ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระบบการลงคะแนนแบบแฮร์-คลาร์ก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{ระบบการลงคะแนน}} '''แฮร์-คลาร์ก''' ({{lang-en|Hare–Clark electoral system}}) เป็นระบบการลงคะแนนประเภทหนึ่งของการลงคะแนนแบบถ่ายโอนคะแนนเสียงซึ่งเป็นการเลือ...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:42, 16 กันยายน 2564

แฮร์-คลาร์ก (อังกฤษ: Hare–Clark electoral system) เป็นระบบการลงคะแนนประเภทหนึ่งของการลงคะแนนแบบถ่ายโอนคะแนนเสียงซึ่งเป็นการเลือกตั้งระบบสัดส่วนที่ใช้ในการเลือกตั้งในแทสเมเนียและออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี[1][2]

วิธีการในการจัดสรรลำดับความชอบนั้นคล้ายคลึงกับในระบบลงคะแนนอื่นๆ ที่ใช้ในประเทศออสเตรเลีย เช่น ในการเลือกตั้งวุฒิสภาออสเตรเลีย

ที่มาของชื่อของระบบนั้นนำมาจากเนติบัณฑิตชาวอังกฤษ โทมัส แฮร์ และอัยการสูงสุดแห่งแทสเมเนีย แอนดรูว์ อินกลิส คลาร์ก ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มแปลงระบบมาใช้ในแทสเมเนียในปีค.ศ. 1896

การนับคะแนน

ตัวอย่างวิธีการนับคะแนน

1. การนับคะแนน

คะแนนบัตรเสียนั้นจะไม่ถูกนับ (เช่น ไม่ได้ทำเครื่องหมายใดๆ) และจากนั้นคะแนนความชอบในลำดับแรกในบัตรลงคะแนนแต่ละใบนั้นถูกนับ

ตัวอย่าง:

จากคะแนนเสียงทั้งหมด 10,500 คะแนนในหน่วยเลือกตั้ง มี 500 คะแนนเป็นบัตรเสีย ดังนั้นจึงเหลือจำนวนบัตรดีรวมทั้งสิ้น 10,000 ใบ

2. การกำหนดโควตา

จำนวนทั้งหมดของบัตรดีจะนำมาคำนวนโควตาที่ใช้ในการหาผู้สมัครที่จะได้รับเลือก (โควตาดรูป)

ตัวอย่าง:

คะแนนจากบัตรดีรวมทั้งสิ้น 10,000 คะแนน และมีผู้แทนที่จะต้องเลือกจำนวนทั้งสิ้น 3 ที่นั่ง

โควตาสำหรับเลือกผู้ชนะ (x)=((10000)/(3+1))+1
x = 2501

จำนวนโควตาที่ใช้ในการเลือกผู้สมัครคือ 2,501 คะแนน

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "The Hare-Clark System of Proportional Representation". prsa.org.au. Proportional Representation Society of Australia. สืบค้นเมื่อ 23 July 2017.
  2. "Clark, Andrew Inglis (1848 -1907)". Australian Dictionary of Biography. 1969. สืบค้นเมื่อ 2009-04-07.