ข้ามไปเนื้อหา

ยุทธการที่บูลอญ (ค.ศ. 1940)

พิกัด: 50°43′35″N 1°36′53″E / 50.72639°N 1.61472°E / 50.72639; 1.61472
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธการที่บูลอญ
ส่วนหนึ่งของ ยุทธการที่ฝรั่งเศส

ยุทธการที่ฝรั่งเศส, สถานการณ์เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม – 4 มิถุนายน ค.ศ. 1940
วันที่22–25 พฤษภาคม ค.ศ. 1940
สถานที่50°43′35″N 1°36′53″E / 50.72639°N 1.61472°E / 50.72639; 1.61472
ผล เยอรมันชนะ
คู่สงคราม
ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
 สหราชอาณาจักร
 เบลเยียม
เยอรมนี เยอรมนี
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ฝรั่งเศส Pierre Louis Félix Lanquetot
สหราชอาณาจักร William Fox-Pitt
เยอรมนี ไฮนทซ์ กูเดรีอัน
เยอรมนี Rudolf Veiel
กำลัง
ฝรั่งเศส Headquarters, garrison and training units
สหราชอาณาจักร 2 infantry battalions, 1,500 Auxiliary Military Pioneer Corps troops
supporting units
เบลเยียม training units
เยอรมนี 1 panzer division
ความสูญเสีย
about 5,000 POW
Boulogneตั้งอยู่ในฝรั่งเศส
Boulogne
Boulogne
Boulogne-sur-Mer in Northern France, a sub-prefecture of the department of Pas-de-Calais
แม่แบบ:Campaignbox Battle of France แม่แบบ:Campaignbox Western Front (World War II)

ยุทธการที่บูลอญ เป็นการป้องกันที่ท่าเรือของบูลอญ-ซูร์-แมร์ (Boulogne-sur-Mer) โดยทหารฝรั่งเศส-อังกฤษและเบลเยียมในช่วงยุทธการที่ฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1940 การสู้รบครั้งนี้เป็นช่วงเวลาเดียวกับการล้อมกาแล ในช่วงก่อนปฏิบัติการไดนาโม การอพยพของกองกำลังปฏิบัติการทางทหารของอังกฤษ (British Expeditionary Forces หรือ B.E.F.) ผ่านเดิงแกร์ก ภายหลังจากการโจมตีตอบโต้กลับที่ยุทธการที่อารัส (21 พฤษภาคม) หน่วยทหารเยอรมันได้เตรียมความพร้อมที่จะเริ่มทำการโจมตี เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม แม้จะได้รับการทัดทานของนายพลไฮนทซ์ กูเดรีอัน ผู้บัญชาการของกองทัพเหล่าที่ 19 (XIX Armee Korps) ที่ต้องการจะให้เคลื่อนทัพไปยังทางเหนือของช่องแคบอังกฤษเพื่อเข้ายึดครองบูลอญ กาแล และเดิงแกร์ก การโจมตีของกองทัพเหล่าที่ 19 ไม่ได้รับการอนุมัติจนกระทั่งเวลา 12:40 น. ในช่วงคืนที่ 21/22 เดือนพฤษภาคม เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม เมื่อกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรที่บูลอญได้รับการเสริมกำลังจากอังกฤษโดยส่วนใหญ่ของกองพันทหารรักษาการณ์ที่ 20 (20th Guards Brigade) .

ทหารรักษาการณ์ได้มีเวลาในการขุดหลุมบริเวณรอบท่าเรือให้ได้ก่อนที่กองพลแพนเซอร์ที่ 2จะมาถึงซึ่งได้ล่าช้าจากกองกำลังทหารฝรั่งเศสจากเซเมอร์ (Samer) จากนั้นก็ได้เข้าโจมตีพรมแดนที่ถูกยึดครองโดยทหารรักษาการณ์ไอริช เมื่อเวลาประมาณ 05:00 นาฬิกา และถูกขับไล่ออกไปภายหลังหนึ่งชั่วโมง แนวรบของทหารรักษาการณ์เวลส์ได้ถูกโจมตี เมื่อเวลา 8:00 นาฬิกา และอีกครั้งในช่วงเวลาก่อนค่ำก่อนที่จะมีการตัดกำลังทหารรักษาการณ์ไอริช เมื่อเวลา 10:00 นาฬิกา การป้องกันที่บูลอญได้รับการช่วงเหลือจากเครื่องบินทิ้งระเบิดเบา 8 ลำ ของกองทัพอากาศอังกฤษ (RAF) และในยามรุ่งอรุณ เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม เยอรมันได้โจมตีกลับ ได้ผลักดันให้ฝ่ายป้องกันกลับเข้าไปในเมืองในที่สุด

เรือรบของกองทัพเรืออังกฤษได้ระดมยิงใส่และออกจากท่าเรือไปและเรือรบพิฆาตของกองทัพเรือฝรั่งเศสได้ระดมยิงใส่ตำแหน่งของเยอรมันซึ่งทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและผู้ที่ไม่ใช่ทหารได้เริ่มลงเรือและจอดเทียบท่าเพื่อช่วยเหลือทหารจากการถูกทำลาย ในช่วงบ่ายวานนี้ กองทัพลุฟท์วัฟเฟอได้ทำการทิ้งระเบิดที่ท่าเรือ แม้จะถูกสกัดกั้นจากเครื่องบินรบขับไล่ของกองทัพอากาศอังกฤษและเวลา 6:30 นาฬิกา กองพันทหารรักษาการณ์ได้รับคำสั่งให้กลับลงเรือ เรือรบพิฆาตได้เดินหน้าฝ่าอันตรายจากการระดมยิงใส่จากรถถังและปืนใหญ่เยอรมันเพื่อการอพยพทหารรักษาการณ์ ฝ่ายป้องกันฝรั่งเศสบริเวณรอบๆป้อมซิทาเดล ทางตอนล่างของเมืองได้ขาดการติดต่อและเฉพาะในช่วงเช้าวันที่ 24 พฤษภาคม ได้ทำให้นายพล Lanquetot ได้ตระหนักดีว่าอังกฤษได้หนีไปแล้ว,ซึ่งนำไปสู่การถูกประณาม

ฝ่ายฝรั่งเศสและส่วนที่เหลือของทหารอังกฤษไปถอนกำลังจนกระทั่งวันที่ 25 พฤษภาคมและได้ยอมจำนน กูเดเรียนได้เขียนประพันธ์ว่าความล่าช้าในการอนุมัติให้ทำการรุกโจมตีและสงวนกองกำลังไว้จำนวนมากเพื่อป้องกันจากการโจมตีตอบโต้กลับของฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้สูญเสียโอกาสอย่างรวดเร็วเพื่อเข้ายึดครองท่าเรือริมช่องแคบและทำลายล้างกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรในทางเหนือของฝรั่งเศสและเบลเยียม การรุกในเดิงแกร์กได้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม และวันต่อมาได้ถูกสั่งให้หยุดจนกระทั่งวันที่ 27 พฤษภาคม และเดิงแกร์กไม่ได้ถูกยึดครองจนกระทั่งวันที่ 4 มิถุนายน โดยส่วนใหญ่ของกองกำลังทหารของกองกำลังปฏิบัติการทางทหารของอังกฤษและกองทหารจำนวนมากของฝรั่งเศสและเบลเยียมกลับหนีรอดไปได้