ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นบี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับแอนดรอยด์
BRPever (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 7938891 สร้างโดย 124.123.52.44 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{อิสลาม}}
{{อิสลาม}}
'''นบี'''<ref>ราชบัณฑิตยสถาน, ''พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน'', 2552, หน้า 368</ref> ({{lang-ar|'''نبي''')}} หมายถึง [[ศาสดา]]ใน[[ศาสนาอิสลาม]] คำว่า นบี มาจากคำว่า ''นับบะอะ'' หรือ ''อัมบะอะ'' แปลว่า แจ้งข่าว 6105 CCOX ใช้หมายถึงการนำวจนะของ[[อัลลอฮ์|พระเจ้า]]มาประกาศแก่มวล[[มนุษย์]] คำว่านบีในศาสนาอิสลามจึงหมายถึง[[ผู้เผยพระวจนะ]]ใน[[ศาสนายูดาห์]]และ[[ศาสนาคริสต์]]
'''นบี'''<ref>ราชบัณฑิตยสถาน, ''พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน'', 2552, หน้า 368</ref> ({{lang-ar|'''نبي''')}} หมายถึง [[ศาสดา]]ใน[[ศาสนาอิสลาม]] คำว่า นบี มาจากคำว่า ''นับบะอะ'' หรือ ''อัมบะอะ'' แปลว่า แจ้งข่าว ใช้หมายถึงการนำวจนะของ[[อัลลอฮ์|พระเจ้า]]มาประกาศแก่มวล[[มนุษย์]] คำว่านบีในศาสนาอิสลามจึงหมายถึง[[ผู้เผยพระวจนะ]]ใน[[ศาสนายูดาห์]]และ[[ศาสนาคริสต์]]


== นบีและเราะซูล ==
== นบีและเราะซูล ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:40, 4 พฤศจิกายน 2561

นบี[1] (อาหรับ: نبي) หมายถึง ศาสดาในศาสนาอิสลาม คำว่า นบี มาจากคำว่า นับบะอะ หรือ อัมบะอะ แปลว่า แจ้งข่าว ใช้หมายถึงการนำวจนะของพระเจ้ามาประกาศแก่มวลมนุษย์ คำว่านบีในศาสนาอิสลามจึงหมายถึงผู้เผยพระวจนะในศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์

นบีและเราะซูล

คัมภีร์อัลกุรอานไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนว่านบีและเราะซูลเหมือนหรือต่างกันอย่างไร บางครั้งมีการเรียกเราะซูลว่านบี บางคนจึงสันนิษฐานว่านบีและเราะซูลคือตำแหน่งเดียวกัน แต่นักวิชาการอิสลามบางท่านอธิบายว่านบีกับเราะซูลต่างกันที่นบีเป็นผู้ที่รับเทวโองการให้มาปฏิบัติหน้าที่เฉพาะ แต่เราะซูลคือผู้ที่อัลลอฮ์แต่งตั้งให้มาสั่งสอนมนุษย์โดยทั่วไป โดยนัยนี้นบีจัดเป็นเราะซูลประเภทหนึ่ง[2]

แต่บางตำราก็อธิบายว่านบีคือผู้ที่ได้รับคำสั่งสอนจากอัลลอฮ์ แต่ไม่ได้ทรงอนุญาตให้นำไปเผยแพร่ แต่เราะซูลเป็นผู้ที่รับคำสั่งสอนแล้วทรงให้นำไปเผยแพร่ต่อ ผู้ที่เป็นเราะซูลจึงต้องเป็นนบีมาก่อน[3]

รายนาม

ชาวมุสลิมเชื่อว่าอัลลอฮ์ได้ประทานนบีแก่ประชาชนทุกชนชาติ จึงมีนบีอยู่มากมาย นบีมุฮัมมัดกล่าวว่านบีมีอยู่ถึง 124,000 คน[4] โดยนบีมุฮัมมัดเป็นนบีคนสุดท้าย คัมภีร์อัลกุรอานระบุชื่อของนบีไว้ 25 คน[4] ดังนี้

  1. นบีอาดัม
  2. นบีอีดริส (เอโนค)
  3. นบีนูฮ์ (โนอาห์)
  4. นบีฮูด
  5. นบีซอลิฮ์
  6. นบีอิบรอฮีม (อับราฮัม)
  7. นบีลูฏ (โลท)
  8. นบีอิสมาอีล
  9. นบีอิสฮาก (อิสอัค)
  10. นบียะอ์กูบ (ยาโคบ)
  11. นบียูซุฟ (โยเซฟ (บุตรยาโคบ))
  12. นบีซุลกิฟล์
  13. นบีอัยยูบ
  14. นบีมูซา (โมเสส)
  15. นบีฮารูน (อาโรน)
  16. นบีอิลยาส (เอลียาห์)
  17. นบียูนุส (โยนาห์)
  18. นบีชุอัยบ์
  19. นบีดาวูด (ดาวิด)
  20. นบีสุลัยมาน (โซโลมอน)
  21. นบีอัลยะซะอ์ (เอลีชา)
  22. นบีซะกะรียา (นักบุญเศคาริยาห์)
  23. นบียะฮ์ยา (ยอห์นผู้ให้บัพติศมา)
  24. นบีอีซา (พระเยซู)
  25. นบีมุฮัมมัด

เมื่อจะออกชื่อนบีเหล่านี้ ชาวมุสลิมจะขอพรอัลลอฮ์แก่ท่านด้วยการลงท้ายชื่อแต่ละท่านท่านว่า “อะลัยฮิสสลาม” แปลว่า ขอสันติจงมีแด่ท่าน ยกเว้นนบีมุฮัมมัดจะลงท้ายว่า “ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม” แปลว่า ขออัลลอฮ์โปรดประทานเมตตาและสันติแก่ท่าน

อ้างอิง

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 368
  2. ราชบัณฑิตยสถาน, หน้า 452
  3. ชมรมผู้บริหารมัสยิดเขตหนองจอก กรุงเทพฯ, คู่มือมุอัลลัฟ, 2549, หน้า 21
  4. 4.0 4.1 บรรจง บินกาซัน, สารานุกรมอิสลาม ฉบับเยาวชนและผู้เริ่มสนใจ", 2547, หน้า 80-1

ดูเพิ่ม