที่อยู่ใหม่
ลิงซ์สาวจะพร้อมผสมพันธุ์ได้ตั้งแต่ฤดูหนาวแรก แต่เวลาที่ตั้งท้องได้ครั้งแรกขึ้นอยู่กับปัจจัยทางประชากรศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น เช่นในอุทยานแห่งชาติดอญญานา ตัวเมียจะตั้งท้องครั้งแรกได้เมื่อได้ครอบครองพื้นที่หากินได้แล้ว ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเจ้าของพื้นที่เดิมตายลงหรือถูกขับไล่ออกไป มีบันทึกว่าตัวเมียตัวหนึ่งกว่าจะตั้งท้องครั้งแรกต้องรอถึงอายุ 5 ปี ซึ่งเป็นเวลาหลังจากได้ครอบครองพื้นที่แทนแม่ที่ตายไป
ลิงซ์ตั้งท้องครั้งสุดท้ายเมื่ออายุ 10 ปี ในธรรมชาติ ลิงซ์มีอายุขัยราว 13 ปี
ภัยคุกคาม
[แก้]ลิงซ์ไอบีเรียตกอยู่ในความเสี่ยงต่อการสูญเสียที่อยู่อาศัย อุบัติเหตุทางถนน และการล่าสัตว์แบบผิดกฎหมาย[2] การสูญเสียที่อยู่อาศัยโดยหลักมาจากการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาเมืองและสถานตากอากาศ และการปลูกพืชชนิดเดียว ซึ่งทำให้ประชากรลิงซ์กระจัดกระจาย ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 โรคในกระต่ายอย่างโรคมิกโซมาโทซิสและโรคเลือดออกทำให้ประชากรเหยื่อหลักลดลงอย่างมาก[19] ลิงซ์ถูกล่าในฐานะ "สัตว์รบกวน" ภายใต้การกฎหมายที่ผ่านในสมัยฟรันซิสโก ฟรังโก ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1950 ไปจนกระทั่งปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 เมื่อการล่าลิงซ์กลายเป็นสิ่งผิดกฎหมาย การล่าลิงซ์อย่างลับ ๆ ยังคงเกิดขึ้นในปัจจุบัน และกำลังกลายเป็นปัญหาร้ายแรง[20] กับดักกระต่ายและสุนัขจิ้งจอกที่ผิดกฎหมายนำไปสู่การตายของลิงซ์ในคริสต์ทศวรรษ 1990[21] นอกจากนี้ ในแต่ละปียังมีลิงซ์ไอบีเรียหลายตัวตายจากการพยายามข้ามทางหลวงที่มีการจราจรหนาแน่น[4] ซึ่งกลายเป็นสาเหตุการตายของลิงซ์ส่วนใหญ่[22] ใน ค.ศ. 2013 ลิงซ์ไอบีดรียตายบนถนน 14 ตัว และใน ค.ศ. 2014 มีลิงซ์ไอบีเรียตาย 21 ตัว[23] ใน ค.ศ. 2023 มีลิงซ์ตายบนท้องถนน 144 ตัว[11]
ใน ค.ศ. 2007 ลิงซ์ไอบีเรียหลายตัวตายจากมะเร็งเม็ดเลือดขาวในแมว[24][25]
การติดต่อกับมนุษย์ที่เพิ่มขึ้นและการแพร่กระจายยีนต้านทานยาปฏิชีวนะในหมู่ประชากรลิงซ์อาจเป็นภัยคุกคามที่สำคัญไม่เพียงแต่กับลิงซ์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงมนุษย์ด้วย[26]
สถานภาพ
[แก้]จำนวนประชากรในธรรมชาติรวมวัยรุ่น ไม่รวมลูกแมว คาดว่าไม่เกิน 1,200 ตัว เป็นตัวเมียที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ประมาณ 350 ตัว จากการสำรวจอย่างละเอียดในสเปน พบว่าพื้นที่หากินแยกออกเป็นผืนเล็กผืนน้อยมากมายถึง 48 แห่ง และยังมีอีก 50 แห่งที่อาจมีอยู่แต่ไม่มีการยืนยัน พื้นที่แต่ละแห่งถูกตัดออกจากกันด้วยพื้นที่เกษตรกรรมและหมู่บ้าน
เทียบกับแมวในสกุลลิงซ์ทั้งหมดที่มีอยู่ในโลกแล้ว สถานภาพของลิงซ์ไอบีเรียอยู่ในระดับร้ายแรงที่สุด ปัจจุบันลิงซ์ไอบีเรียหายากมากในคาบสมุทรไอบีเรียพบได้เฉพาะที่ป่าสงวนดอญญานาทางตอนใต้ของสเปนและพื้นที่โดดเดี่ยวบางแห่งในโปรตุเกสเท่านั้น พื้นที่ตอนกลางของประเทศสเปนซึ่งประกอบด้วยเขตหากินสามเขตเป็นพื้นที่เดียวเท่านั้นที่มีศักยภาพในการรักษาเผ่าพันธุ์ลิงซ์ชนิดนี้ได้ ประชากรปัจจุบันคือประมาณ 800 ตัว ส่วนในพื้นที่อื่นคาดว่ามีอยู่ตั้งแต่ 13–63 ตัว จำนวนที่หลงเหลือเพียงน้อยนิดแสดงถึงการถูกคุกคามอย่างร้ายแรง ในจำนวนป่าที่มีพื้นที่น้อยกว่า 1,000 ตารางกิโลเมตรที่เคยมีลิงซ์อาศัยอยู่ก่อนปี 2503 มีถึง 91 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนพื้นที่ที่ไม่มีลิงซ์อีกแล้ว
ชื่อลิงซ์ไอบีเรียอยู่ในบัญชีหมายเลข 1 ของไซเตส ไอยูซีเอ็นเคยจัดสถานภาพไว้ในระดับใกล้สูญพันธุ์ในช่วง ค.ศ. 2014 ถึง 2024[2] ใน ค.ศ. 2024 มีการปรับสถานะเป็นเกือบอยู่ในข่ายใกล้สูญพันธุ์[3] หลังมีประชากรลิงซ์ที่อายุน้อยและโตเต็มที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 2,000 ตัว[27] ลิงซ์ได้รับการคุ้มครองโดยรัฐบาลสเปนและโปรตุเกส
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Boscaini, A.; Alba, D.M.; Beltrán, J.F.; Moya-Sola, S. & Madurell-Malapeira, J. (2016). "Latest Early Pleistocene remains of Lynx pardinus (Carnivora, Felidae) from the Iberian Peninsula: taxonomy and evolutionary implications". Quaternary Science Reviews. 143: 96–106. Bibcode:2016QSRv..143...96B. doi:10.1016/j.quascirev.2016.05.015.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Rodríguez, A. & Calzada, J. (2020) [errata version of 2015 assessment]. "Lynx pardinus". IUCN Red List of Threatened Species. 2015: e.T12520A174111773. doi:10.2305/IUCN.UK.2015-2.RLTS.T12520A174111773.en. สืบค้นเมื่อ 16 January 2022.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "Iberian lynx rebounding thanks to conservation action – IUCN Red List – Press release | IUCN". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 June 2024. สืบค้นเมื่อ 20 June 2024.
- ↑ 4.0 4.1 Simón, M.A. (2012). Ten years conserving the Iberian lynx. Seville: Consejería de Agricultura, Pesca y Medio Ambiente. Junta de Andalusía. ISBN 978-84-92807-80-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 June 2024. สืบค้นเมื่อ 3 January 2017.
- ↑ Rodríguez-Hidalgo, A.; Lloveras, L.; Moreno-García, M.; Saladié, P.; Canals, A. & Nadal, J. (2013). "Feeding behaviour and taphonomic characterization of non-ingested rabbit remains produced by the Iberian lynx (Lynx pardinus)". Journal of Archaeological Science. 40 (7): 3031–3045. Bibcode:2013JArSc..40.3031R. doi:10.1016/j.jas.2013.03.006. hdl:10261/153608. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 June 2024. สืบค้นเมื่อ 29 January 2019.
- ↑ Fordham, D.A.; Akçakaya, H.R.; Brook, B.W.; Rodríguez, A.; Alves, P.C.; Civantos, E.; Trivino, M.; Watts, M.J. & Araujo, M.B. (2013). "Adapted conservation measures are required to save the Iberian lynx in a changing climate" (PDF). Nature Climate Change. 3 (10): 899–903. Bibcode:2013NatCC...3..899F. doi:10.1038/nclimate1954. hdl:10261/84387. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2017. สืบค้นเมื่อ 2 January 2017.
- ↑ Lopez, G.; Lopez, M.; Fernandez, L.; Ruiz, G.; Arenas, R.; Del Rey, T.; Gil, J.M.; Garrote, G.; Garcia, M. & Simon, M. (2012). "Population development of the Iberian lynx since 2002". Cat News. 57: 34.
- ↑ Jones, S. (2020). "The lynx effect: Iberian cat claws its way back from brink of extinction". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2020. สืบค้นเมื่อ 29 October 2020.
- ↑ Lusa (2021). "Pela primeira vez em 20 anos, há mais de 1000 linces-ibéricos". Público. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 May 2021. สืบค้นเมื่อ 28 May 2021.
- ↑ "La población de linces ibéricos alcanza su máximo histórico: 1.668 ejemplares". www.miteco.gob.es. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2023. สืบค้นเมื่อ 7 June 2023.
- ↑ 11.0 11.1 Jones, Sam (20 June 2024). "Iberian lynx no longer endangered after numbers improve in Spain and Portugal". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 June 2024. สืบค้นเมื่อ 20 June 2024.
- ↑ Temminck, C. J. (1827). "Felis pardina". Monographies de mammalogie, ou description de quelques genres de mammifères, dont les espèces ont été observées dans les différens musées de l'Europe. Vol. 1. Leiden: C. C. Vander Hoek. pp. 116–117.
- ↑ Kitchener, A. C.; Breitenmoser-Würsten, C.; Eizirik, E.; Gentry, A.; Werdelin, L.; Wilting, A.; Yamaguchi, N.; Abramov, A. V.; Christiansen, P.; Driscoll, C.; Duckworth, J. W.; Johnson, W.; Luo, S.-J.; Meijaard, E.; O'Donoghue, P.; Sanderson, J.; Seymour, K.; Bruford, M.; Groves, C.; Hoffmann, M.; Nowell, K.; Timmons, Z.; Tobe, S. (2017). "A revised taxonomy of the Felidae: The final report of the Cat Classification Task Force of the IUCN Cat Specialist Group" (PDF). Cat News. Special Issue 11: 45. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 17 January 2020. สืบค้นเมื่อ 23 February 2020.
- ↑ Kurtén, B. (1968). Pleistocene Mammals of Europe. London, New Brunswick: Aldine Transaction.
- ↑ Cuccu, Andrea; Valenciano, Alberto; Azanza, Beatriz; DeMiguel, Daniel (2023-01-02). "A new lynx mandible from the Early Pleistocene of Spain (La Puebla de Valverde, Teruel) and a taxonomical multivariate approach of medium-sized felids". Historical Biology (ภาษาอังกฤษ). 35 (1): 127–138. Bibcode:2023HBio...35..127C. doi:10.1080/08912963.2021.2024181. ISSN 0891-2963. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 June 2024. สืบค้นเมื่อ 10 April 2024.
- ↑ Johnson, W. E.; Godoy, J. A.; Palomares, F.; Delibes, M.; Fernandes, M.; Revilla, E. & O'Brien, S. J. (2004). "Phylogenetic and Phylogeographic Analysis of Iberian Lynx Populations". Journal of Heredity. 95 (1): 19–28. doi:10.1093/jhered/esh006. hdl:10261/50302. PMID 14757726. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 June 2020. สืบค้นเมื่อ 26 November 2020.
- ↑ Rodríguez-Varela, R.; Garcia, N.; Nores, C.; Álvarez-Lao, D.; Barnett, R.; Arsuaga, J.L. & Valdiosera, C. (2016). "Ancient DNA reveals past existence of Eurasian lynx in Spain". Journal of Zoology. 298 (2): 94–102. doi:10.1111/jzo.12289. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 June 2024. สืบค้นเมื่อ 9 December 2020.
- ↑ ลิงซ์ไอบีเรีย เก็บถาวร 2014-09-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เสือและแมวนักล่าผู้สง่างาม, โลกสีเขียว
- ↑ Delibes-Mateos, M.; Ferreira, C.; Carro, F.; Escudero, M. A. & Gortázar, C. (2014). "Ecosystem effects of variant Rabbit hemorrhagic disease virus, Iberian Peninsula". Emerging Infectious Diseases. 20 (12): 2166–2168. doi:10.3201/eid2012.140517. PMC 4257825. PMID 25417710.
- ↑ Keeley, Graham. "Breeding project boosts Iberian lynx numbers from 94 to 1,100". Al Jazeera (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 November 2023. สืบค้นเมื่อ 21 June 2024.
- ↑ Ferreras, P.; Aldama, J.J.; Beltran, J. & Delibes, M. (1992). "Rates and causes of mortality in a fragmented population of Iberian lynx Felis pardina Temminck, 1824". Biological Conservation. 62 (3): 197–202. Bibcode:1992BCons..61..197F. doi:10.1016/0006-3207(92)91116-a. hdl:10261/50936.
- ↑ Amante, Helena. "How the Iberian Lynx Bounced Back From the Brink of Extinction". Smithsonian Magazine (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 June 2024. สืบค้นเมื่อ 20 June 2024.
- ↑ Donaire, G. (2015). "Rise in Iberian lynx road deaths speeds up protection plans". El País. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 March 2015. สืบค้นเมื่อ 1 March 2015.
- ↑ López, G.; López-Parra, M.; Fernández, L.; Martínez-Granados, C.; Martínez, F.; Meli, M.L.; Gil-Sánchez, J.M.; Viqueira, N.; Díaz-Portero, M.A.; Cadenas, R.; Lutz, H.; Vargas, A. & Simón, M.A. (2009). "Management measures to control a feline leukemia virus outbreak in the endangered Iberian lynx". Animal Conservation. 12 (3): 173–182. Bibcode:2009AnCon..12..173L. doi:10.1111/j.1469-1795.2009.00241.x.
- ↑ Palomares, F.; López-Bao, J.V. & Rodríguez, A. (2011). "Feline leukaemia virus outbreak in the endangered Iberian lynx and the role of feeding stations: a cautionary tale". Animal Conservation. 14 (3): 242–245. Bibcode:2011AnCon..14..242P. doi:10.1111/j.1469-1795.2010.00403.x. hdl:10261/39812. S2CID 83959394.
- ↑ Sousa, M.; Gonçalves, A.; Silva, N.; Serra, R.; Alcaide, E.; Zorrilla, I.; Torres, C.; Caniça, M.; Igrejas, G.; Poeta, P. (2014). "Acquired antibiotic resistance among wild animals: the case of Iberian Lynx (Lynx pardinus)". Veterinary Quarterly. 34 (2): 105–112. doi:10.1080/01652176.2014.949391. PMID 25220796. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 December 2023. สืบค้นเมื่อ 16 October 2023.
- ↑ Cursino, Malu. "One of world's rarest cats no longer endangered – conservation agency". www.bbc.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 June 2024. สืบค้นเมื่อ 20 June 2024.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Large Carnivore Initiative for Europe – Iberian lynx
- Programa de Conservación Ex-Situ Official Spanish government page (ในภาษาสเปน)
- Species portrait Iberian lynx; IUCN/SSC Cat Specialist Group
- Images and movies of the Iberian lynx (Lynx pardinus)—ARKive
- The natural history of the Iberian lynx
- Lynx in vertebradosibericos.org (ในภาษาสเปน)
- WWF species profile: Iberian lynx
- Lynx pardinus in Naturdata (ในภาษาโปรตุเกส)