ภาษาโยนางูนิ
ภาษาโยนางูนิ | |
---|---|
与那国物言/ドゥナンムヌイ Dunan Munui | |
ออกเสียง | [dunaŋmunui] |
ประเทศที่มีการพูด | ญี่ปุ่น |
ภูมิภาค | เกาะโยนางูนิ |
จำนวนผู้พูด | 400 (2558)[1] |
ตระกูลภาษา | |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | yoi |
ภาษาโยนางูนิ (与那国物言/ドゥナンムヌイ Dunan Munui ) เป็นภาษาในกลุ่มรีวกีวใต้ที่พูดโดยผู้คนราว 400 คนบนเกาะโยนางูนิ ในหมู่เกาะรีวกีวทางตะวันตกสุดของแนวเกาะซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของไต้หวัน[2] มีความใกล้เคียงกับภาษายาเอยามะมากที่สุด เนื่องจากนโยบายของญี่ปุ่นเกี่ยวกับภาษาจึงไม่ได้รับการยอมรับในสถานะภาษา โดยรัฐบาลเรียกว่าภาษาถิ่นโยนางูนิ (与那国方言, Yonaguni hōgen) สำหรับการจัดประเภทโดยยูเนสโก ภาษาโยนางูนิเป็นภาษาใกล้สูญมากที่สุดในญี่ปุ่น
สัทวิทยา
[แก้]สระ
[แก้]ตารางด้านล่างแสดง เสียงสระ ที่มีอยู่ในภาษาโยนางูนิ เสียงสระที่มีแต่หน่วยเสียงย่อยเท่านั้นแสดงในวงเล็บ
สระหน้า | สระกลาง | สระหลัง | |
---|---|---|---|
ระดับสูง | i | u | |
เฉียดสูง | (ɪ) | (ʊ) | |
กลางสูง | o[1] | ||
ระดับต่ำ | a | (ɑ) |
- ^1 [o] อาจพิจารณาว่าเป็นหน่วยเสียงอิสระและไม่เป็นเพียงหน่วยเสียงย่อยของ /u/ อย่างไรก็ตามมีการกระจายที่จำกัดมาก ทั้งนี้ไม่รวมคำช่วยจำนวนเล็กน้อยเช่น คำอุทาน do ซึ่งเป็นเพียงหน่วยคำเดียวที่ปรากฏท้ายประโยค
พยัญชนะ
[แก้]ตารางด้านล่างแสดงพยัญชนะที่มีอยู่ในภาษาโยนางูนิ พยัญชนะในวงเล็บจะมีเพียงหน่วยเสียงย่อยเท่านั้น หน่วยเสียงกัก (plosive) และหน่วยเสียงกึ่งเสียดแทรก (affricate) มีความแตกต่างสามแบบระหว่าง fortis, lenis และพยัญชนะเสียงโฆษะ
โอษฐชะ | ริมฝีปาก- เพดานอ่อน |
มุทธชะ | เพดานแข็ง- ปุ่มเหงือก |
ตาลุชะ | เพดานอ่อน | เส้นเสียง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
LEN | FOR | โฆษะ | LEN | FOR | โฆษะ | LEN | FOR | โฆษะ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
เสียงระเบิด | p | b | tʰ | t | d | kʰ | k | ɡ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
เสียงเสียดแทรก | (ɸ) | s | (ɕ) | (ç) | h | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เสียงกักเสียดแทรก | t͡s | (t͡ɕ) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เสียงนาสิก | m | n | ŋ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เสียงสะบัด | ɾ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เสียงเปิด | (ʍ) | w | j |
การเปรียบเสียงในภาษาร่วมเชื้อสาย
[แก้]ในฐานะที่เป็นภาษาในกลุ่มรีวกีวใต้ ภาษาโยนางูนิ คล้ายกับภาษามิยาโกะ และภาษายาเอยามะ มีหน่วยเสียง /b/ แทนที่หน่วยเสียง /w/ ในภาษาญี่ปุ่นมาตรฐาน เช่น คำในภาษาโยนางูนิ /bata/ ('ท้อง, พุง'), เกี่ยวเนื่องกับภาษาญี่ปุ่น /wata/ ('ลำไส้') ภาษาโยนางูนิยังมีหน่วยเสียง /d/ โดยที่ภาษาญี่ปุ่นและภาษากลุ่มรีวกีวอื่น ๆ เป็นหน่วยเสียง /j/ (ถอดเป็นอักษรโรมัน y) ตัวอย่างเช่น ภาษาโยนางูนิ /dama/ ('ภูเขา') เกี่ยวเนื่องกับภาษาญี่ปุ่นและภาษายาเอยามะ /jama/ ('idem' ) หน่วยเสียง /d/ ในภาษาโยนางูนิน่าจะเป็นการพัฒนาเมื่อไม่นานมานี้จากหน่วยเสียง */j/ ก่อนหน้า อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ว่าแม้แต่ */j/ ในคำยืมจากแหล่งกำเนิดกลุ่มภาษาจีน ผู้พูดภาษาโยนางูนิก็ออกเสียง /d/ เช่น dasai 'ผัก' จากภาษาจีนยุคกลาง *jia-tsʰʌi (野菜) บันทึกในพงศาวดารเกาหลีช่วงปลายศตวรรษที่ 15 ซ็องจงแทวังซิลล็อก บันทึกชื่อท้องถิ่นของเกาะโยนางูนิในอักษรอิดูว่า 閏伊是麼 ซึ่งมีคำอ่านในภาษาเกาหลีกลางว่า zjuni sima โดยคำว่า sima ที่ปรากฏในข้อความเป็นคำในกลุ่มภาษาญี่ปุ่นแปลว่า 'เกาะ' นี่เป็นหลักฐานโดยตรงของขั้นกลางของการเปลี่ยนแปลงเสียง (fortition) หน่วยเสียง *j- > *z- > d- ซึ่งนำไปสู่ชื่อสมัยใหม่ /dunaŋ/ 'โยนางูนิ'[3]
ภาษาโยนางูนิ แสดงการเปล่งเสียงพยัญชนะระเบิดระหว่างสระ เช่นเดียวกับภาษาในตระกูลภาษาญี่ปุ่นหลายภาษา นอกจากนี้ยังแสดงแนวโน้มของหน่วยเสียง /ɡ/ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออยู่ระหว่างสระที่จะออกเป็นเสียงนาสิก เพดานอ่อน /ŋ/ เช่นเดียวกับในภาษาญี่ปุ่นมาตรฐาน
โครงสร้างพยางค์
[แก้]ด้านล่างนี้เป็นแม่แบบพยางค์ของภาษาโยนางูนิ:
- (C (G) ) V1 (V2) (N)
- C = พยัญชนะ
- G = พยัญชนะกึ่งสระ [w] หรือ [j]
- V = สระ
- N = พยัญชนะท้ายนาสิก (กลมกลืนเสียง)
พยัญชนะต้นอนุญาตให้มีพยัญชนะตัวเดียวโดยอาจจะมีการเพิ่มพยัญชนะกึ่งสระ แกนพยางค์สามารถมีสระได้มากถึงสองตัว พยัญชนะท้ายพยางค์ที่อนุญาตคือพยัญชนะท้ายนาสิกที่มีการกลมกลืนเสียง (moraic nasal) เท่านั้น
ระบบการเขียน
[แก้]ครั้งหนึ่งภาษาโยนางูนิ มีระบบการเขียนเฉพาะที่เรียกว่าตัวหนังสือคำไคดา อย่างไรก็ตามหลังจากการยึดครองโดยอาณาจักรรีวกีว และการถูกผนวกโดยจักรวรรดิญี่ปุ่นในภายหลัง ตัวหนังสือคำก็ถูกแทนที่ด้วยอักษรคานะและคันจิของญี่ปุ่น[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Yamada, Masahiro; Pellard, Thomas; Shimoji, Michinori (2015). Heinrich, Patrick; Miyara, Shinsho; Shimaji, Michinori (บ.ก.). Handbook of the Ryukyuan Languages: History, Structure, and Use. Handbooks of Japanese Language and Linguistics. Vol. 11. Berlin, Boston: De Gruyter Mouton. pp. 449–478. ISBN 978-1-61451-161-8.
- ↑ Pellard, Thomas; Yamada, Masahiro (2017). "Verb Morphology and Conjugation Classes in Dunan (Yonaguni)". ใน Kiefer, Ferenc; Blevins, James P.; Bartos, Huba (บ.ก.). Perspectives on Morphological Organization: Data and Analyses. BRILL. ISBN 978-90-04-34293-4.
- ↑ Vovin, Alexander (2010). "Yonaguni initial d- as an innovation". Korea-Japonica: A Re-Evaluation of a Common Genetic Origin. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-3278-0.
- ↑ Ikema Eizō 池間栄三 (1972) [1959]. Yonaguni no rekishi 与那国の歴史 (ภาษาญี่ปุ่น). ASIN B000J9EK8K.
หนังสืออ่านเพิ่มเติม
[แก้]- 高橋俊三. "与那国方言." 言語学大辞典セレクション:日本列島の言語. 三省堂, 1997. Print. (ในภาษาญี่ปุ่น) (ISBN 978-4385152073)
- 高橋俊三. "沖縄県八重山郡与那国町の方言の生活語彙." 方言研究叢書. 4 (1975): Print. (ในภาษาญี่ปุ่น)
- 平山輝男, 中本正智. 琉球与那国方言の研究. 東京: 東京堂, 1964. Print. (ในภาษาญี่ปุ่น)
- 高橋俊三. "琉球・与那国方言の語彙". 東京: 法政大学沖縄文化硏究所, 1987. Print. (ในภาษาญี่ปุ่น)
- 西岡敏. "与那国方言の動詞継続相のアクセント対立". 地域研究シリーズ 35, 95–105, 2008. (ในภาษาญี่ปุ่น)
- 加治工真市, 仲原穣. "与那国方言について (与那国島の伝統文化調査研究報告書,加治工真市教授退官記念)". 沖縄芸術の科学 : 沖縄県立芸術大学附属研究所紀要 16, 17–74, 2004 (ในภาษาญี่ปุ่น)