รถไฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รถจักรไฟฟ้าในรัสเซีย
รถไฟล้อเฟืองในสวิตเซอร์แลนด์
หัวรถจักรดีเซลขณะลากจูงสินค้าที่นิวซีแลนด์
รถไฟรางเดี่ยวในเยอรมนี
ระบบขนส่งมวลชนในอินเดีย
รถจักรไอน้ำในสหรัฐ

รถไฟ เป็นกลุ่มของยานพาหนะที่เคลื่อนที่ไปตามรางเพื่อการขนส่งสินค้าหรือผู้โดยสาร รถไฟมักจะถูกขับเคลื่อนด้วยหัวรถจักร แต่ก็มีรถไฟหลายชนิดที่สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตนเอง ผู้โดยสารหรือสินค้าจะถูกขนส่งโดยใช้ตู้โดยสาร รถไฟแต่ละชนิดถูกออกแบบมาให้ใช้กับขนาดความกว้างรางต่างกันออกไป และส่วนมากทำงานโดยใช้ล้อเหล็กเคลื่อนไปตามรางเหล็ก แรงเสียดทานที่น้อยทำให้การขนส่งทางรางมีประสิทธิภาพกว่าการคมนาคมรูปแบบอื่นๆ

รถไฟมีพัฒนาการมาจากรถรางที่ใช้ม้าลาก (Wagonway) ต่อมาใน ค.ศ. 1804 การคิดค้นรถจักรไอน้ำที่สหราชอาณาจักรทำให้รถไฟถูกนำไปใช้งานทั่วโลก ในฐานะที่เป็นระบบขนส่งที่ราคาถูกและรวดเร็วกว่าที่เคยมีมา ระบบขนส่งมวลชนเร็วและรถรางมีขึ้นครั้งแรกในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เพื่อขนส่งผู้โดยสารจำนวนมากตามเมืองต่างๆ ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1920 เป็นต้นมา รถจักรดีเซลและรถจักรไฟฟ้าก็เริ่มเข้ามาทดแทนรถจักรไอน้ำ แต่พัฒนาการของรถยนต์ รถบรรทุก และเครือข่ายทางหลวง ประกอบกับการพัฒนาอากาศยานที่รวดเร็วขึ้นก็ทำให้ความสำคัญของรถไฟลดลง และรถไฟหลายสายก็ถูกปิดตัวไป นอกจากนี้ การแพร่ขยายของรถบัสก็นำไปสู่การปิดตัวระบบขนส่งมวลชนและรถรางในช่วงนี้ด้วย

ตั้งแต่ทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา รัฐบาล นักสิ่งแวดล้อม และผู้สนับสนุนรถไฟต่างเรียกร้องให้มีการใช้รถไฟมากขึ้น เนื่องจากรถไฟมีประสิทธิภาพในการใช้เชื้อเพลิงสูงกว่าระบบขนส่งอื่นๆ และปล่อยแก๊สเรือนกระจกน้อยกว่า รถไฟความเร็วสูง ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นในทศวรรษก่อนหน้าก็เข้ามามีบทบาทในฐานะที่เป็นตัวเลือกแทนรถยนต์และเครื่องบินสำหรับการเดินทางระยะสั้น ส่วนรถไฟชานเมืองก็มีความสำคัญมากขึ้นตั้งแต่ทศวรรษ 1970 ในฐานะที่เป็นทางเลือกในการหลีกเลี่ยงรถติดและถูกใช้เพื่อสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ต่างๆ ต่อมาในศตวรรษที่ 21 รถไฟรางเบาก็ถูกนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์นี้เช่นกัน ส่วนรถไฟสินค้าก็ยังคงถูกใช้เพื่อขนส่งสินค้าที่มีปริมาณมาก เช่น ถ่านหินและธัญพืช และเพื่อลดปัญหาการจราจรที่เกิดจากรถบรรทุก

โดยทั่วไปแล้ว รถไฟจะวิ่งไปตามราง 2 เส้นที่ขนานกัน แต่ก็มีรถไฟรูปแบบอื่นๆ เช่นกัน รถไฟรางเดี่ยว (โมโนเรล) สามารถวิ่งได้โดยใช้รางเพียงเส้นเดียว ในขณะที่รถกระเช้าและรถไฟล้อเฟืองถูกออกแบบมาใช้วิ่งตามพื้นที่ลาดชัน นอกจากนี้ รถไฟแบบใหม่ๆ เช่น แม็กเลฟ ซึ่งเคลื่อนที่โดยอาศัยแรงแม่เหล็ก ก็กำลังถูกพัฒนาขึ้นในทศวรรษ 2020 ด้วย รถไฟที่ใช้เชื้อเพลิงทางเลือก เช่น รถไฟแก๊สธรรมชาติและรถไฟไฮโดรเจน ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งประดิษฐ์สำคัญที่พัฒนาขึ้นในศตวรรษที่ 21

ประวัติ[แก้]

รถจักรไอน้ำ ร็อกเก็ต ซึ่ง จอร็จ สตีเฟนสัน เป็นผู้ประดิษฐ์ ในปี พ.ศ. 2357

รถไฟเริ่มเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อประมาณสามร้อยปีมาแล้ว เดิมทีเดียวสร้างขึ้นเพื่อใช้บรรทุกถ่านหิน รถนั้นมีล้อ แล่นไปตามรางและใช้ม้าลาก ต่อมาในปี พ.ศ. 2357 จอร์จ สตีเฟนสัน (George Stephenson) ชาวอังกฤษ ได้ประดิษฐ์รถจักรไอน้ำ ชื่อว่า ร็อคเก็ต (Rocket)ซึ่งสามารถแล่นได้ด้วยตนเองเป็นผลสำเร็จ นำมาใช้ลากจูงรถแทนม้าในเหมืองถ่านหิน ภายหลังจากนั้นก็ได้มีผู้ประดิษฐ์รถจักรไอน้ำและรถจักรชนิดอื่นๆ ขึ้นอีกหลายแบบ รถไฟได้เปลี่ยนสภาพจากรถขนถ่านหินมาเป็นรถสำหรับขนส่งผู้โดยสารและสินค้า ดังเช่นในปัจจุบัน

กิจการรถไฟของไทยนั้น ได้เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2429 ตรงกับรัตนโกสินทร์ศกที่ 105 ไทยได้ให้สัมปทานแก่บริษัทชาวเดนมาร์กสร้างทางรถไฟสายแรกจาก กรุงเทพมหานคร ถึงสมุทรปราการ เป็นระยะทาง 21 กิโลเมตร ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าให้ตั้งกรมรถไฟหลวงขึ้น โดยสังกัดกระทรวงโยธาธิการ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439 พระองค์เสด็จประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟระหว่าง กรุงเทพมหานครถึงอยุธยา เป็นระยะทาง 71 กิโลเมตร ซึ่งทางการได้ถือเอาวันนี้เป็นวันสถาปนากิจการรถไฟหลวง ปัจจุบันทางรถไฟที่สำคัญของประเทศไทยมีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้นรวมสี่สาย คือ สายเหนือ ถึงจังหวัดเชียงใหม่และสุโขทัย สายใต้ ถึงประเทศมาเลเซีย สายตะวันออก ถึงจังหวัดสระแก้ว และสายตะวันออกเฉียงเหนือ รวมเป็นระยะทาง 3,855 กิโลเมตร

ประเภทของรถจักร[แก้]

รถจักรไอน้ำ Krauss-Maffei ซึ่งใช้ในสายแม่กลอง-มหาชัย

ในโลกมีรถจักรอยู่หลากหลายประเภท แต่รถจักรประเภทหลักๆที่มีใช้อยู่หลากหลายในโลก คือ

ใช้แทนรถจักรดีเซลไฟฟ้าเมื่อน้ำท่วมราง เพราะรถจักรดีเซลไฟฟ้าโดนน้ำไม่ได้

  • รถจักรไฟฟ้า (Electric Locomotive) ใช้ไฟฟ้านำไปหมุนมอเตอร์ลากจูง (Traction Motor:TM) เป็นรถจักรที่มีกำลังสูงมากกว่าประเภทอื่นๆ [ต้องการอ้างอิง] นอกจากนี้ ยังมีรถโดยสารที่สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง ได้แก่
    • รถดีเซลราง (Diesel Multiple Unit:DMU) เป็นรถโดยสารที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังดีเซล ส่วนใหญ่ขับเคลื่อนด้วยดีเซลการกล หรือดีเซลไฮดรอลิก
    • รถรางไฟฟ้า (Electric Multiple Unit:EMU) เป็นรถโดยสารที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ซึ่งใช้ไฟฟ้า
    • รถรางพลังงานน้ำ (Water Multiple Unit:WMU) เป็นรถโดยสารที่ขับเคลื่อนด้วยรางน้ำซึ่งใช้พลังงานน้ำสูบเข้าไปเป็นพลังงานไอน้ำสร้างกระแสไฟฟ้าขับดันรถจักรเคลื่อนที่ไปข้างหน้า

องค์ประกอบของการเดินขบวนรถไฟที่สำคัญ[แก้]

กิจการรถไฟในต่างประเทศ[แก้]

รูปภาพ[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]