ภาษากะเหรี่ยงปะโอ
หน้าตา
ภาษากะเหรี่ยงปะโอ | |
---|---|
ต่องสู่ | |
ပအိုဝ်ႏ | |
เอกสารตัวเขียนภาษากะเหรี่ยงปะโอ | |
ประเทศที่มีการพูด | ประเทศพม่า, ไทย |
ชาติพันธุ์ | ปะโอ |
จำนวนผู้พูด | ไม่ทราบ (860,000 คน อ้างถึง2000–2017)[1] |
ตระกูลภาษา | จีน-ทิเบต
|
ระบบการเขียน | อักษรพม่า (ชุดตัวอักษรปะโอ) อักษรเบรลล์กะเหรี่ยง |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน | พม่า |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | blk |
ภาษาปะโอ (กะเหรี่ยงปะโอ: ပအိုဝ်ႏဘာႏသာႏ, ; พม่า: ပအိုဝ်းဘာသာ) บางครั้งเรียก ต่องสู้ เป็นภาษากะเหรี่ยงที่ชาวปะโอพูดในประเทศพม่าถึง 900,000 คน[1] มักเรียกว่าภาษาปะโอใต้หรือภาษากะเหรี่ยงดำ พบในไทย 743 คน (พ.ศ. 2543) ในแม่ฮ่องสอน มักเรียกว่าภาษาปะโอเหนือ จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า สาขากะเหรี่ยง เรียงประโยคแบบประธาน-กริยา-กรรม
ภาษานี้โดยหลักเขียนด้วยอักษรพม่าที่มิชชันนารีคริสเตียนประดิษฐ์ขึ้น[2][3] และสื่อต่าง ๆ มากมายที่มีอยู่บนอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน มาจากการมีส่วนร่วมของมิชชันนารีคริสเตียน แม้ว่ามีรายงานโดยทั่วไปว่าชาวปะโอส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ (โดยไม่มีสถิติจริง ฯลฯ)
อ้างอิง
[แก้]วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ในภาษาPa'O
- ↑ 1.0 1.1 ภาษากะเหรี่ยงปะโอ at Ethnologue (26th ed., 2023)
- ↑ "Pa-oh ပအိုဝ်း - Word List". Language Documentation Training Center. 3 October 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2015. สืบค้นเมื่อ 21 March 2019.
- ↑ "Pa-oh ပအိုဝ်း - Writing System". Language Documentation Training Center. 9 October 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 October 2015. สืบค้นเมื่อ 21 March 2019.
- Gordon, Raymond G., Jr. (ed.), 2005. Ethnologue: Languages of the World, Fifteenth edition. Dallas, Tex.: SIL International. Online version: http://www.ethnologue.com/.