ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าย็องโจแห่งโชซ็อน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Beersongphon (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Beersongphon (คุย | ส่วนร่วม)
Beersongphon ย้ายหน้า พระเจ้าย็องโจแห่งโชซ็อน ไปยัง พระเจ้ายองโจ ทับหน้าเปลี่ยนทาง
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:31, 7 ธันวาคม 2559

พระเจ้ายองโจ

ลี กึม (이금, 李昑)
พระเจ้ายองโจ
พระมหากษัตริย์แห่งโชซ็อน
พระราชาลำดับที่ 21 แห่งโชซ็อน
ครองราชย์30 สิงหาคม ค.ศ. 1724 – 10 มีนาคม ค.ศ. 1776
รัชสมัย51 ปี 188 วัน
ราชาภิเษก30 สิงหาคม ค.ศ. 1724
รัชกาลก่อนหน้าพระเจ้าคยองจง
รัชกาลถัดไปพระเจ้าจองโจ
ประสูติ13 กันยายน ค.ศ. 1694(1694-09-13)
พระราชวังชางด๊อกกุง เกาหลี
สวรรคต5 มีนาคม ค.ศ. 1776(1776-03-05) (81 ปี)
พระราชวังคย็องฮี เกาหลี
ฝังพระศพพระราชสุสานวอนนึง เกาหลี
พระเจ้ายองโจ
ราชวงศ์โชซอน
พระราชบิดาพระเจ้าซุกจง
พระราชมารดาพระสนมซุกบินแห่งตระกูลแช
พระเจ้าย็องโจแห่งโชซ็อน
ฮันกึล
영조
ฮันจา
英祖
อาร์อาร์Yeongjo
เอ็มอาร์Yǒngjo
นามปากกา
ฮันกึล
양성헌
ฮันจา
養性軒
อาร์อาร์Yangseongheon
เอ็มอาร์Yangsŏnghŏn
ชื่อเกิด
ฮันกึล
이금
ฮันจา
李昑
อาร์อาร์I Geum
เอ็มอาร์Yi Kŭm
ชื่อสุภาพ
ฮันกึล
광숙
ฮันจา
光叔
อาร์อาร์Gwangsuk
เอ็มอาร์Kwangsuk

พระเจ้ายองโจ (เกาหลี영조; ฮันจา英祖; อาร์อาร์Yeongjo; เอ็มอาร์Yǒngjo ค.ศ. 1694 - ค.ศ. 1776) ทรงเป็นกษัตริย์ลำดับที่ 21 แห่งราชวงศ์โชซอน (ค.ศ. 1724 - ค.ศ. 1776) พระเจ้ายองโจทรงปฏิรูปการปกครองบ้านเมืองหลายประการ ทรงเป็นหนึ่งในกษัตริย์ที่ได้รับยกย่องที่สุดแห่งราชวงศ์โชซอน คู่กับพระนัดดา คือ พระเจ้าจองโจ พระเจ้ายองโจทรงเป็นกษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ยาวที่สุดของราชวงศ์โจซอน

ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายโนนนและฝ่ายโซนน

พระเจ้ายองโจประสูติเมื่อค.ศ. 1694 เป็นพระโอรสของพระเจ้าซุกจง กับพระสนมซุกบิน ตระกูลชเว ได้รับพระนามเป็น องค์ชายยอนอิง (연잉군 延礽君) ทรงเป็นองค์ชายที่ขุนนางฝ่ายตะวันตกให้การสนับสนุน มีพระเชษฐาต่างพระราชมารดาซึ่งเป็นพระโอรสของพระสนมฮีบิน ตระกูลจาง เมื่อปลายรัชสมัยพระเจ้าซุกจงขุนนางแตกเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายตะวันตก (노론, 老論) สนับสนุนองค์ชายยอนอิง ขณะที่ฝ่ายใต้ (소론, 少論) สนับสนุนองค์ชายรัชทายาท เมื่อค.ศ. 1720 พระเจ้าซุกจงสวรรคต องค์ชายรัชทายาทขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าคยองจง

แต่ทว่าพระเจ้าคยองจงมีพระพลานามัยที่ไม่สู้จะดีนัก ทรงใช้เวลาทั้งรัชสมัยส่วนใหญ่ไปกับการประชวรทำให้ทรงว่าราชการไม่ได้ และอำนาจจึงตกแก่ขุนนางฝ่ายโซนน ที่สำคัญพระเจ้าคยองจงทรงไม่มีพระโอรสไว้สืบทอดราชบัลลังก์ ขุนนางฝ่ายโนนนจึงยื่นฎีกาถวายขอให้แต่งตั้งองค์ชายยอนอิงเป็น พระอนุชารัชทายาท (왕세제, 王世弟) ซึ่งพระเจ้าคยองจงก็ทรงอนุมัติเมื่อค.ศ. 1721 แต่เมื่อขุนนางฝ่ายโนนนพยายามจะผลักดันพระอนุชารัชทายาทขึ้นมาอีกขั้นโดยการขอให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทน ขุนนางโซนนจึงกล่าวหาว่าฝ่ายโนนนกำลังพยายามจะผลักดันให้องค์ชายยอนอิงขึ้นมาเป็นกษัตริย์แทนพระเจ้าคยองจง จึงเกิดการกวาดล้างขุนนางฝ่ายโนนนเมื่อค.ศ. 1722 ที่เรียกว่า การลงทัณฑ์ปีชินอิม (신임옥사, 辛壬獄事) ขุนนางฝ่ายโนนนถูกประหารชีวิตและเนรเทศ[1] รวมถึงพระสนมโซฮุน ตระกูลลี ซึ่งเป็นพระสนมของพระอนุชารัชทายาท (ภายหลังได้เป็น พระสนมจองบิน ตระกูลลี 정빈 이씨, 靖嬪 李氏) และเป็นมารดาขององค์ชายคยองอี (경의군, 敬義君 ภายหลังเป็น องค์ชายรัชทายาทฮโยจัง) ถูกสำเร็จโทษไปในคราวนี้ด้วย

พระอนุชารัชทายาทจึงได้สำเร็จราชการแทนพระเจ้าคยองจง จนพระเจ้าคยองจงสวรรตเมื่อค.ศ. 1724 พระอนุชารัชทยาทจึงได้ขึ้นครองราชสมบัติ และแต่งตั้งองค์ชายคยองอีพระโอรสเป็นองค์ชายรัชทายาท

รัชสมัย

แม้จะทรงขึ้นครองราชสมบัติแล้วพระเจ้ายองโจยังต้องทรงเผชิญกับปัญหาการต่อต้านจากฝ่ายโซนน ขุนนางฝ่ายโซนนกล่าวหาว่าฝ่ายโนนนได้กระทำการลอบปลงพระชนม์พระเจ้าคยองจงเพื่อนำพระเจ้ายองโจขึ้นครองราชย์ พระเจ้ายองโจจึงทรงประกาศแผนการเพื่อความสมานฉันท์ (탕평책, 蕩平策)[2] ในปีค.ศ. 1728 เป็นการประกาศยุติการแบ่งฝ่ายของขุนนางและลงโทษขุนนางที่แสดงออกเป็นฝักฝ่าย แต่กลายเป็นว่าขุนนางฝ่ายโซนนกลายเป็นเป้าโจมตีถึงการแบ่งพรรคแบ่งพวก ทำให้ขุนนางฝ่ายโซนนต้องโทษและถูกเนรเทศออกราชสำนักจนหมด ฝ่ายโนนนจึงขึ้นมามีอำนาจ จนทำให้ขุนนางฝ่ายโซนนที่ถูกเนรเทศ นำโดย ลีอินจวา (이인좌, 李麟佐) ก่อการกบฏในปีค.ศ. 1729 เพื่อยึดบัลลังก์ให้กับองค์ชายมิลพง (밀풍군, 密豊君 โหลนของ องค์ชายรัชทายาทโซฮย็อน) แต่ฝ่ายพระเจ้ายองโจก็สามารถปราบปรามกบฏลงได้ ทำให้ฝ่ายโซนนถูกกวาดล้างไปหมดสิ้น

ในสมัยพระเจ้ายองโจ การค้าของโชซอนพัฒนาขึ้นมามาก[3] ผู้คนในทุกระดับชั้นตั้งแต่ชาวบ้านถึงขุนนางพากับประกอบธุรกิจการค้า ชนชั้นพ่อต้าเรืองอำนาจและได้รับการสนับสนุนจากราชสำนักในการผูกขาดสินค้าแต่ละชนิดให้เป็นของตน เป็นการละทิ้งแนวความคิดแบบขงจื้อเดิม ที่ประมาณอาชีพค้าขายว่าเป็นอาชีพที่ต้อยต่ำ แต่ถ้าจะเทียบกับเพื่อนบ้านอย่างราชวงศ์ชิงหรือญี่ปุ่นแล้ว กิจกรรมการค้าในเกาหลีนั้นยังไม่พัฒนาไปถึงขั้นนั้น เพียงแต่จากเดิมที่กิจกรรมการค้าจะมีนานๆทีก็กลายเป็นมีทุกวัน โดยเฉพาะในฮันยาง

องค์ชายรัชทายาทสิ้นพระชนม์เมื่อค.ศ. 1728 ได้รับพระนาม องค์ชายรัชทายาทฮโยจัง (효장세자, 孝章世子) พระเจ้ายองโจจึงทรงขาดรัชทายาท จนกระทั่งพระสนมยองบิน ตระกูลลี (영빈 이씨, 暎嬪 李氏) ประสูติพระโอรสในค.ศ. 1735 ในขณะที่พระมเหสีไม่มีพระโอรส พระเจ้ายองโจจึงทรงตั้งขึ้นเป็น ภายหลังได้รับพระนาม องค์ชายรัชทายาทซาโด (사도세자, 思悼世子)

นโยบายความสมานฉันท์ของพระเจ้ายองโจทำให้รัชสมัยของพระองค์ค่อนข้างสงบสุข ปราศจากความขัดแย้งระหว่างฝ่ายขุนนาง เป็นผลให้ประเทศเกาหลีมีโอกาสพัฒนาในด้านต่างๆ พระเจ้ายองโจยังทรงได้ชื่อว่าทรงห่วงใยราษฎรโดยการเสด็จออกนอกวังไปเยี่ยมและถือความเดือดร้อนของราษฎรเป็นสำคัญ อย่างที่กษัตริย์เกาหลีเพราะองค์ก่อนๆไม่เคยทำ เรียกได้ว่า พระเจ้ายองโจทรงเข้าใกล้ความเป็นกษัตริย์ในอุดมคติตามลัทธิขงจื้อ ทรงลดความหรูหราของราชสำนัก เพื่อลดค่าใช้จ่าย หรือทรงแม้แต่ห้ามการดื่มสุรา ซึ่งเป็นนโยบายที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดของพระองค์ และยังทรงเลิกการใส่วิกผมของสตรีชั้นสูง[4]

แม้ว่าพระเจ้ายองโจจะทรงไม่เลือกฝ่ายขุนนาง แต่ในรัชสมัยของพระองค์นั้นขุนนางส่วนใหญ่มากจากฝ่ายโนนนทั้งสิ้น นำโดยคิมฮันกู (김한구, 金漢耉) พระราชบิดาของพระมเหสี และฮงพงฮัน (홍봉한, 洪鳳漢) พระบิดาของพระชายาขององค์ชายรัชทายาท เมื่อค.ศ. 1749 พระเจ้ายองโจทรงตั้งองค์ชายรัชทายาทเป็นผู้สำเร็จราชการแทน (승명대리, 承命代理) [5]องค์ชายรัชทายาทซึ่งตลอดมาถูกขุนนางฝ่ายโนนนโจมตีนั้น ทรงหันไปหาขุนนางฝ่ายโซนน ซึ่งหมดอำนาจไปตั้งแต่ต้นรัชกาล ทำให้องค์ชายรัชทายาททรงเป็นที่เพ่งเล็งของพระเจ้ายองโจและขุนนางฝ่ายโนนน

องค์ชายซาโด

พระเจ้ายองโจทรงเข้มงวดกับองค์ชายรัชทายาทอย่างมาก จนสร้างความเครียดให้กับองค์ชายทายาทจนทรงเสียพระสติ ทรงเข่นฆ่าข้าราชบริพารและนางรับใช้ แอบลักลอบออกไปประพาสนอกพระราชวัง จนในค.ศ. 1762 ขุนนางฝ่ายโนนนที่ชื่อว่า นาคยองออน (나경언, 羅景彦) ซึ่งน้องชายได้ถูกองค์ชายรัชทายาทสังหาร ได้ถวายฎีกาขอให้พระเจ้ายองโจทรงลงพระอาญาองค์ชายรัชทายาท ขุนนางฝ่ายโนนนพากันรบเร้าให้พระเจ้ายองโจทำตามฎีกาของนาคยองออน พระเจ้ายองโจยังทรงลังเลอยู่จนกระทั่งพระสนมยองบิน[6] พระราชมารดาขององค์ชายรัชทายาท ขอให้พระเจ้ายองโจทรงทำตามเพื่อความสงบของประเทศ องค์ชายรัชทายาทจึงทรงถูกปลดและลงพระอาญาให้เสด็จเข้าไปอยู่ในกล่องไม้ใส่ข้าว หลังจากผ่านไปเจ็ดวัน อดีตองค์ชายรัชทายาทก็สิ้นพระชนม์

ต่อมาภายหลังพระเจ้ายองโจทรงคืนตำแหน่งให้แก่อดีตองค์ชายรัชทายาท พระนามว่า องค์ชายรัชทายาทซาโด เหตุการณ์สำเร็จโทษองค์ชายรัชทายาทซาโดนั้นทำให้เกิดการแตกแยกครั้งใหม่ในหมู่ขุนนาง คือ ฝ่ายที่เห็นชอบกับการสำเร็จโทษขององค์ชายรัชทายาทยาทซาโด เรียกว่า ฝ่ายพยอกพา (벽파, 僻派) และฝ่ายที่ไม่เห็นชอบกับการสำเร็จโทษองค์ชาย และควรจะคืนตำแหน่งและเกียรติยศให้ดังเดิม เรียกว่า ฝ่ายชิพา (시파, 時派) ราชสำนักจึงเข้าสู่ยุคสมัยแห่งความขัดแย้งอีกครั้ง

เมื่อค.ศ. 1775 พระเจ้ายองโจทรงตั้งพระนัดดารัชทายาท (왕세손, 王世孫) ที่เป็นพระโอรสขององค์ชายรัชทายทาซาโด เป็นผู้สำเร็จราชการแทน ท่ามกลางการต่อต้านจากขุนนางฝ่ายพยอกพา พระเจ้ายองโจสวรรคตในค.ศ. 1776 พระนัดดารัชทายาทขึ้นครองราชย์ต่อเป็นพระเจ้าจองโจ พระสุสานพระนามว่า วอนนึง (원릉, 元陵)

พระนามเต็ม

  • สมเด็จพระราชาย็องโจ ยังซุน ชีแฮ็ง แทโจ ซุนด็อก ย็องโม อึยรย็อล ชังอึย ฮงยุน ควังอิน ทนฮี เชช็อน ค็อนกึก ซ็องกง ชินฮวา แทซ็อง ควังอุน แคแท คีย็อง โยมย็อง ซุนช็อล ค็อนก็อน กอนย็อง แพมย็อง ซูทง คย็องนย็อก ฮงฮยู ชุงฮวา ยุงโด ซุกจาง ชังฮุน ช็องมุน ซ็อนมู ฮีกย็อง ฮย็อนฮโย แห่งเกาหลี


พระบรมวงศานุวงศ์

พระมเหสี

พระสนม

  • พระสนมจองบิน ตระกูลลี แห่งฮัมยาง (정빈 이씨) ภายหลังได้รับการแต่งตั้งเป็น พระนางยอนโฮ
  • พระสนมยองบิน ตระกูลลี แห่งจอนอึย (영빈 이씨, 1696 - 23 August 1764) ภายหลังได้รับการแต่งตั้งเป็น พระนางซอนฮี
  • พระสนมควีอิน ตระกูลโจ แห่งพุงยาง (귀인 조씨)
  • พระสนมซุกอึย ตระกูลมุน (숙의 문씨) ภายหลังถูกถอดจากตำแหน่งพระสนม

พระราชโอรส

  • องค์ชายฮโยจาง มกุฎราชกุมารแห่งโชซอน (효장세자, 1719–1728) ภายหลังได้รับการแต่งตั้งเป็น พระเจ้าจินจง พระราชโอรสของพระสนมจองบิน ตระกูลลี
  • องค์ชายซาโด มกุฎราชกุมารแห่งโชซอน (사도세자, 1735–1762) ภายหลังได้รับการแต่งตั้งเป็น พระเจ้าจางโจ พระราชโอรสของพระสนมยองบิน ตระกูลลี

พระราชธิดา

  • องค์หญิงฮวาอ๊อค (화억옹주) พระราชธิดาของพระสนมจองบิน ตระกูลลี
  • องค์หญิงฮวาซุน (화순옹주) พระราชธิดาของพระสนมจองบิน ตระกูลลี
  • องค์หญิงฮวาพยอง (화평옹주) พระราชธิดาของพระสนมยองบิน ตระกูลลี
  • องค์หญิงฮวาด๊อก (화덕옹주)พระราชธิดาของพระสนมยองบิน ตระกูลลี
  • องค์หญิงไม่ปรากฏพระนาม พระราชธิดาของพระสนมยองบิน ตระกูลลี
  • องค์หญิงไม่ปรากฏพระนาม พระราชธิดาของพระสนมยองบิน ตระกูลลี
  • เจ้าหญิงฮวาฮยอบ (화협옹주) พระราชธิดาของพระสนมยองบิน ตระกูลลี
  • องค์หญิงฮวาวาน (화완옹주) พระราชธิดาของพระสนมยองบิน ตระกูลลี
  • องค์หญิงไม่ปรากฏพระนาม พระราชธิดาของพระสนมควีอิน ตระกูลโจ
  • องค์หญิงฮวายู (화유옹주) พระราชธิดาของพระสนมควีอิน ตระกูลโจ
  • องค์หญิงฮวากิล (화길옹주)พระราชธิดาของพระสนมซุกอึย ตระกูลมุน
  • องค์หญิงฮวายอง (화령옹주)พระราชธิดาของพระสนมซุกอึย ตระกูลมุน

อ้างอิง

  1. Jae Un-Kang, Jae Eun-Kang. The land of scholars: two thousand years of Korean Confucianism.
  2. Michael J. Seth. A concise history of Korea: from the neolithic period through the nineteenth century.
  3. http://www.koreaaward.com/kor/history/151
  4. Yi I-hwa. Korea's pastimes and customs: a social history.
  5. JaHyun Kim Haboush. The memoirs of Lady Hyegyŏng: the autobiographical writings of a Crown Princess of Eighteenth-Century Korea.
  6. http://www.koreanhistoryproject.org/Ket/C15/E1501.htm
ก่อนหน้า พระเจ้าย็องโจแห่งโชซ็อน ถัดไป
พระเจ้าคยองจง พระราชาแห่งราชอาณาจักรโชซอน
(พ.ศ. 2267 - พ.ศ. 2319)
พระเจ้าจองโจ|}