ภาษาโปรตุเกสแบบบราซิล
ภาษาโปรตุเกสแบบบราซิล | |
---|---|
português do Brasil/ português brasileiro | |
ออกเสียง | [poɾtʊˈɡez dʊ bɾaˈziw]/ [poɾtʊˈɡez bɾaziˈlejɾʊ] |
ประเทศที่มีการพูด | บราซิล |
จำนวนผู้พูด | 211,000,000 คน (2563)[1] |
ตระกูลภาษา | |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | ![]() |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน | ![]() ![]() |
ผู้วางระเบียบ | บัณฑิตยสถานอักษรศาสตร์บราซิล |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | – |
Linguasphere | 51-AAA-ah |
![]() |
ภาษาโปรตุเกสแบบบราซิล (โปรตุเกส: português do Brasil, português brasileiro) เป็นชื่อเรียกโดยรวมของวิธภาษาต่าง ๆ ของภาษาโปรตุเกสที่ใช้กันในประเทศบราซิลซึ่งเป็นภาษาโปรตุเกสรูปแบบที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก[2][3] ภาษาโปรตุเกสแบบบราซิลพูดโดยผู้อยู่อาศัยในบราซิลเกือบทั้งหมดประมาณ 200 ล้านคน[4] และพูดกันอย่างแพร่หลายในหมู่ชาวบราซิลพลัดถิ่นซึ่งในปัจจุบันประกอบด้วยชาวบราซิลประมาณสองล้านคนที่อพยพไปยังประเทศอื่น
ภาษาโปรตุเกสแบบบราซิลมีความแตกต่างจากภาษาถิ่นต่าง ๆ ที่พูดในประเทศโปรตุเกสและประเทศที่พูดภาษาโปรตุเกสในแอฟริกา (โดยเฉพาะในด้านสัทวิทยาและสัทสัมพันธ์) ภาษาโปรตุเกสในประเทศกลุ่มหลังนี้มีแนวโน้มที่จะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาษาโปรตุเกสแบบยุโรปร่วมสมัย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการปกครองระบบอาณานิคมของโปรตุเกสในประเทศเหล่านี้สิ้นสุดลงช้ากว่าในบราซิล แม้จะมีความแตกต่างกันมากระหว่างวิธภาษาพูด แต่ภาษาโปรตุเกสแบบบราซิลและแบบยุโรปก็มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยในภาษาเขียนที่เป็นทางการ[5] (คล้ายคลึงกับความแตกต่างที่พบระหว่างภาษาอังกฤษแบบอเมริกันและแบบบริติชในหลาย ๆ ด้าน) และยังสามารถเข้าใจซึ่งกันและกันได้
ใน ค.ศ. 1990 ประชาคมประเทศผู้ใช้ภาษาโปรตุเกส (Comunidade dos Países de Língua Portuguesa) ซึ่งรวมตัวแทนจากทุกประเทศที่ใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาทางการได้บรรลุความตกลงว่าด้วยการปฏิรูปอักขรวิธีภาษาโปรตุเกสเพื่อรวมมาตรฐานที่ใช้ในบราซิลกับมาตรฐานที่ใช้ในประเทศอื่น ๆ เข้าเป็นหนึ่งเดียว การปฏิรูปอักขรวิธีนี้เริ่มมีผลบังคับในบราซิลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 ส่วนในโปรตุเกส ประธานาธิบดีโปรตุเกสได้ลงนามร่างกฎหมายการปฏิรูปเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 โดยกำหนดให้มีระยะเวลาเปลี่ยนผ่านซึ่งในระหว่างนี้อักขรวิธีจากมาตรฐานทั้งสองจะปรากฏร่วมกัน ระยะเปลี่ยนผ่านในบราซิลสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ในขณะที่ระยะเปลี่ยนผ่านในโปรตุเกสได้สิ้นสุดลงก่อนหน้านั้นแล้วในปีเดียวกัน
ภาษาถิ่นต่าง ๆ ของภาษาโปรตุเกสแบบบราซิลอาจแตกต่างกันในด้านต่าง ๆ เช่น การออกเสียงสระ ทำนองเสียงพูด เป็นต้น แม้ว่าจะยังคงเข้าใจซึ่งกันและกันได้ก็ตาม[6]
Celpe-Bras เป็นใบรับรองความสามารถอย่างเป็นทางการของบราซิลในภาษาโปรตุเกสในฐานะภาษาต่างประเทศ นำไปใช้โดย Inep ในบราซิลและประเทศอื่นๆ โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงศึกษาธิการและความร่วมมือกับกระทรวงการต่างประเทศ[7]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "IBGE divulga as estimativas populacionais dos municípios em 2020" [IBGE releases the population estimates of the municipalities in 2020] (ภาษาโปรตุเกส). Instituto Brasileiro de Geografia e Estatística. สืบค้นเมื่อ 27 August 2020.
- ↑ The World's 10 most influential languages, George Werber, 1997, Language Today, retrieved on scribd.com
- ↑ Bernard Comrie, Encarta Encyclopedia (1998); George Weber “Top Languages: The World’s 10 Most Influential Languages” in Language Today (Vol. 2, Dec 1997) "Archived copy". Archived from the original on 2011-09-27. Retrieved 2011-09-28.
- ↑ "IBGE releases the population estimates of the municipalities in 2012". IBGE – Instituto Brasileiro de Geografia e Estatística. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-08.
- ↑ "Brazil – Language". countrystudies.us.
- ↑ "Brazilian dialectal zones". www.linguaportuguesa.ufrn.br. The Portuguese Language
- ↑ User, Super (2018-10-09). "Inep 80 anos - CELPE-BRAS". inep80anos.inep.gov.br (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
{{cite web}}
:|last=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
![]() |
บทความเกี่ยวกับภาษานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ภาษา |