ยูเนียนแจ็ก
ยูเนียนแจ็ก (Union Jack) | |
การใช้ | ธงชาติ |
---|---|
สัดส่วนธง | 1:2 |
ประกาศใช้ | 1 มกราคม 1801 |
ลักษณะ | ธงพื้นสีน้ำเงิน ซ้อนทับด้วยกากบาทมุมฉาก และกากบาทแยงสีแดงขอบขาว |
แบบสัดส่วน 3:5 | |
สัดส่วนธง | 3:5 |
ธงแสดงสัญชาติสีแดง | |
การใช้ | ธงเรือพลเรือน |
สัดส่วนธง | 1:2 |
ลักษณะ | ธงพื้นแดง มีธงสหภาพที่มุมบนด้านคันธง |
ธงแสดงสัญชาติสีน้ำเงิน | |
การใช้ | ธงเรือรัฐบาล |
สัดส่วนธง | 1:2 |
ลักษณะ | ธงพื้นน้ำเงิน มีธงสหภาพที่มุมบนด้านคันธง |
ธงราชนาวี | |
การใช้ | ธงนาวี |
สัดส่วนธง | 1:2 |
ลักษณะ | ธงพื้นขาว กลางมีกากบาทมุมฉากสีแดง และมีธงสหภาพที่มุมบนด้านคันธง |
ธงแสดงสัญชาติกองทัพอากาศหลวง | |
การใช้ | ธงกองทัพอากาศ |
สัดส่วนธง | 1:2 |
ลักษณะ | ธงพื้นฟ้า มีธงสหภาพที่มุมบนด้านคันธง และมีเครื่องหมายอากาศยานกลางส่วนปลายธง |
ธงสหภาพ (อังกฤษ: Union Flag) หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า ยูเนียนแจ็ก (Union Jack) เป็นธงชาติของสหราชอาณาจักร[1] ทั้งยังได้รับการใช้อย่างเป็นทางการและกึ่งทางการในรัฐสมาชิกเครือจักรภพบางรัฐ เช่น ในประเทศแคนาดาที่ซึ่งธงนี้มีนามตามกฎหมายว่า "ราชธวัชสหภาพ" (Royal Union Flag)[2] ธงสหภาพยังใช้อย่างเป็นทางการในดินแดนโพ้นทะเลของบริเตน ทั้งยังปรากฏในธงของบางประเทศซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของสหราชอาณาจักรด้วย
ธงสหภาพมีกำเนิดย้อนหลังไปเมื่อวันที่ 12 เมษายน 1606 จึงมีการตราพระราชกฤษฎีกาให้มีธงใหม่เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ระหว่างประเทศอังกฤษและประเทศสกอตแลนด์ พระราชกฤษฎีกานี้ให้รวมธงชาติอังกฤษ (ธงพื้นขาวมีกางเขนสีชาดซึ่งเรียก "กางเขนแห่งนักบุญจอร์จ" อยู่ตรงกลาง) เข้ากับธงชาติสกอตแลนด์ (ธงพื้นน้ำเงินมีกางเขนไขว้สีขาวซึ่งเรียก "กางเขนแห่งนักบุญแอนดรูว์" อยู่ตรงกลาง) เรียกว่า "ธงแห่งบริเตนใหญ่" ซึ่งก็คือ ธงผืนแรกแห่งสหภาพ
รูปแบบปัจจุบันของธงสหภาพมีขึ้นในสหภาพบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เมื่อปี 1801[3] โดยรูปแบบนี้รวมเอาลักษณะของธงชาติประจำรัฐทั้งสามนั้นเข้าไว้ คือ ธงรูปกางเขนสีชาดของนักบุญจอร์จ (อังกฤษ) ธงรูปกางเขนไขว้สีชาดของนักบุญแพทริก (ไอร์แลนด์) และธงรูปกางเขนไขว้สีขาวของนักบุญแอนดรูว์ (สกอตแลนด์)
ธงชาติสหราชอาณาจักรปกติแล้วจะมีสัดส่วน 1:2 หนังสือธงของราชนาวี BR20 Flags of All Nations ระบุแบบว่าทั้ง 1:2 เเละ 3:5 เป็นทางการ การออกแบบธงจะขึ้นอยู่กับ 30 ส่วนของความกว้าง ไม่ว่าจะแสดงด้วยสัดส่วนใดความกว้างของไม้กางเขนจะยังคงที่ต่อความกว้าง
ดูเพิ่ม
[แก้]- ธงชาติอังกฤษ (ธงกางเขนแห่งนักบุญจอร์จ)
- ธงชาติสกอตแลนด์ (ธงกางเขนแห่งนักบุญแอนดรูว์)
- ธงชาติเวลส์ (ธงนักบุญเดวิด)
- ธงชาติไอร์แลนด์เหนือ (ธงกางเขนแห่งนักบุญแพทริก)
- ธงในสหราชอาณาจักร
- ธงในประเทศอังกฤษ
- ธงชาติสหราชอาณาจักร
- ธงชาติบริเตนใหญ่
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Union Jack เก็บถาวร 2020-05-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The official website of the British Monarchy.
- ↑ "Statement by the Hon. Jason Kenney, PC, MP Secretary of State (Multiculturalism and Canadian Identity) on Commonwealth Day". Canadian Heritage. 10 March 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-11. สืบค้นเมื่อ 2010-06-17.
- ↑ British flags, from the Flag Institute site. Accessed 2 May 2007
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ธงชาติสหราชอาณาจักร ที่ Flags of the World (อังกฤษ)
- สำนักพระราชวัง – ธงยูเนียนแจ็ก
- ธงชาติ ธงราชการต่างๆที่ใช้ในสหราชอาณาจักร เก็บถาวร 2010-09-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ธงราชการกองทัพ จาก กระทรวงกลาโหม เก็บถาวร 2015-09-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ธงชัยเฉลิมพลประจำกองทหารแห่งกองทัพสหราชอาณาจักร เก็บถาวร 2014-10-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ธงยูเนียนแจ็ก และ ธงสหราชอาณาจักร เก็บถาวร 2008-05-21 ที่ UK Government Web Archive