มหาวิทยาลัยปักกิ่ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยปักกิ่ง
北京大学
ประเภทมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ
สถาปนาพ.ศ. 2441
ปริญญาตรี15,128
บัณฑิตศึกษา15,119
ที่ตั้ง,
เครือข่ายสมาคมมหาวิทยาลัยภาคพื้นแปซิฟิก
เว็บไซต์www.pku.edu.cn

มหาวิทยาลัยปักกิ่ง(อังกฤษ: Peking University) (北大; Chinese: 北京大学, pinyin: Běijīng Dàxué) Bei-Da) นิยมเรียกกันว่าเป่ยต้า เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติของจีน 1 ใน 9 (C9 League) เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยชิงหฺวา เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ชั้นนำของรัฐที่มีชื่อเสียง มีสถาปัตยกรรมแบบจีนที่โดดเด่น มหาวิทยาลัยปักกิ่งมีบทบาทต่อการเคลื่อนไหวเชิงสัญลักษณ์ทางการเมืองในปี พ.ศ 2532 ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยปักกิ่งเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของจีน[1] และจากการจัดลำดับโดยคอกโครัลลีไซมอนส์ มหาวิทยาลัยปักกิ่งอยู่ในลำดับที่ 22 ของโลก และลำดับ 5 ในเอเชีย[2]

ประวัติ[แก้]

ประตูทางเข้า สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยปักกิ่ง
สถาปัตยกรรมแบบจีนภายในมหาวิทยาลัย

ก่อตั้งขึ้นในสมัยราชวงศ์ชิง ในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2441 ในชื่อมหาวิทยาลัยจักรวรรดิ์ปักกิ่ง ต่อมาเกิดเหตุการณ์การปฏิวัติซินไฮ่ ในปี พ.ศ. 2454 ราชวงศ์ชิงถูกล้มล้างอันเป็นจุดสิ้นสุดของจักรวรรดิจีนอายุกว่า 2,000 ปี เริ่มต้นของการปกครองแบบสาธารณรัฐของจีน[3]มหาวิทยาลัยแห่งชาติปักกิ่ง (National Peking University) ก่อตั้งโดยพรรคชาตินิยมจีน (ก๊กมินตั๋ง) ในปี พ.ศ. 2463 มหาวิทยาลัยปักกิ่งเป็นมหาวิทยาลัยแรกที่รับนักศึกษาหญิงเข้ามาศึกษาในระดับอุดมศึกษาสมัยใหม่ของจีน และเมื่อพรรคก๊กมินตั๋งพ่ายแพ้สงครามกลางเมืองจีน เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ประกาศตั้ง สาธารณรัฐประชาชนจีนมหาวิทยาลัยแห่งชาติปักกิ่งสูญเสียสถานะความเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติที่แต่งตั้งโดยพรรคก๊กมินตั๋ง และต้องย้ายวิทยาเขตออกจากในเมืองไปอยู่บริเวณชานเมือง (วิทยาเขตเดิมอยู่บริเวณพระราชวังต้องห้าม) แต่มหาวิทยาลัยยังคงเป็นมหาวิทยาลัยที่ดึงดูดปัญญาชนจากทั่วแผ่นดินจีน จากเหตุการณ์การชุมนุมประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมินโดยมีนักศึกษาและปัญญาชนจากมหาวิทยาลัยปักกิ่งเป็นแกนนำ ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยปักกิ่ง เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่มีชื่อเสียงลำดับต้นๆของแผ่นดินใหญ่[4] เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ(National Key Universities) ที่มีอัตราการสอบแข่งขันเข้าศึกษามากที่สุดในแผ่นดินจีน[5][6]

สาขาวิชาที่เปิดสอน[แก้]

อาคารวิทยาศาสตร์สุขภาพ

วิทยาลัย/ภาควิชา/สำนักวิชา/สถาบัน/ศูนย์ ที่เปิดสอนในหลักสูตรปริญญาตรี[7]

  • ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
  • สำนักวิชาการปกครอง
  • สำนักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
  • ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ
  • วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและวิศวกรรม
  • วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์
  • สถาบันการศึกษาขั้นสูง เพื่อการศึกษาสหวิทยาการ
  • บัณฑิตวิทยาลัยศึกษาศาสตร์
  • ศูนย์จีนเพื่อการวิจัยเศรษฐกิจ
  • สำนักวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • วิทยาลัยหยวนเป่ย
  • ภาควิชาพละศึกษา
  • สำนักวิชามาร์กซิส(ลัทธิ)
  • สำนักวิชาภาษาต่างประเทศ
  • ภาควิชา ภาษาและวรรณคดีอังกฤษ
  • ภาควิชาสังคมวิทยา
  • ภาควิชาสารสนเทศเพื่อการจัดการ
  • โรงเรียนกฎหมาย
  • วิทยาลัยการบริหารGuanghua
  • สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์
  • สำนักวิชาการศึกษานานาชาติ
  • ภาควิชาปรัชญา
  • สำนักวิชาโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์วิทยา
  • ภาควิชาประวัติศาสตร์
  • สำนักวิชาวารสาร และการสื่อสารมวลชน
  • ภาควิชาจิตวิทยา
  • สำนักวิชาผังเมืองและ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
  • สำนักวิชา โลกและอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
  • วิทยาลัยเคมี
  • ภาควิชาภาษาจีนและวรรณคดี
  • สำนักวิชาฟิสิกส์
  • สำนักวิชาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์

ศิษย์เก่าชาวไทยที่มีชื่อเสียง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9480000159858[ลิงก์เสีย]
  2. https://www.topuniversities.com/university-rankings/world-university-rankings/2020
  3. Li, Xiaobing. [2007] (2007). A History of the Modern Chinese Army. University Press of Kentucky. ISBN 0813124387, 9780813124384. pg 13. pg 26–27.
  4. http://thai.cri.cn/247/2012/10/11/121s203035.htm
  5. http://www.oknation.net/blog/chineseclub/2013/02/28/entry-1
  6. http://www.dek-d.com/studyabroad/20287/
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-16. สืบค้นเมื่อ 2016-01-27.