ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงแห่งเบลเยียม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ศรีคำ002 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
ศรีคำ002 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 105: บรรทัด 105:
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}


==บรรณานุกรม==
== บรรณานุกรม ==
* A. Molitor, ''La fonction royale en Belgique'', Brussels, 1979
* A. Molitor, ''La fonction royale en Belgique'', Brussels, 1979
* J.Stengers, ''De koningen der Belgen. Van Leopold I tot Albert II'', Leuven, 1997.
* J.Stengers, ''De koningen der Belgen. Van Leopold I tot Albert II'', Leuven, 1997.

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:56, 24 กุมภาพันธ์ 2565

สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวง
พระมหากษัตริย์แห่งชาวเบลเยียม
ครองราชย์17 กรกฎาคม ค.ศ. 1951 – 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1993
ก่อนหน้าเลออปอลที่ 3
ถัดไปอัลแบร์ที่ 2
นายกรัฐมนตรี
พระราชสมภพ7 กันยายน ค.ศ. 1930(1930-09-07)
บรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม
สวรรคต31 กรกฎาคม ค.ศ. 1993(1993-07-31) (62 ปี)
มอลตรีล ประเทศสเปน
ฝังพระศพโบสถ์แม่พระแห่งลาเกิน
คู่อภิเษกสมเด็จพระราชินีฟาบิโอลาแห่งเบลเยียม
พระนามเต็ม
บัลด์วิน อัลเบิร์ต ชาร์ลส์ ลีโอโปล์ด อเซล มารีอา กุสตาฟ
ราชวงศ์เบลเยียม
พระราชบิดาพระเจ้าเลออปอลที่ 3 แห่งเบลเยียม
พระราชมารดาอัสตริดแห่งสวีเดน
ศาสนาโรมันคาทอลิก
ลายพระอภิไธย

สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงแห่งเบลเยียม (ฝรั่งเศส: Baudouin Albert Charles Léopold Axel Marie Gustave, ออกเสียง: [bodwɛ̃ albɛʁ ʃaʁl leopɔld aksɛl maʁi ɡystav]; ดัตช์: Boudewijn Albert Karel Leopold Axel Maria Gustaaf, ออกเสียง: [ˈbʌudəʋɛin ˈɑlbərt ˈkaːrəl ˈleːjoːpɔlt ˈɑksəl maːˈri ɣʏˈstaːf]; เยอรมัน: Balduin Albrecht Karl Leopold Axel Marie Gustav; 7 กันยายน ค.ศ. 1930 – 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1993) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรเบลเยียม หลังจากการสละราชสมบัติของพระราชบิดาใน ค.ศ. 1951 และทรงครองราชย์ยาวนานจนกระทั่งเสด็จสวรรคตใน ค.ศ. 1993 ซึ่งรวมเวลาทั้งสิ้น 42 ปี

สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงเป็นพระราชโอรสองค์โตของพระเจ้าเลออปอลที่ 3 กับสมเด็จพระราชินีอัสตริดแห่งเบลเยียม พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับ โดน่า ฟาบิโอลา ทั้งสองพระองค์ไม่มีรัชทายาทด้วยกัน สมเด็จพระราชินีฟาบิโอลาเคยทรงครรภ์ถึงห้าครั้ง แต่ก็ทรงแท้งหมด[1]

หลังจากครองราชย์ได้ 42 ปี พระองค์ก็เสด็จสวรรคตด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวเมื่อ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1993 เนื่องจากพระองค์ไม่มีรัชทายาท พระอนุชาของพระองค์จึงได้ครองราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 แห่งเบลเยียม พระองค์ยังทรงเป็นพระญาติสนิทกับสมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์, เจ้าหญิงอัสตริดแห่งนอร์เวย์ และเจ้าหญิงรัญฮิลด์แห่งนอร์เวย์

พระนาม "โบดวง" นั้นเป็นการถอดคำสะกดจากพระนามในภาษาฝรั่งเศส "Baudouin" ซึ่งใช้กันเป็นหลักในการออกพระนามนอกประเทศเบลเยียม ซึ่งพระนามในภาษาดัตช์ คือ "โบเดอไวน์" ("Boudewijn") ซึ่งบางคราวจะพบเห็นการถอดพระนามเป็นภาษาอังกฤษว่า "Baldwin"

ขึ้นครองราชย์

สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงพระราชสมภพที่บรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ใน ค.ศ. 1930 เป็นพระโอรสพระองค์ใหญ่ของเจ้าชายเลออปอล ดยุกแห่งบราบันต์กับเจ้าหญิงอัสตริดแห่งสวีเดน และพระราชบิดาเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ใน ค.ศ. 1934 ต่อมามาพระราชมารดาเสด็จสวรรคตใน ค.ศ. 1935

ส่วนหนึ่งของความไม่พึงพอใจของประชาชนต่อพระเจ้าเลออปอลที่ 3 นั้นมาจากการอภิเษกสมรสครั้งที่สองของพระองค์ในปีค.ศ. 1941 กับมารี ลิเลียน เบลส์ สามัญชนชาวเบลเยียมที่โตในประเทศอังกฤษ ซึ่งต่อมาได้ออกพระนามเป็น "เจ้าหญิงแห่งเรตี" (Princess de Réthy) และนอกจากนี้ยังมีมูลเหตุสำคัญคือการตัดสินพระทัยยอมแพ้แก่กองทัพเยอรมันในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อประเทศเบลเยียมถูกรุกรานใน ค.ศ. 1940 ทำให้เกิดข้อสงสัยและวิพากษ์วิจารณ์ว่าทรงเลือกข้างเข้ากับฝ่ายเยอรมัน แต่อย่างไรก็ตามคณะกรรมการสอบสวนได้โต้แย้งการกล่าวหาพระองค์ในข้อหาว่าเป็นกบฏต่อราชอาณาจักรในภายหลังสงคราม ถึงแม้จะมีการลงเสียงประชามติสนับสนุนพระองค์ให้ยังคงเป็นพระมหากษัตริย์ต่อไป แต่ก็ทรงเลือกที่จะสละราชสมบัติเพื่อยุติสถานการณ์ความวุ่นวายทั้งหมดลง

พระเจ้าเลออปอลที่ 3 ได้ทรงออกพระราชบัญญัติผ่านทางรัฐสภาเพื่อที่จะถ่ายโอนพระราชอำนาจของพระองค์ให้แก่พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ได้แก่ เจ้าชายโบดวง ซึ่งได้ทรงสาบานพระองค์ต่อหน้ารัฐสภาในฐานะ "พรินส์รอยัล" (Prince Royal) เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1950 และต่อมาได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 5 แห่งชาวเบลเยียม หลังจากเข้าพิธีสาบานพระองค์ต่อหน้ารัฐสภาเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1951 หนึ่งวันหลังจากการสละราชสมบัติของพระราชบิดา

พระอิสริยยศ

  • 7 กันยายน ค.ศ. 1930 – 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1934: เคานต์แห่งแอโน (His Royal Highness The Count of Hainaut)
  • 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1934 – 10 สิงหาคม ค.ศ. 1950: ดยุกแห่งบราบันต์ (His Royal Highness The Duke of Brabant)
  • 10 สิงหาคม ค.ศ. 1950 – 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1951: พรินซ์รอยัล ดยุกแห่งบราบันต์ (His Royal Highness The Prince Royal, Duke of Brabant)
  • 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1951 – 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1993: สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งชาวเบลเยียม (His Majesty The King of the Belgians)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์เบลเยียม

  • The Order of Leopold ชั้นประมุข (Grand Master) และชั้นสูงสุด (Grand Cordon)
  • The Order of African Star ชั้นประมุข (Grand Master)
  • The Royal Order of the Lion ชั้นประมุข (Grand Master)
  • The Order of the Crown ชั้นประมุข (Grand Master)
  • The Order of Leopold II ชั้นประมุข (Grand Master)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

พงศาวลี

อ้างอิง

บรรณานุกรม

  • A. Molitor, La fonction royale en Belgique, Brussels, 1979
  • J.Stengers, De koningen der Belgen. Van Leopold I tot Albert II, Leuven, 1997.
  • Kardinaal Suenens, Koning Boudewijn. Het getuigenis van een leven, Leuven, 1995.
  • Kerstrede 18.12.1975, (ed.V.Neels), Wij Boudewijn, Koning der Belgen. Het politiek, sociaal en moreel testament van een nobel vorst, deel II, Gent, 1996.
  • H. le Paige (dir.), Questions royales, Réflexions à propos de la mort d'un roi et sur la médiatisation de l'évènement, Brussels, 1994.

แหล่งข้อมูลอื่น


ก่อนหน้า สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงแห่งเบลเยียม ถัดไป
สมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 3
พระมหากษัตริย์เบลเยียม
(17 กรกฎาคม ค.ศ. 1951 – 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1993)
สมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2
เจ้าชายเลโอโปลด์
(ภายหลังคือ สมเด็จพระราชาธิบดีเลโอโปลด์ที่ 3)

ดยุกแห่งบราบันต์
(17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1934 – 10 สิงหาคม ค.ศ. 1950)
เจ้าชายฟิลิป
(ภายหลังคือ สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป)
เจ้าชายเลโอโปลด์
เคานท์แห่งแอโน
(7 กันยายน ค.ศ. 1930 – 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1934)
ยกเลิก